Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

3 กรกฎาคม 2556 IPM(จานส้ม และ NATION) ชี้ คนดูมากกว่า Digital TV ที่กำลังประมูล (เหตุกระจายสัญญาณยังไม่เกิน 100 กม.) วิจัยนีลเส็นพบ เสาก้างปลาหรือหนวดกุ้งที่มีอยู่ 36% เท่านั้น




ประเด็นหลัก



"มานพ โตการค้า" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด หรือที่รู้จักกันดีกับจานสีส้ม กล่าวว่า ทีวีดิจิทัลมีข้อดีอยู่มาก เพราะแพร่ภาพได้หลายรายการเมื่อเทียบกับระบบแอนะล็อก ด้วยการบีบอัดสัญญาณแบบใหม่ยังทำให้เกิดช่องรายการความละเอียดสูง หรือ HD ได้ด้วย แต่เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นแล้วผ่านการให้บริการเพย์ทีวี เช่น ทรูวิชั่นส์ ที่ให้บริการช่อง HD ทั้งมีรายการจำนวนมาก ทางทีวีดาวเทียมที่ไม่เสียค่าบริการจึงมองว่าถ้าทีวีดิจิทัลเปิดใช้งานในช่วง 5 ปีก่อนคงได้ความนิยมแน่นอน แต่ถึงตอนนี้ยากที่จะทำได้

ทั้งมีเรื่องความครอบคลุมของการให้บริการ เพราะระยะการส่งสัญญาณแอนะล็อกไปได้ไกล 100 กม.ต่อสถานี แต่เป็นระบบดิจิทัลระยะส่งแคบ ขณะที่เทคโนโลยี DVBT-2 มีความจุมากเพื่อใส่รายการเข้าไปได้เยอะ ขณะที่เทคโนโลยีก่อนหน้านี้ หรือ DVBT-1 ส่งได้ 67 กม. แต่มีระยะที่รับชมได้แน่นอนประมาณ 20 กม.โดยรอบ



ด้าน "อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ" กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ NBC กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ระบบทีวีดิจิทัลเป็นเรื่องดี เพราะประเทศอื่นใช้มากว่า 10 ปี ในประเทศพัฒนาแล้วช่วง 3 ปีแรกก็มีปัญหาในการเปลี่ยนผ่าน แต่หลังจากนั้นผู้บริโภคเริ่มเข้าใจมากขึ้น และใช้งานจนถึงปัจจุบัน แต่จะมีการออกอากาศควบคู่ไปกับทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี โดยสองแบบหลังมีรายการที่น่าสนใจกว่าทำให้ยังดำเนินธุรกิจอยู่ได้

กลับมาที่ประเทศไทยบ้าง ถ้าอ้างอิงจากข้อมูลของบริษัทวิจัยนีลเส็นจะพบว่า ปัจจุบันจำนวนครัวเรือนไทยมีประมาณ 22 ล้านครัวเรือน ในจำนวนนี้มีบ้านที่มีจานดาวเทียม 44% มากกว่าบ้านที่ใช้

เสาก้างปลาหรือหนวดกุ้งที่มีอยู่ 36% ที่เหลือเป็นเคเบิลทีวี 11% และทรูวิชั่นส์ 9% ดังนั้นกลุ่มที่จะเปลี่ยนมาใช้เซตท็อปบ็อกซ์เพื่อชมทีวีดิจิทัลคงมีแค่ 36% เท่านั้น





______________________________________






"ทีวีดาวเทียม" ผนึกกำลัง เปิดศึกชิง "คนดู" ดูดเม็ดเงินโฆษณา


หลายคนคงเริ่มนับถอยหลังรอดู "ทีวีดิจิทัล" ที่มีคิวเปิดประมูลปลายปีนี้ (ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด) ล่าสุด "กสทช." เพิ่งออกใบอนุญาตให้ผู้ให้บริการโครงข่าย หรือ Multiplexer (MUX) 4 ราย (เดิม) คือ ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 และ Thai PBS พร้อมเตรียมอนุญาตให้ผู้ผลิตกล่องแปลงสัญญาณ (Set-top-Box) และเครื่องรับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลนำสินค้าเข้ามาวางจำหน่ายได้เดือน ก.ค.นี้

คำถามที่ตามมาก็คือ "ทีวีดาวเทียม" ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว มีช่องรายการหลายร้อยช่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะเป็นเช่นไร

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) หรือ STAT จัดงานสัมมนาในหัวข้อเข้ากระแสเป็นอย่างยิ่ง "ทางรอดทีวีดาวเทียม"

"มานพ โตการค้า" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด หรือที่รู้จักกันดีกับจานสีส้ม กล่าวว่า ทีวีดิจิทัลมีข้อดีอยู่มาก เพราะแพร่ภาพได้หลายรายการเมื่อเทียบกับระบบแอนะล็อก ด้วยการบีบอัดสัญญาณแบบใหม่ยังทำให้เกิดช่องรายการความละเอียดสูง หรือ HD ได้ด้วย แต่เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นแล้วผ่านการให้บริการเพย์ทีวี เช่น ทรูวิชั่นส์ ที่ให้บริการช่อง HD ทั้งมีรายการจำนวนมาก ทางทีวีดาวเทียมที่ไม่เสียค่าบริการจึงมองว่าถ้าทีวีดิจิทัลเปิดใช้งานในช่วง 5 ปีก่อนคงได้ความนิยมแน่นอน แต่ถึงตอนนี้ยากที่จะทำได้

ทั้งมีเรื่องความครอบคลุมของการให้บริการ เพราะระยะการส่งสัญญาณแอนะล็อกไปได้ไกล 100 กม.ต่อสถานี แต่เป็นระบบดิจิทัลระยะส่งแคบ ขณะที่เทคโนโลยี DVBT-2 มีความจุมากเพื่อใส่รายการเข้าไปได้เยอะ ขณะที่เทคโนโลยีก่อนหน้านี้ หรือ DVBT-1 ส่งได้ 67 กม. แต่มีระยะที่รับชมได้แน่นอนประมาณ 20 กม.โดยรอบ

"แค่ความสามารถในการส่งก็ต้องขยายสถานีเพิ่มแล้ว แต่เรื่องนี้ไม่ยากที่จะให้การรับชมไปถึง 95% ของประชากรภายใน 5 ปี เรื่องที่ยากคงเป็นเรื่องกล่อง เพราะเมื่อเลือกเทคโนโลยีใหม่เซตท็อปบ็อกซ์จะมีราคาแพงขึ้น ดังนั้นจะคุ้มหรือไม่ที่ผู้ชมต้องไปซื้อกล่องราคามากกว่าพันบาท เพื่อรับชมรายการ 48 ช่อง คอนเทนต์จะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ เทียบกับทีวีดาวเทียมดูได้หลักร้อยช่อง และมีศูนย์บริการอยู่ทั่วประเทศ จึงไม่ต้องกังวลหากมีปัญหาในการรับชม"

อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่จะเข้าประมูลช่องทีวีดิจิทัลด้วย เพราะเป็นโอกาสทางธุรกิจ แต่ด้วยราคาค่าบริการโครงข่ายยังไม่ชัดเจนทำให้มีโอกาสไม่เข้าร่วม เพราะถ้าคำนวณค่าบริการ

โครงข่าย รวมกับค่าให้บริการทีวีดาวเทียมแล้วออกมาไม่คุ้มก็ไม่ทำ จึงอยากให้ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมที่มีแผนเข้าประมูลทีวีดิจิทัลนำเงินที่จะไปลงทุนในธุรกิจใหม่ 1 ใน 3 มาลงทุนทำให้รายการบนดาวเทียมมีคุณภาพดีกว่า เพราะมั่นใจว่าหากทำได้ดีสู้ทีวีดิจิทัลได้แน่

ด้าน "อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ" กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ NBC กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ระบบทีวีดิจิทัลเป็นเรื่องดี เพราะประเทศอื่นใช้มากว่า 10 ปี ในประเทศพัฒนาแล้วช่วง 3 ปีแรกก็มีปัญหาในการเปลี่ยนผ่าน แต่หลังจากนั้นผู้บริโภคเริ่มเข้าใจมากขึ้น และใช้งานจนถึงปัจจุบัน แต่จะมีการออกอากาศควบคู่ไปกับทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี โดยสองแบบหลังมีรายการที่น่าสนใจกว่าทำให้ยังดำเนินธุรกิจอยู่ได้

กลับมาที่ประเทศไทยบ้าง ถ้าอ้างอิงจากข้อมูลของบริษัทวิจัยนีลเส็นจะพบว่า ปัจจุบันจำนวนครัวเรือนไทยมีประมาณ 22 ล้านครัวเรือน ในจำนวนนี้มีบ้านที่มีจานดาวเทียม 44% มากกว่าบ้านที่ใช้

เสาก้างปลาหรือหนวดกุ้งที่มีอยู่ 36% ที่เหลือเป็นเคเบิลทีวี 11% และทรูวิชั่นส์ 9% ดังนั้นกลุ่มที่จะเปลี่ยนมาใช้เซตท็อปบ็อกซ์เพื่อชมทีวีดิจิทัลคงมีแค่ 36% เท่านั้น

ถ้า กสทช.มีความชัดเจนเรื่อง Must Carry หรือให้ทุกช่องทางต้องรับชมรายการของทีวีดิจิทัลได้ บ้านที่ดูดาวเทียมหรือช่องทางอื่นอยู่ก็ไม่ต้องเปลี่ยนกล่อง ต้องขึ้นอยู่กับ กสทช.ว่าจะเอารายการประเภทใดเป็น Must Carry บ้าง

"วิธีนี้อาจเป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ทุกบ้านรับชมทีวีดิจิทัลได้เร็วขึ้น เพราะบังคับให้ทุกระบบต้องแพร่ภาพรายการของทีวีดิจิทัล แต่การนำรายการต่าง ๆ ขึ้นไปแพร่ภาพเป็นการเพิ่มการใช้งานแถบคลื่นเพื่อส่งรายการลงมาให้ผู้ชมดูเช่นกัน

ดังนั้นจะบอกว่าเป็นภาระคงไม่แปลก ผู้ประกอบการอาจส่งสัญญาณขึ้นไปก็จริง แต่อาจไม่ยิงลงมาให้คนที่บ้านรับชมก็ได้ เพราะรายการที่แพร่ภาพอยู่ก็เพียงพอต่อการรับชม"

ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบทีวีดิจิทัล ผู้ที่ลำบากที่สุดในธุรกิจนี้เป็นผู้ประกอบการรายเก่า เพราะเมื่อก่อนนั้นอาจมีช่องรายการเพียง 6 ช่อง ทำให้ไม่ต้องแข่งขันมากก็มีคนมาดูแน่นอน

แต่จากนี้จะมีตัวเลือกจำนวนมาก และหน้าใหม่พร้อมลงทุนโปรดักชั่นเพื่อดึงผู้ชมมาดู พร้อมนำจำนวนผู้ชมมาแลกกับค่าโฆษณาที่จะหลั่งไหลเข้ามาด้วย ถ้าผู้เล่นรายเก่าไม่เปลี่ยนแปลง เร็ว ๆ นี้อาจไม่แตกต่างจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ที่แต่ก่อนเป็นเสือนอนกิน ตอนนี้ต้องดิ้นรนสุดชีวิตเพื่อความอยู่รอด

"เอกชัย ภัคดุรงค์" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บมจ.ไทยคม กล่าวว่า ในฐานะแพลตฟอร์มผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียม ทำให้รู้ถึงความต้องการรับชมของผู้บริโภค รวมถึงความต้องการของผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมรายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาจำนวนมากเพื่อตอบโจทย์การรับชมเหล่านั้น เมื่อมีทีวีดิจิทัลไม่ใช่จะมาแย่งผู้ชมจากผู้ครองตลาดเดิมไปทั้งหมด ปัจจุบันมีหลายรายการที่มีผู้ชมติดตามจำนวนมาก รวมถึงมีสินค้าเข้าไปโฆษณา แม้เม็ดเงินที่เข้ามาจะค่อนข้างน้อย แต่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน

"ดิจิทัลทีวีในประเทศไทยไม่ได้เกิดขึ้นมาเพราะความต้องการ แต่เกิดขึ้นเพราะภารกิจของ กสทช.มากกว่า ถ้ามองกันดี ๆ ทุกอย่างของทีวีดาวเทียมตอบโจทย์การใช้งานอยู่แล้ว ถ้า กสทช.ออก Must Carry ให้ดูทีวีดิจิทัลได้ก็แทบไม่เปลี่ยนแปลงอะไร กล่องที่มีอยู่ที่บ้านก็ดูทีวีดิจิทัลได้ ดังนั้นการมีทีวีดิจิทัลไม่ได้ทำให้ทีวีดาวเทียมหายไป แต่ทำให้เกื้อหนุนกันและโตไปด้วยกันมากกว่า"

ในส่วนเทคโนโลยีน่าจะเป็นเรื่องที่ทุกเจ้าต้องเตรียมตัว เพราะอีก 10 ปีจะมีระบบการออกอากาศแบบภาพคมชัดสูง หรือ 4K ที่ชัดกว่า HD ถึง 4 เท่า และชัดกว่า SD ถึง 10 เท่า ซึ่งการออกอากาศแบบนี้ต้องใช้แถบความถี่มาก ทุกคนต้องวางแผน เพื่อนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาเป็นจุดทำตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้ริษัทต่อไปอีกด้วย

ปิดท้ายที่ "นิพนธ์ นาคสมภพ" นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) กล่าวว่า ราคาประมูลช่องธุรกิจของดิจิทัลทีวีเมื่อคำนวณออกมาแล้วค่อนข้างสูง ไม่คุ้มต่อการลงทุน เช่น ช่องทั่วไปความละเอียด HD ราคาประมูล 1.5 หมื่นล้านบาท ถ้าค่าเชื่อมต่อ MUX มีราคาสูง โอกาสคุ้มทุนน้อยไปด้วย ดังนั้นค่อนข้างเสี่ยง แต่ถ้าเกิดขึ้นจริงทางสมาคมก็เตรียมจับมือกับสมาชิกเพื่อสร้างช่องรายการคุณภาพ 20 ช่องออกมาสู้กับดิจิทัลทีวี และช่องอื่น ๆ ในทีวีดาวเทียมจะทยอยเปลี่ยนเช่นกัน แต่จะเกิดขึ้นหลังจากครัวเรือนในประเทศไทยมีโทรทัศน์แบบนี้เกิน 70% ปัจจุบันกำลังสำรวจอยู่ เพื่อให้รู้ว่าครัวเรือนไทยมีโทรทัศน์แบบนี้มากแค่ไหน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1372826255

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.