Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

3 กรกฎาคม 2556 คริสตินา บอนนิงตัน" คอลัมนิสต์ "ไวร์ด แมกาซีน" ชี้กลยุทธ samsung สินค้าท่วมตลาดรุ่นใดรุ่นหนึ่งต้องโดน เชื่อ มีการย้ายพนักงานPCไปอยู่ในฝ่ายมือถือ




ประเด็นหลัก



จากการรายงานข้อมูลของสำนักข่าว Korea Times ระบุว่า ซัมซุงค่อนข้างตั้งความหวังกับธุรกิจโทรศัพท์มือถือของตนเป็นอย่างมาก โดยมีข่าวลือมาว่ายักษ์ไอทีสัญชาติเกาหลีรายนี้อาจตัดสินใจปิดส่วนธุรกิจคอมพิวเตอร์พีซีของตนเองเลยด้วยซ้ำ

แหล่งข่าววงในให้ข้อมูลว่า กระแสความต้องการคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปพีซีในตลาดโลกที่ลดลง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้

"ซัมซุง" หันกลับมาพิจารณาถึงการเดินหมากรูปแบบนี้ ทั้งยังอ้างว่าบริษัทมีแผนโยกย้ายทรัพยากรของตนไปให้ส่วนธุรกิจอุปกรณ์มือถือที่กำลังได้รับความนิยมตามกระแสโลกในขณะนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ซัมซุงออกมาปฏิเสธข้อมูลจากรายงานดังกล่าวนี้เรื่อยมา แต่ "คริสตินา" มองว่า หากซัมซุงตัดสินใจทิ้งส่วนธุรกิจพีซีของตนเองจริง ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด

นอกจากนี้ยังไม่มีสัญญาณใดในตลาดที่บ่งชี้ให้เห็นว่า ซัมซุงจะชะลอการรุกตลาดอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือโลก ด้วยวิธีการอัดฉีดรูปแบบของอุปกรณ์โทรศัพท์

มือถือจนท่วมตลาด บ่งชี้ให้เห็นว่าบริษัทใช้กลยุทธ์การหว่านสินค้าให้มากที่สุด ด้วยความหวังว่าต้องมีผลิตภัณฑ์ไม่รุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ได้รับความนิยม

การออกสินค้าหลายขนาด หลากปัจจัย อุดมไปด้วยซอฟต์แวร์และรูปแบบการดีไซน์ต่าง ๆ เท่าที่จะคิดออก แม้ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าสินค้าทุกตัวจะติดตลาด แต่สินค้าตัวใดที่จุดกระแสติดก็จะกลายเป็นสินค้าขายดีไปในทันที


______________________________________






เหวี่ยงแห "กวาดความสำเร็จ" กลยุทธ์ยิงปืนหลายนัดของ "ซัมซุง"


หากจะถามว่าโทรศัพท์มือถือแบรนด์ใดในขณะนี้มีสินค้าในมือมากที่สุด คงไม่มีใครเทียบเคียงผู้ผลิตสัญชาติเกาหลีนาม "ซัมซุง" ได้ ไม่ว่าจะมองหาสินค้ารูปแบบไหน ระดับราคาเท่าใด มีสินค้าตอบโจทย์ครอบคลุมจนน่าตกใจ

กลยุทธ์การยิงปืนหลายนัดเพื่อให้โดนนกสักตัวของ "ซัมซุง" ดังที่เห็นอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่การหว่านสินค้าอย่างไร้เหตุผลและจุดหมาย หากเป็นการวางแผนเดินหมากที่มีที่มาที่ไป และไม่ใช่ว่าผู้ผลิตทุกรายในวงการมือถือจะสามารถทำตามได้

"คริสตินา บอนนิงตัน" คอลัมนิสต์ "ไวร์ด แมกาซีน" วิเคราะห์กลยุทธ์หว่านสินค้าสมาร์ทโฟนและแท็บเลตของ "ซัมซุง" ที่จับทุกระดับราคา เจาะทุกขนาดหน้าจอว่า แนวทางดังกล่าวของบริษัทค่อนข้างสับสนอลหม่านพอสมควร เนื่องจากเฉพาะสายผลิตภัณฑ์สินค้าในตระกูล "กาแล็คซี่" มีตลาดมากถึง 26 รุ่น ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเลต ตั้งแต่ขนาดหน้าจอ 3 นิ้ว ไล่ไปจนถึง 10 นิ้ว



ที่สำคัญยังไม่นับรวมถึงผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือที่รองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และแอนดรอยด์ตัวอื่น ๆ ที่มีให้เห็นในตลาดอีกหลายสิบตัว ถึงแม้แบรนด์คู่แข่งในตลาดสมาร์ทโฟนอย่าง "เอชทีซี และแอปเปิล" จะพยายามออกผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนและแท็บเลตให้มีความหลากหลาย แต่ก็ยังไม่สามารถเทียบเคียงจำนวนรุ่นของ "ซัมซุง" ได้เลย เฉพาะเดือนมิถุนายน "ซัมซุง" เปิดตัวแท็บเลตลูกผสมที่สามารถใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 และแอนดรอยด์ พร้อมกับเผยโฉม "กาแล็คซี่ แท็บ" อีกหลายขนาด

จากการรายงานข้อมูลของสำนักข่าว Korea Times ระบุว่า ซัมซุงค่อนข้างตั้งความหวังกับธุรกิจโทรศัพท์มือถือของตนเป็นอย่างมาก โดยมีข่าวลือมาว่ายักษ์ไอทีสัญชาติเกาหลีรายนี้อาจตัดสินใจปิดส่วนธุรกิจคอมพิวเตอร์พีซีของตนเองเลยด้วยซ้ำ

แหล่งข่าววงในให้ข้อมูลว่า กระแสความต้องการคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปพีซีในตลาดโลกที่ลดลง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้

"ซัมซุง" หันกลับมาพิจารณาถึงการเดินหมากรูปแบบนี้ ทั้งยังอ้างว่าบริษัทมีแผนโยกย้ายทรัพยากรของตนไปให้ส่วนธุรกิจอุปกรณ์มือถือที่กำลังได้รับความนิยมตามกระแสโลกในขณะนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ซัมซุงออกมาปฏิเสธข้อมูลจากรายงานดังกล่าวนี้เรื่อยมา แต่ "คริสตินา" มองว่า หากซัมซุงตัดสินใจทิ้งส่วนธุรกิจพีซีของตนเองจริง ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด

นอกจากนี้ยังไม่มีสัญญาณใดในตลาดที่บ่งชี้ให้เห็นว่า ซัมซุงจะชะลอการรุกตลาดอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือโลก ด้วยวิธีการอัดฉีดรูปแบบของอุปกรณ์โทรศัพท์

มือถือจนท่วมตลาด บ่งชี้ให้เห็นว่าบริษัทใช้กลยุทธ์การหว่านสินค้าให้มากที่สุด ด้วยความหวังว่าต้องมีผลิตภัณฑ์ไม่รุ่นใดรุ่นหนึ่งที่ได้รับความนิยม

การออกสินค้าหลายขนาด หลากปัจจัย อุดมไปด้วยซอฟต์แวร์และรูปแบบการดีไซน์ต่าง ๆ เท่าที่จะคิดออก แม้ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าสินค้าทุกตัวจะติดตลาด แต่สินค้าตัวใดที่จุดกระแสติดก็จะกลายเป็นสินค้าขายดีไปในทันที

การเดินกลยุทธ์ของซัมซุงเป็นการให้น้ำหนักผลวิจัยหนึ่งซึ่งระบุว่า ผู้บริโภคแต่ละคนต่างมีพฤติกรรมในการใช้อุปกรณ์แท็บเลตแตกต่างกันไป ซึ่งซัมซุงเองก็แสดงความคิดเห็นโดยอ้างจากยอดขายของตนในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาว่า บริษัทมองเห็นอย่างชัดเจนถึงเรื่องที่ผู้บริโภคแต่ละคนต่างมองหาอุปกรณ์ซึ่งมีการปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของแต่ละคน ทั้งเรื่องฟังก์ชั่นการใช้งาน ขนาด ราคา ประสิทธิภาพเครื่อง และความสามารถในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยากได้สมาร์ทโฟนขนาดหน้าจอ 4.3 นิ้ว หรือ 4.5 นิ้ว ก็สามารถหาซื้อได้ภายใต้แบรนด์ "ซัมซุง" หรือหากอยากได้แท็บเลตระบบปฏิบัติการวินโดวส์และแอนดรอยด์ "ซัมซุง" ก็มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ควบพร้อมกันทั้งสองปฏิบัติการออกมาให้เป็นเจ้าของได้เป็นที่เรียบร้อย

โฆษกของซัมซุงให้สัมภาษณ์ว่า บริษัททำไปเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค เพราะเชื่อในเรื่องการสร้างตัวเลือก

หลากหลายรองรับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของผู้บริโภค เรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยของความแข็งแกร่งของบริษัท เพราะทำให้ซัมซุงสามารถตอบโจทย์ความต้องการแบบต่าง ๆ และสร้างผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับตลาดแต่ละประเทศ ด้วยการร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายและพาร์ตเนอร์แต่ละรายได้

อย่างไรก็ตาม "คริสตินา" มองว่า ลูกค้าไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ซัมซุงนำมาตัดสินใจเมื่อต้องออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพราะปัจจัยเรื่องการเอาชนะคู่แข่งดูเป็นเป้าหมายหลักของบริษัทไม่แพ้กัน

"เจ.พี. กาวน์เดอร์" รองประธานบริษัทวิจัยฟอเรสเตอร์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์

แท็บเลตของซัมซุงหลายต่อหลายตัววางกลยุทธ์ โดยดูจากคู่แข่งที่บริษัทต้องการเอาชนะเป็นหลัก โดยในตลาดแท็บเลต

7 นิ้ว ซัมซุงเดินตามรอยแท็บเลต "อเมซอน" คินเดิลไฟร์ เอชดี และ "กูเกิล" เน็กซัส 7 ที่วางมาตรฐานราคา 200 เหรียญสหรัฐ ให้ตลาดแท็บเลตไซซ์นี้ ส่วนผลิตภัณฑ์ขนาด 8 นิ้ว ออกแบบมาเพื่อแข่งขัน

กับไอแพด มินิ ขณะที่กาแล็คซี่ แท็บ 10.1 นิ้ว เป็นสายผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องของแท็บเลตต้นตำรับแบรนด์ซัมซุง ที่เปิดตัวออกมาใช้สู้กับไอแพดขนาด 9.7 นิ้ว

ฝั่งผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมหรือแก็ดเจตไอทีส่วนใหญ่ แม้ไม่สามารถออกผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์อุปกรณ์จำนวนมากมายหลายรูปแบบเกินไปได้ แต่จุดต่างของซัมซุงคือบริษัทมีซัพพลายเชนของตนเอง ซึ่งรวมถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วน เช่น หน้าจอ อีกทั้งบริษัทยังควบคุมกระบวนการผลิตเทคโนโลยีด้านเซมิคอนดักเตอร์ได้ด้วยตนเอง เช่น หน่วยความจำ หรือเซ็นเซอร์จับภาพของอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ

"กาวน์เดอร์" พูดถึงประเด็นนี้ว่า ซัมซุงเป็นบริษัทที่กระเป๋าหนักมาก กลยุทธ์ต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากความตั้งใจของบริษัทเอง เพราะด้วยการที่ซัมซุงเป็นบริษัทระดับโลกที่มีโรงงานชิ้นส่วนของ

ตนเอง และมีการผนวกรวมกับซัพพลายเชน สิ่งเหล่านี้ทำให้ซัมซุงมีความสามารถเพียงพอที่จะสร้างสายผลิตภัณฑ์กลุ่มใหญ่ที่แตกต่างกันออกไป หลังจากนั้นค่อยปรับแต่งสายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

โดยดูว่าผู้บริโภคตอบรับกับมันอย่างไร

จากปัจจัยเรื่องความต้องการของผู้บริโภค, ความต้องการของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และปัจจัยการแข่งขัน ทำให้ซัมซุงต้องเติมเต็มสายผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือของตนเอง

ตลอดเวลาอย่างไม่มีวันจบ แต่การลงแรงเดินตามแผนดังกล่าวนี้ ดูเหมือนจะผลิดอกออกผลให้บริษัทเห็นแล้ว สังเกตได้จากส่วนแบ่งการตลาดแท็บเลตที่มีอัตราการเติบโตกว่า 280% ตั้งแต่ปี 2555 แม้ภาพรวมตลาดแท็บเลตจะยังขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้งเพราะกำลังอยู่ในกระแสความนิยมของโลกก็ตาม

ดังนั้นตราบใดที่บริษัทยังสามารถทำกำไรได้เพียงพอจากมหกรรมสายผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวสู่ตลาด เราก็สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าในอีกหลายปีต่อจากนี้ ซัมซุงจะออกผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนและแท็บเลตมาอีกเป็นร้อยรุ่นจนท่วมท้นตลาดโทรศัพท์มือถือโลกอย่างแน่นอน

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1372926919

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.