Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 เมษายน 2557 วุ่น!! CAT TOT อบเงินสัญญาสัมปทาน 3,000 ล้านบาท เหตุยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ ชี้ ICT คลัง กสทช. เร่งแก้กฏหมายด่วน


ประเด็นหลัก



  ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้ทีโอที และ กสท ไม่สามารถส่งเงินรายได้ให้รัฐได้ขณะนี้เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามสัญญาสัมปทานแต่อย่างใด ส่งผลทำให้เงินในส่วนของสัญญาสัมปทานกว่า 3,000 ล้านบาทยังคงอยู่ที่ทีโอที และ กสท เช่นเดิม
   
       อีกทั้งเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังก็ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กสทช.เพื่อขอให้ กสทช.เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาสัมปทาน ก่อนนำเงินรายได้จากสัญญาสัมปทานส่งเป็นรายได้ให้กระทรวงการคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินตามกฎหมาย แต่ในขณะเดียวกัน กสทช.ก็จะทำหนังสือแจ้งกลับไปยังกระทรวงการคลังว่า เรื่องดังกล่าวเป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงการคลังตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ ทำให้หลักเกณฑ์ต่างๆ ยังคงไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ ส่งผลให้ทีโอที และ กสท อยู่ระหว่างรอคำตอบจากกระทรวงไอซีที กระทรวงการคลัง และ กสทช.ด้วย เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการใดๆ จนกว่าจะมีคำสั่งจากหน่วยงานดังกล่าว
   



______________________________________


“คลัง” ร่อนหนังสือทวงค่าสัมปทาน จี้“ทีโอที-กสท” คำนวณรายได้ หักค่าใช้จ่ายคืนรัฐตามกม.ใหม่



มีรายงานข่าวจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)  แจ้งว่า ไอซีที เตรียมที่จะหารือกับผู้บริหาร บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับรายละเอียดของการนำเงินจากรายได้สัญญาสัมปทานนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินทั้งหมด ตามมาตรา 84 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ที่มีผลเมื่อวันที่  20 ธันวาคม 2556ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามขณะนี้ทั้ง ทีโอที กับ กสท ยังไม่ได้นำเงินรายได้ส่งให้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อนำส่ง กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นรายได้แผ่นดินแต่อย่างใด  เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์รายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามสัญญาสัมปทาน ดังนั้นเงินในส่วนของสัญญาสัมปทานกว่า  3,000 ล้านบาท ยังคงอยู่ ทีโอทีและ กสท เช่นเดิม

“เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง ได้ทำหนังสือถึง สำนักงาน กสทช. เพื่อขอให้กสทช.เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาสัมปทาน  ก่อนนำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน  ขณะที่ กสทช. ก็จะทำหนังสือแจ้งกลับไปยัง กระทรวงการคลังว่า เรื่องดังกล่าวเป็นภาระหน้าที่ของ กระทรวงการคลัง ตามที่กฎหมายได้ระบุไว้  ส่วนทีโอทีและกสท อยู่ระหว่างรอคำตอบจากกระทรวงไอซีที กระทรวงการคลัง และกสทช.ด้วย เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการใด จนกว่าจะมีคำสั่งจากหน่วยงานดังกล่าว” แหล่งข่าวจาก ไอซีที กล่าว

สำหรับรายละเอียดของมาตรา 84 ตาม พ.ร.บ.กสทช. วรรค 3 ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคับใช้ ให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับจากสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ดำเนินการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ  (พ.ร.บ.ร่วมทุน)  ให้หักค่าใช้จ่ายส่ง กสทช.เป็นรายได้แผ่นดินต่อไป

 http://www.naewna.com/business/98600

________________________________


ไอซีทีเล็งแก้ปมรายได้สัมปทาน ทีโอที-กสท


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 เมษายน 2557 09:37 น.  



ไอซีทีเล็งแก้ปมรายได้สัมปทาน ทีโอที-กสท
       ไอซีทีเล็งเรียกทีโอที-กสท เคลียร์ปัญหาส่งรายได้เข้าแผ่นดินตาม พ.ร.บ.กสทช. หลังไม่มีความชัดเจนเรื่องหลักเกณฑ์ ด้าน กสทช.กับคลังยังเกี่ยงกันไม่เลิก
     
       แหล่งข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ระบุว่า ไอซีที เตรียมหารือกับบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม เกี่ยวกับรายละเอียดของการนำเงินจากรายได้สัญญาสัมปทานนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินทั้งหมด ตามมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ซึ่งครบกำหนด 3 ปี เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 56 ที่ผ่านมา เนื่องจากในขณะนี้ทั้งทีโอที และ กสท ยังไม่ได้นำเงินรายได้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อนำส่งกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นรายได้แผ่นดินแต่อย่างใด
     
       ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่ทำให้ทีโอที และ กสท ไม่สามารถส่งเงินรายได้ให้รัฐได้ขณะนี้เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามสัญญาสัมปทานแต่อย่างใด ส่งผลทำให้เงินในส่วนของสัญญาสัมปทานกว่า 3,000 ล้านบาทยังคงอยู่ที่ทีโอที และ กสท เช่นเดิม
     
       อีกทั้งเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังก็ได้ทำหนังสือถึงสำนักงาน กสทช.เพื่อขอให้ กสทช.เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากสัญญาสัมปทาน ก่อนนำเงินรายได้จากสัญญาสัมปทานส่งเป็นรายได้ให้กระทรวงการคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินตามกฎหมาย แต่ในขณะเดียวกัน กสทช.ก็จะทำหนังสือแจ้งกลับไปยังกระทรวงการคลังว่า เรื่องดังกล่าวเป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงการคลังตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ ทำให้หลักเกณฑ์ต่างๆ ยังคงไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ ส่งผลให้ทีโอที และ กสท อยู่ระหว่างรอคำตอบจากกระทรวงไอซีที กระทรวงการคลัง และ กสทช.ด้วย เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการใดๆ จนกว่าจะมีคำสั่งจากหน่วยงานดังกล่าว
     
       สำหรับรายละเอียดของกฎหมายมาตรา 84 พ.ร.บ.กสทช. วรรค 3 ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคับใช้ ให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับจากสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน) โดยไม่ว่าจะดำเนินการทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้หักค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้แล้วเหลือเท่าใดให้ส่ง กสทช. และให้ กสทช.นำส่งเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
     
       ประกอบด้วย 1. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ เฉพาะในส่วนที่คิดจากฐานรายได้ที่เกิดจากสัญญาสัมปทาน 2. ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการจัดให้มีบริการพื้นฐานทั่วถึง และบริการเพื่อสังคมตามนโยบายของรัฐ และมาตรา 50 เฉพาะในส่วนที่คิดจากฐานรายได้ที่เกิดขึ้นจากการสัญญาสัมปทาน และ 3. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามสัญญาสัมปทานตามที่กระทรวงกำหนด

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000039675

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.