Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มีนาคม 2557 สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เจรจาด้วยเงิน 50 ล้านบาทเปิดเจรจา "ไมโครซอฟท์" ซื้อ "Office 365" เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างศูนย์กลางระบบบริการแอปพลิเคชั่นภาครัฐ (Government App Center) เป็นที่รวบรวมซอฟต์แวร์ที่หน่วยงานใช้งานเป็นประจำ


ประเด็นหลัก



นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า งบประมาณปีนี้ได้รับจัดสรรมา 1,719 ล้านบาท กว่า 80% อยู่ในโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network : GIN) และระบบคลาวด์ภาครัฐ (G-Cloud) โดยปีนี้จะเพิ่มการเชื่อมต่อ GIN ให้ได้อีก 1,000 จุด จากเดิมเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐจากส่วนกลางไปถึงที่ทำการในระดับอำเภอ ไปแล้วกว่า 3,000 หน่วยงานและมี 10 ระบบข้อมูลทำงานบนเครือข่ายนี้ อาทิ ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) กระทรวงการคลัง

"เริ่มที่โปรแกรมนี้เพราะข้าราชการใช้มากที่สุด ค่าไลเซนส์ปัจจุบันราว 6,000 บาทต่อ 3 ปี หากเจรจาซื้อสิทธิ์ใช้บนคลาวด์สำหรับผู้ใช้ 1 แสนรายราคาพิเศษได้จะประหยัดได้มาก ในใจอยากได้ราคา 500 บาทต่อคนต่อปี แม้ต้องใช้เงินถึง 50 ล้านบาท"

การเจรจานี้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างศูนย์กลางระบบบริการแอปพลิเคชั่นภาครัฐ (Government App Center) เป็นที่รวบรวมซอฟต์แวร์ที่หน่วยงานใช้งานเป็นประจำมาไว้ด้วยกันมาให้บริการแบบ Software as a Service นำร่องแล้ว ด้วยซอฟต์แวร์ระบบสารบรรณกลางอิเล็กทรอนิกส์

______________________________________








สรอ.เปิดเจรจา"ไมโครซอฟท์" ขอซื้อOffice365แสนไลเซนส์



"สรอ." พกตังค์ 50 ล้านบาทเปิดเจรจา "ไมโครซอฟท์" ซื้อ "Office 365" แสนไลเซนส์ ลดต้นทุนลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้หน่วยงานรัฐ พร้อมเดินหน้าลงทุน 1.7 พันล้าน สร้างเครือข่าย GIN เสริม G-Cloud ตามแผนงานไอซีที 2020



นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า งบประมาณปีนี้ได้รับจัดสรรมา 1,719 ล้านบาท กว่า 80% อยู่ในโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network : GIN) และระบบคลาวด์ภาครัฐ (G-Cloud) โดยปีนี้จะเพิ่มการเชื่อมต่อ GIN ให้ได้อีก 1,000 จุด จากเดิมเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐจากส่วนกลางไปถึงที่ทำการในระดับอำเภอ ไปแล้วกว่า 3,000 หน่วยงานและมี 10 ระบบข้อมูลทำงานบนเครือข่ายนี้ อาทิ ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) กระทรวงการคลัง

ขณะที่ระบบการให้บริการของภาครัฐบนเทคโนโลยีคลาวด์ (G-Cloud) ปีนี้จะเพิ่มศักยภาพให้รองรับได้อีก 400 ระบบ ปัจจุบันมีระบบงานของภาครัฐมาใช้งานแล้ว 259 ระบบ จาก 129 หน่วยงาน อาทิ ระบบเยียวยาฟื้นฟูผู้ประสบภัย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ฯลฯ มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้แค่ 40 ระบบ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดภาระการลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์และค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการได้อย่างเห็นผล

"ทั้ง GIN และ G-Cloud ที่ สรอ.ผลักดันเป็นการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และย่นระยะเวลาในการจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานภาครัฐเข้ามาใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะถือว่ารัฐบาลได้ตัดเงินลงทุนในส่วนนี้มาเป็นงบประมาณให้กับ สรอ.อยู่แล้ว ซึ่งผลการประเมินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุว่า ปี 2556 สรอ.ประหยัดค่าใช้จ่ายทางตรงจากการซื้อฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ซ้ำซ้อนของภาครัฐได้ 550 ล้านบาท ส่วนปีนี้ตั้งเป้าประหยัดอย่างน้อย 700 ล้านบาท

ขณะที่การใช้ระบบและโครงข่ายผ่าน สรอ. นอกจากจะเป็นการใช้ประโยชน์จาก Economy of Scale แล้ว สรอ. ยังใช้บริการจากผู้ให้บริการหลายราย จึงเป็นแบ็กอัพซึ่งกันและกันได้ สะดวกในการวางแผนระบบซีเคียวริตี้ และได้เริ่มวางแผนการทำศูนย์ข้อมูลสำรอง (Disaster Recovery) ในต่างจังหวัดแล้ว

อีกโครงการที่ได้เริ่มทำไปแล้ว คือ เจรจากับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อขอซื้อสิทธิ์ในการใช้งานซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่น "Office 365" ที่ให้บริการผ่านคลาวด์ หากสำเร็จจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ได้มหาศาล

"เริ่มที่โปรแกรมนี้เพราะข้าราชการใช้มากที่สุด ค่าไลเซนส์ปัจจุบันราว 6,000 บาทต่อ 3 ปี หากเจรจาซื้อสิทธิ์ใช้บนคลาวด์สำหรับผู้ใช้ 1 แสนรายราคาพิเศษได้จะประหยัดได้มาก ในใจอยากได้ราคา 500 บาทต่อคนต่อปี แม้ต้องใช้เงินถึง 50 ล้านบาท"

การเจรจานี้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างศูนย์กลางระบบบริการแอปพลิเคชั่นภาครัฐ (Government App Center) เป็นที่รวบรวมซอฟต์แวร์ที่หน่วยงานใช้งานเป็นประจำมาไว้ด้วยกันมาให้บริการแบบ Software as a Service นำร่องแล้ว ด้วยซอฟต์แวร์ระบบสารบรรณกลางอิเล็กทรอนิกส์

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393916500

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.