Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 มีนาคม 2557 (บทความ) อดีตคนในทีโอที ออกโรงสับ ล้มโครงการ3Gมีแต่เสีย // ระบุ การตัดสินใจลงทุนก็ถือเป็นอีกปัญหาหลักของทีโอที เพราะไม่สามารถตัดสินใจลงทุนในเรื่องต่างๆ ได้เอง แต่ต้องรอการอนุมัติจากที่ประชุม ครม.


ประเด็นหลัก


"ด้วยรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ ทำให้การดำเนินงานของทีโอทีต้องติดขัดหลายประการ เพราะอำนาจการตัดสินใจที่ไม่สามารถทำได้รวดเร็วเหมือนอย่างบริษัทเอกชน แต่ต้องมีขั้นตอนทั้งยิบย่อยและหลายลำดับขั้น ทำให้ใช้เวลานาน และยังต้องผ่านที่ประชุม ครม. ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบอย่างมากในทางธุรกิจและการบริหารจัดการ ไม่นับรวมกรณีที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลซึ่งทำให้โครงการต่างๆ ต้องชะงักไปด้วย และเทคโนโลยีก็มีรอบเวลาเปลี่ยนผ่านค่อนข้างเร็ว 3-4 ปีก็เปลี่ยนใหม่ กว่าจะได้รับอนุมัติซักโครงการหนึ่งเทคโนโลยีเหล่านั้นก็กลายเป็นของตกรุ่นไปแล้ว" อดีตผู้บริหาร ทีโอที วิเคราะห์

อดีตบอร์ดบริหาร ทีโอที แสดงความเห็นต่อว่า ในเชิงการดำเนินธุรกิจซึ่งหมายรวมถึงธุรกิจทั้งหมดไม่เพียงแค่บริการ 3จี ด้วยรูปแบบดังกล่าวข้างต้นก็ทำให้ทีโอทีเสียโอกาสอย่างมากในทางธุรกิจ เพราะการใช้ระยะเวลานานและผ่านหลายขั้นตอน หลายระดับ ก็ยิ่งทำให้เกิดช่องโหว่และมีโอกาสให้ข้อมูลความลับทางธุรกิจรั่วไหลด้วย ประกอบกับกระบวนการบริหารจัดการที่ผู้บริหารไม่มีอำนาจตัดสินใจโดยตรงยิ่งทำให้ธุรกิจเกิดอาการติดขัดไปทั้งหมด เชื่อว่าไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานของทีโอทีไร้ประสิทธิภาพ แต่เป็นเพราะรูปแบบหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นปัญหาหลัก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทีโอทีหรือเอกชนเลือกใช้นั้นก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน



อดีตคนวงใน ทีโอที ยังแสดงความเห็นอีกว่า การตัดสินใจลงทุนก็ถือเป็นอีกปัญหาหลักของทีโอที เพราะไม่สามารถตัดสินใจลงทุนในเรื่องต่างๆ ได้เอง แต่ต้องรอการอนุมัติจากที่ประชุม ครม. ขณะเดียวกัน ในอดีตก็มีปัญหาอย่างหนักในเรื่องของพนักงานซึ่งดำเนินรูปแบบคล้ายพนักงานราชการ ทำให้กระบวนการต่างๆ ส่งผลให้การทำงานเกิดความล่าช้าและไม่ได้ประสิทธิผล




"ถ้ายังเป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ทีโอทีก็คงทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้ แต่หากเปลี่ยนเป็นรัฐสวัสดิการ คือดำเนินงานรองรับความต้องการของหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น หรือเปิดให้บริการกับองค์กรที่สนใจใช้บริการเทคโนโลยีต่างๆ ก็จะดีกว่านี้ ดำเนินธุรกิจไปแบบที่ไม่ต้องแข่งขันกับใคร นั่นน่าจะเป็นทางออกที่ดีของทีโอที เพราะหากเอารัฐวิสาหกิจมาแข่งกับเอกชน อย่างไรก็ไม่มีทางจะเทียบกันได้ ในส่วนของพนักงานนั้น ยอมรับว่าปัจจุบันมีแนวโน้มเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีไม่กลายเป็นปัญหาเหมือนอย่างในอดีตอีกแล้ว แต่ถ้าทีโอทีอยากมีศักยภาพเพิ่มขึ้นและแข่งขันกับรายอื่นๆ ในตลาดได้ก็ควรศึกษาธุรกิจให้ดีครบถ้วนทุกทาง อย่าปล่อยให้ทุกอย่างล่าช้าจนตลาดวายเหมือนอย่างที่ผ่านมา" อดีตบอร์ดผู้บริหาร ทีโอที กล่าว.





















______________________________________







อดีตคนในทีโอที ออกโรงสับ ล้มโครงการ3Gมีแต่เสีย


อดีตคนในของ "ทีโอที" วิเคราะห์องค์กร ชี้เงินทุนและระบบบริหารเป็นปัญหาหลัก ติงการยกเลิกทำมือถือ 3จี ต้องคิดให้ถ้วนถี่ แนะศึกษาแนวโน้มธุรกิจและตลาดให้รอบด้านก่อนดำเนินงาน ชี้ที่ผ่านมาทำธุรกิจหลังตลาดวายเสมอ…

หลังจากโอเปอเรเตอร์เชื้อสายรัฐวิสาหกิจอย่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาประกาศชัดเจนว่าธุรกิจให้บริการเทคโนโลยี 3จี ประสบความล้มเหลว! จนถึงขั้นต้องพับแผนการลงทุนและเตรียมหันไปซบบรรดาค่ายมือถือ ให้มาร่วมกันเปิดให้บริการ 3จี ด้วยการรวมสถานีฐานของทีโอทีเข้ากับของโอเปอเรเตอร์ค่ายต่างๆ เพื่อเป็นทางรอดในการสร้างรายได้ให้องค์กรอยู่รอดต่อไป แต่ก็ต้องเจอกับพิษการเมือง จนทำให้แนวคิดดังกล่าวต้องชะงักไปหลังจากรัฐบาลประกาศยุบสภา

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และดูเหมือนจะยิ่งทำให้ "ทีโอที" ถูกตั้งข้อวิพากษ์วิจารณ์หนักหนาขึ้นเป็นลำดับ ไม่นับรวมเสียงครหาที่ตราหน้าทีโอทีว่าไปไม่รอด! หลังหมดสัญญาสัมปทานกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ซึ่งทำให้ทีโอทีต้องสูญเม็ดเงินนับหมื่นล้านบาทต่อปี



ซึ่งในมุมมองเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว "ทีมข่าวไอทีออนไลน์" ได้มีโอกาสขอความรู้จากอดีตผู้บริหารทีโอที มาวิเคราะห์ให้ฟังว่าในฐานะผู้ที่เคยใกล้ชิดและอยู่ในแวดวงการบริหารนั้น ทีโอที พลาดก้าวไหนในการทำ 3จี ด้วยจุดเด่นจุดด้อยเรื่องใด และอนาคตทางธุรกิจของทีโอทีจะเป็นอย่างไร...?

"ด้วยรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ ทำให้การดำเนินงานของทีโอทีต้องติดขัดหลายประการ เพราะอำนาจการตัดสินใจที่ไม่สามารถทำได้รวดเร็วเหมือนอย่างบริษัทเอกชน แต่ต้องมีขั้นตอนทั้งยิบย่อยและหลายลำดับขั้น ทำให้ใช้เวลานาน และยังต้องผ่านที่ประชุม ครม. ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบอย่างมากในทางธุรกิจและการบริหารจัดการ ไม่นับรวมกรณีที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลซึ่งทำให้โครงการต่างๆ ต้องชะงักไปด้วย และเทคโนโลยีก็มีรอบเวลาเปลี่ยนผ่านค่อนข้างเร็ว 3-4 ปีก็เปลี่ยนใหม่ กว่าจะได้รับอนุมัติซักโครงการหนึ่งเทคโนโลยีเหล่านั้นก็กลายเป็นของตกรุ่นไปแล้ว" อดีตผู้บริหาร ทีโอที วิเคราะห์

อดีตบอร์ดบริหาร ทีโอที แสดงความเห็นต่อว่า ในเชิงการดำเนินธุรกิจซึ่งหมายรวมถึงธุรกิจทั้งหมดไม่เพียงแค่บริการ 3จี ด้วยรูปแบบดังกล่าวข้างต้นก็ทำให้ทีโอทีเสียโอกาสอย่างมากในทางธุรกิจ เพราะการใช้ระยะเวลานานและผ่านหลายขั้นตอน หลายระดับ ก็ยิ่งทำให้เกิดช่องโหว่และมีโอกาสให้ข้อมูลความลับทางธุรกิจรั่วไหลด้วย ประกอบกับกระบวนการบริหารจัดการที่ผู้บริหารไม่มีอำนาจตัดสินใจโดยตรงยิ่งทำให้ธุรกิจเกิดอาการติดขัดไปทั้งหมด เชื่อว่าไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานของทีโอทีไร้ประสิทธิภาพ แต่เป็นเพราะรูปแบบหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นปัญหาหลัก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทีโอทีหรือเอกชนเลือกใช้นั้นก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน

อดีตผู้บริหาร ทีโอที กล่าวด้วยว่า หากทีโอทีประกาศล้มเลิกแผนลงทุนในบริการ 3จี ก็ต้องคิดให้ดีว่าจะมีทางเลือกทางรอดอย่างไรต่อไป จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นผู้เช่าให้บริการขายต่อบนโครงข่าย (เอ็มวีเอ็นโอ) หรือเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย (เน็ตเวิร์กโพรวายเดอร์) ก็ต้องวางแผนและศึกษารูปแบบของตลาดให้ดีว่าจะใช้กลยุทธ์อะไรเพื่อแข่งขันกับรายอื่น แต่ด้วยข้อดีของทีโอทีที่มีโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมหาศาลพร้อมให้ใช้งาน ทั้งเสาสัญญาณโทรคมนาคม สายไฟเบอร์ออฟติก (เคเบิลใยแก้วนำแสง) จึงเชื่อว่าทีโอทีจะสามารถสร้างรายได้จากเทคโนโลยีเหล่านี้ได้มหาศาล หากสามารถเปิดบริการให้เอกชนเช่าใช้งานได้

อดีตคนวงใน ทีโอที ยังแสดงความเห็นอีกว่า การตัดสินใจลงทุนก็ถือเป็นอีกปัญหาหลักของทีโอที เพราะไม่สามารถตัดสินใจลงทุนในเรื่องต่างๆ ได้เอง แต่ต้องรอการอนุมัติจากที่ประชุม ครม. ขณะเดียวกัน ในอดีตก็มีปัญหาอย่างหนักในเรื่องของพนักงานซึ่งดำเนินรูปแบบคล้ายพนักงานราชการ ทำให้กระบวนการต่างๆ ส่งผลให้การทำงานเกิดความล่าช้าและไม่ได้ประสิทธิผล




"ถ้ายังเป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ทีโอทีก็คงทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้ แต่หากเปลี่ยนเป็นรัฐสวัสดิการ คือดำเนินงานรองรับความต้องการของหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น หรือเปิดให้บริการกับองค์กรที่สนใจใช้บริการเทคโนโลยีต่างๆ ก็จะดีกว่านี้ ดำเนินธุรกิจไปแบบที่ไม่ต้องแข่งขันกับใคร นั่นน่าจะเป็นทางออกที่ดีของทีโอที เพราะหากเอารัฐวิสาหกิจมาแข่งกับเอกชน อย่างไรก็ไม่มีทางจะเทียบกันได้ ในส่วนของพนักงานนั้น ยอมรับว่าปัจจุบันมีแนวโน้มเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีไม่กลายเป็นปัญหาเหมือนอย่างในอดีตอีกแล้ว แต่ถ้าทีโอทีอยากมีศักยภาพเพิ่มขึ้นและแข่งขันกับรายอื่นๆ ในตลาดได้ก็ควรศึกษาธุรกิจให้ดีครบถ้วนทุกทาง อย่าปล่อยให้ทุกอย่างล่าช้าจนตลาดวายเหมือนอย่างที่ผ่านมา" อดีตบอร์ดผู้บริหาร ทีโอที กล่าว.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/407665

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.