Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 สิงหาคม 2556 เบื่องลึกเชื่อ!! คาด(การทำกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน) ช่วยTRUEลดหนี้สินโดยไปชำระหนี้สินบางส่วน ปัจจุบันมีหนี้สินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท


ประเด็นหลัก


ขายทรัพย์สิน-ล้างหนี้

ตามรายงานที่กลุ่มทรู แสดงความจำนงค์ขอจัดตั้งอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ ประกอบด้วย การขายสินทรัพย์ ได้แก่ เสาโทรคมนาคมจํานวน 13,000 ต้น ในจำนวนนี้สัดส่วนราว 65% มีขอทักท้วงเรื่องกรรมสิทธิกับบมจ.กสท โทรคมนาคม ภายใต้สัญญาสัมปทาน สินทรัพย์โครงข่ายของทรู ออนไลน์ ทั้งใยแก้วนําแสง อุปกรณ์สื่อสัญญาณ และโครงข่ายบรอดแบนด์ในพื้นที่ต่างจังหวัด

สิทธิรายได้ที่เกิดขึ้นในอนาคตจากการให้เช่าอุปกรณ์ 3จีเอชเอสพีเอของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้รับมาจาก กสท บนโครงข่าย 3จี คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ อุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ จำนวน 45,000 คอร์กิโลเมตร และ 9,000 ลิ้งค์ โครงข่ายบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด จำนวน 1.2 ล้านพอร์ต

นอกจากนี้ ยังขายสิทธิรายได้ สิทธิการรับประโยชน์จากรายได้ที่เกิดจากการให้เช่าอุปกรณ์ 3จีเอชเอสพีเอ (โหนด บี และอุปกรณ์โครงข่ายหลัก) จำนวน 13,500 สถานีฐาน

และ 3.ให้เช่าทรัพย์สิน เสาโทรคมนาคม ไม่เกิน 100 เสา โดยมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะจำหน่ายไปในธุรกรรมขายทรัพย์สิน และรายได้และให้เช่าทรัพย์สินจะไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท มูลค่าของสินทรัพย์ที่จะได้มาในธุรกรรมเช่ากลับและเช่าเช่าช่วงจะไม่เกิน 5.5 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 15 ปี

เงินที่ได้จากการออกกองทุนรวม กลุ่มทรู ระบุว่าจะนำไปชำระหนี้สินบางส่วน ซึ่งปัจจุบันมีหนี้สินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท รวมถึงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินซึ่งจะช่วยปรับโครงสร้างเงินทุนให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการลงทุน

นอกจากนี้กลุ่มบริษัทอาจนำเงินบางส่วนไปลงทุนโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ ได้แต่งตั้งบริษัท เจวีเอส ที่ปรึกษาการเงิน จำกัด ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการเข้าทำธุรกรรมกองทุนรวม











______________________________________




ชำแหละ 'อินฟราฯฟันด์' ของเล่นใหม่อุตฯโทรคม


เบื้องหลังกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับแผนระดมทุนล้างหนี้กลุ่มทรู


ทันทีที่ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทน.1/2554 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการจัดตั้ง และจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานประกาศใช้อย่างเป็นทางการ คณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น ได้จัดประชุมและมีมติเพื่อแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขอจัดตั้งกองทุนรวมอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ สำหรับกิจการโทรคมนาคม ซึ่งอยู่ในหมวด (ช) ตามประกาศของ ตลท. วันที่ 23 ก.ค. 2555

ทั้งคาดการณ์จะนําสินทรัพย์ขายเข้ากองทุนด้วยมูลค่าไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท ดูเหมือนจะเป็นความท้าทายที่มีส่วนเกี่ยวพันกับสัญญาสัมปทานระหว่างกลุ่มทรู และบมจ.กสท โทรคมนาคม เพราะอย่างที่รู้กันว่ากองทุนนี้จะนำทรัพย์สินตามสัญญาสร้าง-โอน-บริการ (บีทีโอ) มาระดมเงินทุน

ขายทรัพย์สิน-ล้างหนี้

ตามรายงานที่กลุ่มทรู แสดงความจำนงค์ขอจัดตั้งอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ ประกอบด้วย การขายสินทรัพย์ ได้แก่ เสาโทรคมนาคมจํานวน 13,000 ต้น ในจำนวนนี้สัดส่วนราว 65% มีขอทักท้วงเรื่องกรรมสิทธิกับบมจ.กสท โทรคมนาคม ภายใต้สัญญาสัมปทาน สินทรัพย์โครงข่ายของทรู ออนไลน์ ทั้งใยแก้วนําแสง อุปกรณ์สื่อสัญญาณ และโครงข่ายบรอดแบนด์ในพื้นที่ต่างจังหวัด

สิทธิรายได้ที่เกิดขึ้นในอนาคตจากการให้เช่าอุปกรณ์ 3จีเอชเอสพีเอของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้รับมาจาก กสท บนโครงข่าย 3จี คลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ อุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ จำนวน 45,000 คอร์กิโลเมตร และ 9,000 ลิ้งค์ โครงข่ายบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด จำนวน 1.2 ล้านพอร์ต

นอกจากนี้ ยังขายสิทธิรายได้ สิทธิการรับประโยชน์จากรายได้ที่เกิดจากการให้เช่าอุปกรณ์ 3จีเอชเอสพีเอ (โหนด บี และอุปกรณ์โครงข่ายหลัก) จำนวน 13,500 สถานีฐาน

และ 3.ให้เช่าทรัพย์สิน เสาโทรคมนาคม ไม่เกิน 100 เสา โดยมูลค่าของสินทรัพย์ที่จะจำหน่ายไปในธุรกรรมขายทรัพย์สิน และรายได้และให้เช่าทรัพย์สินจะไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท มูลค่าของสินทรัพย์ที่จะได้มาในธุรกรรมเช่ากลับและเช่าเช่าช่วงจะไม่เกิน 5.5 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 15 ปี

เงินที่ได้จากการออกกองทุนรวม กลุ่มทรู ระบุว่าจะนำไปชำระหนี้สินบางส่วน ซึ่งปัจจุบันมีหนี้สินประมาณ 9 หมื่นล้านบาท รวมถึงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินซึ่งจะช่วยปรับโครงสร้างเงินทุนให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการลงทุน

นอกจากนี้กลุ่มบริษัทอาจนำเงินบางส่วนไปลงทุนโครงการอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ ได้แต่งตั้งบริษัท เจวีเอส ที่ปรึกษาการเงิน จำกัด ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้ความเห็นแก่ผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการเข้าทำธุรกรรมกองทุนรวม

กสท ย้ำเสายังเข้า"ฟันด์"ไม่ได้

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ระบุว่า บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยังไม่ได้โอนเสาสัญญาณคืนให้ กสท ตามสัญญาจ้างโอนให้บริการ (บีทีโอ) เนื่องจากรอกระบวนการอนุญาโตตุลาการตัดสินว่า เสาสัญญาณจะเป็นของใครภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

เบื้องต้นหากอนุญาโตตัดสิน ให้คืน กสท เป็นไปได้ว่า กสท จะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับกลุ่มทรู โดยนำเสาสัญญาณทั้งหมดมาเป็นสินทรัพย์กองทุน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ให้ทีมงานศึกษาการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว

ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องเสาสัญญาณภายในสิ้นปีนี้แน่นอน เนื่องจากการเจรจาล่าสุดผ่านไปด้วยดี โดยกลุ่มทรู พร้อมจะโอนเสาทั้งหมดกลับมาให้ ขณะนี้เหลือเพียงข้อกฎหมายบ้างข้อเท่านั้น

เขายืนว่า ไอเอฟเอฟต้องหารือในคณะกรรมการ (บอร์ด) ให้เสร็จก่อน ว่า เมื่อดูตามโครงสร้างแล้ว การนำเสาสถานีฐาน หรือทรัพย์สินโทรคมนาคมอื่นๆ เข้ากองทุน จะทำให้ กสท มีรายได้ระยะยาวหรือไม่ และต้องพิจารณาเรื่องความเสี่ยงในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย

ไทยพาณิชย์รอกสทช.คำตอบขอใบอนุญาต

ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด ได้มีหนังสือ จท.11-560068 ลงวันที่ 3 ก.ค.2555 ขอหารือกรณีบริษัท ร่วมกับกลุ่มทรูดำเนินการขออนุญาตจัดตั้ง และจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งต้องพิจารณาว่า กองทุนรวมดังกล่าวต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่

หากต้องขอใบอนุญาตต้องขอประเภทใด โดย สำนักงาน กสทช. ได้จัดทำระเบียบว่าการการประชุมเรื่องดังกล่าว เสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2556 เป็นวาระจร ไม่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง แต่บอร์ด กทค. ยังไม่ได้พิจารณา

อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กสทช.เตรียมตอบกลับว่า การดำเนินการของกองทุนรวม จัดตั้งขึ้นตามประกาศ กลต. ภายใต้พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 จะไม่ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานเอง จึงขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช.ไม่ได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณามาตรา 124 วรรค 2 ตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ประกอบกับประกาศ กลต. กำหนดให้กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้เป็นนิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ นำทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุนตามโครงการจัดการกองทุนรวมตามที่ได้รับอนุมัติ โดยบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการของกองทุนรวม

หากบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดหา จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในโครงสร้างพื้นฐาน เป็นผู้จัดการประกอบกิจการกับผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมรายอื่น ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกองทุนรวม แทนกองทุนรวม จะเข้าข่ายการประกอบกิจการโทรคม ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตประกอบ จาก กสทช.

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130813/522890/%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB
%E0%B8%A5%E0%B8%B0-
%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AF%E0%B8%9F%E0%B8%
B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C-
%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%
AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AF%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B
8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.