Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

3 กรกฎาคม 2556 กสทช.ประวิทย์ และ สุภิญญา ลงสงขลาแจงประชาชน++(ด้านมือถือยังมีช่องว่างเรื่องตู้เติมเงิน กับค่าธรรมเนียม)(ด้านสือสารช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับTVช่องใหม่)



ประเด็นหลัก



นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า หน่วยงานกำกับดูแลของไทยจะมีประเด็นเรื่องงานนอกอำนาจ ทำให้บางปัญหาที่คาบเกี่ยวหลายหน่วยงานนั้นเกิดพื้นที่สีเทาที่ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปจัดการเพราะเกรงการก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ผู้อื่น ต่างจากในต่างประเทศที่แม้กฎหมายจะมีการทับซ้อนของอำนาจหน้าที่กันแต่ไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน

“ไทยมีประเด็นเรื่องช่องว่างระหว่างอำนาจหน้าที่ เนื่องจากไม่กล้าทำนอกอำนาจตัวเอง ปัญหาที่เห็นได้ชัด เช่น ตู้เติมเงิน มีหลายหน่วยงานเกี่ยวข้อง แต่ต่างปฏิเสธว่าไม่ใช่หน้าที่โดยตรง สุดท้ายปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข” นายประวิทย์ กล่าว

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า  เนื่องจากในปีนี้จะมีการจัดสรรคลื่นโทรทัศน์ใหม่ เพื่อเปลี่ยนจากระบบทีวีอนาล็อกเป็นทีวีดิจิตอล ภาคประชาสังคมควรร่วมกันจับตาดูว่า ช่องความถี่ซึ่งจัดสรรเป็นสถานีโทรทัศน์มากขึ้นถึง 48 ช่องนั้นในเชิงความเป็นเจ้าของหรือการถือครองนั้นจะมีการกระจายจากภาครัฐมาสู่ภาคประชาชนจริงหรือไม่ ทั้งนี้ใน 48 ช่องซึ่งจะเป็นช่องทีวีสาธารณะจำนวน 12 ช่องนั้น เครือข่ายภาคประชาสังคมควรเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความเห็นถึงรูปแบบของทีวีสาธารณะที่ควรจะเป็นนั้นควรมีหน้าตาอย่างไร เพราะทีวีสาธารณะไม่ได้หมายถึงช่องของหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น

“โอกาสมักมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ ช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่า หากต้องมีช่องทีวีใหม่ที่เป็นฟรีทีวี เราจะปล่อยให้ กสทช. ออกแบบ หรือภาคประชาชนจะเข้ามีส่วนร่วมด้วย จึงอยากให้เครือข่ายร่วมออกมาแสดงความคิดเห็น เพราะเมื่อเสียงของฝ่ายที่ต้องการปฏิรูปสื่อเงียบ ก็ทำให้เสียงที่คิดต่างจากเราดังกว่า” นางสาวสุภิญญา กล่าว


______________________________________





กสทช. ลงใต้ ถกเครือข่าย-หนุนภาคประชาชนมีส่วนร่วม




กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน ลงพื้นที่สงขลา เสวนาร่วมเครือข่ายประชาสังคมภาคใต้ ระบุการจัดการเรื่องร้องเรียนอืด ด้านวิทยุโทรทัศน์ หนุนภาคประชาสังคมร่วมออกแบบหน้าตาทีวีสาธารณะ เตือนอย่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กสทช.เท่านั้น...

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวในเวทีเสวนาร่วมกับเครือข่ายประชาสังคมภาคใต้ ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีเครือข่ายภาคประชาชนหลากหลายด้าน เช่น ด้านคุ้มครองผู้บริโภคโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์ ด้านพลังงาน ด้านเกษตร สิ่งแวดล้อม รวมถึงสื่อท้องถิ่น ทั้งจากจังหวัดสงขลา ยะลา ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ สุราษฎร์ธานี ปัตตานี สตูล เข้าร่วมว่าเครือข่ายภาคประชาชนเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนทางสังคม และจำเป็นต้องเป็นเครือข่ายที่มีความหลากหลายจากทุกภาคส่วน เป็นกลุ่มตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น ไม่ใช่กลุ่มจัดตั้ง ที่สำคัญคือเป็นกลุ่มที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงจากกลุ่มธุรกิจใดๆ แต่เป็นผู้ที่ทำงานเพื่อภาคประชาชน ทั้งนี้ในระหว่างการเสวนา ตัวแทนเครือข่ายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้สอบถามถึงแนวทางการจัดการเรื่องร้องเรียนที่ควรจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวต่อว่า การจัดการเรื่องร้องเรียนที่เครือข่ายพบว่ายังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการนั้น ตามกฎหมายได้ให้สิทธิผู้บริโภค ตรวจสอบ สำนักงาน กสทช. และกสทช.ได้ด้วย เช่น การแก้ไขเรื่องร้องเรียนต้องแล้วเสร็จภายใน 30 วัน หรืออาจเสนอความเห็น สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นกับอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมได้  เช่น กรณีเรื่องร้องเรียนจำนวน 300 กว่าเรื่องที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เข้าสู่ที่ประชุม กทค. ทั้งที่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการฯ มานานแล้ว ซึ่งเครือข่ายผู้บริโภคสามารถเสนอความเห็นหรือแนวทางที่ควรจะเป็นร่วมกันได้

นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า หน่วยงานกำกับดูแลของไทยจะมีประเด็นเรื่องงานนอกอำนาจ ทำให้บางปัญหาที่คาบเกี่ยวหลายหน่วยงานนั้นเกิดพื้นที่สีเทาที่ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปจัดการเพราะเกรงการก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ผู้อื่น ต่างจากในต่างประเทศที่แม้กฎหมายจะมีการทับซ้อนของอำนาจหน้าที่กันแต่ไม่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน

“ไทยมีประเด็นเรื่องช่องว่างระหว่างอำนาจหน้าที่ เนื่องจากไม่กล้าทำนอกอำนาจตัวเอง ปัญหาที่เห็นได้ชัด เช่น ตู้เติมเงิน มีหลายหน่วยงานเกี่ยวข้อง แต่ต่างปฏิเสธว่าไม่ใช่หน้าที่โดยตรง สุดท้ายปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข” นายประวิทย์ กล่าว

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า  เนื่องจากในปีนี้จะมีการจัดสรรคลื่นโทรทัศน์ใหม่ เพื่อเปลี่ยนจากระบบทีวีอนาล็อกเป็นทีวีดิจิตอล ภาคประชาสังคมควรร่วมกันจับตาดูว่า ช่องความถี่ซึ่งจัดสรรเป็นสถานีโทรทัศน์มากขึ้นถึง 48 ช่องนั้นในเชิงความเป็นเจ้าของหรือการถือครองนั้นจะมีการกระจายจากภาครัฐมาสู่ภาคประชาชนจริงหรือไม่ ทั้งนี้ใน 48 ช่องซึ่งจะเป็นช่องทีวีสาธารณะจำนวน 12 ช่องนั้น เครือข่ายภาคประชาสังคมควรเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความเห็นถึงรูปแบบของทีวีสาธารณะที่ควรจะเป็นนั้นควรมีหน้าตาอย่างไร เพราะทีวีสาธารณะไม่ได้หมายถึงช่องของหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น

“โอกาสมักมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ ช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่า หากต้องมีช่องทีวีใหม่ที่เป็นฟรีทีวี เราจะปล่อยให้ กสทช. ออกแบบ หรือภาคประชาชนจะเข้ามีส่วนร่วมด้วย จึงอยากให้เครือข่ายร่วมออกมาแสดงความคิดเห็น เพราะเมื่อเสียงของฝ่ายที่ต้องการปฏิรูปสื่อเงียบ ก็ทำให้เสียงที่คิดต่างจากเราดังกว่า” นางสาวสุภิญญา กล่าว





โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/355208

_________________________________________



แก้วสรรเร่งหาข้อสรุปคลื่น1800

เศรษฐกิจ 5 July 2556 - 00:00

   "แก้วสรร" เปิดรับฟังความเห็นสาธารณะร่างประกาศ กรณีหมดสัมปทานคลื่น 1800 MHz เร่งหาข้อสรุป หวั่นซิมดับ
    นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า กสทช.เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในร่างประกาศ กสทช. เรื่อง "มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ..." ในวันที่ 25 ก.ค.56 นี้
    สำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค (ร่าง) ประกาศฉบับดังกล่าว กำหนดให้ผู้ให้บริการเร่งการโอนย้ายผู้ใช้บริการไปเครือข่ายอื่น และยังคงต้องดูแลเรื่องคุณภาพบริการให้ได้คุณภาพ คิดค่าบริการตามประกาศของ กสทช. และระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ ผู้ให้บริการจะไม่สามารถรับลูกค้ารายใหม่เพิ่มเข้ามาในระบบได้
    นอกจากนี้ นายแก้วสรร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การที่กสทช. ให้สิทธิ์ บริษัท ทรูมูฟ และ ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) บริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไปอีก 1 ปี หลังสิ้นสุดสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม เดือน ก.ย.56 เป็นอำนาจตามกฎหมายและไม่ใช่การต่ออายุสัมปทานแต่อย่างใด
    สำหรับการดูแลผู้ให้บริการระหว่างการจัดสรรคลื่นความถี่นั้น ผู้ประกอบการจะต้องส่งแผนการโอนย้ายให้คณะทำงานรับทราบว่าจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในเมื่อใด รวมทั้งต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ ค่าธรรมเนียมเลขหมาย ค่าบริหารจัดการ และ ค่ากองทุนโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ ในอัตราเดียวกับใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซนส์) 3G 2100 MHz หรือประมาณ 12% ซึ่งถูกกว่าส่วนแบ่งรายได้ตามสัมปทานที่ต้องจ่าย 30%
    อย่างไรก็ตาม จะนำร่างดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) วันที่ 25 ก.ค. ซึ่งต้องการให้ประชาพิจารณ์ครั้งนี้เป็นต้นแบบของการประชาพิจารณ์เรื่องอื่นๆ ที่จะรับฟังความเห็นจากสาธารณะรอบด้านและนำไปปรับปรุงให้เกิดประโยชน์มากที่สุด.

http://www.thaipost.net/news/050713/75959

_________________________________________________


ประชาพิจารณ์ร่างฯ1800วันที่ 25ก.ค. 'แก้วสรร'ยันไม่ยืดสัมปทาน

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 ภาพประกอบข่าว
0

0

TOOLS
คัดลอก URL นี้เเบบย่อhelp

คัดลอก
  ขนาดตัวอักษร
 พิมพ์ข่าวนี้
 ส่งต่อให้เพื่อน
More Sharing Services แบ่งปันข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นิวยอร์กออกกม.คุมใช้มือถือขณะขับรถ
ลดค่าย้ายค่ายมือถือเหลือ29บาทเริ่ม30มิ.ย.
ชาวพุทธพม่าไม่พอใจกาตาร์ได้สัมปทานมือถือ
พม่าประกาศชื่อผู้ชนะสัมปทานมือถือพรุ่งนี้
'เฟซบุ๊ค' เล็งเสนอข่าวบนมือถือ
คอลัมน์อื่นๆ
วิทยาศาสตร์
พลาสติกจากหญ้า
ซิลเวอร์นาโนเพื่อสี่ขา
Review
แอพ Line ททท.ย้ำแบรนด์'เที่ยวไทย'
นักพัฒนาชิงเปลี่ยนเกม รับเทรนด์โมบายโต
นวัตกรรม
ผลิตนักกายภาพรองรับพื้นที่เสี่ยงภัย
มทส. เปิดศูนย์รังสีวินิจฉัย
คณะทำงานร่างฯแผนคลื่น 1800 เคาะแล้วเปิดเวทีประชาพิจารณ์ 25 ก.ค.นี้ รับฟังข้อเสนอแนะป้องกันปัญหาซิมดับ หลังทรูมูฟ-ดีพีซีสิ้นสุดสัมปทานก.ย.นี้


นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า คณะทำงานเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... และได้ประกาศลงในเว็บไซต์ กสทช.เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเสนอความคิดเห็น ตามเอกสารแบบฟอร์มการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) และส่งแบบฟอร์มสรุปความคิดเห็นมายัง กสทช. ภายในวันที่ 17 กรกฏาคม 2556

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต้องแจ้งความประสงค์ในแบบฟอร์มเพื่อขอเข้าร่วมนำเสนอความเห็นหรือให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ ด้วยวาจาต่อ คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 25 กรกฏาคม 2556 ในเวลา 09.00 - 15.00 น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ เพื่อคณะทำงานฯ จะนำผลที่ได้รับจากการเปิดประชาพิจารณ์ไปปรับปรุงร่างฯ และนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อพิจารณาต่อไป

ขณะเดีวยกัน คณะทำงานฯ ได้เตรียมแต่งตั้ง คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นจำนวน 3 ท่าน ที่จะเป็นคณะกรรมการฯ ที่มีความเป็นกลาง โดยได้ทาบทาม นายดิเรก เจริญผล และคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์ อีก 2 ท่าน ปัจจุบัน นายดิเรก เจริญผล ประธานคณะอนุกรรมการเลขหมายโทรคมนาคมกสทช.

นายแก้วสรร กล่าวยืนยันว่า กสทช. มีหน้าที่ตามกฏหมายที่ต้องดำเนินการใช้มาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่เหลืออยู่หลังสัมปทานคลื่น 1800 ซึ่งการออกร่างประกาศฯ ดังกล่าว อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 และมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544

ทั้งนี้ สัญญาสัมปทานของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย.2556 ของบมจ. กสท โทรคมนาคม ผู้ให้สัญญาสัมปทาน ดังนั้น กสทช.จึงมีหน้าที่ออกมาตรการกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญาดังกล่าว รวมถึงสร้างเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการเร่งโอนย้ายผู้ใช้บริการให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันสิ้นสุดสัญญา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการต่ออายุสัมปทาน และไม่ใช่การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ตามมาตรา 45 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ แต่เป็นการกำกับดูแลเพื่อไม่ให้ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบ

สำหรับโครงสร้างการให้บริการในระหว่างมาตรการการคุ้มครองนั้น ให้เอกชนกับรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ร่วมกัน แล้วไปปรึกษาเจรจาตกลงกันเองว่าจะใช้โครงสร้างใดในการให้บริการ เช่น ให้เอกชนเช่าใช้โครงข่าย หรือจะเป็นอีกทางหนึ่งคือให้โอนลูกค้ามาให้รัฐวิสาหกิจเข้าเป็นคู่สัญญาแทน ส่วนเอกชนก็เป็นผู้รับเหมารับงานบริการและการตลาดไปทำอีกส่วนหนึ่ง โดย กสทช.จะไม่เข้าไปกำหนดว่าจะต้องเป็นรูปแบบใด ซึ่งจะต้องสรุปรูปแบบการให้บริการหลังจากประชาพิจารณ์แล้ว 60 วัน


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130704/515318/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8
%8A%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%
E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AF1800%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0
%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-25%E0%B8%81.%E0%B8%84.-
%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0
%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%
AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.