Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) เคาะราคา 1800 11,600 ล้านบาทต่อใบอนุญาต ( ประมูล 2 ใบอนุญาต ) ห้ามผู้เข้าร่วมประมูลรายหนึ่งถือใบอนุญาตสองใบ และ หากมีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 2 ราย หรือน้อยกว่า ก็ไม่ประมูล


ประเด็นหลัก

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า บอร์ดกทค.มีมติเห็นชอบตามคณะอนุกรรมการ1800 MHz ที่พิจารณาราคาตั้งต้นการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz (4G) โดยมีราคาตั้งต้น 464 ล้านบาทต่อ 1MHz หรือราคา 11,600 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตซึ่งต่อหนึ่งใบอนุญาตมีจำนวนคลื่นความถี่ 12.5x 2 MHz (แบนด์บน-แบนด์ล่าง) โดยการประมูล 4G ครั้งนี้จะมีการประมูล 2 ใบอนุญาตๆละ 12.5 MHzรวมเป็นความถี่ทั้งหมด 25 MHz ดังนั้นจะมีมูลค่ารวมราคาตั้งต้นประมูลทั้งหมด 23,200 ล้านบาท และการเสนอราคาในแต่ละครั้งราคาจะเพิ่มขึ้นครั้งละ 580 ล้านบาท
   
สำหรับการประมูลคลื่น 1800 MHz จะเกิดขึ้นกลางเดือนสิงหาคม แบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ใบละ 12.5 MHz x2 อยู่ในช่วงคลื่น 1710- 1722.5 MHz คู่กับ 1808-1817.5 MHz และ 1748-1760.5 MHz คู่กับ 1843-1855.5 MHz โดยกฎการประมูล คือ ประมูลพร้อมกันทั้งสองคลื่น และห้ามผู้เข้าร่วมประมูลรายหนึ่งถือใบอนุญาตสองใบ


       ทั้งนี้ราคาตั้งต้นการประมูลดังกล่าวคิดจาก 70% ของราคาประเมินที่มีราคาอยู่ที่ 663 ล้านบาทต่อ1 MHz โดยหลังจากคำนวนแล้วจะมีมูลค่าเหลืออยู่ที่ 464 ล้านบาทต่อ 1 MHz และเป็นการคิดคำนวนจาก 3 แบบจำลองคือ1.ประเมินจากมูลค่าคลื่นความถี่ 1800 MHz ในต่างประเทศทั่วโลก 2.มูลค่าทางธุรกิจทั้งรายเล็ก และรายใหญ่ที่สร้างขึ้นได้จากการนำเอาคลื่นความถี่ที่ประมูลได้ไปหาประโยชน์ ทางเศรษฐกิจตลอดอายุของใบอนุญาต และ3.มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนที่ลดลง เนื่องจากการนำคลื่นความถี่ที่ได้จากการประมูลไปใช้
   
       ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบกับจำนวนราคาตั้งการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz (3G) ซึ่งมีราคา 450 ล้านบาทต่อ 1 MHz นั้นราคา 4G จะมีราคาสูงกว่า 3G เพียง 3% เท่านั้นเนื่องจาก 4G เป็นเพียงคลื่นเสริมที่เข้ามาช่วยในการใช้งานดาต้าของ 3G ที่มีปริมาณสูงขึ้นนั้นเอง
   
       'การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะเกิดขึ้นนั้นหากมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่า 2 รายหรือมีเพียง 2 รายกสทช.ก็จะยกเลิกการประมูลในทันที เพื่อไม่ให้มีข้อครหาว่าเป็นการเอื้อให้ผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใด ที่สำคัญการประมูลในครั้งนี้ประเทศชาติจะได้ประโยชน์มากที่สุด นั่นคือราคาไม่ต่ำจนเกินไป แต่ขณะเดียวกันราคาก็ต้องไม่สูงเกินไปจนจะทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กไม่ สามารถเข้ามาร่วมประมูลครั้งนี้ได้นั่นเอง โดยใช้หลักการการคำนวนจากมาตรฐานสากล'
   



    ทั้งนี้ คิดคำนวณ 1 เมกะเฮิรตซ์ อยู่ที่ 464 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าการประมูลในคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่ประมูลไปครั้งก่อน 450 ล้านบาท ต่อ 1 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคิดเป็นอัตราที่สูงกว่า 3% โดยการประมูลคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ มีจำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 9 ใบอนุญาต ใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ราคาตั้งต้นต่อใบอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท โดยราคารวมทุกใบ คือ 40,500 ล้านบาท
    "การที่ราคาตั้งต้นประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ สูงกว่าคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์นั้น เพราะได้พิจารณาจากอันดับมวลรวมภายในประเทศและได้ประเมินจากตลาดรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วย เพราะไทยมีคลื่น 2100 ใช้แล้วตอนนี้ ส่วนคลื่น 1800 นั้น เป็นคลื่นที่มาเสริมมากกว่า ซึ่งในต่างประเทศ คลื่น 2100 มีราคาสูงกว่า 1800 เพราะมีการประมูลและนำมาใช้งานที่ต่างกัน" พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าว
    พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวต่อว่า เงื่อนไขการประมูลมีอยู่ว่า ผู้ชนะการประมูลในแต่ละใบจะต้องไม่เป็นผู้ประกอบการรายเดียวกัน ห้ามผู้ประกอบการรายเดียวได้ทั้ง 2 ใบอนุญาต เนื่องจาก กทค.ต้องการให้เกิดการแข่งขันและเปิดโอกาสให้มีผู้ประกอบการรายเล็กสามารถทำการแข่งขันได้ อีกทั้งหากมีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 2 ราย หรือน้อยกว่า จะไม่สามารถทำการประมูลได้ ต้องมีการยกเลิกการประมูล ดังนั้นจะต้องมีผู้เข้าร่วมการประมูลอย่างต่ำ 3 ราย ทั้งนี้ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะมีการกำหนดอัตราการครอบคลุมจำนวนประชากร 40% ใน 4 ปี โดยอัตราดังกล่าว กทค.เห็นว่าคลื่น 1800 จะมาเป็นบริการด้านดาต้า ท็อปอัพ ดังนั้นหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเหมาะสม

______________________________________


กทค.เคาะราคาประมูลความถี่ 1800 MHz เริ่มต้น 11,600 ล้านบาท/ใบอนุญาต


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

กทค.เคาะราคาประมูลความถี่ 1800 MHz เริ่มต้น 11,600 ล้านบาท/ใบอนุญาต
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)
       กทค.เคาะราคาประมูลตั้งต้นใบอนุญาตความถี่ 1800 MHz ที่ 11,600 ล้านบาทต่อ 1ใบอนุญาต ระบุสาเหตุที่สูงกว่า 3G ความถี่ 2.1 GHz เพียง3% เพราะไม่ได้ใช้เป็นคลื่นความถี่หลัก ส่วนความถี่ 900 MHz คาดเคาะราคาตั้งต้นประมูลกลางพ.ค.นี้
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า บอร์ดกทค.มีมติเห็นชอบตามคณะอนุกรรมการ1800 MHz ที่พิจารณาราคาตั้งต้นการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz (4G) โดยมีราคาตั้งต้น 464 ล้านบาทต่อ 1MHz หรือราคา 11,600 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตซึ่งต่อหนึ่งใบอนุญาตมีจำนวนคลื่นความถี่ 12.5x 2 MHz (แบนด์บน-แบนด์ล่าง) โดยการประมูล 4G ครั้งนี้จะมีการประมูล 2 ใบอนุญาตๆละ 12.5 MHzรวมเป็นความถี่ทั้งหมด 25 MHz ดังนั้นจะมีมูลค่ารวมราคาตั้งต้นประมูลทั้งหมด 23,200 ล้านบาท และการเสนอราคาในแต่ละครั้งราคาจะเพิ่มขึ้นครั้งละ 580 ล้านบาท
     
       ทั้งนี้ราคาตั้งต้นการประมูลดังกล่าวคิดจาก 70% ของราคาประเมินที่มีราคาอยู่ที่ 663 ล้านบาทต่อ1 MHz โดยหลังจากคำนวนแล้วจะมีมูลค่าเหลืออยู่ที่ 464 ล้านบาทต่อ 1 MHz และเป็นการคิดคำนวนจาก 3 แบบจำลองคือ1.ประเมินจากมูลค่าคลื่นความถี่ 1800 MHz ในต่างประเทศทั่วโลก 2.มูลค่าทางธุรกิจทั้งรายเล็ก และรายใหญ่ที่สร้างขึ้นได้จากการนำเอาคลื่นความถี่ที่ประมูลได้ไปหาประโยชน์ ทางเศรษฐกิจตลอดอายุของใบอนุญาต และ3.มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนที่ลดลง เนื่องจากการนำคลื่นความถี่ที่ได้จากการประมูลไปใช้
     
       ขณะเดียวกันหากเปรียบเทียบกับจำนวนราคาตั้งการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz (3G) ซึ่งมีราคา 450 ล้านบาทต่อ 1 MHz นั้นราคา 4G จะมีราคาสูงกว่า 3G เพียง 3% เท่านั้นเนื่องจาก 4G เป็นเพียงคลื่นเสริมที่เข้ามาช่วยในการใช้งานดาต้าของ 3G ที่มีปริมาณสูงขึ้นนั้นเอง
     
       'การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะเกิดขึ้นนั้นหากมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่า 2 รายหรือมีเพียง 2 รายกสทช.ก็จะยกเลิกการประมูลในทันที เพื่อไม่ให้มีข้อครหาว่าเป็นการเอื้อให้ผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใด ที่สำคัญการประมูลในครั้งนี้ประเทศชาติจะได้ประโยชน์มากที่สุด นั่นคือราคาไม่ต่ำจนเกินไป แต่ขณะเดียวกันราคาก็ต้องไม่สูงเกินไปจนจะทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กไม่ สามารถเข้ามาร่วมประมูลครั้งนี้ได้นั่นเอง โดยใช้หลักการการคำนวนจากมาตรฐานสากล'
     
       โดยเบื้องต้นกสทช.ได้กำหนดการครอบคลุมของโครงข่ายของผู้ประกอบการที่จะต้องลงทุนขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของจำนวนประชากรภายใน4 ปี ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมหรือรายใหม่
     
       สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ บอร์ดกทค.จะนำมติดังกล่าวเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.เห็นชอบในวันที่ 23 เม.ย.2557 จากนั้นจะใช้เวลาอีก 45 วันเพื่อดำเนินการต่างๆ ได้แก่การนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) ก่อนกลับเข้ามาเสนอบอร์ดกทค. และกสทช.อีกครั้งจากนั้นจะนำไปประกาศในราชกิจานุเบกษาได้ และจะใช้เวลาอีกราว 1 เดือนในการประกาศเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมประมูล ซึ่งคาดว่าต้นเดือนส.ค.จะสามารถตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าประมูลได้ และภายในช่วงกลางเดือนส.ค.2557 นี้จะสามารถเปิดประมูล4Gความถี่ 1800 Mhzได้
     
       ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้จะต้องเสียเงินค่าเอกสารเข้าร่วมการประมูล 5 แสนบาทพร้อมเงินมัดจำ 5% จากราคาตั้งต้นการประมูลหรือราว580 ล้านบาทในวันที่ยื่นซองประมูล
     
       ขณะที่คลื่นความถี่ 900 MHz ของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส จำนวน 17.5 MHz นั้น บอร์ดกทค.จะมีการพิจารณาราคาตั้งต้นการประมูลในช่วงกลางเดือนพ.ค.2557 ก่อนจะเปิดให้มีการประมูลได้ในช่วงเดือนพ.ย. 2557 โดยจะแบ่งเป็น 2 สล็อต 2 ไลเซ่นส์ สล็อตละ 10 MHz 1 ใบ และ 7.5 MHz 1 ใบ อายุใบอนุญาต 15 ปี
     

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000043352

_____________________________________________



กทค. เคาะราคาประมูล 4 จี เริ่มต้นที่ 11,600 ล้านบาท เตรียมเสนอบอร์ด กสทช.พิจารณา 23 เม.ย.นี้


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)  ในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ กทค.ว่า มีมติกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ที่นำมาใช้กำหนดอัตราราคาตั้งต้นการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 4 จี โดยได้กำหนดให้คลื่นความถี่มีมูลค่าราคาตั้งต้นการประมูลที่ 1 เมกะเฮิรตซ์ต่อ 464 ล้านบาท ซึ่งเมื่อนำมาคูณกับจำนวนคลื่นความถี่ต่อ 1 ใบอนุญาตจำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ และคูณ 2 ที่เป็นการอัตราการใช้งานรับ-ส่งข้อมูลบนคลื่นความถี่ จะได้มูลค่าราคาตั้งต้นการประมูลที่ 11,600 ล้านบาท ต่อ 1 ใบอนุญาต
ทั้งนี้ การคำนวณดังกล่าว มีสหภาพโทรคมนาคมแห่งชาติ(ไอทียู) เป็นผู้คิดคำนวณราคา โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติต่างๆ อาทิ การเปรียบเทียบกับผลการประมูล 4 จี ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) และศักยภาพรวมทั้งแผนธุรกิจของผู้ประกอบการโทรคมนาคมในไทย เป็นต้น

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนต่อไป จะนำมติดังกล่าว ส่งให้คณะกรรมการ กสทช. พิจารณาในวันที่ 23 เมษายน จากนั้นจะนำไปทำประชาพิจารณา 45 วัน หลังจากนั้นจึงจะมีการปรับแก้ร่างประกาศฯตามความเห็นสาธารณะและส่งให้คณะกรรมการ กสทช. พิจารณาอีกครั้ง คาดสามารถกำหนดระยะเวลาการยื่นซื้อเอกสารขอเข้าประมูลได้ในเดือนกรกฎาคม และสามารถเปิดประมูลได้ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ คาดจะกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลได้ในเดือนพฤษภาคม และประมูลในเดือนพฤศจิกายน

ด้านนายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ในการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ในครั้งนี้ จะมีการประมูลจำนวน 2 ใบอนุญาตด้วยกัน จำนวนใบอนุญาตละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ อายุใบอนุญาต 19 ปี ซึ่ง กสทช. จะกำหนดให้ผู้ประกอบการรายหนึ่งสามารถชนะการประมูลใบอนุญาตได้แค่ใบเดียวเท่านั้น ประกอบกับ กสทช. ได้มีการกำหนดกติกาเพิ่มเติม คือ การจะเปิดประมูลได้ก็ต่อเมื่อมีผู้เข้าประมูลไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต ดังนั้นในการประมูลครั้งนี้จึงเชื่อว่าจะเกิดการแข่งขันในการเสนอราคาประมูลอย่างแน่นอน



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397812332&grpid=&catid=05&subcatid=0504


_____________________________________________________


เคาะแล้วราคาตั้งต้นประมูลคลื่น 4G "11,600 ล้านบาท/ใบอนุญาต" ครองความถี่ 12.5MHz



พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ในวันนี้ (18 เม.ย.) ที่ประชุม กทค.มีมติกำหนดราคาตั้งต้นต่อใบอนุญาตของการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ 11,600 ล้านบาท และจะส่งเรื่องนี้ให้ที่ประชุม กสทช. วันที่ 23 เม.ย. รับทราบ ก่อนนำไปประกาศรับฟังความคิดเห็น ซึ่งกินเวลา 45 วัน เพื่อใช้ประกอบในการทำหนังสือเชื้อเชิญลงทุน (IM)

สำหรับการประมูลคลื่น 1800 MHz จะเกิดขึ้นกลางเดือนสิงหาคม แบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ใบละ 12.5 MHz x2 อยู่ในช่วงคลื่น 1710- 1722.5 MHz คู่กับ 1808-1817.5 MHz และ 1748-1760.5 MHz คู่กับ 1843-1855.5 MHz โดยกฎการประมูล คือ ประมูลพร้อมกันทั้งสองคลื่น และห้ามผู้เข้าร่วมประมูลรายหนึ่งถือใบอนุญาตสองใบ

ที่สำคัญหากในวันประมูลมีผู้เข้าร่วมเท่ากับหรือน้อยกว่า2รายจะยกเลิกการประมูลทันที โดยผู้ที่ชนะประมูลต้องขยายโครงข่ายในปีแรกให้ครอบคลุม 40% ของจำนวนประชากร

"ราคาที่ได้มา เราอ้างอิงจากไอทียูอย่างเดียว ไม่ได้ปรับแก้ไขใด ๆ โดยทางนั้นคำนวนผ่านตัวแปร 3 เรื่อง คือ เศรษฐมิติ (ใช้ราคาประมูลคลื่น 1800 MHz ของประเทศอื่น, ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ), รายได้รวมหลังจากผู้ชนะประมูลได้คลื่นนี้ไป (Full Enterprise Value) และต้นทุนในการบริหารที่ลดลง (Cost Reduction)"

เมื่อเทียบราคาของการประมูลครั้งนี้ โดยใช้จำนวน 1 MHz เป็นฐานกับราคาประมูลของคลื่น 2100 MHz จะสูงกว่า 3% โดยราคาของคลื่น 1800 MHz อยู่ที่ 464 ล้านบาท/MHz ส่วน 2100 MHz อยู่ที่ 450 ล้านบาท/MHz ซึ่งไอทียูให้เหตุผลว่า โอเปอเรเตอร์ทุกรายมีคลื่น 2100 MHz เป็นคลื่นหลักอยู่แล้วทำให้การประมูลคลื่นนี้ไปเป็นเพียงตัวเสริม

อย่างไรก็ตาม "ไอทียู" ได้ประเมินราคาคลื่น 1800 MHz ไว้ที่ 663 ล้านบาท/MHz แต่เพื่อให้มีการแข่งขันมากขึ้นจึงปรับเหลือ 70% ของมูลค่าดังกล่าว หรือ 464 ล้านบาท เพื่อทำเป็นราคาตั้งต้น เพราะการตั้งราคานี้จะทำให้ราคาในการประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้น 60– 80% และช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาร่วมประมูลได้ง่ายขึ้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1397812863

_______________________________


เคาะราคาประมูลคลื่น1800 ปล่อย2ใบอนุญาตคาดได้เงินขั้นต่ำ2.3หมื่นล.
  กทค.เคาะราคาประมูลคลื่น 1800 สูงกว่าประมูล 3จี อยู่ที่ 11,600 ล้านบาทต่อใบ ประมูล 2 ใบอนุญาต มูลค่าราคารวมที่ 23,200 ล้านบาท ชี้ต้องมีผู้ร่วมประมูล 3 รายอย่างต่ำ หากน้อยกว่าต้องล้มการประมูลตามเงื่อนไขประกาศ
    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการอนุญาตให้มีการใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประมูล 4จี ที่จะมีขึ้นในเดือน ส.ค.นี้ ได้สรุปราคาตั้งต้นตามที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือไอทียู ส่งมาให้พิจารณาของคลื่นความถี่ดังกล่าวที่ 11,600 ล้านบาทต่อใบอนุญาต ซึ่งการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ได้แบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ต่อใบอนุญาต ทำให้มีมูลค่าราคาตั้งต้นรวมอยู่ที่  23,200 ล้านบาท
    ทั้งนี้ คิดคำนวณ 1 เมกะเฮิรตซ์ อยู่ที่ 464 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าการประมูลในคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่ประมูลไปครั้งก่อน 450 ล้านบาท ต่อ 1 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคิดเป็นอัตราที่สูงกว่า 3% โดยการประมูลคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ มีจำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งเป็น 9 ใบอนุญาต ใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ราคาตั้งต้นต่อใบอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท โดยราคารวมทุกใบ คือ 40,500 ล้านบาท
    "การที่ราคาตั้งต้นประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ สูงกว่าคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์นั้น เพราะได้พิจารณาจากอันดับมวลรวมภายในประเทศและได้ประเมินจากตลาดรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วย เพราะไทยมีคลื่น 2100 ใช้แล้วตอนนี้ ส่วนคลื่น 1800 นั้น เป็นคลื่นที่มาเสริมมากกว่า ซึ่งในต่างประเทศ คลื่น 2100 มีราคาสูงกว่า 1800 เพราะมีการประมูลและนำมาใช้งานที่ต่างกัน" พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าว
    พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวต่อว่า เงื่อนไขการประมูลมีอยู่ว่า ผู้ชนะการประมูลในแต่ละใบจะต้องไม่เป็นผู้ประกอบการรายเดียวกัน ห้ามผู้ประกอบการรายเดียวได้ทั้ง 2 ใบอนุญาต เนื่องจาก กทค.ต้องการให้เกิดการแข่งขันและเปิดโอกาสให้มีผู้ประกอบการรายเล็กสามารถทำการแข่งขันได้ อีกทั้งหากมีผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 2 ราย หรือน้อยกว่า จะไม่สามารถทำการประมูลได้ ต้องมีการยกเลิกการประมูล ดังนั้นจะต้องมีผู้เข้าร่วมการประมูลอย่างต่ำ 3 ราย ทั้งนี้ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะมีการกำหนดอัตราการครอบคลุมจำนวนประชากร 40% ใน 4 ปี โดยอัตราดังกล่าว กทค.เห็นว่าคลื่น 1800 จะมาเป็นบริการด้านดาต้า ท็อปอัพ ดังนั้นหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเหมาะสม
    สำหรับการดำเนินการต่อไป จะนำผลสรุปดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. และนำร่างประกาศดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเป็นเวลา 45 วัน ก่อนส่งกลับมาที่ กสทช. ในช่วงเดือน มิ.ย.57 จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา และอีก 30 วันต่อจากนั้นในเดือน ก.ค.57 จะเปิดให้มีการยื่นเอกสารขอการประมูล และกลางเดือน ส.ค.57 จะสามารถเปิดการประมูลได้ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในวันยื่นเอกสารการประมูลจะมีค่าธรรมเนียม 500,000 บาทต่อซองเอกสารประมูล และค่ามัดจำอีกจำนวน 580 ล้านบาท รวมเป็นค่าใช้จ่ายวันยื่นเอกสารจำนวน 580.5 ล้านบาท และจะมีอัตราราคาเคาะการประมูลต่อครั้งที่ 580 ล้านบาท ส่วนรายละเอียดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จะมีการพิจารณาในช่วงเดือน พ.ค.57 นี้.

http://www.thaipost.net/news/190414/89140

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.