Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มีนาคม 2557 กสทช.นที ระบุ ผู้ประกอบการทั้ง 24 ช่องระยะแรกไม่จำเป็นต้องออกอากาศตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง ในช่วง 30 วันถัดไปเป็นการออกอากาศตามกฎ Must Carry ซึ่งผู้ประกอบการต้องออกค่าใช้จ่ายเอง


ประเด็นหลัก

ขอเคลียร์ชัด ๆ กับ "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ทั้งประเด็นการเริ่มต้นออกอากาศ การหารายได้ พร้อมเรียกร้องให้ กสท.เข้ามามีบทบาทในการสำรวจความนิยม (เรตติ้ง) และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามกฎ Must Carry ที่บังคับให้ทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่องต้องดูได้ผ่านทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี รวมถึงทีวีแบบบอกรับสมาชิก พร้อมทั้งให้เร่งโปรโมตทีวีดิจิทัลให้มากกว่านี้

โดยประธาน กสท.ย้ำชัดว่า กลางเดือน มี.ค.จะให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการทั้ง 24 ช่อง โดยผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องออกอากาศภายใน 90 วัน ซึ่งในช่วง 30 วันแรกถือเป็นการทดลองออกอากาศ ผู้ประกอบการรายใดพร้อมออกอากาศแค่ไหนก็เริ่มทดลองไปได้ก่อน ไม่จำเป็นต้องออกอากาศตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง ในช่วง 30 วันถัดไปเป็นการออกอากาศตามกฎ Must Carry ซึ่งผู้ประกอบการต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

"ส่วนตัวมองว่าในช่วงทดลองออกอากาศ สามารถมีโฆษณาได้ และยังถือเป็นรายได้ที่ต้องคิดค่าธรรมเนียม แต่เมื่อยังมีกรรมการ กสท.ที่มีความเห็นแตกต่างกัน และกลัวว่าจะผิดกฎหมายก็ต้องรอให้คณะทำงานกฎหมายตรวจสอบก่อน แต่มั่นใจว่าจะได้ข้อสรุปก่อนมอบใบอนุญาตกลางเดือนนี้"


______________________________________








ดีเดย์ทดลองทีวีดิจิทัล 24 ช่องชุลมุนชิงธงผู้นำ


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



จากประสบการณ์ความสำเร็จในการจัดประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่อง บริการธุรกิจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ได้เงินไปทั้งสิ้น 50,862 ล้านบาท สูงกว่าราคาประเมินเบื้องต้นถึง 3 เท่าตัว

ณ เวลานี้เริ่มกลายเป็นภาระหนักที่จะต้องประคองให้ผู้ประกอบการที่ต้องแบกต้นทุนค่าประมูล และยังต้องมีค่าเช่ามัลติเพล็กเซอร์ในการออกอากาศราวเดือนละ 4 ล้านบาท สำหรับช่องวาไรตี้ความคมชัดปกติ (SD) และเดือนละราว 13 ล้านบาท สำหรับช่องวาไรตี้ความคมชัดสูง (HD) รวมถึงยังมีต้นทุนอื่น ๆ ให้อยู่รอดไม่ล้มหายตายจากไปก่อนหมดอายุใบอนุญาต 15 ปี จนทำให้คำยืนยันของ กสทช.ว่า เม.ย.นี้ทีวีดิจิทัลออนแอร์แน่เริ่มสั่นคลอน

สุดท้าย "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ต้องชี้แจงว่า การออกอากาศอย่างเป็นทางการ มิ.ย.นี้ ส่วน เม.ย.เป็นช่วงทดลองออกอากาศสำหรับผู้ที่มีความพร้อม

แหล่งข่าวภายในสำนักงาน กสทช.ระบุว่า ปัญหาเกิดขึ้นเพราะมีเจ้าของช่องที่พร้อมและไม่พร้อมที่จะออกอากาศในเดือน เม.ย. ซึ่งผู้ประกอบการรายที่พร้อมก็อยากจะออกอากาศเลยเพื่อจะได้มีรายได้และชิงฐานผู้ชมก่อน แต่ผู้ที่ยังไม่พร้อมก็อยากจะให้เริ่มพร้อม ๆ กัน และมีการตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าเป็นการทดลองออกอากาศก็ต้องไม่ใช่การให้บริการเชิงพาณิชย์ ฉะนั้นจะให้มีโฆษณาไม่ได้ ถ้ามีโฆษณาก็ต้องเริ่มนับเป็นรายได้ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 2% รวมถึงเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช.อีก 2% ด้วย

ขณะที่ผู้ประกอบการได้มีการรวมตัวกัน โดยมีสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เป็นแกนนำ

ขอเคลียร์ชัด ๆ กับ "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ทั้งประเด็นการเริ่มต้นออกอากาศ การหารายได้ พร้อมเรียกร้องให้ กสท.เข้ามามีบทบาทในการสำรวจความนิยม (เรตติ้ง) และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามกฎ Must Carry ที่บังคับให้ทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่องต้องดูได้ผ่านทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี รวมถึงทีวีแบบบอกรับสมาชิก พร้อมทั้งให้เร่งโปรโมตทีวีดิจิทัลให้มากกว่านี้

โดยประธาน กสท.ย้ำชัดว่า กลางเดือน มี.ค.จะให้ใบอนุญาตกับผู้ประกอบการทั้ง 24 ช่อง โดยผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องออกอากาศภายใน 90 วัน ซึ่งในช่วง 30 วันแรกถือเป็นการทดลองออกอากาศ ผู้ประกอบการรายใดพร้อมออกอากาศแค่ไหนก็เริ่มทดลองไปได้ก่อน ไม่จำเป็นต้องออกอากาศตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง ในช่วง 30 วันถัดไปเป็นการออกอากาศตามกฎ Must Carry ซึ่งผู้ประกอบการต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

"ส่วนตัวมองว่าในช่วงทดลองออกอากาศ สามารถมีโฆษณาได้ และยังถือเป็นรายได้ที่ต้องคิดค่าธรรมเนียม แต่เมื่อยังมีกรรมการ กสท.ที่มีความเห็นแตกต่างกัน และกลัวว่าจะผิดกฎหมายก็ต้องรอให้คณะทำงานกฎหมายตรวจสอบก่อน แต่มั่นใจว่าจะได้ข้อสรุปก่อนมอบใบอนุญาตกลางเดือนนี้"

สำหรับข้อเสนอที่ต้องการให้ กสท.เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการวัดเรตติ้ง "พ.อ.นที" ระบุว่า จะมีข้อเสียมากกว่าเพราะผู้ที่ได้รับเรตติ้งน้อยกว่ารายอื่น ย่อมต้องไม่พอใจและมีข้อกังขา จนทำให้ กสท.

มีข้อครหา ดังนั้นเพื่อความโปร่งใส กสท.จะออกใบอนุญาตให้ผู้ให้บริการสำรวจความนิยมแทน เนื่องจากการวัดเรตติ้งเป็นสิ่งจำเป็นของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ โดยคาดว่าจะประกาศหลักเกณฑ์เงื่อนไขการให้ใบอนุญาตบริการนี้ราว ก.ค. และให้ใบอนุญาตได้ราว ส.ค.นี้

ส่วนประเด็นที่ต้องการให้ กสท.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการนำ 24 ช่องดิจิทัลไปเผยแพร่ตามกฎ Must Carry กสท.มีแผนให้ผู้ประกอบการนำค่าใช้จ่ายในการนำสัญญาณขึ้นไปเผยแพร่มาลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือเงินที่ต้องส่งสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา เพื่อช่วยผู้ประกอบการ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดว่าจะคำนวณอย่างไรเมื่อใด

ขณะที่การเผยแพร่ตามกฎ Must Carry จะให้ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม, เคเบิลทีวี และทีวีบอกรับสมาชิก ต้องเรียงหมายเลขช่องตามเหมือนระบบทีวีดิจิทัลทุกประการ และทำให้เสร็จภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้

ด้านการประชาสัมพันธ์ทีวีดิจิทัลนั้น ประธาน กสท.ระบุว่า ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) แนะนำ คือประชาสัมพันธ์ตามพื้นที่โครงข่ายครอบคลุม ไม่ได้ทำพร้อมกันทั่วประเทศเหมือนในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จจากการประชาสัมพันธ์แบบนี้ เพราะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าผู้บริโภคจะเข้าใจ

ดังนั้นวิธีที่ กสท.ปฏิบัติถือเป็นวิธีที่ถูกต้องแล้ว

"ส่วนการแจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้อกล่องแปลงสัญญาณและโทรทัศน์ที่มีตัวรับสัญญาณทีวีดิจิทัล กำลังอยู่ระหว่างการหารือของคณะกรรมการเบื้องต้นจะมีมูลค่า 690 บาท และแจกให้ตามพื้นที่ที่โครงข่ายเข้าถึง ซึ่งปีนี้จะอยู่ที่ 50% ของประชากร หรือราว 11 ล้านครัวเรือน"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394180862

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.