Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 สิงหาคม 2556 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.ตัดสินใจไม่โอนลูกค้าคลื่น 1800 ปล่อยSIMดับโดยให้เวลาลูกค้าที่หมดสป.โอนย้ายภายในมิถุนายน 57 (เพื่อนำไปประมูล4Gคาดใช้งบ63ลบ.)


ประเด็นหลัก

    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ที่ประชุม กทค.รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... และจะดำเนินการพิจารณาข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอีกครั้ง เพื่อเสนอเข้าที่ประชุม กทค.ในวันที่ 9 ส.ค.นี้ ก่อนนำขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการ กสทช.ในวันที่ 14 ส.ค.56 โดยผลตอบรับจากการรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ผ่านมา มีประชาชนให้ความสนใจจำนวน 3,000 คน ตอบแบบสอบถามความคิดเห็น ซึ่งมีผู้เห็นด้วยในร่างประกาศดังกล่าวถึง 93.53%



ในขณะเดียวกันการโอนย้ายเลขหมายลูกค้าในระบบ 1800 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 17 ล้านเลขหมายคาดจะใช้ระยะเวลากว่า 9 เดือน ในการโอนย้ายหากได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้บริการ เนื่องจากปัจจุบันขีดความสามารถโอนย้ายได้เพียงวันละ 60,000 เลขหมาย ต่อ วัน  โดยลูกค้าในระบบ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 56 ต้องโอนย้ายออกจากระบบ เพราะจะไม่มีการโอนย้ายลูกค้าอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อถึงกำหนดระยะเวลาเยียวยาแล้วนำคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์มาประมูลซิมจะดับทันที















______________________________________




กทค.ดันลูกค้า1800เมกะเฮิร์ตซเร่งโอนย้าย


กทค. เตรียมร่างประกาศฯคุ้มครองผู้ใช้บริการ 1800 เมกะเฮิร์ตซเสนอบอร์ดกสทช. ชี้โอนย้าย 17 ล้านเลขหมาย ใช้เวลานานกว่า 9 เดือน จ่อเร่งโอนย้ายลูกค้าก่อนซิมดับ
วันนี้(7ส.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เปิดเผยว่า กทค. พิจารณาร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ....  เตรียมสรุปเสนอต่อประชุมกทค.วันที่ 9 ส.ค. 56 และเสนอที่ประชุมกสทช.วันที่ 14ส.ค.56 ส่วนใหญ่กว่า 93 %  เห็นด้วยต่อร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการ 1800 เมกะเฮิรตซ์ดังกล่าว

ในขณะเดียวกันการโอนย้ายเลขหมายลูกค้าในระบบ 1800 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 17 ล้านเลขหมายคาดจะใช้ระยะเวลากว่า 9 เดือน ในการโอนย้ายหากได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้บริการ เนื่องจากปัจจุบันขีดความสามารถโอนย้ายได้เพียงวันละ 60,000 เลขหมาย ต่อ วัน  โดยลูกค้าในระบบ 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 56 ต้องโอนย้ายออกจากระบบ เพราะจะไม่มีการโอนย้ายลูกค้าอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อถึงกำหนดระยะเวลาเยียวยาแล้วนำคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์มาประมูลซิมจะดับทันที

ทั้งนี้ หากลูกค้า 2 จีที่หมดสัปทาน ไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อซื้อเครื่องอุปกรณ์รองรับ 3 จี สามารถย้ายไปยังระบบ 2 จี คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส  และ 2 จี คลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เนื่องจากเป็นระบบ2 จี เดิม

http://www.dailynews.co.th/technology/224625


____________________________________________________



อ้างประชาชนหนุนยืดอายุคลื่น1800



กสทช. ฟุ้ง ร่างคุ้มครองฯ คลื่น 1800 ปชช. เห็นด้วย 94% แจงเหตุไม่เร่งย้ายโอนผู้ใช้บริการ เกรงบีบคนเข้าระบบ 3G อัตโนมัติ ด้านงบประมูลคลื่น 1800 คาดใช้ 63 ล้านบาท
    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ที่ประชุม กทค.รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... และจะดำเนินการพิจารณาข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอีกครั้ง เพื่อเสนอเข้าที่ประชุม กทค.ในวันที่ 9 ส.ค.นี้ ก่อนนำขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการ กสทช.ในวันที่ 14 ส.ค.56 โดยผลตอบรับจากการรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่ผ่านมา มีประชาชนให้ความสนใจจำนวน 3,000 คน ตอบแบบสอบถามความคิดเห็น ซึ่งมีผู้เห็นด้วยในร่างประกาศดังกล่าวถึง 93.53%
    สำหรับขีดความสามารถในการโอนย้ายผู้ใช้บริการของคลื่น 1800 MHz ปัจจุบันอยู่ที่ 6 หมื่นเลขหมายต่อผู้ให้บริการต่อวัน ซึ่งต้องใช้การโอนย้ายภายในเวลา 9 เดือน สำหรับผู้ใช้บริการทั้ง 17 ล้านเลขหมาย และคาดว่าไม่สามารถโอนย้ายได้ทันก่อนหมดสัญญาสัมปทาน ในวันที่ 15 ก.ย.2556 ซึ่งระยะเวลาที่มีการเยียวยาในช่วง 1 ปี ก็จะทยอยโอนย้าย
    ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้บริการด้วย เนื่องจากจำนวนคนที่ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยมีไม่ถึง 40% นั้น หมายความว่า ยังมี 60% ที่ใช้ฟีเจอร์โฟนอยู่ ซึ่งการเร่งโอนย้ายจะเป็นการบีบให้คนที่ใช้บริการไปใช้ 3G แบบอัตโนมัติ ซึ่งคนที่ใช้ฟีเจอร์โฟนและไม่อยากเปลี่ยนไปใช้สมาร์ทโฟน สามารถเลือกใช้ได้เพียงคลื่น 900 MHz ของเอไอเอส และคลื่น 1800 MHz ของดีแทค และหากต้องย้ายไปค่ายอื่นนั้น คนที่ใช้ฟีเจอร์โฟนจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนเพื่อรองรับ 3G
    ส่วนงบประมาณในการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่จะมีขึ้นในเดือน ต.ค.2557 นั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณที่ 63 ล้านบาท โดยยึดกรอบการประมูลเดียวกับการประมูล 3G 2100 MHz.


http://www.thaipost.net/news/080813/77517

__________________________________________


หนุนแนวทางกสทช.แก้ซิมดับ ชี้ลูกค้าคลื่น1800ได้ประโยชน์


นักวิชาการด้านโทราคมนาคม รายหนึ่งระบุว่า จากกรณีที่ มีข้อเรียกร้องให้เร่งประมูลคลื่น 1800 “ นั้นกลุ่มที่ออกมาคัดค้าน ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูล ทำให้ประเด็นการโต้แย้งไม่มีน้ำหนัก ทั้งนี้ในประเด็น อำนาจทางกฎหมายของ  กสทช.ในการขยายระยะเวลาการคืนคลื่นนั้น ในความเป็นจริงแล้ว  กสทช.มีอำนาจทางกฎหมายในการออกมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47)  โดยมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการดังกล่าวไม่ใช่การขยายเวลาการคืนคลื่น แต่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคกว่า 17 ล้านคนไม่ให้เกิดสภาวะซิมดับ

            ส่วนประเด็น คลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ประมูลไปแล้วไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคที่สูงขึ้น ทำให้บางกลุ่มเรียกร้องให้มีการประมูลคลื่น 1800 ที่กำลังหมดสัมปทานโดยเร็ว  โดยเชื่อว่า หาก กสทช. จัดให้มีการประมูลล่วงหน้า อย่างน้อย 6 เดือน ผู้ชนะการประมูลย่อมมีเวลาในการเจรจากับ กสท.เพื่อขอเช่าโครงข่ายนั้น  จากกรณีดังกล่าว เป็นการสรุปจากคำสัมภาษณ์ของเอกชนเพียงรายเดียว คือ เอไอเอส เท่านั้น โดยไม่ได้วิเคราะห์สภาพตลาดและอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยว่ามีความเป็นได้แค่ไหน  อีกทั้ง ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุดและทำให้ประเทศเสียหาย

              หากพิจารณาจากข้อเท็จจริง   พบว่าหลังสัมปทานสิ้นสุดลง คลื่น 1800 ต้องคืนให้กับ กสท. และ โครงข่าย 2G  ซึ่งปัจจุบันล้าสมัยไม่สามารถนำไปใช้ได้กับ บริการ 3G และ 4G    เพราะหากมีการจัดประมูลคลื่นความถี่1800 ก่อนสิ้นสุดสัมปทาน   ผู้ชนะประมูลจะมุ่งเน้นใช้คลื่นเพื่อให้บริการ 3G และ  4G  ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่ใช้โครงข่ายของ กสท.เพราะโครงข่าย กสท. รองรับได้เฉพาะบริการ 2G เท่านั้น  ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนสร้างโครงข่ายใหม่ ซึ่งต้องใช้ ระยะเวลาพอสมควร

               “ที่สำคัญ หากมีการประมูลจะก่อให้เกิดปัญหากับผู้ใช้บริการ 2G ที่ค้างในระบบกว่า 17 ล้านราย  ที่ไม่มีความประสงค์จะเปลี่ยนไปใช้บริการ 4G  หรือ มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนไปใช้ 4 G  เพราะอุปกรณ์มือถือที่ใช้อยู่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยี 4G ได้  การเร่งจัดประมูลคลื่น 1800 โดยไม่คำนึงถึงความพร้อม เป็นการแก้ปัญหาผู้บริโภคที่ผิดทางและสร้างความเสียหาย”

                 ส่วนประเด็นที่บางกลุ่มออกมาเรียกร้อง ให้เยียวยาผู้บริโภคที่ต้องการใช้บริการ 2G ด้วยการย้ายค่ายไปยังผู้ให้บริการรายอื่น กสทช.ควรเร่งให้เกิดการโอนย้ายลูกค้าก่อนหน้า 1 ปี โดยไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาในการคืนคลื่นนั้น   เป็นข้อเสนอที่ไม่เข้าใจประเด็นข้อกฎหมายและไม่เข้าใจประเด็นอย่างรอบคอบ เพราะในช่วงที่สัมปทานยังไม่สิ้นสุด  หาก กสทช.ไปกระตุ้นให้เกิดการย้ายค่าย จะเกิดผลกระทบและข้อครหาว่า กสท.ไปเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการอีกรายทั้งๆที่สัมปทานยังไม่สิ้นสุด

               ด้าน นายสุทธิพล  ทวีชัยการ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า คณะอนุกรรมการเตรียมควา ม พร้อมฯ ไม่เคยมีมติเสนอให้ กสทช.เร่งจัดประมูลให้ทันก่อนหมดอายุสัมปทาน และ ไม่ได้ระบุว่า กสทช. ไม่ได้มีฐานอำนาจทางกฎหมายในการขยายระยะเวลาคืนคลื่น เพียงแต่มีเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเยียวยาเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการที่ค้างอยู่ในระบบ ภายหลังสัมปทานสิ้นสุด


http://www.naewna.com/business/63233

_____________________________________________________


กทค.ฟันธงร่างเยียวยา 1800 MHz 9 ส.ค.นี้




       บอร์ดกทค.คาดได้ข้อสรุปร่างเยียวยา1800 MHz 9 ส.ค.นี้ หลังได้ผลประชาพิจารณ์ 7 ประเด็น แต่ 'เศรษฐพงค์' เชื่อมีแค่ 2 ประเด็นหลักที่คนสนใจคือใครจะเป็นผู้ให้บริการและค่าธรรมเนียมต่างๆที่รัฐจะได้รับ พร้อมอนุมัติเงิน63 ล้านบาทใช้ประมูลความถี่ 1800 MHz ก.ย.ปี 57
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกทค.เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ได้รับทราบผลรายงานของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 25 ก.ค.2556 ที่ผ่านมา รวมไปถึงความคิดเห็นของคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHzโดยมีข้อสรุปใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1.ฐานอำนาจตามกฏหมาย 2.เนื้อหาความคุ้มครอง 3.ค่าธรรมเนียมย้ายบริการโดยคงสิทธิเลขหมาย 4.ผู้มีหน้าที่ให้ความคุ้มครอง 5.ระยะเวลาคุ้มครอง 6. การหยุดให้บริการและ 7.ค่าธรรมเนียมหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
     
       ทั้งนี้บอร์ดกทค.ได้นำรายงานผลของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมการกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เพื่อวิเคราะห์ และสรุปผลทั้งหมด และนำเข้าบอร์ด กทค.อีกครั้งในวันศุกร์ที่ 9 ส.ค.โดยหลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ในวันที่ 14 ส.ค.ที่จะถึงนี้เพื่อพิจารณาก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป
     
       อย่างไรก็ตามจากทั้ง7 ประเด็น พบว่ามีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญที่ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการภายหลังหมดสัญญาสัมปทานลงในวันที่15ก.ย.2556 นี้และรายได้ที่ภาครัฐสมควรควรจะได้รับ คือ 1.ประเด็นเรื่องผู้มีหน้าที่ให้ความคุ้มครอง หรือผู้ที่จะมีหน้าที่ดูแลลูกค้าต่อไป โดยคณะกรรมการรับฟังความเห็นสาธารณะได้เสนอ 2 แนวทาง คือ1.ผู้ให้สัมปทาน(รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง)ซึ่งเป็นผู้มีใบอนุญาตจะเป็นผู้ให้บริการต่อไป และ2.ผู้ให้บริการเดิม(ผู้รับสัมปทาน)จะเป็นผู้ให้บริการเช่นเดิม ขณะเดียวกันระยะเวลาการคุ้มครองซึ่งจะเป็น1หรือ2ปี หรืออาจสั้นกว่านั้น 2.เรื่องค่าธรรมเนียมหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานนั้น ซึ่งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะได้เสนอ2 แนวทางเช่นเดียวกัน คือ 1.ให้ผู้ให้บริการที่มีใบอนุญาตเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆเป็นปกติ ตามที่ได้ดำเนินการอยู่ 2.ให้ผู้ประกอบการหักค่าใช้จ่ายต่างๆที่จำเป็นอาทิ ค่าเช่าโครงข่าย และค่าบริหารจัดการที่เกิดขึ้น แล้วให้ส่งส่วนต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายให้แก่รัฐโดยตรง
     
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบกรอบการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ ศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ในวงเงินมูลค่า 63 ล้านบาท โดยขั้นต่อไปจะนำเสนอต่อสำนักงานกสทช.
     

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000097926

____________________________________________________



ทุ่ม63ล.ประมูล1800-กทค. หวั่นบีบลูกค้า17ล้านรายใช้3จีทางอ้อม




บอร์ด กทค.เร่งหามาตรการเยียวยาลูกค้าก่อนซิมดับ หลังโอนย้ายลูกค้า 17 ล้านรายไม่ทัน หวั่นลูกค้าโดนบีบใช้ 3จี แพงกว่าเดิม พร้อมเผยงบจัดประมูลคลื่น 1800 ปี 57 ยอด 63 ล้านบาท...

บอร์ด กทค. เตรียมพิจารณามาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ในวันที่ 9 ส.ค.นี้ ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยเฉพาะมาตรการเยียวยาลูกค้าที่อาจโอนย้ายไม่ทัน หลังการขยายเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการต่อไปอีก 1 ปี จนถึงเดือน ก.ย.2557 เนื่องจากพบว่าระยะเวลาการขยายออกไปอีก 1 ปีนั้น ไม่เพียงพอต่อการโอนย้ายลูกค้าของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่มีอยู่รวมกัน 17 ล้านราย เพราะปริมาณการโอนย้ายสูงสุดในปัจจุบัน คือ 3 แสนแลขหมายต่อวัน ทั้งระบบ หรือเฉลี่ยรายละ 6 หมื่นเลขหมายเท่านั้น ซึ่งคาดว่าไม่สามารถโอนย้ายได้ทันก่อนหมดสัญญาสัมปทาน ในวันที่ 15 ก.ย. 2556

ประธาน กทค. กล่าวต่อว่า เบื้องต้น ระยะเวลาที่มีการเยียวยาในช่วง 1 ปี ในการทยอยโอนย้ายลูกค้า ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการขอผู้ใช้บริการด้วย เนื่องจากจำนวนคนที่ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทย มีไม่ถึง 40% หมายความว่า ยังมี 60% ที่ใช้ฟีเจอร์โฟนอยู่ ซึ่งการเร่งโอนย้ายจะเป็นการบีบให้คนที่ใช้บริการไปใช้ 3จี แบบอัตโนมัติ ซึ่งคนที่ใช้ฟีเจอร์โฟนและไม่อยากเปลี่ยนไปใช้สมาร์ทโฟน สามารถเลือกใช้ได้เพียงคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ ของดีแทค และหากต้องย้ายไปค่ายอื่นนั้น คนที่ใช้ฟีเจอร์โฟนจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟน เพื่อรองรับ 3จี

ทางด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กทค. กล่าวว่า หากลูกค้ายังต้องการอยู่ในระบบ 2จี เดิม จะสามารถโอนย้ายไปยังผู้ให้บริการเพียง 2 รายเท่านั้น คือ เอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ซึ่งหากลูกค้าไม่ดำเนินการในระยะเวลาที่กำหนด จนสิ้นสุดระยะเวลาการคุ้มครอง จะถูกย้ายไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ที่ประมูลได้ทันที ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าบริการที่แพงขึ้น

สำหรับร่างประกาศเรื่องมาตรการคุ้มครองที่ได้ผ่านการรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) มาแล้ว บอร์ดได้ให้คณะอนุกรรมการสรุปรายละเอียดต่างๆ เช่น แนวทางการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเอกชนที่ได้รับสิทธิ์ดูแลลูกค้า โดยแนวทางที่เหมาะสม คือ เอกชนต้องนำส่งรายได้หลังหักค่าธรรมเนียมเลขหมาย ค่าบริหารจัดการ และค่าเช่าโครงข่าย ให้กับรัฐ ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้รัฐมีรายได้มากกว่ารายได้ที่เคยได้รับจากสัมปทานแน่นอน

ส่วนงบประมาณในการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ ที่จะมีขึ้นในเดือน ต.ค.2557 นั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณที่ 63 ล้านบาท โดยยึดกรอบการประมูลเดียวกับการประมูล 3จี 2100 เมกะเฮิร์ตซ ซึ่งจำนวนงบประมาณอาจมีการเพิ่มขึ้น เนื่องจากงบส่วนใหญ่ในการศึกษาวิจัย มากกว่าการประมูล 3จี ที่ผ่านมา.


โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/362108

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.