Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2556 CAT โมโห้!! คลื่น1800ผู้ให้สป.ต้องเป็นคนดูแลลูกค้า // TRUE เสนอ ให้รายได้ กสทช. และ CAT คนละครึ่งแต่ถ้าขาดทุน(คนอยู่ระบบน้อยค่าโครงข่ายเท่าเดิม)ต้องช่วยรับผิดชอบ


ประเด็นหลัก


นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกฎหมายและร่วมการงาน บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวในเวทีประชาพิจารณ์ร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณี

สิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...ว่า กสทช.มีอำนาจออกประกาศคุ้มครองเมื่อสัมปทานสิ้นสุด แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิ์ผู้ให้สัมปทาน ซึ่งตามกฎหมายรวมถึงเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตประเภท 3 เจ้าของสัมปทานต้องเป็นผู้ทำแผนรองรับเพื่อไม่ให้กระทบผู้รับบริการ เงื่อนไขในสัมปทานระบุแนวทางปฏิบัติที่แสดงเจตนาว่า ผู้ให้สัมปทานต้องเป็นผู้ให้บริการต่อเนื่องกับลูกค้าหลังสิ้นสุดสัมปทาน จึงเป็นหน้าที่ของ กสทฯ ไม่ใช่ให้เอกชนหรือให้สิทธิ์คู่สัญญาไปตกลงกันเอง


นางณัฎฐ์ณัชชา ไชยประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกฎหมาย และบริหารผลประโยชน์ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารคลื่นความถี่ (กบถ.) ให้สิทธิ์ใช้คลื่น 900 MHz แก่ทีโอที ตั้งแต่ 11 ก.ย. 2532 โดยไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด แม้สัมปทานกับเอไอเอสจะสิ้นสุดในปี 2558 แต่ทีโอทียังมีสิทธิ์ใช้คลื่นได้

ก่อนหน้านี้ สำนักงานอัยการสูงสุดเคยตอบข้อหารือเกี่ยวกับสิทธิ์คลื่น 900 MHz ว่า กสทช.ต้องพิจารณาว่ากระทบสิทธิ์ทีโอทีที่ตั้งมาก่อนกสทช.หรือไม่ และควรควบคุมเฉพาะการได้รับคลื่นความถี่แบบมีระยะเวลาสิ้นสุด ไม่ควรครอบคลุมถึงสัมปทานของทีโอที กับเอไอเอส


ด้านนายนพปฎล เดชอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน กลุ่มทรู กล่าวว่า พ.ร.บ.กสทช. และ พ.ร.บ.โทรคมนาคม มอบอำนาจให้ กสทช.คุ้มครองผู้บริโภคให้ใช้งานต่อเนื่องระหว่างที่มีการจัดสรรคลื่นใหม่ ทางออกคือนำคลื่น 1,800 MHz มาประมูลใหม่ให้เร็วที่สุด ทุกวันนี้มีลูกค้า 18 ล้านคน ถ้าลดเหลือ 3 ล้านคน รายได้ลดลงมหาศาล แต่รายจ่ายไม่ได้ลดลง ถ้าเกิดกำไรขึ้นระหว่างที่ช่วงเยียวยาลูกค้าทรูจะแบ่งให้ กสทช.กับ กสทฯ คนละครึ่ง แต่ถ้าขาดทุนกรุณามารับผลขาดทุนด้วย










______________________________________





กสทช.มึนเรียกคืนคลื่นมือถือวุ่น ทีโอที-กสทฯขวาง/ยันต้นก.ย.มีบทสรุปคลื่น1800


หนังเรื่องยาว ! เรียกคืนคลื่นหลังสัมปทานหมดอายุวุ่นแน่ "ทีโอที-กสทฯ" ค้านร่างประกาศซิมดับ "ทีโอที" ย้ำมีสิทธิ์ใช้คลื่น 900 MHz ต่อ ชี้ "กสทช." เสี่ยงทำผิดกฎหมาย ควรหาวิธีไม่ให้กระทบผู้ใช้บริการ-เพิ่มทางเลือกลูกค้า "กสทช." ยันต้น ก.ย.ได้ข้อสรุปกรอบเวลาประมูลคลื่น 1800 MHz

นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกฎหมายและร่วมการงาน บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวในเวทีประชาพิจารณ์ร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณี

สิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...ว่า กสทช.มีอำนาจออกประกาศคุ้มครองเมื่อสัมปทานสิ้นสุด แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิ์ผู้ให้สัมปทาน ซึ่งตามกฎหมายรวมถึงเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตประเภท 3 เจ้าของสัมปทานต้องเป็นผู้ทำแผนรองรับเพื่อไม่ให้กระทบผู้รับบริการ เงื่อนไขในสัมปทานระบุแนวทางปฏิบัติที่แสดงเจตนาว่า ผู้ให้สัมปทานต้องเป็นผู้ให้บริการต่อเนื่องกับลูกค้าหลังสิ้นสุดสัมปทาน จึงเป็นหน้าที่ของ กสทฯ ไม่ใช่ให้เอกชนหรือให้สิทธิ์คู่สัญญาไปตกลงกันเอง

แผนบริหารคลื่นความถี่ของ กสทช.ระบุถึงการคืนคลื่นเพื่อจัดสรรใหม่ 2 แนวทาง คือ จัดสรรใหม่ด้วยการประมูลหรือปรับปรุงการใช้ความถี่ แต่ร่างประกาศนี้กำหนดแนวทางเดียวจึงขัดเจตนารมณ์แผนแม่บท กสทช.เอง

นางณัฎฐ์ณัชชา ไชยประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกฎหมาย และบริหารผลประโยชน์ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารคลื่นความถี่ (กบถ.) ให้สิทธิ์ใช้คลื่น 900 MHz แก่ทีโอที ตั้งแต่ 11 ก.ย. 2532 โดยไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด แม้สัมปทานกับเอไอเอสจะสิ้นสุดในปี 2558 แต่ทีโอทียังมีสิทธิ์ใช้คลื่นได้

ก่อนหน้านี้ สำนักงานอัยการสูงสุดเคยตอบข้อหารือเกี่ยวกับสิทธิ์คลื่น 900 MHz ว่า กสทช.ต้องพิจารณาว่ากระทบสิทธิ์ทีโอทีที่ตั้งมาก่อนกสทช.หรือไม่ และควรควบคุมเฉพาะการได้รับคลื่นความถี่แบบมีระยะเวลาสิ้นสุด ไม่ควรครอบคลุมถึงสัมปทานของทีโอที กับเอไอเอส

นายสุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ความถี่เป็นทรัพยากรของชาติที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้ใช้งานเดิมไม่ควรได้รับผลกระทบจากการสรรหาผู้ได้สิทธิ์ใช้คลื่นรายใหม่

นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การออกประกาศนี้ของ กสทช.เสี่ยงต่อทำผิดกฎหมาย เพราะยืดเวลาประกอบกิจการ ทั้งที่มาตรา 83 พ.ร.บ.กสทช. อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานประกอบกิจการต่อได้ เฉพาะในเวลาที่เหลืออยู่ตามสัมปทานเท่านั้น

ด้านนายนพปฎล เดชอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน กลุ่มทรู กล่าวว่า พ.ร.บ.กสทช. และ พ.ร.บ.โทรคมนาคม มอบอำนาจให้ กสทช.คุ้มครองผู้บริโภคให้ใช้งานต่อเนื่องระหว่างที่มีการจัดสรรคลื่นใหม่ ทางออกคือนำคลื่น 1,800 MHz มาประมูลใหม่ให้เร็วที่สุด ทุกวันนี้มีลูกค้า 18 ล้านคน ถ้าลดเหลือ 3 ล้านคน รายได้ลดลงมหาศาล แต่รายจ่ายไม่ได้ลดลง ถ้าเกิดกำไรขึ้นระหว่างที่ช่วงเยียวยาลูกค้าทรูจะแบ่งให้ กสทช.กับ กสทฯ คนละครึ่ง แต่ถ้าขาดทุนกรุณามารับผลขาดทุนด้วย

นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด กล่าวว่า ตระหนักถึงสัมปทานที่จะสิ้นสุดและเตรียมการมาตลอด แต่พบว่าระบบยังมีผู้ใช้บริการจำนวนหนึ่ง ซึ่ง กสทช.ได้ออกร่างประกาศและแจ้งข้อมูลให้บริษัททราบถึงการแจ้งให้ลูกค้าย้ายออก ไม่รับลูกค้าใหม่ให้บริการกับลูกค้าเดิม มั่นใจว่าทำได้ใน 1 ปี ตามช่วงเยียวยาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วควรนำเข้ารัฐ

นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า เมื่อจะเป็นประกาศที่ใช้กับทุกสัมปทานควรเป็นมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการจริง ๆ ไม่อยากให้คุ้มครองเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการนำส่งรายได้ช่วงเยียวยาเข้ากระทรวงการคลังโดยตรง ทั้งต้องชัดเจนเรื่องการต่ออายุของร่างประกาศ โดยควรระบุว่าไม่มีการขยายเวลาเพิ่มอีกเด็ดขาด

ขณะที่ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองกรรมการ กสทช. และประธานกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า หลังจากประชาพิจารณ์แล้วจะนำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด กทค. กลางเดือน ส.ค. เพื่อให้ทันเสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณา 14 ก.ย.นี้ ส่วนต้น ก.ย.จะชัดเจนเรื่องประมูลคลื่น 1,800 MHz ที่จะหมดสัมปทาน ทั้งกรอบเวลาและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการทั้งหมด

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374906971

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.