Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มีนาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ ตามหลักการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ ราคาเริ่มต้นประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ จะสูงกว่า คลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่ให้บริการ 3 จี ที่เริ่มต้นใบละ 4,500 ล้านบาท


ประเด็นหลัก


ทั้งนี้ ตามหลักการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ ราคาเริ่มต้นประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ จะสูงกว่า คลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่ให้บริการ 3 จี ที่เริ่มต้นใบละ 4,500 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) สรุปราคาที่ชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งแนวทางที่กทค. จะเปิดประมูล คือ 2 ใบ ใบละ 12.5 เมกะเฮิร์ตซ ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท


ขณะที่การประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ ที่จะหมดในปี 2561 คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2558 หลังจากได้รับความยินยอมจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ให้นำมาเปิดประมูลได้ก่อนเช่นเดียวกับคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ โดยปัจจุบันดีแทคถือครองรวม 50 เมกะเฮิร์ตซ อย่างไรก็ตาม กทค. เตรียมกำหนดการถือครองคลื่นความถี่โดยรวมต่อผู้ให้บริการ 1 ราย (Overall spectrum cap)และจำกัดสิทธิ์ในการห้ามเข้าประมูลหากถือครองความถี่มากเกินไป เพื่อป้องกันการผูกขาดในตลาด รวมทั้งจะกำหนดเงื่อน ไขการประมูลให้เอื้อกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ด้วย

______________________________________








กทค. ชี้ราคาตั้งต้นประมูล 1800 อาจสูงกว่า 2100 เมกะเฮิร์ตซ

1800 Mhz2.1 ghz2100 mhz900 mhzกสทช.คลื่น 1800คลื่น 2100คลื่น 900ฐากร ตัณฑสิทธิ์ดีแทคทรูประมูลคลื่นสัมปทานมือถือเอไอเอส

1
กทค.เคาะประมูลคลื่น 1800 และ 900 ปลายปี 57 ชี้ราคาตั้งต้นประมูล 1800 อาจสูงกว่า 2100 เมกะเฮิร์ตซ

image

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้เห็นชอบแผนการประมูลคลื่นความถี่ตามที่สำนักงานเสนอให้มีการนำคลื่นความถี่ยาน 1800 เมกะเฮิร์ตซ ที่หมดอายุสัมปทานไปแล้วเมื่อ 15 ก.ย.56 และอยู่ในช่วงของการเยียวยาผู้บริโภค โดยหลังจากนี้จะเป็นการนำร่างหลักเกณฑ์การประมูลไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะช่วงกลางเดือนเม.ย.-ปลายเดือน พ.ค.57 และนำความคิดเห็นดังกล่าวเข้าที่ประชุม กสทช.เพื่อให้เห็นชอบและนำร่างดังกล่าวลงกิจจานึเบกษาปลายเดือน มิ.ย.57 หลังจากนั้นจะกำหนดวันยื่นเอกสารเพื่อขอประมูลภายใน 30 วัน คือ ช่วงเดือน ก.ค.57 และมีการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ ในเดือน ส.ค.57

ทั้งนี้ ตามหลักการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ ราคาเริ่มต้นประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ จะสูงกว่า คลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ที่ให้บริการ 3 จี ที่เริ่มต้นใบละ 4,500 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) สรุปราคาที่ชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งแนวทางที่กทค. จะเปิดประมูล คือ 2 ใบ ใบละ 12.5 เมกะเฮิร์ตซ ใช้งบประมาณ 80 ล้านบาท

ส่วนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ จะเปิดประมูล 1 ใบ ใบละ 17.5 เมกะเฮิร์ตซ ซึ่งได้รับความยินยอมจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ให้นำคลื่นมาประมูลก่อนหมดอายุสัมปทาน โดยจะทราบผู้ชนะการประมูลในเดือน ธ.ค. 2557 แต่ผู้ชนะจะมีสิทธิ์บริหารคลื่นหลังสัมปทานสิ้นสุด ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท

ขณะที่การประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ ที่จะหมดในปี 2561 คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2558 หลังจากได้รับความยินยอมจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ให้นำมาเปิดประมูลได้ก่อนเช่นเดียวกับคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ โดยปัจจุบันดีแทคถือครองรวม 50 เมกะเฮิร์ตซ อย่างไรก็ตาม กทค. เตรียมกำหนดการถือครองคลื่นความถี่โดยรวมต่อผู้ให้บริการ 1 ราย (Overall spectrum cap)และจำกัดสิทธิ์ในการห้ามเข้าประมูลหากถือครองความถี่มากเกินไป เพื่อป้องกันการผูกขาดในตลาด รวมทั้งจะกำหนดเงื่อน ไขการประมูลให้เอื้อกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ด้วย

http://www.adslthailand.com/news/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%84-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.