Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กุมภาพันธ์ 2557 กทค.จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมวันที่ 18 มี.ค.นี้ เหตุ กทค. ยังไม่พิจารณาให้ไลเซ่นส์ดาวเทียมไทยคม 8 เพราะเป็นดาวเทียมที่ไม่ได้อยู่ในระบบสัมปทานแล้วแถมไม่มีวงโครจ


ประเด็นหลัก



รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุที่ กทค. ยังไม่พิจารณาให้ไลเซ่นส์ดาวเทียมไทยคม 8 แม้ไทยคมจะทำเอกสารเสนอ กทค. และไอซีทีแล้ว เพราะตำแหน่งวงโคจรอยู่ที่ 78.5 องศา เป็นตำแหน่งเดียว (โค-โลเคชั่น) กับไทยคม 5 และ 6 ที่เป็นดาวเทียมสองดวงสุดท้ายที่อยู่ในสัญญาสัมปทาน

ดังนั้น ต้องรอการตีความ หรือจดหมายยืนยันจากไอซีทีหรือรัฐบาลชุดใหม่ว่า แม้จะอยู่ในวงโคจรเดียวกันแต่ไม่ได้เป็นดาวเทียมในสัญญาสัมปทาน ซึ่งขณะนี้ไอซีทีได้ตอบจดหมายมายัง กทค. แล้ว โดยบอร์ด กทค.จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมวันที่ 18 มี.ค.นี้





______________________________________



ไทยคมหวั่นไทยเสียโอกาส เร่งกทค.ออกไลเซ่นดวง 8


"ไทยคม" วอนกทค. อนุมัติไลเซ่นส์ไทยคม 8 ปลดล็อกปัญหาช่องสัญญาณขาดแคลน อ้างหากปูพรมทีวีดิจิทัลช่องสัญญาณจากดาวเทียมปัจจุบันไม่พอแน่



นายเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานกิจการองค์กร บมจ.ไทยคม กล่าวว่า จากสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงที่ขยายตัวขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าหลังจากเปิดให้บริการทีวีดิจิทัลจะมีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดทำให้กิจการดาวเทียมจำเป็นต้องสร้างดาวเทียมดวงใหม่เพื่อรองรับตลาดในอนาคต

ปัจจุบันไทยคมมีดาวเทียมให้บริการ 3 ดวง คือไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ในตำแหน่ง 119.5 องศา ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไทยคม 5 และ 6 ตำแหน่ง 78.5 องศา ให้บริการด้านบรอดแคสต์ ซึ่งขณะนี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากช่องสัญญาณเต็มเกือบหมดแล้ว และหากเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิทัลจะให้ไทยขาดแคลนดาวเทียมเพื่อถ่ายทอดสัญญาณ และให้บริการ

นอกจากนี้ ไทยคมมีกำหนดยิงไทยคม 7 ตำแหน่ง 120 องศา กลางปีนี้ และกำลังขอความเห็นชอบยิงไทยคม 8

เขา กล่าวว่า ประเด็นเหล่านี้ได้หารือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มาตลอดเพื่อขอให้บอร์ด กทค. เร่งอนุมัติใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) เพื่อประกอบกิจการดาวเทียมไทยคม 8 ตำแหน่ง 78.5 องศา ซึ่งได้พิจารณาประเด็นข้อกฎหมาย การอนุมัติไลเซ่นส์ที่ไม่ได้อยู่บนสัญญาสัมปทาน

โดยตามกรอบเวลาไทยคม 8 ควรได้รับอนุมัติไลเซ่นส์เพื่อประกอบกิจการไม่เกินเดือนมี.ค. เพื่อประสานคลื่นความถี่ไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) ควบคู่ไปกับการยื่นเอกสารแสดงความจำนงใช้วงโคจร (ไฟลิ่ง) กับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู)

"ไทยคม 5 และ 6 คาปาซิตี้สำหรับการถ่ายทอดสัญญาณเต็มหมดแล้ว เหลือ 40% ในไทยคม 6 ที่เป็นตลาดต่างประเทศเราจะเร่งขายในแอฟริกา ส่วนไทยคม 7 ถ้ายิงเสร็จเดือนมิ.ย.นี้ ก็จะแบ่งเบาภาระความหนาแน่นจากดวง 5 และ 6 เพราะดวง 7 เราออกแบบให้ใช้งานได้ทั้งบรอดแบนด์และบรอดแคสต์ แต่จะดีไปกว่านั้น ถ้ามีไทยคม 8 มารองรับทีวีดิจิทัล ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ กทค.ว่าจะให้ไลเซ่นส์ได้เมื่อไร"

ทั้งนี้ ไทยคม 8 จะเป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ที่ได้ไลเซ่นส์การให้บริการกิจการดาวเทียมเพื่อการสื่อสารจาก กทค. โดยบริษัทกันช่องสัญญาณให้บริการทีวีดิจิทัล 4 ทรานสปอนเดอร์ รองรับช่องได้ 40 ช่อง หาก กทค.อนุมัติแล้วจะเร่งประสานงานไอทียู คาดว่าอีก 2 ปีต่อจากนี้จะสร้างดาวเทียมดวงใหม่เสร็จและยิงขึ้นสู่วงโคจรได้

กลับกันหาก กทค. ยังไม่อนุมัติไลเซ่นส์ใหม่ จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมให้ขาดแคลนดาวเทียมใช้รับส่งสัญญาณเมื่อ กสทช. เปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัลอย่างเต็มรูป และผู้ประกอบการต้องไปเช่าช่องจากดาวเทียมประเทศอื่น ซึ่งขณะนี้มี 4 ประเทศยื่นไฟลิ่งขอใช้วงโคจรตำแหน่ง 78.5 องศานี้แล้วด้วย คือ จีน รัสเซีย มาเลเซีย และอินเดีย

"ปัจจุบัน ไทยคมให้บริการให้เช่าช่องสัญญาณเพื่อถ่ายทอด 600 ช่อง และเป็นช่องเอชดี 70 ช่อง ไม่รวมทีวีดิจิทัลอีก 48 ช่อง ถ้าเป็นช่องแบบความคมชัดปกติ (เอสดี) ใน 1 ทรานสปอนเดอร์อาจให้บริการได้ 10 ช่อง แต่หากเปลี่ยนผ่านมาเป็นช่องความคมชัดสูง (เอชดี) ใน 1 ทรานสปอนเดอร์จะให้บริการได้เพียง 3 ช่อง เพราะช่องเอชดีกินคาปาซิตี้มากกว่า 50%"

ส่วนที่มีระบุว่าการให้บริการดาวเทียมจำเป็นต้องประมูลนั้น เขาเห็นว่า กิจการดาวเทียมแตกต่างกับกิจการโทรศัพท์มือถือ แม้ใช้คลื่นความถี่เหมือนกันแต่ต่างจุดประสงค์ ดังนั้น จึงไม่ควรเปิดประมูล เพราะการประสานงานการใช้วงโคจรในอวกาศไม่ใช่ทรัพยากรของประเทศไทย นำมาประมูลไม่ได้ อีกทั้งการใช้คลื่นความถี่ในกิจการดาวเทียมเป็นไปเพื่อการควบคุมดาวเทียมให้ทำงานจากสถานีภาคพื้นดินเท่านั้น

รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุที่ กทค. ยังไม่พิจารณาให้ไลเซ่นส์ดาวเทียมไทยคม 8 แม้ไทยคมจะทำเอกสารเสนอ กทค. และไอซีทีแล้ว เพราะตำแหน่งวงโคจรอยู่ที่ 78.5 องศา เป็นตำแหน่งเดียว (โค-โลเคชั่น) กับไทยคม 5 และ 6 ที่เป็นดาวเทียมสองดวงสุดท้ายที่อยู่ในสัญญาสัมปทาน

ดังนั้น ต้องรอการตีความ หรือจดหมายยืนยันจากไอซีทีหรือรัฐบาลชุดใหม่ว่า แม้จะอยู่ในวงโคจรเดียวกันแต่ไม่ได้เป็นดาวเทียมในสัญญาสัมปทาน ซึ่งขณะนี้ไอซีทีได้ตอบจดหมายมายัง กทค. แล้ว โดยบอร์ด กทค.จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมวันที่ 18 มี.ค.นี้


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140314/568763/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%84.%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87-8.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.