Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 กุมภาพันธ์ 2557 กสทช.เล็งออกใบอนุญาตผู้ประกอบการรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม 3 ประเภท ขายต่อบริการ(ไร้โครงข่าย) บริการเอง(ไร้โครงข่าย) และ ให้บริการช่องสัญญาณ(มีโครงข่าย)


ประเด็นหลัก


    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังการประชุมสัมมนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง หรือโฟกัสกรุ๊ปใน (ร่าง) ประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและเงื่อนไขการประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสารว่า การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ โดยเบื้องต้นผู้ประกอบการไม่มีทีท่าขัดข้องในหลักการของร่างประกาศดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งมีผู้ประกอบการของธุรกิจดาวเทียมสื่อสารเข้าร่วมกว่า 10 ราย โดยเนื้อหาในการหารือคือ การออกใบอนุญาตผู้ให้บริการดาวเทียมสื่อสารภาคพื้นดิน ซึ่งทำหน้าที่รับ-ส่งสัญญาณสู่ดาวเทียมที่โคจรอยู่ ทั้งภาพ ข้อมูล เสียง ที่อาศัยคลื่นความถี่วิทยุคมนาคม จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ในมาตรา 45
    ทั้งนี้ การกำหนดใบอนุญาตแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.ใบอนุญาตแบบที่หนึ่ง ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการขายต่อบริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ไม่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตัวเอง 2.ใบอนุญาตแบบที่สอง ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่มีหรือไม่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตนเอง 3.ใบอนุญาตแบบที่สาม ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมที่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตนเอง


ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ดังกล่าว มีมติเห็นชอบจากคณะอนุฯ ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.2556 แต่บอร์ดยังไม่ได้มีมติเห็นชอบ คณะอนุฯ จึงต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม เพื่อเร่งออกร่างประกาศฯ ดังกล่าว เนื่องจากไทยคมได้ยื่นขอเพิ่มบริการดาวเทียมในใบอนุญาตประเภท 3 เพื่อใช้สำหรับยิงดาวเทียม 8 ในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออกแล้ว

ใบอนุญาตประเภทที่ 3 ตามที่ไทยคมร้องขอ มีระยะเวลาที่อนุญาตประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 20 ปี ส่วนการหาตำแหน่งที่ตั้งวงโคจรดาวเทียม ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องดำเนินการตามขั้นตอนของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กำหนด โดยประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ ทั้งต้องยินยอมให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งช่องสัญญาณได้ตลอดอายุใบอนุญาต เพื่อใช้งานด้านความมั่นคง และประโยชน์สาธารณะตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ

นอกจากนี้ ผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่ 3 หากต้องการได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ภายในประเทศ เพื่อใช้ในกิจการวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการควบคุมดาวเทียมสื่อสารจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และต้องจ่ายค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว








______________________________________

ลุยออกใบอนุญาตดาวเทียม
  กสทช.เล็งออกใบอนุญาตผู้ประกอบการรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม ขณะที่คืบหน้าคลื่นกวนไทยคมเชื่อว่าไม่ได้เกิดจากการรบกวนกันเองของคลื่น
    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังการประชุมสัมมนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง หรือโฟกัสกรุ๊ปใน (ร่าง) ประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการอนุญาตและเงื่อนไขการประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสารว่า การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ โดยเบื้องต้นผู้ประกอบการไม่มีทีท่าขัดข้องในหลักการของร่างประกาศดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งมีผู้ประกอบการของธุรกิจดาวเทียมสื่อสารเข้าร่วมกว่า 10 ราย โดยเนื้อหาในการหารือคือ การออกใบอนุญาตผู้ให้บริการดาวเทียมสื่อสารภาคพื้นดิน ซึ่งทำหน้าที่รับ-ส่งสัญญาณสู่ดาวเทียมที่โคจรอยู่ ทั้งภาพ ข้อมูล เสียง ที่อาศัยคลื่นความถี่วิทยุคมนาคม จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ในมาตรา 45
    ทั้งนี้ การกำหนดใบอนุญาตแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.ใบอนุญาตแบบที่หนึ่ง ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการขายต่อบริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ไม่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตัวเอง 2.ใบอนุญาตแบบที่สอง ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่มีหรือไม่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตนเอง 3.ใบอนุญาตแบบที่สาม ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมที่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตนเอง
    ขณะที่กรณีที่มีคลื่นความถี่กวนสัญญาณ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หลังการหารือในเชิงเทคนิคแล้วพบว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่ไทยคมจะส่งสัญญาณรบกวนคลื่นของไทยคมเอง เนื่องจากหากเป็นเช่นนั้นจะเกิดการรบกวนช่องสัญญาณทั้งหมดและเกิดความเสียหายมาก โดยคาดว่าเป็นการรบกวนจากภายนอกและรบกวนขณะที่มีการส่งสัญญาณช่องบลูสกายจากภาคพื้นดินขึ้นสู่ดาวเทียม ทำให้สัญญาณที่รับกลับมาขัดข้องเป็นระยะ และมั่นใจว่าผู้ที่สามารถส่งคลื่นรบกวนการออกอากาศช่องบลูสกายได้ต้องมีความรู้ความเข้าใจทางเทคนิคเป็นอย่างดี ซึ่ง กสทช.ได้พยายามตรวจสอบและติดตามเบาะแสอยู่.

http://www.thaipost.net/news/010214/85389

__________________________


กสทช.เร่งออกไลเซ่นดาวเทียมสื่อสาร


กสทช.เดินเครื่องโฟกัสกรุ๊ป เร่งออกร่างประกาศฯ กิจการดาวเทียมสื่อสาร ปูทางออกใบอนุญาต "ไทยคม" ยิงดาวเทียมดวง 8 ในปี 58



รายงานข่าวแจ้งว่า คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสาร ที่มีนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ได้ประชุมสัมมนากลุ่มผู้เกี่ยวข้อง (โฟกัส กรุ๊ป) ต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาต และกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสาร ในวันนี้ (31 ม.ค.)

ร่างประกาศฯ ดังกล่าวประกอบด้วยเรื่องหลักๆ เช่น การกำหนดใบอนุญาต แบ่งเป็น 3 แบบ 1.ใบอนุญาตแบบที่หนึ่ง สำหรับให้บริการขายต่อบริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ไม่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตัวเอง 2.ใบอนุญาตแบบที่สอง สำหรับให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่มีหรือไม่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตนเอง 3.ใบอนุญาตแบบที่สาม สำหรับให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมที่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตนเอง

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบกิจการผ่านดาวเทียมสื่อสาร ได้แก่ บมจ.ไทยคม ใช้งานดาวเทียมไทยคม 1 ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก,ไทยคม 2 ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก ,ไทยคม 3 ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก ซึ่งทั้ง 3 ดาวเทียม เป็นระบบสัมปทานซึ่งสิ้นสุดแล้ว

ขณะที่ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ไทยคม 5 ไทยคม 6 ดวงล่าสุด ยังอยู่ในระบบสัมปทานกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) แต่ขณะนี้ กทค.เตรียมอนุญาตให้ดาวเทียมไทยคม 7 ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก ที่จะยิงปลายปี 2557 เป็นระบบใบอนุญาตดวงแรก

รวมถึง ดาวเทียมไทยคม 8 ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก ที่จะยิงช่วงปี 2558 เป็นระบบใบอนุญาต คาดว่าจะทดแทนไทยคม 5 ที่ช่องสัญญาณให้บริการเต็ม

ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ดังกล่าว มีมติเห็นชอบจากคณะอนุฯ ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.2556 แต่บอร์ดยังไม่ได้มีมติเห็นชอบ คณะอนุฯ จึงต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม เพื่อเร่งออกร่างประกาศฯ ดังกล่าว เนื่องจากไทยคมได้ยื่นขอเพิ่มบริการดาวเทียมในใบอนุญาตประเภท 3 เพื่อใช้สำหรับยิงดาวเทียม 8 ในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออกแล้ว

ใบอนุญาตประเภทที่ 3 ตามที่ไทยคมร้องขอ มีระยะเวลาที่อนุญาตประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 20 ปี ส่วนการหาตำแหน่งที่ตั้งวงโคจรดาวเทียม ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องดำเนินการตามขั้นตอนของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กำหนด โดยประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ ทั้งต้องยินยอมให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งช่องสัญญาณได้ตลอดอายุใบอนุญาต เพื่อใช้งานด้านความมั่นคง และประโยชน์สาธารณะตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ

นอกจากนี้ ผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่ 3 หากต้องการได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ภายในประเทศ เพื่อใช้ในกิจการวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการควบคุมดาวเทียมสื่อสารจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และต้องจ่ายค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140131/560069/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3.html

______________________________


กสทช.จัดประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องร่างประกาศดาวเทียม


กสทช.จัดประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องร่างประกาศดาวเทียม
       กสทช. จัดประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง (Focus Group) ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสารวันที่ 31 ม.ค.นี้
     
       รายงานข่าวจากกสทช.ระบุว่าคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสารที่มีนายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ เป็นประธาน ได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง (Focus Group) ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสาร ในวันที่ 31 ม.ค.57 เวลา 09.00 - 16.00 น. ที่ห้องประชุมฟอร์จูน ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ
     
       ทั้งนี้ ร่างประกาศดังกล่าว จะประกอบไปด้วยเรื่องหลักๆ อาทิ การกำหนดใบอนุญาต ซึ่งแบ่งเป็น 3แบบ ดังนี้ 1.ใบอนุญาตแบบที่หนึ่ง ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการขายต่อบริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ไม่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตัวเอง 2.ใบอนุญาตแบบที่สอง ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่มีหรือไม่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตนเอง และ3.ใบอนุญาตแบบที่สาม ได้แก่ ใบอนุญาตสำหรับให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมที่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาว เทียมเป็นของตนเอง
     
       ส่วนการกำหนดระยะเวลาที่ให้ใบอนุญาต แบบที่หนึ่ง และแบบที่สอง จะมีระยะเวลาที่อนุญาตให้ประกอบกิจการตามประกาศไว้ในข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง และแบบที่สอง ส่วนใบอนุญาตแบบที่สาม มีระยะเวลาที่อนุญาตประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยคณะกรรมการอาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงกรอบระยะเวลาขั้นต่ำหรือขั้นสูงที่อนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสารได้
     
       นอกจากนี้ยังมีหมวดหมู่อื่นๆ ในร่างประกาศดังกล่าว อาทิ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต,วิธีการพิจารณาใบอนุญาต,หลักเกณฑ์การขอใบอนุญาต,การขอต่อใบอนุญาต และการจัดสรรคลื่นความถี่
     
       ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบกิจการดาวเทียมสื่อสารในประเทศ คือ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ที่มีการใช้งานดาวเทียมไทยคม 1 ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก,ไทยคม2 ตำแหน่งวงโคจร 120องศาตะวันออก ,ไทยคม 3 ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก ดาวเทียมไทยคม 4 ตำแหน่งวงโครจร 119.5 องศาตะวันออก ที่ยังคงให้บริการอยู่โดยเน้นการให้บริการด้านบรอดคาสติ้ง ส่วนดาวเทียมไทยคม 5 ตำแหน่งวงโครจร 78.5 องศาตะวันออก ให้บริการแทนดาวเทียมไทยคม 3 ที่เสียไป
     
       ส่วนดาวเทียมไทยคม 6 ตำแหน่งวงโครจร 78.5 องศาตะวันออก ที่ทำการยิงไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค.57 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่อยู่ในระบบใบอนุญาต โดยกทค.เตรียมที่จะอนุญาตให้ดาวเทียมไทยคม 7 ตำแหน่งวงโครจร 120 องศาตะวันออก ที่ บริษัท ไทยคม จะทำการยิงในปลายปี 2557 ก็เป็นระบบใบอนุญาต ส่วนดาวเทียมไทยคม 8 ตำแหน่งวงโครจร 78.5 องศาตะวันออก ที่จะทำการยิงในช่วงปี 2558 จะเป็นระบบใบอนุญาต ซึ่งคาดว่าจะใช้ทดแทนดาวเทียมไทยคม 5 ที่ช่องสัญญาณการให้บริการเต็มแล้ว
     
       สำหรับร่างประกาศ ดังกล่าว ได้มีมติเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการ ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.2556 แต่ยังไม่ได้มีมติเห็นชอบจากบอร์ด กทค.แต่อย่างไร ซึ่งคณะอนุกรรมการ จึงต้องดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม เพื่อเร่งออกร่างประกาศดังกล่าว เนื่องจาก บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นขอเพิ่มบริการดาวเทียมในใบอนุญาตประเภทที่ 3 สำหรับการประกอบกิจการดาวเทียมเพื่อให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมที่มีโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นของตนเองซึ่งเป็นการประกอบกิจการแก่บุคคลทั่วไป จำนวนมากผ่านผู้ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียม เพื่อใช้สำหรับการยิงดาวเทียมไทยคม 8 ในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก
     
       สำหรับใบอนุญาตประเภทที่ 3 ตามที่ไทยคมร้องขอมานั้น มีระยะเวลาอนุญาตประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 20 ปี แต่ กทค.อาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงกรอบระยะเวลาขั้นต่ำ และขั้นสูงที่อนุญาตให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียมสื่อสารได้ ส่วนการจัดหาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมนั้น ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์หรือขั้นตอนต่างๆ ตามที่ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กำหนด โดยประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งที่ตั้งในวงโคจรดาวเทียมของประเทศไทย ผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่ 3 จะต้องยินยอมให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง สามารถเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งช่องสัญญาณดาวเทียม ได้ตลอดอายุใบอนุญาต เพื่อใช้งานด้านความมั่นคง และประโยชน์สาธารณะตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคจำนวนช่องสัญญาณดาวเทียมย่านความถี่ ค่าใช้จ่ายการเช่าใช้ และอื่นๆให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกัน
     
       อย่างไรก็ตาม ผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่ 3 หากมีความต้องการได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ภายในประเทศ เพื่อใช้ในกิจการวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการควบคุมดาวเทียมสื่อสาร ผู้นั้นจะต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และจะต้องจ่ายค่าตอบแทนการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว โดยมีรายงานข่าวระบุว่า การออกร่างประกาศกิจการดาวเทียมสื่อสาร เพื่อต้องการรองรับการเปลี่ยนผ่านจากทีวีในระบบอนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิตอล ที่ได้เปิดประมูลใน 24 ช่องธุรกิจ เมื่อปลายปี 2556
     

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000011831

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.