Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 มกราคม 2557 (เกาะติดการประมูล4G) กสทช.เศรษฐพงค์ ระบุ คลื่น 1800 มูลค่าคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั่วโลก มีราคาที่คงที่มากว่า 2- 3 ปีแล้ว ไม่มีการปรับเปลี่ยนราคา


ประเด็นหลัก

พร้อมคาดว่ามูลค่าคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั่วโลก มีราคาที่คงที่มากว่า 2- 3 ปีแล้ว ไม่มีการปรับเปลี่ยนราคาจากเดิม กทค.ยังคงเชื่อว่าราคาเริ่มต้นการประมูลสำหรับคลื่น 1800 MHz ไม่น่าจะมีราคาที่สูงเกินกว่าราคาตลาดทั่วโลก พร้อมสรุปสถานการณ์การประมูลคลื่น ความถี่ในต่างประเทศในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับการประมูลคลื่น ความถี่ย่าน 2.1 GHz หรือ3G ของประเทศไทยดังนี้


______________________________________

“เศรษฐพงค์” พร้อมประมูลระบบ4G

ชี้ค่าคลื่นความถี่ทั่วโลกคงที่

ราคาประมูลกสทช.ไม่น่าสูง

ในยุคที่ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมเข้าสู่การหลอมรวมทางเทคโนโลยี (Convergence Technology) เป็นผลจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้กลายเป็นส่วนหนึงในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกิจการโทรคมนาคม (กทค.) บอกว่า ในฐานะที่ กสทช.เป็นองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมมีศึกษานโยบายการประมูลคลื่นความถี่ย่าน1800 เมกะเฮิรตซ์(MHz) โดยมี สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู (International Telecommunication Union –ITU)ที่ปรึกษาการวางนโยบายต่อการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และคลื่นอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ส่งผลการศึกษาแนวทางการประมูลคลื่น 1800 MHz สำหรับให้บริการ 4G มายัง กทค.แล้ว จะสามารถประกาศสูตรการประมูลได้ในเดือนก.พ.นี้ พร้อมกำหนดเป้าหมายการเปิดประมูล 4 G ไว้เช่นเดิม โดยคาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในเดือน ก.ย.2557

พร้อมคาดว่ามูลค่าคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั่วโลก มีราคาที่คงที่มากว่า 2- 3 ปีแล้ว ไม่มีการปรับเปลี่ยนราคาจากเดิม กทค.ยังคงเชื่อว่าราคาเริ่มต้นการประมูลสำหรับคลื่น 1800 MHz ไม่น่าจะมีราคาที่สูงเกินกว่าราคาตลาดทั่วโลก พร้อมสรุปสถานการณ์การประมูลคลื่น ความถี่ในต่างประเทศในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับการประมูลคลื่น ความถี่ย่าน 2.1 GHz หรือ3G ของประเทศไทยดังนี้

สาธารณรัฐเช็ก

องค์กรกำกับดูแล CTU (Czech Telecommunication Office) ได้จัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 4G ในเดือนพฤศจิกายน 2012 โดยคาดว่าจะมีรายได้จากการประมูลเพียง377 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อมีนาคม 2013 ราคาจากการประมูลพุjงสูงถึง 1,030 ล้านเหรียญสหรัฐ CTU ได้ทำการตัดสินใจยกเลิกการประมูล โดยให้เหตุผลว่าราคาการประมูลสูงเกินไปจนจะมีผลกระทบต่อการลงทุนโครงข่ายหรือกระทบต่อราคาการให้บริการต่อผู้ใช้บริการ เบลเยียม

หลังการประมูลคลื่นความถี่ 3G ในปี 2001 โดยได้มีการเตรียมใบอนุญาตไว้ 4 ใบแต่มีเข้าร่วมการประมูลเพียง 3 ราย ดังนั้นทั้งสามรายได้รับใบอนุญาตในราคาเริ่มต้นการประมูล ความถี่ที่เหลือจากการประมูล รัฐบาลเบลเยียมได้พยายามหาผู้ประกอบการรายที่ 4 จนกระทั่งในมิถุนายน 2011 มีผู้ประกอบการเพียงรายเดียวเสนอตัวที่จะเข้ามาผู้ประกอบการ 3G รายที่สี่ รัฐบาลเบลเยียมจึงได้จัดสรรคลื่นความถี่ที่เหลืออยู่ในกับผู้ที่เสนอตัวเข้ามา

อินเดีย

ในเดือนพฤศจิกายน 2012 ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ที่รองรับเทคโนโลยี 2G แต่เนื่องมาจากมีการตั้งราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกิน โดยเฉพาะคลื่น 1800 MHz ในบางบล็อคความถี่มีผู้เข้ารCวมประมูล และรายได้จากการประมูลต่ำกว่าที่คาดไว้มาก และในปี 2013 ถึงแม้จะมีการลดราคาเริ่มต้นการประมูลลงจากปี 2012 โดยคลื่น 1800MHz มีการลดราคาลง 30% และคลื่น 800 MHz ลดราคาลง 50% อย่างไรก็ตามถึงแม้มีการลดราคาลง คลื่น 1800MHz บางบล็อคยังไม่มีผู้เข้ารCวมประมูล ส่วนคลื่น 800MHz มีผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลเพียงรายเดียว

ออสเตรเลีย

การประมูลคลื่นความถี่ 4G ย่าน 700 MHz ในเดือนเมษายน ปี 2013โดยก่อนเริ่มต้นการประมูล Vodafone ผู้ให้บริการอันดับสาม ประท้วงไม่เข้าร่วมการประมูลอันเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับราคาตั้งต้นการประมูล ส่วน Optus ผู้ให้บริการอันดับสองเข้ามาขอรับการจัดสรรความถี่เพียงครึ่งเดียวของผู้ให้บริการอันดันหนึ่ง Telstra อันเนื่องมาจากไม่เห็นด้วยกับการตั้งราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกินไป ทำให้คลื่นความถี่เหลือหนึ่งในสาม (15MHz x 2)ไม่สามารถจัดสรรออกไปได้

สิงคโปร์

เมื่อตุลาคม 2010 Infocomm Development Authority (IDA) จะทำการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ที่หลือจากการประมูลในปี 2001ให้กับผู้ให้บริการในประเทศจำนวนสามรายในราคาตั้งต้นการประมูล หลังจากแผนการประมูลไม่ประสบความสำเร็จที่จะดึงดูดความสนใจที่จะมีผู้เข้าประมูลรายที่ 4 โดยการประมูลคลื่นความถี่ 3G ในปี 2001 ได้เตรียมพร้อมการออกใบอนุญาต 4 ใบ โดยเมื่อเปิดรับสมัครมีเพียงใบสมัครเพียงสามรายที่แสดงความสนใจในการเข้าประมูลคลื่นความถี่ 3G ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้มีการประมูลในเดือนพฤศจิกายน โดยผู้ให้ความสนใจคือ Singtel, M1 และ Starhub เท่านั้น ดังนั้น IDA ได้ทำการยกเลิกการประมูลและให้แต่ละรายจะได้รับการจัดสรรในราคาขั้นต่ำในการอนุญาตใช้คลื่นความถี่(Reserve Price) ที่มูลค่า 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 500ล้านบาท)

เกาหลีใต้

ในปี 2011 เนื่องมาจากการตั้งกำแพงไม่ให้ผู้ให้บริการรายหลักสองรายเข้าามาประมูล ในคลื่น 2100 MHz เพื่อให้เกิดความน่าสนใจสำหรับผู้ให้บริการรายใหม่ ดังนั้น LG Uplus เป็นเพียงรายเดียวที่เข้าร่วมประมูลคลื่น 2100 MHz และชนะการประมูลในราคาขั้นต่ำที่ทาง KCC ได้ตั้งไว้ที่ 4.45 แสนล้านวอน (ผู้เขียน ประมาณ 12,000 ล้านบาท) มีหลากหลายเหตุผลที่เป็นไปได้ว่าทำไมการประมูล 2100 MHzไม่สามารถสร้างความน่าสนใจให้กับรายใหม่เพื่อเข้าร่วมประมูลได้

http://www.naewna.com/business/86541

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.