Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 มกราคม 2557 กสทช.สุภิญญา ระบุ ศรส. ไม่สามารถปิด TV ได้ต้องขอ กสทช. ก่อน!! // เลขาธิการกสทช.ฐากร ระบุ ปิด TV ได้ ต้องมีคำสั่งยุบ กสทช.


ประเด็นหลัก


น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุผ่านทวิตเตอร์ หลังมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในกรณีข้อสงสัยการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควบคุมสื่อ โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ว่า ศรส.ปิดสถานีโทรทัศน์ถูกกฎหมายเองไม่ได้ เนื่องจากอำนาจอยู่ที่ กสทช. ถ้าจะปิดต้องสั่งผ่าน กสทช. ยกเว้นสถานีเถื่อน
     
อย่างไรก็ตาม ในอดีตกรณีสถานีวิทยุทีวีดาวเทียมถูกสั่งปิดได้ง่ายตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเป็นสถานีที่ใช้คลื่นผิดกฎหมาย ไม่ได้รับใบอนุญาต เพราะยังไม่มี กสทช.


 ทั้งนี้ ศรส. อาจขอให้ กสทช. สั่งปิดทีวีดาวเทียมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ กสทช.ไม่จำเป็นต้องทำตาม เพราะว่าใช้อำนาจของ กสทช.เองอย่างเป็นอิสระ ตามกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตการใช้คลื่น และการออกอากาศที่คุ้มครองเสรีภาพตามกฎหมาย ขอให้ดำเนินการตามกรอบ กรณีเกิดข้อสงสัยสามารถสอบถาม หรือเสนอมาที่ กสทช.




นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช. ยังไม่มีอำนาจในการสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ หรือสื่อแขนงต่างๆ แต่อย่างใด เนื่องจากต้องรอฟังการประกาศเงื่อนไขจาก ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศรส. ในช่วงบ่ายวันนี้

ตามขั้นตอน เมื่อประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ยังไม่มีหนังสือจาก ศรส. มาถึง กสทช. ทุกสื่อยังสามารถนำเสนอข่าวสารได้ตามปกติ

"ความแตกต่างระหว่างปี 2553 ที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้น ต้องย้อนกลับไปสมัยที่ยังไม่มี กสทช. มีเพียงคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีอำนาจบังคับใช้เฉพาะพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พุทธศักราช 2498 เพราะตอนนั้นขึ้นอยู่กับกระทรวงคมนาคม แต่ตอนนี้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวขึ้นอยู่กับ กสทช. ที่เป็นองค์กรอิสระ ดังนั้น จึงต้องรอฟังประกาศเงื่อนไขอย่างเดียว ซึ่งเท่ากับว่า ยังไม่สามารถรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น" นายฐากร กล่าว

ส่วนการปิดสื่อ ศรส. จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่ออาศัยกฎหมายของ กสทช. ซึ่งอาจเป็นเพียงฉบับใดฉบับหนึ่งก็ได้ เช่น ด้านเนื้อหารายการ อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 หากเป็นเช่นนั้น กสทช. ก็จะยุติบทบาทลง และถูกแทนที่ด้วย ศรส. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เต็มมือในการจับกุมผู้กระทำผิดแต่เพียงผู้เดียว หรือพูดง่ายๆ คือ กสทช. ถูกยุบอำนาจหน้าที่ลงภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน











______________________________________

'สุภิญญา' ทวิตใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินสั่งปิดทีวีดาวเทียมไม่ได้




น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุผ่านทวิตเตอร์ หลังมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในกรณีข้อสงสัยการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควบคุมสื่อ โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ว่า ศรส.ปิดสถานีโทรทัศน์ถูกกฎหมายเองไม่ได้ เนื่องจากอำนาจอยู่ที่ กสทช. ถ้าจะปิดต้องสั่งผ่าน กสทช. ยกเว้นสถานีเถื่อน
       
อย่างไรก็ตาม ในอดีตกรณีสถานีวิทยุทีวีดาวเทียมถูกสั่งปิดได้ง่ายตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเป็นสถานีที่ใช้คลื่นผิดกฎหมาย ไม่ได้รับใบอนุญาต เพราะยังไม่มี กสทช.
       
ขณะนี้ทีวีดาวเทียมส่วนใหญ่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. แล้ว 1 ปี ส่วนที่กำลังจะหมดอายุร้อยกว่าสถานี กสทช.มีมติต่อใบอนุญาตให้แล้วอีก 2 ปี เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 57 ยกเว้นสถานีที่มีปัญหาเรื่องร้องเรียนจาก อย. จึงยังไม่ต่อใบอนุญาตให้ แต่มีมติคุ้มครองให้ออกอากาศชั่วคราวไปก่อน แต่ต้องมาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนตนเองใน 30 วัน

กรณีทีวีดาวเทียมช่องบลูสกายได้รับการต่อใบอนุญาตจาก กสทช. อีก 2 ปี เนื่องจากไม่มีเรื่องร้องเรียน ดังนั้น สถานีถูกกฎหมายจะถูกสั่งปิดง่ายๆ เหมือนในอดีตไม่ได้
       
 ทั้งนี้ ศรส. อาจขอให้ กสทช. สั่งปิดทีวีดาวเทียมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ กสทช.ไม่จำเป็นต้องทำตาม เพราะว่าใช้อำนาจของ กสทช.เองอย่างเป็นอิสระ ตามกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตการใช้คลื่น และการออกอากาศที่คุ้มครองเสรีภาพตามกฎหมาย ขอให้ดำเนินการตามกรอบ กรณีเกิดข้อสงสัยสามารถสอบถาม หรือเสนอมาที่ กสทช.


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=215562:2014-01-22-04-35-56&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.Ut_AKWT-J-U

_________________________________


'สุภิญญา' ชี้ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินสั่งปิดทีวีดาวเทียมไม่ได้





"สุภิญญา" โพสต์ทวิตเตอร์ ศรส. ไม่มีอำนาจใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดสถานีโทรทัศน์ที่ถูกกฎหมาย ต้องสั่งผ่าน กสทช. ยกเว้นสถานีเถื่อน ชี้ช่องบลูสกายได้ต่อใบอนุญาต 2 ปี หลังไม่มีเรื่องร้องเรียน...

เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 57 มีรายงานว่า น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุผ่านทวิตเตอร์ หลังมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในกรณีข้อสงสัยการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควบคุมสื่อ โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ว่า ศรส.ปิดสถานีโทรทัศน์ถูกกฎหมายเองไม่ได้ เนื่องจากอำนาจอยู่ที่ กสทช. ถ้าจะปิดต้องสั่งผ่าน กสทช. ยกเว้นสถานีเถื่อน

อย่างไรก็ตาม ในอดีตกรณีสถานีวิทยุทีวีดาวเทียมถูกสั่งปิดได้ง่ายตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเป็นสถานีที่ใช้คลื่นผิดกฎหมาย ไม่ได้รับใบอนุญาต เพราะยังไม่มี กสทช.

ขณะนี้ทีวีดาวเทียมส่วนใหญ่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. แล้ว 1 ปี ส่วนที่กำลังจะหมดอายุร้อยกว่าสถานี กสทช.มีมติต่อใบอนุญาตให้แล้วอีก 2 ปี เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 57 ยกเว้นสถานีที่มีปัญหาเรื่องร้องเรียนจาก อย. จึงยังไม่ต่อใบอนุญาตให้ แต่มีมติคุ้มครองให้ออกอากาศชั่วคราวไปก่อน แต่ต้องมาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนตนเองใน 30 วัน

น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่า กรณีทีวีดาวเทียมช่องบลูสกายได้รับการต่อใบอนุญาตจาก กสทช. อีก 2 ปี เนื่องจากไม่มีเรื่องร้องเรียน ดังนั้น สถานีถูกกฎหมายจะถูกสั่งปิดง่ายๆ เหมือนในอดีตไม่ได้

ทั้งนี้ ศรส. อาจขอให้ กสทช. สั่งปิดทีวีดาวเทียมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ กสทช.ไม่จำเป็นต้องทำตาม เพราะว่าใช้อำนาจของ กสทช.เองอย่างเป็นอิสระ ตามกฎหมายที่ให้อำนาจไว้

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตการใช้คลื่น และการออกอากาศที่คุ้มครองเสรีภาพตามกฎหมาย ขอให้ดำเนินการตามกรอบ กรณีเกิดข้อสงสัยสามารถสอบถาม หรือเสนอมาที่ กสทช.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/398005


___________________________________


กสทช.ยังไม่ฟันธง ศรส. ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดสื่อ
หน้าหลัก » วิทยาการ-ไอที » IT Update

เลขาฯ กสทช. ชี้ ศรส. จะปิดสื่อได้ต่อเมื่อใช้อำนาจตามกฎหมายกำกับสื่อของ กสทช. และ กสทช. ต้องยอมยุติบทบาทก่อน คาด วันนี้มีคำสั่งชัดเจน...

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช. ยังไม่มีอำนาจในการสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ หรือสื่อแขนงต่างๆ แต่อย่างใด เนื่องจากต้องรอฟังการประกาศเงื่อนไขจาก ศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศรส. ในช่วงบ่ายวันนี้

ตามขั้นตอน เมื่อประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ยังไม่มีหนังสือจาก ศรส. มาถึง กสทช. ทุกสื่อยังสามารถนำเสนอข่าวสารได้ตามปกติ

"ความแตกต่างระหว่างปี 2553 ที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้น ต้องย้อนกลับไปสมัยที่ยังไม่มี กสทช. มีเพียงคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีอำนาจบังคับใช้เฉพาะพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พุทธศักราช 2498 เพราะตอนนั้นขึ้นอยู่กับกระทรวงคมนาคม แต่ตอนนี้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวขึ้นอยู่กับ กสทช. ที่เป็นองค์กรอิสระ ดังนั้น จึงต้องรอฟังประกาศเงื่อนไขอย่างเดียว ซึ่งเท่ากับว่า ยังไม่สามารถรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น" นายฐากร กล่าว

ส่วนการปิดสื่อ ศรส. จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่ออาศัยกฎหมายของ กสทช. ซึ่งอาจเป็นเพียงฉบับใดฉบับหนึ่งก็ได้ เช่น ด้านเนื้อหารายการ อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 หากเป็นเช่นนั้น กสทช. ก็จะยุติบทบาทลง และถูกแทนที่ด้วย ศรส. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เต็มมือในการจับกุมผู้กระทำผิดแต่เพียงผู้เดียว หรือพูดง่ายๆ คือ กสทช. ถูกยุบอำนาจหน้าที่ลงภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เลขาธิการ กสทช. กล่าวอีกว่า ส่วนกระบวนการจับกุมของ กสทช. ในช่วงประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้น เริ่มจากมีผู้ร้องเรียนเข้ามา โดย กสทช. จะทำหนังสือเชิญเข้ามาชี้แจง และหากยังฝ่าฝืนก็จะดำเนินการตักเตือน ปรับ พักใช้ และเพิกถอนใบอนุญาต ตามลำดับ

สำหรับกฎหมายของ กสทช. ที่เกี่ยวข้องกับสื่อโดยตรง ประกอบด้วย 4 ฉบับ คือ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งนายฐากร คาดการณ์ว่า ศรส. อาจบังคับใช้เพียง 1 จาก 4 ฉบับ คือ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 เหมือนปี 2553 หรืออาจไม่มีการบังคับใช้เลยก็ได้.

โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์

http://m.thairath.co.th/content/tech/398119

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.