Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 กรกฎาคม 2556 กสทช. เตรียมย้ายคลื่น FREE TV ความถี่700 MHz ป้องกันการเกิดการรบกวนกัน(เหตุเตรียมนำ700 MHzทำมือถือ และ 470-510 MHz ทำTVแทน)




ประเด็นหลัก



พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2556 มีมติเห็นชอบให้เสนอบอร์ด กสทช.แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (บอร์ด กทค.) เพื่อศึกษาการใช้งานคลื่นความถี่ 700 MHz ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ โดยเบื้องต้นได้กำหนดกรอบการทำงาน และศึกษาแนวทางการทำงาน ดังนี้ 1. การเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 470-510 MHz 2. ศึกษาและเสนอแนวทางการยุติสัญญาสัมปทาน 3. ศึกษาการรบกวนการใช้คลื่นของประเทศเพื่อนบ้าน
   
       ทั้งนี้ ในประเด็นแนวทางการเรียกคืนคลื่น 470-510 MHz ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่กำหนดไว้ว่าหากมีหน่วยงานที่ใช้คลื่นความถี่อยู่เดิมให้ใช้ต่อไปได้ไม่เกิน 15 ปี ขณะเดียวกันเรื่องการรบกวนของสัญญาณคลื่นความถี่กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในตอนนี้มีประเทศมาเลเซียที่ได้ประกาศว่าจะนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ใช้งานกิจการโทรคมนาคมในปี 2020 ซึ่งการแก้ไขอาจจะต้องใช้วิธีการย้ายคลื่นความถี่เพื่อจะไม่ให้เกิดการรบกวนกันได้
   
       “ในตอนนี้สิ่งสำคัญถ้าหากจะพูดถึงเรื่อง Digital Dividend Spectrum คือจะต้องใช้คลื่นความถี่ที่เหมือนประเทศเพื่อนบ้านก่อน โดยเฉพาะการเริ่มต้นที่คลื่น 470 MHz ตามแผนแม่บทฯ”





นอกจากนี้ กสท.ยังพิจารณาตัดสิทธิ์ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 926 สถานี เนื่องจากไม่เข้ามายื่นขอทดลองประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบการวิทยุที่ถูกตัดสินสามารถยื่นอุทรณ์ได้ภายใน 15 วัน ในขณะเดียวกันยังอนุมัติทดลองประกอบกิจการวิทยุเพิ่มเติม จำนวน 118 สถานี แบ่งเป็นบริการธุรกิจ 74 สถานี บริการสาธารณะ 18 สถานี และบริการชุมชน 26 สถานี รวมอนุมัติไปแล้ว 2,259 สถานี  และอนุมัติช่องรายการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมอีกจำนวน 173 ช่องรายการและได้อนุมัติใบอนุญาตโครงข่ายที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ระดับท้องถิ่นจำนวน 10 ใบอนุญาต  เพื่อเข้าสู่กำกับดูแลต่อไป.






______________________________________






กสท.ชงบอร์ดใหญ่ตั้งคณะทำงานร่วม กทค.ถกความถี่ 700 MHz
\

       กสท.เล็งชงบอร์ด กสทช.ตั้งคณะทำงานร่วม กทค.สางปมความถี่ 700 MHz พร้อมระบุอาจยังติดปัญหาสัมปทานช่อง3, 7 ขณะเดียวกันสั่งปรับอาร์เอส 5 แสนกรณี “ปากโป้ง”
   
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2556 มีมติเห็นชอบให้เสนอบอร์ด กสทช.แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (บอร์ด กทค.) เพื่อศึกษาการใช้งานคลื่นความถี่ 700 MHz ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ โดยเบื้องต้นได้กำหนดกรอบการทำงาน และศึกษาแนวทางการทำงาน ดังนี้ 1. การเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 470-510 MHz 2. ศึกษาและเสนอแนวทางการยุติสัญญาสัมปทาน 3. ศึกษาการรบกวนการใช้คลื่นของประเทศเพื่อนบ้าน
   
       ทั้งนี้ ในประเด็นแนวทางการเรียกคืนคลื่น 470-510 MHz ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่กำหนดไว้ว่าหากมีหน่วยงานที่ใช้คลื่นความถี่อยู่เดิมให้ใช้ต่อไปได้ไม่เกิน 15 ปี ขณะเดียวกันเรื่องการรบกวนของสัญญาณคลื่นความถี่กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในตอนนี้มีประเทศมาเลเซียที่ได้ประกาศว่าจะนำคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ใช้งานกิจการโทรคมนาคมในปี 2020 ซึ่งการแก้ไขอาจจะต้องใช้วิธีการย้ายคลื่นความถี่เพื่อจะไม่ให้เกิดการรบกวนกันได้
   
       “ในตอนนี้สิ่งสำคัญถ้าหากจะพูดถึงเรื่อง Digital Dividend Spectrum คือจะต้องใช้คลื่นความถี่ที่เหมือนประเทศเพื่อนบ้านก่อน โดยเฉพาะการเริ่มต้นที่คลื่น 470 MHz ตามแผนแม่บทฯ”
   
       ทั้งนี้ ในปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (ฟรีทีวี) ได้แก่ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7) ยังเหลืออายุสัมปทานอีก 10 ปี ภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก และบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3) ที่ออกอากาศในระบบ UHF เหลืออายุสัญญาสัมปทานราว 8-9 ปี โดยดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
   
       พ.อ.นทีกล่าวว่า บอร์ด กสท.ยังเห็นชอบให้นำเสนอร่างประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลในกลุ่มช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่องที่ผ่านการรับฟังความเห็นสาธารณะเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ให้บอร์ด กสทช.ในวันที่ 17 ก.ค.นี้พิจารณาอนุมัติต่อไป โดยมีการเสนอความเห็นที่เป็นสาระสำคัญและอาจนำไปสู่การแก้ไขประกาศ เช่น การปรับอัตราเคาะราคาประมูลช่องรายการเด็ก จากครั้งละ 1 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้นประมูล 140 ล้านบาท และการปรับสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวและสาระในช่องข่าว จากเดิม 75% ลดเหลือ 50% เนื่องจากหลายฝ่ายเห็นว่าทีวีสาธารณะก็ได้กำหนดสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวและสาระ 75% อยู่แล้ว ดังนั้นในช่องรายการข่าวประเภททีวีธุรกิจก็ควรจะปรับลดลง เป็นต้น
   
       ขณะเดียวกันยังมีความคืบหน้าการนำเข้ากล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอล (Set Top Box) ซึ่งคาดว่าภายในเดือน ส.ค.นี้จะมีความชัดเจน โดย กสทช.จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงสัญลักษณ์กล่องที่เป็นไปตามมาตรฐานของ กสทช.เท่านั้น
   
       อีกทั้งที่ประชุมยังเห็นชอบให้ตัดสิทธิ์การทดลองออกอากาศของสถานีวิทยุ 926 ราย เนื่องจากไม่ดำเนินการตามประกาศ กสทช. แต่ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน ขณะเดียวกันได้อนุมัติการทดลองออกอากาศของสถานีวิทยุอีก 118 ราย ทำให้ปัจจุบัน กสทช.ได้ออกใบอนุญาตทดลองออกอากาศรวม 2,359 ราย อีกทั้งได้ออกใบอนุญาตช่องรายการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม) เพิ่มอีก 173 ราย จากเดิม 506 ราย ดังนั้นจะเหลือช่องรายอีก 40 รายเท่านั้นที่ยังไม่เข้าสู่ระบบใบอนุญาตและไม่มีสิทธิ์ออกอากาศใดๆ จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. และออกใบอนุญาตให้โครงข่ายเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมระดับท้องถิ่นอีก 10 ราย
   
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบสั่งปรับบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) วงเงิน 500,000 บาท จากกรณีรายการ “ปากโป้ง” ที่ดำเนินรายการขัดต่อมาตรา 37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 และให้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสถานีและผู้รับใบอนุญาตตักเตือนพิธีกรรายการด้วยเพื่อมิให้เป็นแบบอย่างต่อไป

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000083267

___________________________




กสท.ปรับเงินรายการ “ปากโป้ง” 5 แสนบาท


สั่งปรับรายการปากโป้ง 5 แสนบาท ผิดม.37 กสท.จี้ผู้อำนวยการสถานี-ผู้รับใบอนุญาต ตักเตือนผู้ดำเนินรายการ พิจารณาตัดสิทธิ์วิทยุ 926 สถานี ไม่ขอยื่นทดลองประกอบกิจการ
วันนี้( 8 ก.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สำนักงาน กสทช.)พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า กสท.ได้พิจารณาเรื่องรายการปากโป้ง ที่ออกอากาศทางช่อง 8 อาร์เอส ซึ่งมีเนื้อหารายการเข้าข่ายผิด ม.37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551  มีโทษปรับจำนวน 5 แสนบาท และได้ให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือแจ้งถึงผู้อำนวยการสถานี ผู้รับใบอนุญาต  ไปตักเตือนผู้ดำเนินรายการ และส่งมาตรการตักเตือนดังกล่าวให้สำนักงาน กสทช.ทราบ


สำหรับรายการปากโป้งเทปดังกล่าวได้ออกอากาศเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา เป็นการสัมภาษณ์เด็กออทิสติกที่ถูกข่มขืนในเชิงที่ลงรายละเอียดค่อนข้างลึก แม้จะมีการทำภาพเบลอหน้าตาของผู้ถูกกระทํา แต่ได้นํามารดาของเด็กมาด้วย ซึ่งพิจารณาแล้วมีการนำเสนอเนื้อหาขัดต่อมาตรา 37 วรรค 1 ที่มีการแพร่ภาพรายการซึ่งมีเนื้อหารายการขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน


นอกจากนี้ กสท.ยังพิจารณาตัดสิทธิ์ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง จำนวน 926 สถานี เนื่องจากไม่เข้ามายื่นขอทดลองประกอบกิจการ โดยผู้ประกอบการวิทยุที่ถูกตัดสินสามารถยื่นอุทรณ์ได้ภายใน 15 วัน ในขณะเดียวกันยังอนุมัติทดลองประกอบกิจการวิทยุเพิ่มเติม จำนวน 118 สถานี แบ่งเป็นบริการธุรกิจ 74 สถานี บริการสาธารณะ 18 สถานี และบริการชุมชน 26 สถานี รวมอนุมัติไปแล้ว 2,259 สถานี  และอนุมัติช่องรายการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมอีกจำนวน 173 ช่องรายการและได้อนุมัติใบอนุญาตโครงข่ายที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ระดับท้องถิ่นจำนวน 10 ใบอนุญาต  เพื่อเข้าสู่กำกับดูแลต่อไป.

http://www.dailynews.co.th/technology/217638

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.