Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กรกฎาคม 2556 TRUE กล่อม CAT (เปลื่ยนวิธีคืนเสาเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม) เพื่อติดเสา 3G 4G ร่วมกันในอนาคต!! (หลังมติเดิมให้ถอดอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากเสาก่อนสัปทานหมด)

ประเด็นหลัก


ทั้งนี้ สาเหตุที่ทรูฯ ยื่นข้อเสนอเจรจาเรื่องทรัพย์สินตามสัญญาอีกครั้ง เนื่องจากต้องการนำทรัพย์สินตามสัมปทานทั้งหมด รวมทรัพย์สินของกลุ่มทรูฯด้วย จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เช่นเดียวกันกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือกองทุนบีทีเอส เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปลงทุนสร้างโครงข่ายโทรคมนาคม (อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์) รองรับการให้บริการ 3 จี และ 4จีในอนาคต ซึ่งปัจจุบันทรูมีเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทาน จำนวน 6,500 แห่ง แต่ไม่มีการโอนให้กับกสทแต่อย่างใด ขณะที่กสท มีเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมจำนวน 2,000 แห่ง

ที่ผ่านมา บอร์ดกสทมีมติให้ฝ่ายบริหารเร่งสรุปผลติดตามการโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือระหว่างกสทกับทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี)เครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เพราะต้องรายงานผลสำรวจสินทรัพย์โทรคมก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานวันที่ 15 ก.ย.2556 นี้ ขณะเดียวกัน สั่งฝ่ายบริหารไปตรวจสอบทรัพย์สินตามสัมปทานทุกสถานีฐานว่า พื้นที่ใดส่งมอบและไม่ส่งมอบ ถ้าพื้นที่ใดไม่ส่งมอบก็ให้ส่งมอบ หากมีอุปกรณ์ใดมาเกี่ยวกับเสาสถานีฐานตามสัญญา กสทก็จะปลดออกทันที เพราะไม่ได้ทำสัญญากับกสทแต่อย่างใด

รายงานข่าวแจ้งว่า การจัดตั้งอินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ของกลุ่มทรูฯนั้น ที่ประชุมบอร์ดกสทเมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ใช้เวลาหารือประเด็นดังกล่าวเป็นเวลานาน เพราะสัญญาสัมปทานทรูมูฟเหลือเพียง 2 เดือนเท่านั้น หากไม่จัดการให้เสร็จ กสทจะดำเนินการอย่างไร ในเมื่ออยากได้คลื่นความถี่ไว้ แต่ไม่มีอุปกรณ์โทรคมตามสัญญาสัมปทาน แล้วจะขอคลื่นคืนทำไม ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เรื่องการโอนทรัพย์สิน ขณะที่ฝ่ายบริหารเพียงแต่รายงานว่าอยู่ระหว่างการเจรจากับคู่สัญญามาตลอด บอร์ดมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องสางให้ชัดเจน






______________________________________





'ทรู' ถกกสทตั้งกองทุนโครงข่าย6หมื่นล้านบาท


"ทรูมูฟ"ขอหารือ"กสท"หวังเคลียร์ทรัพย์สินตามสัญญาบีทีโอที่ยังค้างในชั้นอนุญาโตฯ ระบุต้องการนำโครงสร้างพื้นฐานโทรคมตั้งกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ทำหนังสือแจ้งมายังบมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อขอเจรจาเรื่องโอนเสาโทรคมนาคม และอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทาน หรือสร้าง-โอน-บริการ (บีทีโอ) หลังเจรจาไปหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีข้อยุติระหว่างกสทและกลุ่มทรูฯ จนนำกรณีข้อพิพาทการโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ และยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทรูฯ ยื่นข้อเสนอเจรจาเรื่องทรัพย์สินตามสัญญาอีกครั้ง เนื่องจากต้องการนำทรัพย์สินตามสัมปทานทั้งหมด รวมทรัพย์สินของกลุ่มทรูฯด้วย จัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เช่นเดียวกันกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือกองทุนบีทีเอส เพื่อนำเงินจากการระดมทุนไปลงทุนสร้างโครงข่ายโทรคมนาคม (อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์) รองรับการให้บริการ 3 จี และ 4จีในอนาคต ซึ่งปัจจุบันทรูมีเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทาน จำนวน 6,500 แห่ง แต่ไม่มีการโอนให้กับกสทแต่อย่างใด ขณะที่กสท มีเสาและอุปกรณ์โทรคมนาคมจำนวน 2,000 แห่ง

ที่ผ่านมา บอร์ดกสทมีมติให้ฝ่ายบริหารเร่งสรุปผลติดตามการโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือระหว่างกสทกับทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี)เครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เพราะต้องรายงานผลสำรวจสินทรัพย์โทรคมก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานวันที่ 15 ก.ย.2556 นี้ ขณะเดียวกัน สั่งฝ่ายบริหารไปตรวจสอบทรัพย์สินตามสัมปทานทุกสถานีฐานว่า พื้นที่ใดส่งมอบและไม่ส่งมอบ ถ้าพื้นที่ใดไม่ส่งมอบก็ให้ส่งมอบ หากมีอุปกรณ์ใดมาเกี่ยวกับเสาสถานีฐานตามสัญญา กสทก็จะปลดออกทันที เพราะไม่ได้ทำสัญญากับกสทแต่อย่างใด

รายงานข่าวแจ้งว่า การจัดตั้งอินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ของกลุ่มทรูฯนั้น ที่ประชุมบอร์ดกสทเมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ใช้เวลาหารือประเด็นดังกล่าวเป็นเวลานาน เพราะสัญญาสัมปทานทรูมูฟเหลือเพียง 2 เดือนเท่านั้น หากไม่จัดการให้เสร็จ กสทจะดำเนินการอย่างไร ในเมื่ออยากได้คลื่นความถี่ไว้ แต่ไม่มีอุปกรณ์โทรคมตามสัญญาสัมปทาน แล้วจะขอคลื่นคืนทำไม ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า เรื่องการโอนทรัพย์สิน ขณะที่ฝ่ายบริหารเพียงแต่รายงานว่าอยู่ระหว่างการเจรจากับคู่สัญญามาตลอด บอร์ดมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องสางให้ชัดเจน

ก่อนหน้านี้ นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการเงินทรูคอร์ปฯ กล่าวในการจัดประชุมนักวิเคราะห์ว่า กลุ่มทรูฯ สนใจตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากรัฐยกเว้นภาษีเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาในเชิงลึก ส่วนอีกหนึ่งประเด็น คือ ทรัพย์สิน โดยเฉพาะเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ทรูมูฟ และ ทรูมูฟ เอช ที่มีอยู่ทั่วประเทศสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดยให้เอกชนที่สนใจเข้ามาใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อประหยัดต้นทุนบริหารจัดการ แต่ยังกังวลเพราะโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมไม่ได้ผูกขาดเหมือนการไฟฟ้า และรถไฟ

ทั้งนี้ เพราะโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมแม้จะเปิดเสรีภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แต่ยังผูกโยงหลายส่วน ทั้งเรื่องสัญญาสัมปทานระหว่าง ทรู กับบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม รวมเกี่ยวโยงระดับผู้คุมกระทรวง คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีด้วย สำหรับขนาดของกองทุนที่ทรูสนใจตั้ง คาดว่า คงใกล้เคียงกับของบมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง คือ ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ทรูคาดว่าจะดำเนินการออกกองทุนได้ในปีนี้

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า รับทราบกรณีดังกล่าวแล้ว แต่กสทและกระทรวงไอซีที ยังไม่ได้ตัดสินใจดำเนินการเพราะต้องศึกษารายละเอียดและขั้นตอน รวมถึงประเด็นข้อกฎหมายด้วยว่า หากนำทรัพย์สินตามสัญญาบีทีโอตามที่ทรูมูฟส่งมอบคืนให้กสท จะเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่ รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องศึกษาอย่างละเอียดและรอบคอบ


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130723/518796/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9-
%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0
%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8
%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A26%E0%B8%AB%E0%B8%A
1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0
%B8%B2%E0%B8%97.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.