Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 มกราคม 2557 ดึงตัวคนทำ Digital TV ล่าสุด หมอปราเสริฐเพิ่งดึงตัว นายเขมทัตต์ พลเดช อดีตผู้บริหารของ MCOT รวมทั้งคีย์แมนด้านเทคนิคที่เพิ่งเกษียณจาก อสมท ไปร่วมงาน ขณะที่ ได้ตัว นางสาวบุษบา ศรีรัตนากร อดีตผู้บริหารของ AIS มารับผิดชอบเป็นฝ่ายการตลาด


ประเด็นหลัก


"หมอปราเสริฐเพิ่งดึงตัว นายเขมทัตต์ พลเดช อดีตผู้บริหารของ อสมท รวมทั้งคีย์แมนด้านเทคนิคที่เพิ่งเกษียณจาก อสมท ไปร่วมงาน ขณะที่ อสมท ได้ตัว นางสาวบุษบา ศรีรัตนากร อดีตผู้บริหารของเอไอเอส มารับผิดชอบเป็นฝ่ายการตลาด โดยที่ก่อนหน้านี้ บริษัท ทริปเปิลวี บรอดคาสท์ จำกัด ของไทยรัฐ ดึงทีมข่าวจำนวนหนึ่งไปจากเนชั่นทีวี" แหล่งข่าวระบุ

แหล่ง ข่าววิเคราะห์ว่า ในเมื่อผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลบางรายเพิ่งเข้าสู่ธุรกิจนี้ ประกอบกับต้องจ่ายค่าไลเซนส์สัมปทานจำนวนมาก จำเป็นต้องสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นทุก ๆ ด้าน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับเจ้าตลาดรายเดิม และคืนทุนโดยเร็วที่สุด

______________________________________
"ทีวีดิจิทัล" ช่องใหม่เปิดศึกแย่งขุนพล "หมอเสริฐ" ดึงอดีตบิ๊ก "อสมท" คุมทัพ


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ทีวีดิจิทัลเดือด เปิดศึกชิงขุนพลคุมทัพ ระบุแบกค่าสัมปทานสูงลิ่ว"อสมท" โอดโดนดึงไม่หยุด ผู้ผลิตคอนเทนต์งานชุก "เจเอสแอล-กันตนา" อู้ฟู่ สารพัดช่องรุมตอม

แนวรบทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่อง ซึ่งมีกำหนดทดลองแพร่ภาพเพื่อออกอากาศในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ นอกจากแต่ละช่องจะช่วงชิงการนำ ประกาศความพร้อมเพื่อแจ้งเกิดโดยเร็ว ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นขณะนี้คือการดึงมือดี ๆ ระดับหัวกะทิ รวมทั้งผู้ผลิตคอนเทนต์เข้ามาร่วมทีมผลิตรายการป้อน

แหล่งข่าวใน อสมท ซึ่งได้รับคัดเลือกให้ดำเนินการดิจิทัลทีวี 2 ช่อง คือ วาไรตี้ประเภทความคมชัดสูง (HD) และช่องเด็ก เยาวชนและครอบครัว กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บุคลากรกลายเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการทีวี เนื่องจากมีทีวีดิจิทัลเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 24 ช่อง จำเป็นต้องมีผู้ร่วมงานจำนวนมาก และมีการดึงตัวบุคลากรที่มีประสบการณ์ทุกระดับ ซึ่ง อสมท ประสบปัญหานี้เช่นกัน เนื่องจากกลุ่มทุนที่เข้ามาใหม่มีเงินทุนจำนวนมาก

สอด คล้องกับแหล่งข่าวในวงการโทรทัศน์ระบุว่า ผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ที่เข้ามามีความพยายามดึงตัวบุคลากรในหลาย ๆ ส่วนงาน อาทิ ฝ่ายข่าว ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายเทคนิค ฯลฯ ขณะที่บรรดายักษ์ใหญ่อย่างช่อง 3 และช่อง 7 อยู่ในธุรกิจนี้มานาน ทำให้มีพื้นฐานในระดับหนึ่ง ที่มาแรงเป็นพิเศษคือ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งมี น.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นเจ้าของ

"หมอปราเสริฐเพิ่งดึงตัว นายเขมทัตต์ พลเดช อดีตผู้บริหารของ อสมท รวมทั้งคีย์แมนด้านเทคนิคที่เพิ่งเกษียณจาก อสมท ไปร่วมงาน ขณะที่ อสมท ได้ตัว นางสาวบุษบา ศรีรัตนากร อดีตผู้บริหารของเอไอเอส มารับผิดชอบเป็นฝ่ายการตลาด โดยที่ก่อนหน้านี้ บริษัท ทริปเปิลวี บรอดคาสท์ จำกัด ของไทยรัฐ ดึงทีมข่าวจำนวนหนึ่งไปจากเนชั่นทีวี" แหล่งข่าวระบุ

แหล่ง ข่าววิเคราะห์ว่า ในเมื่อผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลบางรายเพิ่งเข้าสู่ธุรกิจนี้ ประกอบกับต้องจ่ายค่าไลเซนส์สัมปทานจำนวนมาก จำเป็นต้องสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นทุก ๆ ด้าน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับเจ้าตลาดรายเดิม และคืนทุนโดยเร็วที่สุด

ทั้ง นี้ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งชนะการประมูลช่องความคมชัดสูง (HD) เตรียมนำ PPTV ช่องโทรทัศน์ดาวเทียมรายการวาไรตี้ สาระ บันเทิง และข่าวสาร ที่เริ่มเปิดตัวไปเมื่อปลายปีก่อน เข้าไปออกอากาศเป็นระบบดิจิทัล

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากดึงตัวคนที่มีประสบการณ์มาร่วมบุกเบิก ทีวีดิจิทัลช่องต่าง ๆ โดยเฉพาะช่อง 7 ไทยรัฐ อมรินทร์ เทเลวิชั่นส์ กำลังเปิดรับบุคลากรทุกระดับจำนวนมาก จากที่ผ่านมาช่วงแรก ๆ จะเป็นการแย่งตัวฝ่ายเทคนิคจากทีวีดาวเทียมต่าง ๆ แต่ขณะนี้กลุ่มคนที่ถูกดึงจะเป็นระดับครีเอทีฟ

คาดการณ์กันด้วยว่าใน บรรดาทีวีดิจิทัลช่องต่าง ๆ ช่อง 3 และช่อง 7 น่าจะยึดครองผู้ชมได้มากที่สุด เนื่องจากอยู่ในธุรกิจนี้มานาน และมีทีมคอนเทนต์รายการจำนวนมาก แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่รายใหม่จะแซงหน้าช่อง 3 และช่อง 7 ขึ้นมาเป็นผู้นำ อย่างดีที่สุดคือแซง อสมท ขึ้นมาเป็นที่ 3

นาย อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า เป้าหมายของการประมูลทีวีดิจิทัลของบริษัท คือการเสริมกับธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ที่มีอยู่ เดิม เพราะปัจจุบันมีการผลิตคอนเทนต์ ซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการสนับสนุนกันและกัน ทำให้มีความพร้อมทุก ๆ ด้าน ทั้งบุคลากร คอนเทนต์รายการ เพราะมีพื้นฐานอยู่แล้ว จึงพร้อมออกอากาศในเดือนเมษายนนี้ ตามกำหนดของ กสทช.

"ฟรีทีวีถือเป็นส่วนเสริมเพย์ทีวี และจะนำรายการดี ๆ รวมทั้งลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศมาให้ผู้ชมได้รับชมด้วย"

ขณะ ที่นางรติวัลคุ์ ศรีมงคลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด กล่าวว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลส่งผลให้ความต้องการคอนเทนต์รายการ และบุคลากรเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากมีแนวทางการบริหารจัดการอยู่แล้ว ด้วยการร่วมมือกับผู้ผลิตคอนเทนต์รายย่อยตามความถนัดของแต่ละรายป้อนรายการ แทนการรับสมัครบุคลากรเพิ่ม เจเอสแอล มีพันธมิตรพร้อมจะผลิตคอนเทนต์รายการรวม 20 ราย โดย 8 รายถือเป็นเอ็กซ์คลูซีฟผลิตให้แก่เจเอสแอลรายเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตามบริษัทพร้อมที่จะผลิตคอนเทนต์ให้แก่ทุกสถานี ปัจจุบันมีเจ้าของสถานี 7-8 ช่อง ได้เข้ามาเจรจากับบริษัทแล้ว

"จุดแข็งของเจเอสแอล คือ รายการวาไรตี้ ทอล์กโชว์ ละคร เกมโชว์ ซึ่งบริษัทจะเดินหน้าตามสิ่งที่เราถนัด"

นางรติวัลคุ์กล่าวอีกว่า เจเอสแอลได้เปิด บริษัท คอนเทนต์แล็บ จำกัด ดูแลการวางแผนกลยุทธ์ และการซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทดังกล่าวได้เข้าไปวางกลยุทธ์ให้แก่ฟรีทีวีช่องใหม่ ๆ ด้วย แต่ยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้

ปัจจุบันเจเอสแอลมีรายการ ทางฟรีทีวีประมาณ 9-10 รายการ ในช่อง 5 ช่อง 7 โมเดิร์นไนน์ทีวี และช่อง 11 (NBT) เช่น เจาะใจ เอสเอ็มอี มีตังค์เยอะ กิ๊กดู๋ สงครามเพลง และละครที่ออกอากาศผ่านช่อง 11 เป็นต้น

ด้านนายจาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวทางการผลิตเนื้อหารายการของบริษัทมีหลายรูปแบบ ทั้งการรับจ้างผลิต รับผลิตและแบ่งรายได้จากสถานี รวมถึงการจับมือกับพันธมิตร ล่าสุดร่วมมือกับ บริษัท ลักษ์ 666 จำกัด ผลิตรายการโทเร่ เกมส์ปิรามิดปริศนา (Tore!) ลิขสิทธิ์จากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การร่วมทุนในชื่อบริษัท กันตลักษ์ จำกัด

อย่างไรก็ตามเพื่อรับการขยายตัวของทีวีดิจิทัล ได้เดินหน้าลงทุนซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศในปีนี้ 200-300 ล้านบาท รวม 40 รายการ ขณะนี้มีทีวีดิจิทัล 6 ราย จาก 12 ราย สนใจซื้อคอนเทนต์ของบริษัท

"กันตนายังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ออกแบบและสร้างสรรค์รูปแบบรายการใหม่ ๆ เพื่อป้อนให้กับสถานีต่าง ๆ อีกด้วย" นายจาฤกกล่าว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390403553

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.