Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มกราคม 2557 กสทช.สุภิญญา ส่งให้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความว่า กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้ (คุมเนื้อหาสื่อ) หรือไม่


ประเด็นหลัก


นส.สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ( กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้  คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ (กสท.)ได้มีมติต่อการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... ภายหลังการขยายระยะเวลาการรับฟังความเห็นสาธารณะเพิ่มเติมแล้ว

ขณะที่มีความเห็น และข้อเสนอแนะของ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.)ว่า กสท.ไม่มีอำนาจในการจัดทำร่างประกาศฯ เพราะอาจขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย กสท.จึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ส่งเรื่องให้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาในประเด็นว่า กสทช.มีอำนาจออกประกาศหรือไม่ อย่างไร และ เนื้อหาในร่างประกาศฯ มีลักษณะเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของกสทช. หรือไม่อย่างไร

“การส่งให้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความว่า กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ ถือว่าเป็นทางออกที่วิน-วินในเวลานี้ ขอบคุณ คปก. และ องค์กรวิชาชีพที่ยืนหยัดหลักการเรื่องนี้อย่างเข้มแข็ง ส่วนตัวขอบคุณบอร์ด กสท. ทุกท่านด้วย เราถกเถียงกันมาก ได้เรียนรู้กันและกันและเมื่อถูกคัดค้านอย่างหนักก็รับฟังและถอยให้มีการตีความทางกฎหมายก่อน โดยไม่ต้องเสี่ยงไปต่อสู้คดีกันในศาล”นส.สุภิญญา กล่าว









______________________________________

กสทช.ส่งกฤษฏีกาตีความ ขอบเขตอำนาจ ออกประกาศฯคุมเนื้อหาสื่อ

นส.สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ( กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้  คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ (กสท.)ได้มีมติต่อการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ... ภายหลังการขยายระยะเวลาการรับฟังความเห็นสาธารณะเพิ่มเติมแล้ว

ขณะที่มีความเห็น และข้อเสนอแนะของ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.)ว่า กสท.ไม่มีอำนาจในการจัดทำร่างประกาศฯ เพราะอาจขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย กสท.จึงมีมติมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ส่งเรื่องให้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาในประเด็นว่า กสทช.มีอำนาจออกประกาศหรือไม่ อย่างไร และ เนื้อหาในร่างประกาศฯ มีลักษณะเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของกสทช. หรือไม่อย่างไร

“การส่งให้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความว่า กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ ถือว่าเป็นทางออกที่วิน-วินในเวลานี้ ขอบคุณ คปก. และ องค์กรวิชาชีพที่ยืนหยัดหลักการเรื่องนี้อย่างเข้มแข็ง ส่วนตัวขอบคุณบอร์ด กสท. ทุกท่านด้วย เราถกเถียงกันมาก ได้เรียนรู้กันและกันและเมื่อถูกคัดค้านอย่างหนักก็รับฟังและถอยให้มีการตีความทางกฎหมายก่อน โดยไม่ต้องเสี่ยงไปต่อสู้คดีกันในศาล”นส.สุภิญญา กล่าว

โดยส่วนตัวสนับสนุนให้สื่อกำกับดูแลกันเองอย่างเต็มที่ ไม่ต้องรอให้หน่วยงานใดมากำกับ และถ้าทำได้ มองว่าจะเป็นทางออกให้วิกฤตการเมืองในประเทศ

“อย่างไรก็ตามวันนี้สังคมไทยยังมีประเด็นเรื่องจริยธรรมสื่อ ทั้งสื่อของรัฐและเอกชน ทั้งประเด็นการบิดเบือน หรือ hate speech ที่ต้องช่วยกันดูแลต่อไป หวังในการสร้างกลไกองค์กรวิชาชีพ วิชาการ และ ภาคประชาสังคมช่วยกันสร้างจุดที่พอดีระหว่างสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบร่วมกัน ยากมากๆ แต่เราก็ต้องไม่ท้อถอยที่จะพูดและแก้ปัญหาเรื่องนี้ร่วมกัน” นส.สุภิญญา กล่าว



http://www.naewna.com/business/85375

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.