Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กรกฎาคม 2556 ยุคทองตู้เติมเงิน!!! โตทะลุหมื่นล้าน 2 ขาใหญ่ "บุญเติม-ซิงเกอร์" สปีดปูพรมทั่วประเทศ (เพิ่มบริการ จ่ายค่าไฟค่าน้ำเพิ่ม) คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีไม่น้อยกว่า 30,000 ตู้

ประเด็นหลัก

ผู้ให้บริการรายหลักในตลาดปัจจุบันมี 4 ราย ได้แก่ บุญเติม, ซิงเกอร์, เอดีทีและกระปุกท็อปอัพ เกือบทุกรายเน้นให้บริการตู้เติมเงินระบบแอนะล็อก ซึ่งให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือได้เพียงอย่างเดียว แต่ตู้บุญเติมของบริษัทเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด มีอยู่กว่า 2.4 หมื่นตู้ทั่วประเทศ เป็นของบริษัทเองประมาณ 9,000 ตู้ ที่เหลือเป็นแฟรนไชส์ ซึ่งในครึ่งปีหลัง บริษัทจะเร่งขยายตลาดในต่างจังหวัดผ่านระบบแฟรนไชส์ คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีไม่น้อยกว่า 30,000 ตู้

"ผู้ให้บริการตู้เติมเงินรายเล็ก ๆ ต่อไปคงอยู่ยาก เพราะระบบภายในแข่งกับรายใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งในปลายปีนี้เอไอเอสจะเปลี่ยนระบบ โดยให้ตู้เติมเงินพัฒนาระบบเป็นออนไลน์ทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบการเติมเงิน ซึ่งค่ายอื่น ๆ คงทำแบบเดียวกัน ทำให้ผู้ให้บริการต้องลงทุนระบบเพิ่มเติมมีการตั้งเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมต่อระบบกับทุกตู้เติมเงิน ดังนั้น ผู้ประกอบการรายเล็กคงทำไม่ได้"

นายสมชัยกล่าวว่า การขยายตู้เติมเงินด้วยระบบแฟรนไชส์ทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น มีค่าแรกเข้า 5,000 บาท ค่าบำรุงปีละ 400 กว่าบาท และส่วนแบ่งรายได้ 3.5% ต่อเดือน มีรายได้เฉลี่ย/เดือน/ตู้ ประมาณ 24,000 บาท

"ในต่างจังหวัด คาดว่าภาคอีสานน่าจะเติบโตมากที่สุด นอกจากเติมเงินมือถือแล้ว ตู้บุญเติมยังมีบริการอื่น ๆ เช่น เติมเงินเกมออนไลน์กว่า 20 เกม, เกมในเฟซบุ๊ก, บริการดูดวง, ชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ต, ค่าบริการมือถือ รวมถึงค่าบริการเคเบิลทีวีของซีทีเอช เป็นต้น แต่ 95% ของรายได้ยังมาจากการเติมเงินมือถือ คาดว่าปีนี้ยอดทรานเซ็กชั่นรวมจะโตกว่า 70% มีเงินหมุนเวียน 8 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.6 พันล้านบาท ซึ่งรายได้ของบริษัทจะมีสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดทรานเซ็กชั่น



ด้านนายสยาม อุฬารวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ ลีสซิ่ง จำกัด เจ้าของตู้เติมเงิน "ซิงเกอร์" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทเข้ามาทำตลาดตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันขายตู้เติมเงินออกไปกว่า 3 หมื่นตู้ เป็นแบบแอนะล็อกทั้งหมด แต่ในครึ่งปีหลังจะหันมาเร่งทำตลาดตู้ระบบออนไลน์แทน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงตามค่ายมือถือที่จะบังคับให้ตู้เติมเงินเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด

"เราเน้นขายตู้ โดยขายขาด ตู้แอนะล็อกอยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท ผู้ซื้อต้องดูและจัดการเติมเงินเข้าตู้เพื่อให้บริการลูกค้าเอง ทำให้ไม่ต้องแบ่งส่วนต่างกำไรมาให้บริษัท ส่วนตู้รุ่นใหม่จะราคา 5-6 หมื่นบาท

มีบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น เกม, การชำระค่าบริการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งอยู่ระหว่างหารือกับพาร์ตเนอร์"


ความแตกต่างของตู้เติมเงินแอนะล็อกแบบออฟไลน์ และออนไลน์ คือแบบแรกเติมเงินได้เฉพาะมือถือ แต่แบบออนไลน์เพิ่มฟังก์ชั่นให้เติมเงินเกม, อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น ทรูมันนี่ รวมถึงชำระค่าโทรศัพท์ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้













______________________________________





ธุรกิจตู้เติมเงินมือถือบูมจัด อัพเกรดรับจ่าย"ค่าน้ำค่าไฟ"



"ตู้เติมเงินมือถือ" บูมจัด โตทะลุหมื่นล้าน 2 ขาใหญ่ "บุญเติม-ซิงเกอร์" สปีดปูพรมทั่วประเทศ ย้ำจุดขายเริ่มต้นธุรกิจง่าย-คืนทุนเร็ว พร้อมปรับระบบเป็นออนไลน์ตามค่ายมือถือ เพิ่มบริการใหม่ ๆ เพียบ ทั้งเติมเงิน "เกมออนไลน์-จ่ายค่าน้ำค่าไฟ-อินเทอร์เน็ต-เคเบิลทีวี"

นายสมชัย สูงสว่าง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด ผู้ให้บริการตู้เติมเงิน "บุญเติม" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่การแข่งขันก็สูงขึ้นด้วย มีผู้ประกอบการหน้าใหม่ ๆ เข้าสู่ธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ผู้ผลิตตู้ และผู้ที่ซื้อตู้ไปตั้งเพื่อหารายได้ สาเหตุที่ได้รับความนิยม เพราะเริ่มต้นง่าย และคืนทุนเร็ว ยิ่งถ้าตั้งตู้บริเวณที่มีคนเดินผ่านมาก จะมีโอกาสคืนทุนภายในไม่เกินครึ่งปี คาดว่าในตลาดขณะนี้มีตู้เติมเงินมากกว่า 6 หมื่นตู้

ผู้ให้บริการรายหลักในตลาดปัจจุบันมี 4 ราย ได้แก่ บุญเติม, ซิงเกอร์, เอดีทีและกระปุกท็อปอัพ เกือบทุกรายเน้นให้บริการตู้เติมเงินระบบแอนะล็อก ซึ่งให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือได้เพียงอย่างเดียว แต่ตู้บุญเติมของบริษัทเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด มีอยู่กว่า 2.4 หมื่นตู้ทั่วประเทศ เป็นของบริษัทเองประมาณ 9,000 ตู้ ที่เหลือเป็นแฟรนไชส์ ซึ่งในครึ่งปีหลัง บริษัทจะเร่งขยายตลาดในต่างจังหวัดผ่านระบบแฟรนไชส์ คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีไม่น้อยกว่า 30,000 ตู้

"ผู้ให้บริการตู้เติมเงินรายเล็ก ๆ ต่อไปคงอยู่ยาก เพราะระบบภายในแข่งกับรายใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งในปลายปีนี้เอไอเอสจะเปลี่ยนระบบ โดยให้ตู้เติมเงินพัฒนาระบบเป็นออนไลน์ทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบการเติมเงิน ซึ่งค่ายอื่น ๆ คงทำแบบเดียวกัน ทำให้ผู้ให้บริการต้องลงทุนระบบเพิ่มเติมมีการตั้งเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมต่อระบบกับทุกตู้เติมเงิน ดังนั้น ผู้ประกอบการรายเล็กคงทำไม่ได้"

นายสมชัยกล่าวว่า การขยายตู้เติมเงินด้วยระบบแฟรนไชส์ทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น มีค่าแรกเข้า 5,000 บาท ค่าบำรุงปีละ 400 กว่าบาท และส่วนแบ่งรายได้ 3.5% ต่อเดือน มีรายได้เฉลี่ย/เดือน/ตู้ ประมาณ 24,000 บาท

"ในต่างจังหวัด คาดว่าภาคอีสานน่าจะเติบโตมากที่สุด นอกจากเติมเงินมือถือแล้ว ตู้บุญเติมยังมีบริการอื่น ๆ เช่น เติมเงินเกมออนไลน์กว่า 20 เกม, เกมในเฟซบุ๊ก, บริการดูดวง, ชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ต, ค่าบริการมือถือ รวมถึงค่าบริการเคเบิลทีวีของซีทีเอช เป็นต้น แต่ 95% ของรายได้ยังมาจากการเติมเงินมือถือ คาดว่าปีนี้ยอดทรานเซ็กชั่นรวมจะโตกว่า 70% มีเงินหมุนเวียน 8 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.6 พันล้านบาท ซึ่งรายได้ของบริษัทจะมีสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดทรานเซ็กชั่น

นายสมชัยกล่าวต่อว่า ความนิยมในการใช้งานตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือในตลาดต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นมากจนทำให้มีปัญหาในการแลกเหรียญ ขนาดแฟรนไชส์บางรายในภาคอีสานไม่สามารถนำเหรียญที่ค้างในตู้ไปแลกได้ เพราะกรมธนารักษ์จำกัดโควตาการแลกเหรียญในแต่ละพื้นที่ไว้ที่ 100 ล้านบาท/เดือน ซึ่งการเติมเงินไม่ใช่เฉพาะกับมือถือเท่านั้น ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการแลกเหรียญ เช่น ตู้เติมน้ำ และตู้เกม เป็นต้น อีกทั้งเจ้าของตู้นำเหรียญไปแลกธนาคารจะโดนหักค่าธรรมเนียม 2% เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้า บริษัทจึงมีหน้าร้านคอยรับแลกเหรียญกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ

ด้านนายสยาม อุฬารวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ ลีสซิ่ง จำกัด เจ้าของตู้เติมเงิน "ซิงเกอร์" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทเข้ามาทำตลาดตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันขายตู้เติมเงินออกไปกว่า 3 หมื่นตู้ เป็นแบบแอนะล็อกทั้งหมด แต่ในครึ่งปีหลังจะหันมาเร่งทำตลาดตู้ระบบออนไลน์แทน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงตามค่ายมือถือที่จะบังคับให้ตู้เติมเงินเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด

"เราเน้นขายตู้ โดยขายขาด ตู้แอนะล็อกอยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท ผู้ซื้อต้องดูและจัดการเติมเงินเข้าตู้เพื่อให้บริการลูกค้าเอง ทำให้ไม่ต้องแบ่งส่วนต่างกำไรมาให้บริษัท ส่วนตู้รุ่นใหม่จะราคา 5-6 หมื่นบาท

มีบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น เกม, การชำระค่าบริการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งอยู่ระหว่างหารือกับพาร์ตเนอร์"

นายสยามกล่าวว่า บริษัททำธุรกิจตู้เติมเงินมากว่า 4 ปีแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด โดยปีที่ผ่านมาทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 16% จากรายได้รวม 2,900 ล้านบาท ที่ผ่านมาบริษัทขายตู้แบบออฟไลน์ไปแล้วกว่า 3 หมื่นตู้ ซึ่งในครึ่งปีหลังจะขยับมาทำตู้เติมเงินออนไลน์

"คนอยากเริ่มต้นธุรกิจจะเริ่มมองตู้เติมเงินเป็นอันดับแรก ๆ เพราะขั้นตอนง่ายมาก มีที่อยู่แล้ว ก็ซื้อตู้มาตั้งได้เลย ถ้าต้องการทำเลดี ๆ ต้องเสียค่าเช่า แต่ไม่มาก"

ความแตกต่างของตู้เติมเงินแอนะล็อกแบบออฟไลน์ และออนไลน์ คือแบบแรกเติมเงินได้เฉพาะมือถือ แต่แบบออนไลน์เพิ่มฟังก์ชั่นให้เติมเงินเกม, อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น ทรูมันนี่ รวมถึงชำระค่าโทรศัพท์ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374554955

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.