Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มีนาคม 2557 (บทความ) "สิงคโปร์" ปลุกปั้นสตาร์ตอัพ ปักธงสร้าง "ซิลิคอนวัลเลย์" แห่งเอเชีย // ระบุ รัฐบาลสิงคโปร์ดูเหมือนจะพยายามเลียนแบบวิธีของประเทศอิสราเอลซึ่งเป็นแหล่งพัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำของโลก


ประเด็นหลัก



ในปี 2553 "เมสัน" และเพื่อนชาวสิงคโปร์ของเขา "เมง เวง หว่อง" ซึ่งเป็นวิศวกรโปรแกรมจำพวก "แอนตี้-สแปม" ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทช่วยฟูมฟักสตาร์ตอัพชื่อว่า "จอยฟูล ฟรอก อินคิวเบเตอร์" โดยได้จัดงานพบปะสังสรรค์ที่อาคารบล็อก 71 บ่อย ๆ โดยหว่องจะเป็นไกด์จำเป็นให้แขกต่างเมืองที่เดินทางมาเยี่ยมชมออฟฟิศอยู่บ่อย ๆ ด้วยเครื่องแบบชุดสูทแปะโลโก้กบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ขององค์กรไว้บริเวณหัวไหล่ พร้อมสโลแกน "ซิลิคอนวัลเลย์ไม่ใช่สถานที่ มันเป็นไอเดีย"

ข้อมูลจากบริษัทวิจัยเอเชี่ยน เวนเจอร์ แคปิตอลระบุว่า งบประมาณการลงทุนแบบร่วมลงทุน (เวนเจอร์แคปิตอล) ในบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสิงคโปร์ในปีที่แล้วมีมูลค่ารวมประมาณ 1,710 ล้านเหรียญสหรัฐ

แม้ตัวเลขดังกล่าวจะยังห่างจากในประเทศจีนที่มีมูลค่าการร่วมทุนกว่า 3,460 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังนำหน้าประเทศญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และฮ่องกง ซึ่งตัวเลขการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีของสิงคโปร์ถือว่ามีอัตราการเติบโตสูงมาก แต่คิดเป็นงบฯลงทุนจากภาครัฐเป็นสัดส่วนไม่น้อยเช่นกัน

"แบรด เทมเปิลตัน" วิศวกรในวงการอินเทอร์เน็ตซึ่งทำงานอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ และเป็นผู้ให้คำปรึกษาบริษัทกูเกิลแสดงความคิดเห็นว่า ถึงแม้วงการเทคโนโลยีในสิงคโปร์ขณะนี้จะดูคึกคักกว่าเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่การที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียมากกว่าดีต่อสังคมสตาร์ตอัพก็ได้

หากมองในแง่รายละเอียดนโยบาย รัฐบาลสิงคโปร์ดูเหมือนจะพยายามเลียนแบบวิธีของประเทศอิสราเอลซึ่งเป็นแหล่งพัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำของโลกมาหลายปี หนึ่งในโครงการของรัฐบาลสิงคโปร์ที่ออกแบบมาให้ช่วยบริษัทหน้าใหม่ในประเทศ คือ "เทคโนโลยี อินคิวเบชั่น สคีม" ซึ่งเริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2553









______________________________________







"สิงคโปร์" ปลุกปั้นสตาร์ตอัพ ปักธงสร้าง "ซิลิคอนวัลเลย์" แห่งเอเชีย


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ Click World



"ซิลิคอนวัลเลย์" ถือเป็นหนึ่งในย่านที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามากที่สุด เพราะเป็นสถานที่รวบรวมไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ที่สร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้วงการเทคโนโลยีโลก แทบทุกประเทศแถบเอเชียอยากเห็น "ซิลิคอนวัลเลย์" ในประเทศของตนเอง

สำนักข่าวเดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัลรายงานว่า ประเทศสิงคโปร์กำลังขจัดทุกอุปสรรคที่จะขวางหนทางการเป็น "ซิลิคอนวัลเลย์" แห่งภูมิภาคอาเซียน โดยผู้กำหนดนโยบายและผู้ประกอบการในแวดวงเทคโนโลยีของสิงคโปร์ต่างทุ่มกันสุดตัวว่า สักวันยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีมาขอซื้อบริษัทหน้าใหม่ในสิงคโปร์บ้าง เหมือนกับที่บริษัทเฟซบุ๊กเพิ่งประกาศซื้อบริษัทผู้ผลิตแอปพลิเคชั่นแชต "วอตส์แอป"เมื่อเร็วๆ นี้

ที่ผ่านมาการลงทุนในเวนเจอร์แคปิตอลด้านเทคโนโลยีในสิงคโปร์มีมากกว่าในญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และฮ่องกงเสียอีก

แต่สถานะของสิงคโปร์ในเวลานี้ยังไม่ใกล้เคียงกับการเป็น "ซิลิคอนวัลเลย์" ซักเท่าไหร่ เพราะมีประชากรเพียง 5.4 ล้านคน และยังไม่เคยมีผลงานในวงการไอทีแบบเดียวกับที่กูเกิล, เฟซบุ๊ก หรือแอปข้อความสนทนา "วีแชต" จากจีน ซึ่งมีผู้ใช้ต่อเนื่องในแต่ละเดือนถึง 272 ล้านคน

ที่ผ่านมาสิงคโปร์ประสบความสำเร็จบ้างและไม่สำเร็จบ้างในการสร้างนวัตกรรมหลากหลายในภาคธุรกิจ ไล่ตั้งแต่ไบโอเทคโนโลยี, สื่อ และความบันเทิง

บรรดานักลงทุนต่างกล่าวว่า ระบบนิเวศของวงการเทคโนโลยีในประเทศนี้เริ่มชัดเจนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ยังน่าห่วงคือคนหนุ่มสาวในสิงคโปร์ไม่ค่อยมีสปิริตในการสร้างธุรกิจส่วนตัว แต่เรื่องนี้อาจช่วยได้ด้วยงบประมาณการลงทุนมหาศาลจากภาครัฐ เพราะแม้การลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์จะเป็นไปอย่างไม่ตั้งใจ แต่ก็เพียงพอจะทำให้บริษัทหน้าใหม่เหล่านี้ทำธุรกิจได้

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ให้ทุนสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีราว 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 79 ล้านเหรียญสหรัฐ) กับบริษัทหน้าใหม่ที่เพิ่งก่อตั้ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกว่า 16,000 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อวางรากฐานให้กับงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ บริษัทร่วมทุนชื่อดังจากอเมริกาอย่าง "แอนดรีสเซ่น โฮโรวิตซ์" ได้เข้ามาลงทุนกับบริษัทหน้าใหม่ในสิงคโปร์หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือเว็บไซต์วิดีโอ "วิกิ" ซึ่งบริษัทค้าปลีกออนไลน์ "ราคูเท็น" เข้ามาขอซื้อในราคา 200 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมา ก่อนจะประกาศซื้อบริษัทแอปพลิเคชั่นแชต "ไวเบอร์ มีเดีย" จากประเทศไซปรัส เมื่อ ก.พ.ที่ผ่านมา

อีกหนึ่งบริษัทเทคโนโลยีในสิงคโปร์ที่ดึงดูดนักลงทุน คือ "เรดมาร์ต" ผู้ให้บริการด้านการส่งของใช้ทั่วไปและอาหารผ่านออนไลน์ ที่ก่อตั้งในปี 2554 และระดมทุนได้มากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ หนึ่งในนั้นคือ "เอดูอาร์โด ซาเวริน" ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กที่อาศัยอยู่ในสิงคโปร์

นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังมีทำเลทองสำหรับบริษัทเกิดใหม่อยู่ที่อาคาร 7 ชั้น ชื่อว่า "บล็อก 71" ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกจากใจกลางเมือง ที่นี่้เป็นแหล่งรวมผู้ประกอบการไอทีหน้าใหม่หลายสิบคน พวกเขามารวมตัวกันเพื่อดื่มเบียร์ กินขนม และพูดคุยกันเรื่องบริษัทเกิดใหม่ของแต่ละคน

โดย "ฮิวจ์ เมสัน" นักธุรกิจวัย 47 ปี จากอังกฤษให้สัมภาษณ์ว่า น่าจะมีจำนวนบริษัทหน้าใหม่กว่า 100 แห่ง และมีเม็ดเงินการลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐหมุนเวียนอยู่ในอาคารแห่งนั้น

ในปี 2553 "เมสัน" และเพื่อนชาวสิงคโปร์ของเขา "เมง เวง หว่อง" ซึ่งเป็นวิศวกรโปรแกรมจำพวก "แอนตี้-สแปม" ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทช่วยฟูมฟักสตาร์ตอัพชื่อว่า "จอยฟูล ฟรอก อินคิวเบเตอร์" โดยได้จัดงานพบปะสังสรรค์ที่อาคารบล็อก 71 บ่อย ๆ โดยหว่องจะเป็นไกด์จำเป็นให้แขกต่างเมืองที่เดินทางมาเยี่ยมชมออฟฟิศอยู่บ่อย ๆ ด้วยเครื่องแบบชุดสูทแปะโลโก้กบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ขององค์กรไว้บริเวณหัวไหล่ พร้อมสโลแกน "ซิลิคอนวัลเลย์ไม่ใช่สถานที่ มันเป็นไอเดีย"

ข้อมูลจากบริษัทวิจัยเอเชี่ยน เวนเจอร์ แคปิตอลระบุว่า งบประมาณการลงทุนแบบร่วมลงทุน (เวนเจอร์แคปิตอล) ในบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสิงคโปร์ในปีที่แล้วมีมูลค่ารวมประมาณ 1,710 ล้านเหรียญสหรัฐ

แม้ตัวเลขดังกล่าวจะยังห่างจากในประเทศจีนที่มีมูลค่าการร่วมทุนกว่า 3,460 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังนำหน้าประเทศญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และฮ่องกง ซึ่งตัวเลขการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีของสิงคโปร์ถือว่ามีอัตราการเติบโตสูงมาก แต่คิดเป็นงบฯลงทุนจากภาครัฐเป็นสัดส่วนไม่น้อยเช่นกัน

"แบรด เทมเปิลตัน" วิศวกรในวงการอินเทอร์เน็ตซึ่งทำงานอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ และเป็นผู้ให้คำปรึกษาบริษัทกูเกิลแสดงความคิดเห็นว่า ถึงแม้วงการเทคโนโลยีในสิงคโปร์ขณะนี้จะดูคึกคักกว่าเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่การที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียมากกว่าดีต่อสังคมสตาร์ตอัพก็ได้

หากมองในแง่รายละเอียดนโยบาย รัฐบาลสิงคโปร์ดูเหมือนจะพยายามเลียนแบบวิธีของประเทศอิสราเอลซึ่งเป็นแหล่งพัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำของโลกมาหลายปี หนึ่งในโครงการของรัฐบาลสิงคโปร์ที่ออกแบบมาให้ช่วยบริษัทหน้าใหม่ในประเทศ คือ "เทคโนโลยี อินคิวเบชั่น สคีม" ซึ่งเริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2553

โครงการดังกล่าวรัฐบาลจะร่วมลงทุนกับสตาร์ตอัพมากถึง 85% มีเพดานการลงทุนอยู่ที่ 500,000 เหรียญสิงคโปร์ ทั้งนี้องค์กรฟูมฟักบริษัทเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีหน้าใหม่เป็นหัวหอกทำหน้าที่ให้คำแนะนำจัดหาพื้นที่ทำงาน รวมถึงระดมทุนในสัดส่วน 15% ที่เหลือ และมีสิทธิ์จะซื้อสัดส่วนหุ้นเพิ่มเติมจากภาครัฐได้หลังผ่านไป 3 ปี ซึ่งตอนนี้มีองค์กรช่วยสตาร์ตอัพในสิงคโปร์กว่า 15 แห่ง และมีบริษัทหน้าใหม่กว่า 100 รายที่เข้าร่วมในโครงการนี้

"เลสลี่ โล" หัวหน้าบริษัทร่วมทุนชื่อว่าเรด ดอต เวนเจอร์ส ในสิงคโปร์ให้สัมภาษณ์ว่า ในอดีตเขาจะให้ทุนบริษัทหน้าใหม่เฉลี่ยปีละ 2-3 ราย แต่ตอนนี้เขาให้ทุนบริษัทเฉลี่ยเดือนละ 1 ราย

ส่วน "ดักลาส อาบรามส์" อดีตบุคลากรบริษัทเจพี มอร์แกน สาขานิวยอร์ก ซึ่งดูแลวงการเวนเจอร์แคปิตอลในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของสิงคโปร์มากว่า 14 ปีกล่าวว่า มูลค่าของบริษัทสิงคโปร์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หากมองในแง่ของมูลค่าการเข้าซื้อกิจการและการเปิดขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ โดยในปีที่แล้วบริษัทสตาร์ตอัพประมาณ 20 แห่งมีมูลค่ารวมกันสูงกว่า 400 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 50 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในปีก่อนหน้า

"ราซมิก โฮแวกฮิเมียน" ชาวอเมริกา อายุ 38 ปี ผู้ก่อตั้งบริษัทวิกิที่มีจุดเริ่มต้นมาจากโปรเจ็กต์ในห้องเรียนโรงเรียนสแตนฟอร์ด บิสซิเนส สกูลกล่าวว่า สาเหตุที่เขาเลือกประเทศสิงคโปร์เป็นที่ตั้งของสำนักงานหลัก เพราะค่อนข้างใกล้เคียงกับตลาดสำคัญ ๆ ในแถบเอเชียหลายประเทศ นอกจากนี้บริษัทยังได้ประโยชน์จากสังคมสตาร์ตอัพในสิงคโปร์อีกด้วย

ส่วน "สตีฟ ลีโอนาร์ด" ประธานหน่วยงานอินโฟคอม ดีเวลอปเมนต์ ออทอริตี้ ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของวงการเทคโนโลยีในประเทศสิงคโปร์ระบุว่า ประเทศสิงคโปร์มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีกฎหมายที่เหมาะสม และเข้าถึงตลาดสำคัญหลายแห่งได้โดยง่าย

นอกจากนี้ สกอต แอนโทนี่ ผู้จัดการด้านพาร์ตเนอร์บริษัทที่ปรึกษาอินโนไซท์กล่าวว่า สิงคโปร์ยังคงรอคอยให้เกิด "คิลเลอร์แอป" อย่างอินสตาแกรมและวอตส์แอป ซึ่งแม้มันจะยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีจากนี้ แต่เขามองว่ามันกำลังใกล้ความจริงเข้ามาเรื่อย ๆ แล้ว

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394033216

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.