Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

9 กรกฎาคม 2556 เตรียมการประชุมบอร์ดกทค.วันที่ 10 ก.ค.++ ชี้สถานภาพไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เป็นดาวเทียมนอกสัปทานตามศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่



ประเด็นหลัก



แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า การประชุมบอร์ดกทค.วันที่ 10 ก.ค.นี้ จะพิจารณาวาระคงค้างมากกว่า 18 วาระ เพื่อให้สรุปมติก่อนนำเข้าบอร์ดคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วันที่ 17 ก.ค.นี้ หลังจากบอร์ด กทค. หลายคนเดินทางไปต่างประเทศนานกว่า 10 วัน ทำให้เหลือวาระพิจารณาจำนวนมาก

อย่างไรก็ดี วาระสำคัญที่จะพิจารณาคือ การสอบถามไปยัง บมจ.ไทยคม ผู้ให้บริการดาวเทียมของประเทศไทยตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตีความว่าไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ไม่ถือเป็นดาวเทียมสำรองไทยคม 3 เพราะการใช้งานและสเปคดาวเทียมแตกต่างกัน และเป็นดาวเทียมนอกสัมปทานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

จากสถานะภาพดังกล่าว ไอพีสตาร์ต้องขออนุญาตการประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารจาก กสทช. หรือไม่ และไทยคมได้ดำเนินการแล้วหรือยัง แต่การตรวจสอบ และพิจารณาสถานะภาพของไอพีสตาร์ไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข 3 ข้อที่ศาลฎีกามีมติให้ไอซีทีและไทยคมดำเนินการ เพราะส่วนนั้นเข้าใจว่าการแก้ไขแล้วเสร็จและกำลังเข้ามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบ


แหล่งข่าว ระบุอีกว่า หลังจาก กทค. พิจารณาแล้วจะสอบถามความชัดเจนไปยังไอซีทีว่า การแก้ไขสัญญาดังกล่าว ไอซีที หรือไทยคมเป็นเจ้าของไอพีสตาร์โดยชอบธรรม แม้สรุปว่าเป็นดาวเทียมนอกสัมปทานแต่เมื่อยิงขึ้นสู่วงโคจรและจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ไอซีทีก็ถือเป็นดาวเทียมในสัมปทาน หากไม่ใช่ก็จะเป็นดาวเทียมในกำกับของ กสทช. ทันที และถ้าไทยคมไม่มาขอใบอนุญาตจาก กสทช.ก็เท่ากับให้บริการโดยไม่มีใบอนุญาต












______________________________________






บอร์ด กทค.ถกสถานะ 'ไอพีสตาร์' 10ก.ค.นี้


บอร์ด กทค. เตรียมพิจารณาสถานภาพไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) 10 ก.ค.นี้ ถามความชัดเจนเป็นดาวเทียมของไอซีที หรือเอกชน


แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า การประชุมบอร์ดกทค.วันที่ 10 ก.ค.นี้ จะพิจารณาวาระคงค้างมากกว่า 18 วาระ เพื่อให้สรุปมติก่อนนำเข้าบอร์ดคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วันที่ 17 ก.ค.นี้ หลังจากบอร์ด กทค. หลายคนเดินทางไปต่างประเทศนานกว่า 10 วัน ทำให้เหลือวาระพิจารณาจำนวนมาก

อย่างไรก็ดี วาระสำคัญที่จะพิจารณาคือ การสอบถามไปยัง บมจ.ไทยคม ผู้ให้บริการดาวเทียมของประเทศไทยตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตีความว่าไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ไม่ถือเป็นดาวเทียมสำรองไทยคม 3 เพราะการใช้งานและสเปคดาวเทียมแตกต่างกัน และเป็นดาวเทียมนอกสัมปทานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

จากสถานะภาพดังกล่าว ไอพีสตาร์ต้องขออนุญาตการประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารจาก กสทช. หรือไม่ และไทยคมได้ดำเนินการแล้วหรือยัง แต่การตรวจสอบ และพิจารณาสถานะภาพของไอพีสตาร์ไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข 3 ข้อที่ศาลฎีกามีมติให้ไอซีทีและไทยคมดำเนินการ เพราะส่วนนั้นเข้าใจว่าการแก้ไขแล้วเสร็จและกำลังเข้ามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบ

หาก กทค. หรือกสทช. ต้องดูว่า เมื่อคำชี้ขาดระบุแล้วว่าไอพีสตาร์ไม่ใช่ดาวเทียมในสัมปทาน การให้บริการจะถือเป็นดาวเทียมที่อยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. และจะต้องขอใบอนุญาตให้บริการเหมือนที่บอร์ด กทค.ให้ใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารกับไทยคม 7

"เราไม่ได้จะไปก้าวก่ายในการแก้สัญญาที่ศาลฎีกามีคำสั่งเพราะเป็นคนละส่วนกัน ซึ่งจะประกอบด้วยการหาดาวเทียมมาทดแทนไทยคม 3 เพราะการยิงดาวเทียมไอพีสตาร์ขัดต่อสัญญาและไม่ถือเป็นดาวเทียมสำรอง การเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น ของกลุ่มอินทัชให้ต้องถือหุ้นไม่ตํ่ากว่า 51% รวมทั้งการนำเงินที่ได้จากการประกันความเสียหายดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 33 ล้านดอลลาร์ แต่เมื่อไอพีสตาร์ไม่ใช่ดาวเทียมในสัมปทานก็ต้องมาอยู่ในกำกับของเรา"

แหล่งข่าว ระบุอีกว่า หลังจาก กทค. พิจารณาแล้วจะสอบถามความชัดเจนไปยังไอซีทีว่า การแก้ไขสัญญาดังกล่าว ไอซีที หรือไทยคมเป็นเจ้าของไอพีสตาร์โดยชอบธรรม แม้สรุปว่าเป็นดาวเทียมนอกสัมปทานแต่เมื่อยิงขึ้นสู่วงโคจรและจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ไอซีทีก็ถือเป็นดาวเทียมในสัมปทาน หากไม่ใช่ก็จะเป็นดาวเทียมในกำกับของ กสทช. ทันที และถ้าไทยคมไม่มาขอใบอนุญาตจาก กสทช.ก็เท่ากับให้บริการโดยไม่มีใบอนุญาต

ปัจจุบันไทยคมให้บริการดาวเทียมอยู่ 2 ดวงคือ ไทยคม 5 ให้บริการแพร่ภาพ และไอพีสตาร์ ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ทั้งมีแผนจะยิงดาวไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจรภายในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยบริษัทได้ขายช่องสัญญาณไปแล้วประมาณ 60% เป็นลูกค้าในประเทศ และต่างประเทศ และไทยคม 7 ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ปัจจุบันขายช่องสัญญาณล่วงหน้าได้แล้ว 40%


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130709/516100/%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%
B9%8C%E0%B8%94-
%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%84.%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%
B8%99%E0%B8%B0-
%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%
B9%8C-10%E0%B8%81.%E0%B8%84.%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.