Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มกราคม 2557 กสทช. ระบุผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 6-7 ล้านคน มีถือจำนวน 2 เครื่อง ขณะที่ตลาดสมาร์ทโฟน ปี 2557 จะเพิ่มเป็น 50% // TRUE ระบุ รูปแบบชิงโชคที่ดีที่สุดคือ VR (Interactive voice respond แบบเดียวที่อยู่ในฝาชาเขียว


ประเด็นหลัก


 ธุรกิจดิจิตอลมีเดีย  ผมได้ถูกมอบหมายให้เข้ามารับผิดชอบเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ช่วงแรกต้องหาสูตรทางธุรกิจด้วยการวางกลยุทธ์ ดิจิตอล แพลตฟอร์ม เซอร์วิส ผนวกกับ Innovation (นวัตกรรม)  ด้วยการพัฒนาและสร้างขึ้นมาจากโจทย์ลูกค้า  ได้คิดค้นหาสูตรมาประมาณ 1 ปี  ด้วยการพัฒนาโมบายแพลตฟอร์ม เนื่องจากตลาดมือถือในขณะนี้จำนวนผู้ใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากรสูงถึง 138% จากตัวเลขของ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)  ซึ่งผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 6-7 ล้านคน มีถือจำนวน 2 เครื่อง  ขณะที่ตลาดสมาร์ทโฟน ในปี 2555 มีอยู่ประมาณ 15% และ ปี 2556 เติบโตถึง 36% และ ปี 2557 จะเพิ่มเป็น 50% จากการประมาณการของ อีริคสัน ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่ 86% และ เกาหลี 91%
alt    สำหรับ ทรู ไลฟ์  ที่มานั้นเกิดจากกลุ่มทรู ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่เอเยนซีไม่มีจุดแข็งในเรื่องของโมบาย  ดังนั้นเมื่อตลาดได้เป็นที่ยอมรับ และ  ทีมงานมีพร้อม จึงเป็นที่มาของการเกิด ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย


    หลังจากนั้นได้ปรับวิธีด้วยการนำ    IVR (Interactive voice respond ) ระบบตอบรับอัตโนมัติแต่ติดปัญหาเรื่องความสามารถในการใช้งาน (Capacity) และสุดท้ายมาลงตัวที่ระบบ  USSD คือ ระบบที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้สำหรับให้ลูกค้าเติมเงิน (Prepaid) ซึ่ง TRUE YOU (บริการสิทธิพิเศษให้กับลูกค้ากลุ่มทรู) ได้ใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน
    เนื่องจากผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน กว่า 90% ใช้ระบบ USSD  ดังนั้นลูกค้าระบบเติมเงินเป็นกลุ่มที่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง หลังจากสรุปใช้เทคโนโลยี USSD ปรากฏว่าแคมเปญของ อิชิตัน ผู้บริโภคเข้ามาร่วมใช้มากที่สุด คือ  1 ใน 3 ของประชากรที่เข้ามาร่วมสนุกจำนวน 23 ล้านเบอร์ จำนวนรหัสที่ถูกส่งเข้ามาร่วมสนุกมีมากกว่า 200 ล้านรหัส ทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดจาก 38% เพิ่มเป็น 43% ในปี 2556 ทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ของตลาดชาเขียว




______________________________________

ผ่ากลยุทธ์ 'ทรูดิจิตอล'




 ถึงตอนนี้ต้องบอกว่ารูปแบบการชิงโชคของบรรดาสินค้าคอนซูเมอร์  จากเดิมให้ผู้บริโภคเขียนชื่อ ที่อยู่ ส่งไปชิงโชคตามตู้ ป.ณ.ต่างๆ  ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง!!
    เมื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามามีบทบาท ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ แคมเปญลุ้นรหัสรวยเปรี้ยง  60 วัน 60 ล้าน ซึ่งเป็นแคมเปญของ "อิชิตัน" ด้วยการให้ลูกค้าส่งรหัสใต้ฝาน้ำดื่ม "อิชิตัน" และ ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
อรรถ อรุณรัตนพงษ์อรรถ อรุณรัตนพงษ์    การจัดแคมเปญครั้งนี้ "อิชิตัน" ได้ทำกิจกรรมร่วมกับ บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นต์ แอนด์ มีเดีย จำกัด ในรูปแบบของ Mobile Promotion Platform (การทำตลาดโปรโมชันผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่) ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า USSD Platform (USSD-Unstructured  Supplementary Services Data)
 "ฐานเศรษฐกิจ" มีโอกาสเจาะใจ นายอรรถ อรุณรัตนพงษ์ ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจดิจิตอล มีเดีย (Digital Media) บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด น่าติดตามจากบรรทัดถัดจากนี้!
 *** ที่มาของธุรกิจ
    ธุรกิจดิจิตอลมีเดีย  ผมได้ถูกมอบหมายให้เข้ามารับผิดชอบเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ช่วงแรกต้องหาสูตรทางธุรกิจด้วยการวางกลยุทธ์ ดิจิตอล แพลตฟอร์ม เซอร์วิส ผนวกกับ Innovation (นวัตกรรม)  ด้วยการพัฒนาและสร้างขึ้นมาจากโจทย์ลูกค้า  ได้คิดค้นหาสูตรมาประมาณ 1 ปี  ด้วยการพัฒนาโมบายแพลตฟอร์ม เนื่องจากตลาดมือถือในขณะนี้จำนวนผู้ใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากรสูงถึง 138% จากตัวเลขของ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)  ซึ่งผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 6-7 ล้านคน มีถือจำนวน 2 เครื่อง  ขณะที่ตลาดสมาร์ทโฟน ในปี 2555 มีอยู่ประมาณ 15% และ ปี 2556 เติบโตถึง 36% และ ปี 2557 จะเพิ่มเป็น 50% จากการประมาณการของ อีริคสัน ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่ 86% และ เกาหลี 91%
alt    สำหรับ ทรู ไลฟ์  ที่มานั้นเกิดจากกลุ่มทรู ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่เอเยนซีไม่มีจุดแข็งในเรื่องของโมบาย  ดังนั้นเมื่อตลาดได้เป็นที่ยอมรับ และ  ทีมงานมีพร้อม จึงเป็นที่มาของการเกิด ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย
    ทั้งนี้การทำตลาดต้องวิ่งเข้าไปนำเสนอแผนธุรกิจให้กับลูกค้า และ ประสบความสำเร็จกับแคมเปญ "อิชิตัน" โดยคุณตัน (นายตัน ภาสกรนที) ประสบการณ์เชี่ยวชาญเรื่องการตลาด ช่วงนั้นคุณตันมีข้อจำกัดเรื่องช่องทางการกระจายสินค้า ต้องการหาแคมเปญเพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนต่างจังหวัด ด้วยการส่ง SMS และ บริษัทได้นำเสนอรูปแบบเข้าไป
    "คุณตัน บอกทำไมการตลาดแบบ SMS(การส่งข้อความสั้น) ไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค คุณตัน ได้ทำการสำรวจปรากฏว่าผู้บริโภคกว่า 50% ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใช้ระบบเติมเงิน ส่งข้อความสั้นไม่เป็นทั้ง ๆ ที่มีการอธิบายวิธีการใช้งาน  ต่อมาตายตอนเข้าเมนูหลักทำให้ไม่ตอบโจทย์"
*** ที่มาเปลี่ยนรูปแบบ
    หลังจากนั้นได้ปรับวิธีด้วยการนำ    IVR (Interactive voice respond ) ระบบตอบรับอัตโนมัติแต่ติดปัญหาเรื่องความสามารถในการใช้งาน (Capacity) และสุดท้ายมาลงตัวที่ระบบ  USSD คือ ระบบที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้สำหรับให้ลูกค้าเติมเงิน (Prepaid) ซึ่ง TRUE YOU (บริการสิทธิพิเศษให้กับลูกค้ากลุ่มทรู) ได้ใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน
    เนื่องจากผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน กว่า 90% ใช้ระบบ USSD  ดังนั้นลูกค้าระบบเติมเงินเป็นกลุ่มที่ตอบโจทย์อย่างแท้จริง หลังจากสรุปใช้เทคโนโลยี USSD ปรากฏว่าแคมเปญของ อิชิตัน ผู้บริโภคเข้ามาร่วมใช้มากที่สุด คือ  1 ใน 3 ของประชากรที่เข้ามาร่วมสนุกจำนวน 23 ล้านเบอร์ จำนวนรหัสที่ถูกส่งเข้ามาร่วมสนุกมีมากกว่า 200 ล้านรหัส ทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดจาก 38% เพิ่มเป็น 43% ในปี 2556 ทำให้มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ของตลาดชาเขียว
 ***ก้าวต่อไปของ ทรูดิจิตอล
     รูปแบบชิงโชคทำให้ประสบความสำเร็จนั้น คือ เรื่องของ แบรนด์ การทำมีเดียแบบ Eye ball ( การมองเห็น) ปัจจุบันขายสินค้าได้ยากขึ้น  การทำแคมเปญในลักษณะนี้เรียกว่า guarantee success (การรับประกัน)  แบรนด์สามารถจัดจำหน่ายได้ และ ลูกค้ามีสิทธิ์ชิงโชค ซึ่งการชิงโชคด้วยมือถือรู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง เพราะข้อความที่ส่งถึงผู้บริโภคอย่างแน่นอน ไม่เหมือนกับการส่งทางไปรษณีย์เพราะเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
    ต่อไปรูปแบบการใช้ชิงโชคจะผูกติดกับแอพพลิเคชัน หากจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน มีจำนวนผู้ใช้สูงถึง 50% ตลาดในรูปแบบนี้จะได้รับการตอบรับเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมาบริษัทได้ทำแคมเปญกับ 7-11 ในรูปแบบอี-คูปอง เป็นต้น
    ดังนั้นก้าวต่อไปของ ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์  เน้น 3 เรื่องหลัก คือ ขยายฐานไปยังคอนซูเมอร์โปรดักต์ , โมบายแอพพลิเคชัน ชิงโชคผ่านเกม และ Interactive media (การสื่อสารแบบ 2 ทาง) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประสานงานกับห้างสรรพสินค้า เนื่องจากในห้างสรรพสินค้ามีผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้องประสานงานกับแบรนด์ต่าง ๆ ที่ขายในห้างสรรพสินค้า
***ควัก20ล.ลงทุน
    เงินลงทุนก้อนแรก คือ 20-30 ล้านบาทในส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในการพัฒนา USSD ประกอบด้วย ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์, SMSเกตเวย์ และ แอพพลิเคชัน เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น ส่วนเรื่องการส่งรหัส (CODE) นั้นติดต่อประสานงานกับ เอไอเอส และ ดีแทค ส่วนแบ่งของการส่งชิงโชคไม่สามารถเปิดเผยได้  ดังนั้นในเรื่องของ โมบาย โปรโมชัน แพลตฟอร์ม เป็นหัวใจหลักของกลุ่มธุรกิจดิจิตอล มีเดีย
*** ธุรกิจโมบายแอพ
    เน้นเรื่องของ อินเตอร์ แอกทีฟ มีเดีย ต้องวัดด้วยว่าผู้บริโภคต้องเข้ามาดู โจทย์ของบริษัท คือ การันตีซักเซส เมื่อให้บริษัททำการตลาดแล้วต้องประสบผลสำเร็จ การทำในรูปแบบนี้ดีกว่าการลงโฆษณา
***ผู้บริโภคพร้อมหรือยัง
    เชื่อว่าพร้อมแล้วนะครับ จากประสบการณ์การทำตลาดร่วมกับ "อิชิตัน" นั้น คือ ของรางวัลประทับใจ และ การใช้งานได้ กลุ่มธุรกิจมีจุดแข็งเรื่องโมบาย และ มีหน่วยงานพัฒนาแอพพลิเคชันมากที่สุด และทีมงานมีประสบการณ์เมื่อทำเป็นรายแรกให้กับ "อิชิตัน" ประสบความสำเร็จ เชื่อว่าหลังจากนี้บริษัทต้องพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ
 *** อะไรคือสิ่งที่ท้าย
    ผมคิดว่าถ้ามองในฝั่ง ทรู คือ รอเวลาผู้บริโภค และ ผลิตภัณฑ์สินค้าพร้อม แต่แบรนด์ในขณะนี้เริ่มเห็นจากเมืองนอก เพียงแต่รอเวลาผู้บริโภค แต่หลายครั้งผู้บริโภคต้องการอะไรที่ใกล้ตัวเชื่อว่าภายในปีนี้หลาย ๆ อย่างน่าจะมีการพัฒนาไปด้วยดีเพราะมีกรณีศึกษาจากแคมเปญ "อิชิตัน"
++ข้อมูลจำเพาะ
    อรรถ อรุณรัตนพงษ์ ก่อนเข้าร่วมงานกับกลุ่มทรู เคยฝึกงานกับ ทีเอ หรือ บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หลังจากจบปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
    หลังจากนั้นในปี 2547  เข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้าน ไอซีที โซลูชัน และ ธุรกิจ ปี 2551  รับผิดชอบดูแลลูกค้ากลุ่ม สถาบันการศึกษา และ มหาวิทยาลัย และ ปี 2553 ผู้จัดการทั่วไป ดูแลด้าน ดิจิตอล มีเดีย บริษัท ทรูไลฟ์ จำกัด และ ตำแหน่งล่าสุด คือ ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจดิจิตอล มีเดีย บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ฯ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=214947:2014-01-17-09-33-23&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.UuDwOmT-J-U

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.