Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 มกราคม 2557 (เกาะติดการประมูล4G) กสทช.สุทธิพล ระบุ ปี 2557 ต้องรีบทบทวนความถี่ 700MHz ให้เข้ากับอาเชียน!!! เบื้องต้นกทค.คาดว่าจะเลือกใช้เทคโนโลยี LTE Advanced เพื่อสามารถให้บริการหลอมรวมคลื่น 900 MHz, 1800 MHz, 2.1 GHz และ 2.3 GHz ทำ 4G


ประเด็นหลัก



  *** เร่งเคลียร์ปมความถี่ 700MHz
   
       ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งที่กทค.ต้องเร่งสร้างความชัดเจนคือการใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ให้มีความสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปรับตารางการใช้คลื่นความถี่ย่านนี้ตามกติกาสากลเพื่อใช้กับกิจการโทรคมนาคม ขณะที่ไทยยังใช้กับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
   
       ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นจะต้องทบทวนตารางคลื่นความถี่เพื่อให้เป็นไปตาม กฎ กติกา สากล และป้องกันมิให้เกิดข้อพิพาทเรื่องปัญหาคลื่นรบกวนประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต ตลอดจนเพื่อเพิ่มโอกาสที่ประชาชนจะได้รับบริการโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ จากการใช้ประโยชน์มหาศาลจากคลื่นความถี่ย่านดังกล่าว
   
       นอกจากนี้ในส่วนของการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่เวที AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2558 นั้นชาติสมาชิกอาเซียนจำเป็นจะต้องร่วมมือกำหนดนโยบายโทรคมนาคมอาเซียนที่ เป็นระบบ เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารของอาเซียนเป็นไปในทิศทาง ที่สอดคล้องกัน ทั้งยังจำเป็นต้องหามาตรการเพื่อรองรับข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการที่อยู่คนละประเทศ ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาททางด้านโทรคมนาคมในอาเซียนต่อไป




       ทั้งนี้ในเบื้องต้นกทค.คาดว่าจะเลือกใช้เทคโนโลยี LTE Advanced เนื่องจากปัจจุบันปัญหาใหญ่ของการก้าวไปสู่ 4G LTE นั้นจะต้องมีคลื่นความถี่ที่ติดกันในย่านเดียวกันถึงจะมีศักยภาพการให้บริการที่เต็มประสิทธิภาพ แต่พอมาในยุคหลังจาก LTE มาเป็น LTE Advanced (4.5G) และ LTE B, LTE C เทคโนโลยีเริ่มเปิดให้สามารถนำคลื่นความถี่หลายความถี่ เช่น ความถี่ 900 MHz, 1800 MHz, 2.1 GHz และ 2.3 GHz มาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียวกันโดยไม่จำเป็นต้องเป็นความถี่ติดกัน หรือย่านความถี่เดียวกันนำมาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียวได้ และยังสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดเหนือกว่า 1Gbps เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเหมาะสมต่อประเทศไทยมากที่สุด









______________________________________

2 กทค.ลั่นนโยบายปี 2557(Cyber Weekend)


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


2 กทค.ลั่นนโยบายปี 2557
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.ในฐานะประธานกทค.

       ในปี 2556 ที่ผ่านมา ผลงานเด่นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องการแจกใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานมาสู่ใบอนุญาต อีกทั้งยังเป็นแรง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม เพื่อขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม ตลอดจนการพัฒนาคอนเทนท์ และแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
     
       ส่วนในปี 2557 นี้กทค.วางแผนที่จะผลักดันให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz พร้อมกันในช่วงปลายปีโดยจะเรียกเทคโนโลยีดังกล่าวว่า 4G LTE Advanced รวมไปถึงนโยบายในด้านต่างๆที่สำคัญ หรือเป็นการสานต่อก็ตาม อาทิ การนำความถี่ในย่านต่างๆมาใช้ประโยชน์ ,การเตรียมสะสางกฏระเบียบในกิจการดาวเทียมสื่อสาร และการเคลียร์ปมกรณีคลื่นความถี่ 700 MHz ให้แล้วเสร็จด้วย
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช.ในฐานะประธานกทค.ระบุว่าทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายในฝั่งกิจการโทรคมนาคมสำหรับปี 2557 มีอยู่หลายเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญโดยเฉพาะการเตรียมแผนจัดทำโรดแมปการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมหรือ 5 Years Spectrum Roadmap Thailand เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่วิทยุของประเทศ
     
       อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเตรียมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ซึ่งทางคณะกรรมการได้ให้นโยบายกับคณะผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียในการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ทั้งในรูปแบบการจัดประมูลแยก หรือจัดประมูลพร้อมกันทั้ง 2 คลื่นความถี่ หรือจัดประมูลในรูปแบบอื่นๆ มาเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และจัดทำหลักหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ เพื่อตอบสนองเทคโนโลยี LTE และ LTE Advanced ต่อไป รวมไปถึงการประเมินการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 2.3 GHz และ 2.6 GHz เพื่อรองรับบรอดแบนด์ไร้สายในอนาคต
     
       ทั้งนี้ในเบื้องต้นกทค.คาดว่าจะเลือกใช้เทคโนโลยี LTE Advanced เนื่องจากปัจจุบันปัญหาใหญ่ของการก้าวไปสู่ 4G LTE นั้นจะต้องมีคลื่นความถี่ที่ติดกันในย่านเดียวกันถึงจะมีศักยภาพการให้บริการที่เต็มประสิทธิภาพ แต่พอมาในยุคหลังจาก LTE มาเป็น LTE Advanced (4.5G) และ LTE B, LTE C เทคโนโลยีเริ่มเปิดให้สามารถนำคลื่นความถี่หลายความถี่ เช่น ความถี่ 900 MHz, 1800 MHz, 2.1 GHz และ 2.3 GHz มาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียวกันโดยไม่จำเป็นต้องเป็นความถี่ติดกัน หรือย่านความถี่เดียวกันนำมาหลอมรวมกันได้ภายใต้เทคโนโลยีเดียวได้ และยังสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดเหนือกว่า 1Gbps เทคโนโลยีดังกล่าวจึงเหมาะสมต่อประเทศไทยมากที่สุด
     
       *** นำความถี่ย่านต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์
     
       นอกจากนี้อีกนโยบายหนึ่งที่ต้องผลักดันคือการนำเอาความถี่ย่าน E-Band (70 - 80 GHz) และความถี่ย่าน V-Band (60 GHz) เพื่อนำมาใช้งานเป็น Fixed Link สำหรับเป็น Back Haul ของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ ใช้งานเป็นเครือข่ายภายในองค์กรต่างๆ และนอกจากกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะต้องใช้คลื่นความถี่ในการประกอบกิจการแล้ว ในกิจการประเภทอื่นๆ ก็จำเป็นจะต้องใช้คลื่นความถี่เข้ามาช่วยสนับสนุนในกิจการเช่นเดียวกัน อย่างเช่น การจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อรองรับโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยการใช้คลื่นความถี่สำหรับควบคุมการจราจร และรักษาความปลอดภัยของระบบราง หรือ GSM-R ทั้งนี้การทำระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศจำเป็นต้องวางระบบ GSM-R โดย ใช้ความถี่ย่านเดียวกัน เพื่อให้สามารถทำงานกันได้อย่างต่อเนื่องกัน เนื่องจากปัจจุบันการสื่อสารระบบรางของประเทศไทยมีใช้หลายระบบปนกันอยู่
     
       อีกทั้งระบบการขนส่งอัจฉริยะ ITS (Intelligent Transport System) ซึ่งเป็น ระบบที่หลอมรวมเอาเทคโนโลยีด้านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม มาผสมผสานให้เกิดการประยุกต์ใช้งาน และ การกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่ด้านภารกิจเพื่อการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ตามกรอบแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ส่งผลให้ กทค. ต้องพิจารณาเตรียมคลื่นความถี่วิทยุเพื่อรองรับระบบดังกล่าว เพื่อประโยชน์สาธารณะด้วย

2 กทค.ลั่นนโยบายปี 2557<b><font color=red>(Cyber Weekend)</font></b>
สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. ด้านกฎหมาย ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)

       ***สานต่อนโยบายที่ค้างคาใน กทค.
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่าขณะที่นโยบายอื่นๆที่ กทค. กำลังจะดำเนินงานอยู่ในตอนนี้ ได้แก่ การทำแผนของกิจการโทรคมนาคมสำหรับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, แนวทางการกำกับดูแลกิจการดาวเทียม, แนวทางการกำกับดูแลกิจการเคเบิลระหว่างประเทศทั้งภาคพื้นดินและภาคใต้ทะเล, แนวทางการปรับเปลี่ยนการกำกับดูแลราคาค่าบริการ (Price Regulation) จากแนวทาง Rate of Return (ROR) ไปสู่แนวทาง Price Cap, การเตรียมพร้อมรองรับการกำกับดูแลเพื่อรองรับเทคโนโลยี NFV(Network Function Virtualization), นโยบายการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ประเทศไทยเป็น Hub ของภูมิภาค และการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอินเทอร์เน็ตชุมชน (Community Broadband) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพัฒนา และดูแลรักษาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยตนเอง รวมถึงนโยบายการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการที่ กทค. ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการรักษาระดับคุณภาพในการให้บริการ
     
       ขณะเดียวกันในปี 2557 นี้ กทค. จะให้ความสำคัญในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยสำนักงาน กสทช.ได้ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านกิจการโทรคมนาคม เพื่อเป็นการส่งเสริม และพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เข้าใจในบริบทการบริหารคลื่นความถี่ การใช้ประโยชน์คลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และการกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในทุกภูมิภาคของประเทศ ในด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม จะก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาช่องทางในการสื่อสารกับประชาชนด้านโทรคมนาคมของ ประเทศไทย
     
       รวมไปถึงการสนับสนุนส่งเสริมสิทธิในการติดต่อสื่อสาร และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป ซึ่งทาง กทค.โดยคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว จะได้ลงไปในพื้นที่จริงเพื่อรับฟังปัญหา ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากประชาชนในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อจะได้นำเอาข้อมูลสารสนเทศมาปรับปรุงในการทำงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของชาติให้ดียิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป
     
       'เราเน้นหนักในเรื่องการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประเทศชาติ และประชาชน ซึ่งในห้วงปีที่ผ่านมาได้เกิดสิ่งเริ่มต้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการสื่อสารของประเทศ โดยการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัญญาสัมปทานเข้าสู่ระบบใบอนุญาต โดยมี กสทช. เป็น หน่วยงานกำกับดูแลอย่างเข้มข้น เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และเกิดการพัฒนากิจการโทรคมนาคมสื่อสารของประเทศไทยให้มีความทันสมัยสอด คล้องกับวิวัฒนาการของโลกท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงในระดับสากลต่อไปใน อนาคต'
     
       ด้านสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. ด้านกฎหมาย ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆที่ประธานบอร์ดกทค.ให้ไว้เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญรอบด้านในเรื่องข้อกฏหมายโทรคมนาคม และกฏหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง กล่าวว่าในปี 2557 นี้จะเดินหน้าสร้างความชัดเจนประเด็นข้อกฎหมายด้านดาวเทียมสื่อสาร ในทางปฏิบัติที่จะต้องเร่งสะสางปัญหาที่คาราคาซังอยู่ในตอนนี้ เนื่องจาก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553กำหนดให้กิจการดาวเทียมสื่อสารอยู่ในคำจำกัดความของกิจการโทรคมนาคม แต่กลับไม่มีบทบัญญัติในส่วนรายละเอียดว่าจะกำกับดูแลกิจการดาวเทียมสื่อสารอย่างไร ทำให้การพิจารณาอนุญาตกิจการดาวเทียมสื่อสารต้องไปอิงกับ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งไม่ได้บัญญัติครอบคลุมกิจการดาวเทียมสื่อสาร แม้แนวทางแก้ไขปัญหาในระยะสั้น คือการให้คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ ดาวเทียมสื่อสาร ยกร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตกิจการดาวเทียมสื่อสาร ก็เป็นเพียงมาตรการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น
     
       อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวย่อมมีข้อจำกัดที่ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่ไม่ได้รองรับกิจการดาวเทียมสื่อสารส่งผลให้รัฐไม่สามารถเข้ามากำกับดูแล โดยเฉพาะในเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม และการกำกับดูแลกิจการดาวเทียมสื่อสารในกรณีที่ไม่มีการใช้คลื่นความถี่ว่าจะกำกับดูแลในส่วนของการประกอบกิจการอย่างไรจึงจะเหมาะสม และทำให้ประชาชนเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นจุดอ่อนในเรื่องนี้และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยอาศัยการออกประกาศ ที่มีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายต่ำกว่าพระราชบัญญัติ
     
       โดยในระยะยาวต้องพิจารณาว่า จำเป็นจะต้องยกร่าง พ.ร.บ.ดาวเทียม เพื่อบังคับใช้เป็นการเฉพาะ หรือสมควรจะปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ หรือพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม เพื่อทำให้การกำกับดูแลกิจการดาวเทียมมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
     
       *** เร่งเคลียร์ปมความถี่ 700MHz
     
       ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งที่กทค.ต้องเร่งสร้างความชัดเจนคือการใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ให้มีความสอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปรับตารางการใช้คลื่นความถี่ย่านนี้ตามกติกาสากลเพื่อใช้กับกิจการโทรคมนาคม ขณะที่ไทยยังใช้กับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
     
       ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นจะต้องทบทวนตารางคลื่นความถี่เพื่อให้เป็นไปตาม กฎ กติกา สากล และป้องกันมิให้เกิดข้อพิพาทเรื่องปัญหาคลื่นรบกวนประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต ตลอดจนเพื่อเพิ่มโอกาสที่ประชาชนจะได้รับบริการโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ จากการใช้ประโยชน์มหาศาลจากคลื่นความถี่ย่านดังกล่าว
     
       นอกจากนี้ในส่วนของการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่เวที AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2558 นั้นชาติสมาชิกอาเซียนจำเป็นจะต้องร่วมมือกำหนดนโยบายโทรคมนาคมอาเซียนที่ เป็นระบบ เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารของอาเซียนเป็นไปในทิศทาง ที่สอดคล้องกัน ทั้งยังจำเป็นต้องหามาตรการเพื่อรองรับข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการที่อยู่คนละประเทศ ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาททางด้านโทรคมนาคมในอาเซียนต่อไป


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000005399

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.