Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2556 กระทรวงICT เซ็น MOU การวิจัยแห่งชาติ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ


ประเด็นหลัก

การจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งของกระทรวงไอซีทีในการบูรณาการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ โดยกระทรวงไอซีทีและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้มีความเห็นร่วมกันในการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศในเชิงบูรณาการ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดและขอบเขตความร่วมมือในด้านการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ การกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อฝ่ายบริหาร/รัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการในการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้างคลังข้อมูลการวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ

“เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่อออนไลน์ (Online) ต่างๆ ดังนั้น กระทรวงฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ และมีการวางยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ประกอบด้วย การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การสร้างความตระหนักและรอบรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์การพัฒนาระเบียบและกฎหมายเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การวิจัยและพัฒนาเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์




     น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงไอซีทีร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการร่วมกันป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยจากโลกไซเบอร์
        ด้าน ศ. น.พ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ได้ร่วมกับกระทรวงไอซีทีจัดทำแผนยุทธศาสตร์การวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ.2556 - 2560 มีการกำหนดขอบเขตของความร่วมมือ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย บูรณาการการศึกษาวิจัย และสร้างคลังข้อมูลการวิจัยแก้ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา และป้องกันภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศ


______________________________________





ก.ไอซีที ร่วมมือ วช.แก้ไขปัญหา ICTด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์




altนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการดำเนินงานยุทธศาสตร์การวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ

ระหว่างกระทรวงไอซีที กับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ณ ห้องประชุม MICT กระทรวงไอซีที ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ กรุงเทพฯ ว่า ในปัจจุบันจากอาชญากรรมออนไลน์ได้แผ่ขยายไปทั่วโลก ทำให้ส่งผลกระทบต่อบุคคล องค์กร และประเทศ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของชาติ สำหรับสถานการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. หน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวงไอซีที ได้รวบรวมและจัดทำข้อมูลสถิติภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 – เดือนกรกฎาคม 2555  พบว่า ภัยคุกคามที่ได้รับแจ้งมากที่สุด คือ การฉ้อฉลหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ (Fraud) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53 รองลงมาคือการพยายามบุกรุกเข้าระบบ (Intrusion Attempts) คิดเป็นร้อยละ 14 และความพยายามรวบรวมข้อมูลของระบบ (Information Gathering) คิดเป็นร้อยละ 11

การจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งของกระทรวงไอซีทีในการบูรณาการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ โดยกระทรวงไอซีทีและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้มีความเห็นร่วมกันในการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศในเชิงบูรณาการ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดและขอบเขตความร่วมมือในด้านการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ การกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อฝ่ายบริหาร/รัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการในการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้างคลังข้อมูลการวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ

“เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนสื่อออนไลน์ (Online) ต่างๆ ดังนั้น กระทรวงฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ และมีการวางยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ประกอบด้วย การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การสร้างความตระหนักและรอบรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์การพัฒนาระเบียบและกฎหมายเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การวิจัยและพัฒนาเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์


นอกจากนี้ กระทรวงไอซีทียังได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว เช่น การจัดตั้งศูนย์ Cyber Security Operation Center หรือ ศูนย์ CSOC ซึ่งมีหน้าที่ดูแลและป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวกับสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และสังคมเครือข่ายที่ไม่เหมาะสม โดยศูนย์ CSOC มีหน้าที่ดำเนินการติดตาม เฝ้าระวัง ตรวจสอบวิเคราะห์เว็บไซต์และข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมายต่างๆ อันเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยกระทรวงฯ ได้เปิดให้บริการโทรศัพท์สายด่วน 1212 จำนวน 5 คู่สาย ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากภาคประชาชน และอีเมล 1212@mict.mail.go.th สำหรับรับแจ้งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ กล่าว


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=193199:----ict&catid=171:pr&Itemid=512

______________________________________________


วช.-ไอซีที จับมือทำแผนยุทธศาสตร์ รปภ.ไซเบอร์แห่งชาติ



       กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ ด้วยการจัดทำข้อเสนอแนะการวิจัยเชิงนโยบาย และยุทธศาสตร์การวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับเป็นนโยบายการบริหาร และแก้ไขปัญหาของประเทศ
        น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงไอซีทีร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการร่วมกันป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยจากโลกไซเบอร์
        ด้าน ศ. น.พ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ได้ร่วมกับกระทรวงไอซีทีจัดทำแผนยุทธศาสตร์การวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ.2556 - 2560 มีการกำหนดขอบเขตของความร่วมมือ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย บูรณาการการศึกษาวิจัย และสร้างคลังข้อมูลการวิจัยแก้ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา และป้องกันภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศ


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000094045&Keyword=%e4%cd%ab%d5%b7%d5

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.