Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มกราคม 2557 (บทความ) "สหรัฐ-ยุโรป" ตกแชมป์ สมรภูมิสมาร์ทโฟนเคลื่อนสู่เอเชีย // ระบุ ยอดขายสมาร์ทโฟนมากที่สุด 10 อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่ จีน (283 ล้านเครื่อง), อินเดีย (225 ล้านเครื่อง), สหรัฐอเมริกา (89 ล้านเครื่อง), อินโดนีเซีย (46 ล้านเครื่อง), รัสเซีย (31 ล้านเครื่อง), ญี่ปุ่น (30 ล้านเครื่อง), เม็กซิโก (23 ล้านเครื่อง), เยอรมนี (22 ล้านเครื่อง), ฝรั่งเศส (18.7 ล้านเครื่อง) และสหราชอาณาจักร (17.7 ล้านเครื่อง)


ประเด็นหลัก


สำนักข่าวเดอะ การ์เดี้ยน รายงานข้อมูลจากบริษัทวิจัย "มีเดียเซลส์" ระบุว่า ปีนี้ผู้ใช้โทรศัพท์ในประเทศจีนและอินเดียรวมกันน่าจะซื้อสมาร์ทโฟนมากกว่า 500 ล้านเครื่อง ถือเป็นครึ่งหนึ่งจากยอดขายใน 47 ประเทศที่จะมีกว่า 1,030 ล้านเครื่องในปีนี้ ส่งผลให้มีผู้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 400 ล้านคน และอินเดียจะล้มแชมป์สหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็นประเทศที่มีการใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุดในโลก

คลื่นผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่ยังจะทำให้บรรดาโทรศัพท์ราคาถูก ที่ใช้ระบบปฏิบัติการไฟร์ฟ็อกซ์ โอเอส เริ่มมีจุดยืนในตลาดอเมริกาใต้ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่จะเปลี่ยนจากการใช้ฟีเจอร์โฟนมาเป็นสมาร์ทโฟนน่าจะเลือกใช้โทรศัพท์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นหลัก โดยอินเดียจะเป็นประเทศที่มีผู้ซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องแรกมากที่สุด และปีนี้จะเป็นปีแรกที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์มือถือในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะมีจำนวนมากกว่ากลุ่มผู้ใช้ในประเทศพัฒนาแล้ว

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะมียอดขายสมาร์ทโฟนมากที่สุด 10 อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่ จีน (283 ล้านเครื่อง), อินเดีย (225 ล้านเครื่อง), สหรัฐอเมริกา (89 ล้านเครื่อง), อินโดนีเซีย (46 ล้านเครื่อง), รัสเซีย (31 ล้านเครื่อง), ญี่ปุ่น (30 ล้านเครื่อง), เม็กซิโก (23 ล้านเครื่อง), เยอรมนี (22 ล้านเครื่อง), ฝรั่งเศส (18.7 ล้านเครื่อง) และสหราชอาณาจักร (17.7 ล้านเครื่อง)

แต่ถ้าดูในแง่ที่ว่าประเทศใดจะมีอัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนเติบโตสูงที่สุด รวมถึงจะมีเจ้าของสมาร์ทโฟนหน้าใหม่มากที่สุด ผลที่ได้ออกมาจะแตกต่างไปจากเดิมนิดหน่อย โดยจีนและอินเดียยังคงเป็นผู้นำสองอันดับแรกเช่นเคย ด้วยจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่ 216 ล้านคน และ 207 ล้านคนตามลำดับ รองลงมาเป็นสหรัฐอเมริกา (47.5 ล้านคน), อินโดนีเซีย (39.8 ล้านคน), บราซิล (38.2 ล้านคน), ญี่ปุ่น (22.9 ล้านคน), รัสเซีย (21.4 ล้านคน), เม็กซิโก (16.3 ล้านคน) รวมไปถึงเวียดนาม (14.2 ล้านคน), เยอรมนี (12.2 ล้านคน) และตุรกี (11.6 ล้านคน)

ในแง่กลุ่มประเทศที่น่าจะมีสัดส่วนผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่มากที่สุดของปีนี้ (เทียบจากยอดขายสมาร์ทโฟนทั้งหมดในปีนี้) ผลจะค่อนข้างแตกต่างไปจากเดิมพอสมควร โดยประเทศอินเดียมาแรงที่สุดด้วยอัตราส่วนผู้ใช้หน้าใหม่กว่า 92% จากยอดขายสมาร์ทโฟนทั้งหมดของปีที่น่าจะมีถึง 224 ล้านเครื่อง โดยปัจจุบันอินเดียมีฐานผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 156 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 1,200 ล้านคนทั้งประเทศ ซึ่งหมายความว่าปีนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในอินเดียจะเพิ่มกว่าเท่าตัว มาอยู่ที่ 364 ล้านคน รองจากอินเดียคือ ประเทศอินโดนีเซีย (86%), เวียดนาม (82%), บราซิล (82%), โรมาเนีย (80%), ตุรกี (77%), ยูเครน (76%), จีน (76%), ไนจีเรีย (75%) และญี่ปุ่น (75%)ตรงกันข้าม หลายประเทศจะเริ่มเห็นยอดซื้อสมาร์ทโฟนของผู้ใช้หน้าใหม่น้อยลง เพราะผู้ใช้โทรศัพท์ฟีเจอร์โฟนเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเนเธอร์แลนด์น่าจะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่เข้ามา 1.4 ล้านคน จากเดิมที่มีฐานผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งประเทศ 9 ล้านคน เรียกว่ามียอดขายจากผู้ใช้หน้าใหม่เพียง 39% ในขณะที่ฟินแลนด์น่าจะมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่เพียง 5 แสนคน หรือ 43% จากฐานผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งประเทศ 2.4 ล้านคน ส่วนนอร์เวย์มีสัดส่วนดังกล่าว 44%, แอฟริกาใต้ 44.6%, ออสเตรเลีย 44.7%, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 45%, ซาอุดีอาระเบีย 45.3% และสหราชอาณาจักร 45.3%

โดยยอดขายที่มาจากผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่จะอยู่ราว 761 ล้านคน ขณะที่ยอดขายสมาร์ทโฟนที่เกิดจากการซื้อเครื่องใหม่ทดแทนเครื่องเก่า คาดว่าจะมีราว 27% ของยอดขายรวม 1,030 ล้านเครื่อง

แต่อาจถูกบิดเบือนจากยอดการซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องแรกอย่างมหาศาลในจีนและอินเดีย ซึ่งมีเดียเซลส์วิเคราะห์ว่า 56% ของยอดขายในทุกประเทศหรือ 4 ใน 10 เครื่องมาจากการซื้อทดแทนเครื่องเก่า













______________________________________

"สหรัฐ-ยุโรป" ตกแชมป์ สมรภูมิสมาร์ทโฟนเคลื่อนสู่เอเชีย



คอลัมน์ Click World



ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า "สมาร์ทโฟน" เป็นสินค้าสุดฮอตทั่วโลกในปีที่ผ่านมา และในปีนี้ยังร้อนแรงไม่หยุด ล่าสุดบริษัทวิจัยตลาด "มีเดียเซลส์" คาดการณ์ว่าปีนี้น่าจะมียอดขายทั่วโลกแตะหลักพันล้านเครื่อง โดยความเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัด คือความคึกคักของตลาดจะขยับมาอยู่ที่ฝั่งเอเชีย เพราะตลาดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วตั้งแต่สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และแถบยุโรปเริ่มชะลอตัวลง เมื่อคนใช้สมาร์ทโฟนแทนฟีเจอร์โฟนไปนานแล้ว

สำนักข่าวเดอะ การ์เดี้ยน รายงานข้อมูลจากบริษัทวิจัย "มีเดียเซลส์" ระบุว่า ปีนี้ผู้ใช้โทรศัพท์ในประเทศจีนและอินเดียรวมกันน่าจะซื้อสมาร์ทโฟนมากกว่า 500 ล้านเครื่อง ถือเป็นครึ่งหนึ่งจากยอดขายใน 47 ประเทศที่จะมีกว่า 1,030 ล้านเครื่องในปีนี้ ส่งผลให้มีผู้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 400 ล้านคน และอินเดียจะล้มแชมป์สหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็นประเทศที่มีการใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุดในโลก

คลื่นผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่ยังจะทำให้บรรดาโทรศัพท์ราคาถูก ที่ใช้ระบบปฏิบัติการไฟร์ฟ็อกซ์ โอเอส เริ่มมีจุดยืนในตลาดอเมริกาใต้ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่จะเปลี่ยนจากการใช้ฟีเจอร์โฟนมาเป็นสมาร์ทโฟนน่าจะเลือกใช้โทรศัพท์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นหลัก โดยอินเดียจะเป็นประเทศที่มีผู้ซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องแรกมากที่สุด และปีนี้จะเป็นปีแรกที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์มือถือในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะมีจำนวนมากกว่ากลุ่มผู้ใช้ในประเทศพัฒนาแล้ว

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะมียอดขายสมาร์ทโฟนมากที่สุด 10 อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่ จีน (283 ล้านเครื่อง), อินเดีย (225 ล้านเครื่อง), สหรัฐอเมริกา (89 ล้านเครื่อง), อินโดนีเซีย (46 ล้านเครื่อง), รัสเซีย (31 ล้านเครื่อง), ญี่ปุ่น (30 ล้านเครื่อง), เม็กซิโก (23 ล้านเครื่อง), เยอรมนี (22 ล้านเครื่อง), ฝรั่งเศส (18.7 ล้านเครื่อง) และสหราชอาณาจักร (17.7 ล้านเครื่อง)

แต่ถ้าดูในแง่ที่ว่าประเทศใดจะมีอัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนเติบโตสูงที่สุด รวมถึงจะมีเจ้าของสมาร์ทโฟนหน้าใหม่มากที่สุด ผลที่ได้ออกมาจะแตกต่างไปจากเดิมนิดหน่อย โดยจีนและอินเดียยังคงเป็นผู้นำสองอันดับแรกเช่นเคย ด้วยจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่ 216 ล้านคน และ 207 ล้านคนตามลำดับ รองลงมาเป็นสหรัฐอเมริกา (47.5 ล้านคน), อินโดนีเซีย (39.8 ล้านคน), บราซิล (38.2 ล้านคน), ญี่ปุ่น (22.9 ล้านคน), รัสเซีย (21.4 ล้านคน), เม็กซิโก (16.3 ล้านคน) รวมไปถึงเวียดนาม (14.2 ล้านคน), เยอรมนี (12.2 ล้านคน) และตุรกี (11.6 ล้านคน)

ในแง่กลุ่มประเทศที่น่าจะมีสัดส่วนผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่มากที่สุดของปีนี้ (เทียบจากยอดขายสมาร์ทโฟนทั้งหมดในปีนี้) ผลจะค่อนข้างแตกต่างไปจากเดิมพอสมควร โดยประเทศอินเดียมาแรงที่สุดด้วยอัตราส่วนผู้ใช้หน้าใหม่กว่า 92% จากยอดขายสมาร์ทโฟนทั้งหมดของปีที่น่าจะมีถึง 224 ล้านเครื่อง โดยปัจจุบันอินเดียมีฐานผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 156 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 1,200 ล้านคนทั้งประเทศ ซึ่งหมายความว่าปีนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในอินเดียจะเพิ่มกว่าเท่าตัว มาอยู่ที่ 364 ล้านคน รองจากอินเดียคือ ประเทศอินโดนีเซีย (86%), เวียดนาม (82%), บราซิล (82%), โรมาเนีย (80%), ตุรกี (77%), ยูเครน (76%), จีน (76%), ไนจีเรีย (75%) และญี่ปุ่น (75%)ตรงกันข้าม หลายประเทศจะเริ่มเห็นยอดซื้อสมาร์ทโฟนของผู้ใช้หน้าใหม่น้อยลง เพราะผู้ใช้โทรศัพท์ฟีเจอร์โฟนเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเนเธอร์แลนด์น่าจะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่เข้ามา 1.4 ล้านคน จากเดิมที่มีฐานผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งประเทศ 9 ล้านคน เรียกว่ามียอดขายจากผู้ใช้หน้าใหม่เพียง 39% ในขณะที่ฟินแลนด์น่าจะมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่เพียง 5 แสนคน หรือ 43% จากฐานผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งประเทศ 2.4 ล้านคน ส่วนนอร์เวย์มีสัดส่วนดังกล่าว 44%, แอฟริกาใต้ 44.6%, ออสเตรเลีย 44.7%, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 45%, ซาอุดีอาระเบีย 45.3% และสหราชอาณาจักร 45.3%

โดยยอดขายที่มาจากผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่จะอยู่ราว 761 ล้านคน ขณะที่ยอดขายสมาร์ทโฟนที่เกิดจากการซื้อเครื่องใหม่ทดแทนเครื่องเก่า คาดว่าจะมีราว 27% ของยอดขายรวม 1,030 ล้านเครื่อง

แต่อาจถูกบิดเบือนจากยอดการซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องแรกอย่างมหาศาลในจีนและอินเดีย ซึ่งมีเดียเซลส์วิเคราะห์ว่า 56% ของยอดขายในทุกประเทศหรือ 4 ใน 10 เครื่องมาจากการซื้อทดแทนเครื่องเก่า

นอกจากนี้ อัตราการเติบโตแบบยิ่งใหญ่อลังการในตลาดจีนและอินเดียยังบ่งชี้ได้ว่าระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จะได้ประโยชน์แบบเป็นกอบเป็นกำ เพราะผู้ผลิตมือถือในจีนต่างแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ส่วนในอินเดียก็มีบริษัทท้องถิ่นอย่างไมโครแม็กซ์ที่กำลังพยายามเปิดศึกล้มแบรนด์ยักษ์ซัมซุงในประเทศตัวเอง

ส่วนบราซิลก็เป็นประเทศที่มีโอกาสจะเป็นสมรภูมิหลักระหว่างระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของกูเกิล และไฟร์ฟ็อกซ์ โอเอส ขององค์กรโมซิลล่า โดย นายแบรดรีส กรรมการผู้จัดการของมีเดียเซลส์ สาขาเมืองกิลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ แสดงความเห็นว่า ถึงแม้กฎ "ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับทุกสิ่ง" จะใช้ได้ในตลาดมือถือเกิดใหม่ทั่วไป แต่บริษัทของเขาพบว่ากูเกิลเริ่มพบกับความท้าทายอย่างชัดเจนจากบรรดาแบรนด์คู่แข่งซึ่งเข้ามาในตลาดตั้งแต่ปี 2556 โดยระบบปฏิบัติการไฟร์ฟ็อกซ์ของโมซิลล่าถือว่าประสบความสำเร็จจากการเข้าไปจับในตลาดสมาร์ทโฟนระดับราคาเข้าถึงได้ ด้วยวิธีการร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์มือถือ อย่างเช่น โมวิสตาร์ (มีบริษัทเทเลโอนิก้าจากสเปนเป็นเจ้าของ) เพื่อเจาะตลาด และในช่วงวันหยุดเทศกาลคริสต์มาสที่ผ่านมา

สมาร์ทโฟนไฟร์ฟ็อกซ์ โอเอส ที่จำหน่ายตามช่องทางของโมวิสตาร์ทำยอดขายได้ถึง 30% จากยอดสมาร์ทโฟนทั้งหมดในประเทศอุรุกวัย

"มีเดียเซลส์มองว่านี่เป็นตัวชี้วัดแรก ๆ ที่ทำให้เห็นว่าสมาร์ทโฟนเริ่มถูกมองเป็นอุปกรณ์อเนกประสงค์ด้านไลฟ์สไตล์ที่คนวางใจได้ ซึ่งเทรนด์เรื่องนี้ทำให้ความต้องการซื้อสมาร์ทโฟนจากแบรนด์มือถือชื่อดังของผู้บริโภค เปลี่ยนเป็นความต้องการซื้อสมาร์ทโฟนจากแบรนด์อินเทอร์เน็ตชื่อดังแทน"

และยังชี้ว่าประชากรวัยเยาว์ในบราซิลและงานบอลโลกที่กำลังจะจัดขึ้นในปีนี้ ส่งผลให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่ตลาดสมาร์ทโฟนเติบโตอย่างออกดอกออกผลมากที่สุด ซึ่งบราซิลก็เป็นหนึ่งใน 14 ประเทศที่ไฟร์ฟ็อกซ์เข้ามาเจาะตลาดสมาร์ทโฟนที่ระดับราคาอยู่ในช่วงประมาณ 50-100 เหรียญสหรัฐ

สำหรับตลาดผู้นำเทรนด์สมาร์ทดีไวซ์อย่างสหรัฐอเมริกาก็น่าจะมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยเดือนละ 3 ล้านคนต่อเดือน ซึ่งถือว่าคงที่กับสภาพที่เกิดขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา แต่ก็น่าจะมีการเติบโตจากกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนอายุต่ำกว่า 14 ปี (ซึ่งมีประมาณ 63 ล้านคน) เนื่องจากแบรนด์อย่างโมโตโรล่า, ซัมซุง และแอลจี ต่างพยายามผลักดันยอดขายในกลุ่มนี้ ส่วนตลาดสหราชอาณาจักรน่าจะมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนหน้าใหม่เพิ่มขึ้น 8 ล้านคนในปีนี้ จากปัจจุบันที่มีฐานผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหมด 39.4 ล้านคน โดยมีผู้บริโภคที่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่เฉลี่ยเดือนละประมาณ 750,000 คน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1390535586

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.