Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มกราคม 2557 เพื่อผู้บริโภค.สารี ระบุ ซื้ออุปกรณ์เสริมทุกครั้งต้องเก็บหลักฐานทุกครั้งเพราะหากระเบิด สามารถฟ้องได้!!


ประเด็นหลัก


"ในกรณีความปลอดภัยของสินค้า เจ้าของหรือผู้ขายต้องสามารถพิสูจน์เรื่องความปลอดภัยสินค้าให้ได้ ส่วนผู้บริโภคก็ไม่ควรละเลยเกี่ยวกับสิทธิของตนเอง หากเกิดปัญหาหรือความเสียหายขึ้นก็สามารถฟ้องร้อง เพื่อเรียกร้องและปกป้องสิทธิ์ของตนเองได้ ซึ่งปัจจุบันมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกในการดำเนินการฟ้องร้องดังกล่าวได้ง่ายขึ้น" นางสาวสารี กล่าว

สำหรับการแนะนำสินค้าต่างๆ แม้จะเป็นสินค้าลิขสิทธิ์หรือเป็นของแท้ก็ไม่อยากให้แนะนำกับผู้บริโภคว่าปลอดภัยสำหรับการใช้งาน เนื่องจากสินค้าทุกประเภทต้องมีการทดสอบก่อนใช้งาน ยกตัวอย่างปลั๊กไฟหรือปลั๊กรางนั้น มูลนิธิฯ เคยจัดทดสอบจำหน่ายหลายยี่ห้อ หลายระดับราคา โดยพบว่ายี่ห้อที่มีราคาแพงก็ไม่ได้มีคุณภาพสูงเหมือนที่แนะนำหรือโฆษณา จึงอยากให้ผู้บริโภคใส่ใจกับความปลอดภัยในสินค้าต่างๆ และไม่ยึดติดว่าของราคาแพงจะต้องมีมาตรฐานสูง.





______________________________________

แนะผู้บริโภครักษาสิทธิ์! มือถือ-ปลั๊กระเบิด ยันมีกม.คุ้มครอง


เลขาฯ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จี้ผู้ผลิต-ผู้ขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ต้องตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยได้ แนะไม่ควรบอกใช้ของแท้แล้วปลอดภัยลดความเสี่ยง เผยเคยทดสอบปลั๊กไฟ พบของแพงแต่คุณภาพต่ำเพียบ…

หลังจาก "ทีมข่าวไอทีออนไลน์" ได้นำเสนอข่าวผู้ใช้ไอแพด แอร์ เกิดเหตุไฟช็อตและมีเสียงคล้ายการระเบิดขึ้นขณะเสียบอะแดปเตอร์เพื่อชาร์จแบตเตอรี่เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ก่อน โดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้คำแนะนำถึงกรณีดังกล่าวว่า หากผู้บริโภครายใดพบว่าสินค้าที่ตนเองใช้อยู่นั้นเกิดความไม่ปลอดภัย เสียหายต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน ก็ควรจะเข้าสู่กระบวนการสอบสวน เช่น แจ้งความ ร้องเรียนต่อเจ้าของสินค้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่จำเป็นต้องมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นจากคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือความผิดพลาดอื่น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันจะมีข่าวมือถือหรืออะแดปเตอร์ระเบิดหลายครั้ง แต่ทางมูลนิธิฯ​ ยังไม่เคยได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีดังกล่าวแต่อย่างใด

"ในกรณีความปลอดภัยของสินค้า เจ้าของหรือผู้ขายต้องสามารถพิสูจน์เรื่องความปลอดภัยสินค้าให้ได้ ส่วนผู้บริโภคก็ไม่ควรละเลยเกี่ยวกับสิทธิของตนเอง หากเกิดปัญหาหรือความเสียหายขึ้นก็สามารถฟ้องร้อง เพื่อเรียกร้องและปกป้องสิทธิ์ของตนเองได้ ซึ่งปัจจุบันมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกในการดำเนินการฟ้องร้องดังกล่าวได้ง่ายขึ้น" นางสาวสารี กล่าว

สำหรับการแนะนำสินค้าต่างๆ แม้จะเป็นสินค้าลิขสิทธิ์หรือเป็นของแท้ก็ไม่อยากให้แนะนำกับผู้บริโภคว่าปลอดภัยสำหรับการใช้งาน เนื่องจากสินค้าทุกประเภทต้องมีการทดสอบก่อนใช้งาน ยกตัวอย่างปลั๊กไฟหรือปลั๊กรางนั้น มูลนิธิฯ เคยจัดทดสอบจำหน่ายหลายยี่ห้อ หลายระดับราคา โดยพบว่ายี่ห้อที่มีราคาแพงก็ไม่ได้มีคุณภาพสูงเหมือนที่แนะนำหรือโฆษณา จึงอยากให้ผู้บริโภคใส่ใจกับความปลอดภัยในสินค้าต่างๆ และไม่ยึดติดว่าของราคาแพงจะต้องมีมาตรฐานสูง.


โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/394142

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.