Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 มกราคม 2557 TOT รับรู้ AIS ต้องการทำธุรกิจร่วม!! CAT ระบุยังเจรจา DTAC ทำธุรกิจ 4G 1800 ร่วมในรูปแบบ TRUEMOVE H มั่นใจไม่มีสัมปทานก็กำไร


ประเด็นหลัก


"อนาคตทีโอทีอยู่ที่ Core Business คือโครงข่ายสายทั้งหมด สิ่งที่ไม่ใช่ Core Business คือ 3G ที่ทำเพราะมีคลื่น และคิดว่าพัฒนาเป็นโครงข่ายไร้สายได้ แต่ Know-how ไม่ได้เก่งกว่าคนอื่น โอกาสในการลงทุนการสรรหาสินค้าและบริการ การทำตลาดก็ไม่ได้ 3G ที่ทำมาจึงไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่แยกให้ชัดระหว่างเน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์ กับโอเปอเรเตอร์เราพยายามเป็นโอเปอเรเตอร์ทำให้ต้องไปแข่งกับเอไอเอส, ทรู, ดีแทค หน่วยงานรัฐไปแข่งกับเอกชนโอกาสชนะยาก จะลงทุนสักอย่างใช้เวลา ยิ่งการเมืองไม่นิ่ง 1 ปีจะได้อนุมัติหรือเปล่าไม่รู้ เรื่องการหาบุคลากร เอกชนพร้อมจ้างเท่าไรก็ได้แค่ทำงานคุ้ม แต่ภาครัฐไม่ได้ แม้จะมีคลื่นความถี่มาก แต่ลงแข่งแล้วสตาร์ตพร้อมกันโอกาสแพ้สูง"

ตนได้ให้ฝ่ายบริหารไปหาแนวทางแก้ปัญหาโครงการ 3G ที่ลงทุนไปแล้ว ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้ข้อสรุปเมื่อใด รวมถึงการทำสัญญาขายส่งขายต่อบริการ (MVNO) ด้วยว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อ ส่วนข้อเสนอของ "เอไอเอส" ที่อยากทำธุรกิจร่วมกับทีโอทีตอนนี้เปิดกว้างรับข้อเสนอทุกรายแล้วค่อยมา พิจารณาอีกทีว่าของใครดีที่สุด

"แม้ Core Business ของทีโอทีอาจไม่ตรงเทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังรุ่งเรือง แต่ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่มี อาทิ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ตอบความต้องการของผู้บริโภค แต่ประชาชนอีก 50 ล้านคนไม่รู้ แม้แต่ผมยังเพิ่งรู้เมื่อไม่กี่วันมานี้ ฉะนั้นเราต้องเอาตัวตนของทีโอทีออกมาความเป็นองค์การโทรศัพท์ฯ เพราะในประเทศนี้ยังไม่หยุดใช้โทรศัพท์ เรายังเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ของประเทศ ที่ผ่านมาได้ขายผลิตภัณฑ์เต็มที่หรือยัง บริการหลังการขายดีสู้คู่แข่งได้ไหม ถ้าทำได้กำไรจะมาเอง ถ้าไม่ได้อย่าว่าแต่กำไร ทุนยังไม่ได้คืน"








ฟาก "กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคมมองว่า แม้ปีนี้จะเป็นปีแรกที่ไม่มีรายได้สัมปทาน แต่ก็ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ที่จะทำให้หยุดชะงัก หลัง ครม.อนุมัติโครงการให้บริการโทรศัพท์เทคโนโลยี HSPA ไปเมื่อกลางปีก่อน และเป็นปีแรกในรอบ 5 ปีที่มีกำไร และต่อไปจะมีรายได้เข้ามาอย่างน้อย 25,000 ล้านบาท

"รายได้ปี 2556 ไม่รวมสัมปทานอยู่ที่ 38,000 ล้านบาท เฉพาะจากโมบายจะอยู่ที่ 23,000 ล้านบาท พลิกจากเดิมที่คาดว่าจะขาดทุน 1,900 ล้านบาท ถือว่าทำได้เร็วกว่าแผน 1 ปีด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร โดยพยายามเดินออกจากแบบแผนของความเป็นหน่วยงานรัฐ พยายามตอบสนองความต้องการของตลาดให้มากและเร็วกว่าเดิม ส่วนปัญหาการเมืองเป็นเรื่องที่เลือกเองไม่ได้ ก็ต้องอยู่กับมันไป แต่ต้องดิ้นรนมากกว่าเดิม"

ในปีนี้ตามแผน "กสทฯ" จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาท โดยรายได้จะเติบโตไปอีก 4 ปี (ปี 2560) ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการหา "Next Growth" สำหรับปี 2561 เพราะ HSPA ตลาดจะเริ่มอิ่มตัวตามธรรมชาติ อัตราการเติบโตเริ่มคงที่ ขณะที่บริการที่มีไม่พอผลักตลาดได้อีก

"ตลาดที่โตจริง ๆ คือโมบายกับอินเทอร์เน็ต ส่วนโมบาย กสทฯหากจะอัพเกรดบริการให้ดีต้องไปที่เทคโนโลยี 4G/LTE ซึ่งเกี่ยวกับคลื่นความถี่ และ กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) รวมถึงคู่สัมปทานอย่างดีแทคที่เสนอเงื่อนไขนำคลื่น 1800 MHz ที่เหลือไปให้บริการ 4G ซึ่ง กสทฯมองว่าตัวเลือกแรกต้องให้เราเป็นคนทำแล้วไปให้บริการแบบโฮลเซลให้ดีแทค เป็น MVNO เหมือนทรูมูฟ เอช แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกัน ตบมือข้างเดียวไม่ดัง คลื่นส่วนนี้ต้องแช่แข็งต่อไป ซึ่งในปีนี้ กสทฯต้องเริ่มให้ความสำคัญกับการวางโครงข่าย FTTX (เคเบิลใยแก้วความเร็วสูง) ที่ต้องสตาร์ตให้ได้"




























______________________________________

"ทีโอที-กสทฯ" นับหนึ่ง "พึ่งตนเอง" เมื่อไม่มี (รายได้) สัมปทาน


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 2556 ที่ผ่านมาส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานทั้งหมดของ "ทีโอที" และ "กสท โทรคมนาคม" ซึ่งเคยเป็นรายได้หลักกว่าครึ่งต้องส่งเข้ากระทรวงการคลังโดยตรง เท่ากับปิดฉากยุคเสือนอนกิน (สัมปทาน) ไปโดยปริยาย

อนาคตของทั้งคู่ จะดับวูบหรือถือเป็นจังหวะก้าวใหม่ที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ในสายตาของ 2 หัวเรือใหญ่ "ทีโอที-กสท โทรคมนาคม" มีความคิดความเห็นและเตรียมทางหนีทีไล่ให้กับองค์กรอย่างไร

"พ.ต.อ .สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย" ประธานกรรมการ บมจ.ทีโอทียืนยันว่า แม้ไม่มีรายได้จากสัมปทาน แต่ทีโอทีอยู่รอดแน่ เพราะงบฯลงทุนปี 2557 ได้อนุมัติไปแล้ว และผลประกอบการปี 2556 ก็ยังมีกำไร พนักงานยังได้โบนัสเหมือนทุกปี แต่ในปี 2558 ขึ้นอยู่กับความร่วมแรงร่วมใจของพนักงาน

"รายได้ของทีโอทีควรมาจาก การทำงานของพนักงาน แต่หลายสิบปีที่ผ่านมารายได้หลักมาจากสัมปทาน กลายเป็นองค์กรที่ไม่ต้องมุ่งมั่นแข่งขันแต่ยังอยู่ได้จนไม่กระตือรือร้น ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการคิด"

นโยบายเร่งด่วนที่กำชับให้องค์กรต้องทำ ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้มี 3 เรื่อง ได้แก่ มุ่งทำธุรกิจในส่วน Core Business ได้แก่ การบริหารโครงข่ายสายที่มีอยู่ทั่วประเทศรองรับเทรนด์ของสังคมที่กำลังก้าว ไปสู่ดิจิทัล การปรับปรุงบริการหลังการขายให้ดีขึ้น รวมถึงจัดชุดเคลื่อนที่เร็วแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า และการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โฟกัสงานให้ชัดเจนโดยได้มอบหมายให้ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แต่ละคนโฟกัสหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด เพื่อเร่งหาลูกค้าเพิ่มรายได้ให้บริษัทและรักษาฐานลูกค้าไว้

แม้อยู่ในช่วงสุญญากาศที่อาจไม่มี ครม.อีกพักใหญ่ กระทบการอนุมัติโครงการขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก แต่ได้ให้ฝ่ายบริหารไปสำรวจความต้องการใช้งานและประเมินความคุ้มค่าในการลง ทุนแต่ละพื้นที่แล้ว ก่อนเจียดงบประมาณโครงการอื่นมาลงทุนไปก่อน ที่สำคัญคือต้องทบทวนความจำเป็นของแต่ละโครงการให้ชัดเจน ไม่ใช่ "เอาแต่ซื้อ" ไม่มีรายรับเข้า

"อนาคตทีโอทีอยู่ที่ Core Business คือโครงข่ายสายทั้งหมด สิ่งที่ไม่ใช่ Core Business คือ 3G ที่ทำเพราะมีคลื่น และคิดว่าพัฒนาเป็นโครงข่ายไร้สายได้ แต่ Know-how ไม่ได้เก่งกว่าคนอื่น โอกาสในการลงทุนการสรรหาสินค้าและบริการ การทำตลาดก็ไม่ได้ 3G ที่ทำมาจึงไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่แยกให้ชัดระหว่างเน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์ กับโอเปอเรเตอร์เราพยายามเป็นโอเปอเรเตอร์ทำให้ต้องไปแข่งกับเอไอเอส, ทรู, ดีแทค หน่วยงานรัฐไปแข่งกับเอกชนโอกาสชนะยาก จะลงทุนสักอย่างใช้เวลา ยิ่งการเมืองไม่นิ่ง 1 ปีจะได้อนุมัติหรือเปล่าไม่รู้ เรื่องการหาบุคลากร เอกชนพร้อมจ้างเท่าไรก็ได้แค่ทำงานคุ้ม แต่ภาครัฐไม่ได้ แม้จะมีคลื่นความถี่มาก แต่ลงแข่งแล้วสตาร์ตพร้อมกันโอกาสแพ้สูง"

ตนได้ให้ฝ่ายบริหารไปหาแนวทางแก้ปัญหาโครงการ 3G ที่ลงทุนไปแล้ว ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้ข้อสรุปเมื่อใด รวมถึงการทำสัญญาขายส่งขายต่อบริการ (MVNO) ด้วยว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อ ส่วนข้อเสนอของ "เอไอเอส" ที่อยากทำธุรกิจร่วมกับทีโอทีตอนนี้เปิดกว้างรับข้อเสนอทุกรายแล้วค่อยมา พิจารณาอีกทีว่าของใครดีที่สุด

"แม้ Core Business ของทีโอทีอาจไม่ตรงเทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังรุ่งเรือง แต่ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่มี อาทิ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ตอบความต้องการของผู้บริโภค แต่ประชาชนอีก 50 ล้านคนไม่รู้ แม้แต่ผมยังเพิ่งรู้เมื่อไม่กี่วันมานี้ ฉะนั้นเราต้องเอาตัวตนของทีโอทีออกมาความเป็นองค์การโทรศัพท์ฯ เพราะในประเทศนี้ยังไม่หยุดใช้โทรศัพท์ เรายังเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ของประเทศ ที่ผ่านมาได้ขายผลิตภัณฑ์เต็มที่หรือยัง บริการหลังการขายดีสู้คู่แข่งได้ไหม ถ้าทำได้กำไรจะมาเอง ถ้าไม่ได้อย่าว่าแต่กำไร ทุนยังไม่ได้คืน"

ฟาก "กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคมมองว่า แม้ปีนี้จะเป็นปีแรกที่ไม่มีรายได้สัมปทาน แต่ก็ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ที่จะทำให้หยุดชะงัก หลัง ครม.อนุมัติโครงการให้บริการโทรศัพท์เทคโนโลยี HSPA ไปเมื่อกลางปีก่อน และเป็นปีแรกในรอบ 5 ปีที่มีกำไร และต่อไปจะมีรายได้เข้ามาอย่างน้อย 25,000 ล้านบาท

"รายได้ปี 2556 ไม่รวมสัมปทานอยู่ที่ 38,000 ล้านบาท เฉพาะจากโมบายจะอยู่ที่ 23,000 ล้านบาท พลิกจากเดิมที่คาดว่าจะขาดทุน 1,900 ล้านบาท ถือว่าทำได้เร็วกว่าแผน 1 ปีด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร โดยพยายามเดินออกจากแบบแผนของความเป็นหน่วยงานรัฐ พยายามตอบสนองความต้องการของตลาดให้มากและเร็วกว่าเดิม ส่วนปัญหาการเมืองเป็นเรื่องที่เลือกเองไม่ได้ ก็ต้องอยู่กับมันไป แต่ต้องดิ้นรนมากกว่าเดิม"

ในปีนี้ตามแผน "กสทฯ" จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาท โดยรายได้จะเติบโตไปอีก 4 ปี (ปี 2560) ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการหา "Next Growth" สำหรับปี 2561 เพราะ HSPA ตลาดจะเริ่มอิ่มตัวตามธรรมชาติ อัตราการเติบโตเริ่มคงที่ ขณะที่บริการที่มีไม่พอผลักตลาดได้อีก

"ตลาดที่โตจริง ๆ คือโมบายกับอินเทอร์เน็ต ส่วนโมบาย กสทฯหากจะอัพเกรดบริการให้ดีต้องไปที่เทคโนโลยี 4G/LTE ซึ่งเกี่ยวกับคลื่นความถี่ และ กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) รวมถึงคู่สัมปทานอย่างดีแทคที่เสนอเงื่อนไขนำคลื่น 1800 MHz ที่เหลือไปให้บริการ 4G ซึ่ง กสทฯมองว่าตัวเลือกแรกต้องให้เราเป็นคนทำแล้วไปให้บริการแบบโฮลเซลให้ดีแทค เป็น MVNO เหมือนทรูมูฟ เอช แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกัน ตบมือข้างเดียวไม่ดัง คลื่นส่วนนี้ต้องแช่แข็งต่อไป ซึ่งในปีนี้ กสทฯต้องเริ่มให้ความสำคัญกับการวางโครงข่าย FTTX (เคเบิลใยแก้วความเร็วสูง) ที่ต้องสตาร์ตให้ได้"

แม้โครงการ FTTX ส่วนภูมิภาคอีกประมาณ 1 แสนพอร์ต ค้างรอ "ครม." อนุมัติอยู่ แต่ก็ยังไม่ถึงทางตันซะทีเดียว อาจใช้วิธีโยกงบฯส่วนอื่นมาทยอยลงทุนในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนก่อน

"ตามแผน FTTX เราจะวางเน็ตเวิร์กไปถึงลูกค้ารายย่อย และตัดความเสี่ยงในการลงทุนเน็ตเวิร์กด้วยการขายแบบโฮลเซลแล้วค่อยนำบริการ ต่าง ๆ มา Top up หารายได้ต่อยอดบนฐานลูกค้าของโฮลเซลอีกที โดยในปีนี้จะพยายามเข้าใกล้ลูกค้ามากขึ้น ดูแลผู้ใช้บริการมากขึ้น จากเดิมที่ละเลยทำให้ห่างเหินกันไป

มากกว่านั้น กสท โทรคมนาคม ยังมีเป้าหมายยาวไกลในการเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำของชาติ ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ ต้องพัฒนาคุณภาพโครงข่ายให้มีความเร็วและเสถียรขึ้น ทั้งโครงข่าย HSPA และ FTTX

"ปีที่แล้วเราผูกเชือกรองเท้าเสร็จแล้ว ปีนี้พร้อมจะวิ่งและมีกำไรโตอย่างน้อย 300% โดยไม่ต้องรวมสัมปทาน"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390369767

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.