Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 กรกฎาคม 2556 CAT ฟ้องศาลปกครอง กสทช.(ทำผิดรัฐธรรมนูญยกชุด) เหตุกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแชร์โครงข่ายร่วมกัน (ทั้งที่มันเป็นเรื่องของ CAT และกระทบการยังไม่คืนเสาอีกด้วย)



ประเด็นหลัก



   นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือ CAT เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา กรณีร่างประกาศ เรื่อง การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (อินฟราสตรัคเจอร์ แชร์ริ่ง) ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแชร์โครงข่ายร่วมกัน เป็นการขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
    ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 305 คุ้มครองสิทธิประโยชน์ และทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับโอนจากเอกชนตามสัญญาสร้างโอน ให้บริการ (บีทีโอ) จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน แต่ขณะนี้พบว่า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค นำโครงข่ายไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตามประกาศที่ กสทช.กำหนด ซึ่งไม่เป็นธรรมกับ กสท โทรคมนาคม ในฐานะเจ้าของสัมปทาน จึงถือว่าประกาศ กสทช. ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และต้องการให้ยกเลิกประกาศดังกล่าว และกำหนดประกาศฉบับใหม่ที่เป็นประโยชน์กับทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมากกว่านี้




    นอกจากนี้ ในฐานะที่ กสท โทรคมนาคม เจ้าของสัมปทานควรจะมีสิทธิ์ในโครงข่ายและเป็นผู้กำหนดว่าจะแชร์โครงข่ายอย่างไร มากกว่าที่จะให้เอกชนซึ่งเป็นเพียงคู่สัมปทานดำเนินการด้วยตัวเอง ทั้งที่ กสท มีสิทธิ์ในโครงข่ายนั้นตามสัญญา ซึ่งทั้งดีแทค และทรูมูฟ ยังไม่ยอมโอนเสาสถานีฐานรวมกันกว่า 1.2 หมื่นแห่ง มาให้ กสท โทรคมนาคม ตามสัญญาด้วย ส่งผลให้ขณะนี้ แผนการตั้งบริษัทร่วมกันระหว่าง กสท โทรคมนาคม และ ทีโอที เพื่อให้บริการโครงข่ายต้องสะดุดไปด้วย








______________________________________






ฟ้องประกาศกสทช.โครงข่ายร่วมผิด

กสทฯ ฟ้องศาลปกครองให้ยกเลิกประกาศใช้โครงข่ายร่วมของ กสทช. อ้างขัดรัฐธรรมนูญ

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อศาลปกครอง เมื่อวันที่ 5 ก.ค. กรณีร่างประกาศเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (อินฟราสตรัคเจอร์ แชริ่ง) ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแชร์โครงข่ายร่วมกันเป็นการขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญมาตรา 305 คุ้มครองสิทธิประโยชน์และทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับโอนจากเอกชนตามสัญญาสร้างโอน ให้บริการ (บีทีโอ) จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน แต่ขณะนี้พบว่า บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) นำโครงข่ายไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตามประกาศ กสทช. ซึ่งไม่เป็นธรรมกับ กสทฯ ในฐานะเจ้าของสัมปทาน และต้องการให้ยกเลิกพร้อมกำหนดฉบับใหม่ที่เป็นประโยชน์กับทั้งอุตสาหกรรมมากกว่านี้

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E
0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/232899/%E0%B8
%9F%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8
%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-
%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%
E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B4%
E0%B8%94

___________________________________



'CAT'ยื่นฟ้อง'กสทช.' ออกประกาศขัดรธน.



  CAT ฟ้องศาลปกครอง กรณี กสทช.ยกเลิกประกาศใช้โครงข่ายร่วม ชี้ขัดรัฐธรรมนูญ เกรงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเสียประโยชน์
    นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม หรือ CAT เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา กรณีร่างประกาศ เรื่อง การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (อินฟราสตรัคเจอร์ แชร์ริ่ง) ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแชร์โครงข่ายร่วมกัน เป็นการขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
    ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 305 คุ้มครองสิทธิประโยชน์ และทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับโอนจากเอกชนตามสัญญาสร้างโอน ให้บริการ (บีทีโอ) จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน แต่ขณะนี้พบว่า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค นำโครงข่ายไปให้ผู้อื่นเช่าใช้ตามประกาศที่ กสทช.กำหนด ซึ่งไม่เป็นธรรมกับ กสท โทรคมนาคม ในฐานะเจ้าของสัมปทาน จึงถือว่าประกาศ กสทช. ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และต้องการให้ยกเลิกประกาศดังกล่าว และกำหนดประกาศฉบับใหม่ที่เป็นประโยชน์กับทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมากกว่านี้
    นอกจากนี้ ในฐานะที่ กสท โทรคมนาคม เจ้าของสัมปทานควรจะมีสิทธิ์ในโครงข่ายและเป็นผู้กำหนดว่าจะแชร์โครงข่ายอย่างไร มากกว่าที่จะให้เอกชนซึ่งเป็นเพียงคู่สัมปทานดำเนินการด้วยตัวเอง ทั้งที่ กสท มีสิทธิ์ในโครงข่ายนั้นตามสัญญา ซึ่งทั้งดีแทค และทรูมูฟ ยังไม่ยอมโอนเสาสถานีฐานรวมกันกว่า 1.2 หมื่นแห่ง มาให้ กสท โทรคมนาคม ตามสัญญาด้วย ส่งผลให้ขณะนี้ แผนการตั้งบริษัทร่วมกันระหว่าง กสท โทรคมนาคม และ ทีโอที เพื่อให้บริการโครงข่ายต้องสะดุดไปด้วย
    ทางด้าน น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ กระทรวงไอซีที กล่าวว่า กสท โทรคมนาคม ยังมีปัญหาเรื่องทรัพย์สินที่ยังไม่ได้รับคืน และเรื่องยังอยู่ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ.


http://www.thaipost.net/news/080713/76081

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.