Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 เมษายน 2557 กสทช.นที ระบุ บอร์ด กสท. ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดบอลโลกกับ RS (แฉ!!)ขอดูสัญญาที่ทางอาร์เอสได้ทำไว้กับสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) เป็นจำนวน 4 ครั้ง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือใดๆ


ประเด็นหลัก

วันนี้ (29 เม.ย.) ที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า วันนี้บอร์ด กสท. ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด หลังศาลปกครองกลางมีมติพิพากษาเพิกถอน ประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์ รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (มัสต์ แฮฟ) ที่กำหนดให้การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้ง 64 นัดต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวี โดยเพิกถอนเฉพาะข้อที่ 3 และให้มีผลย้อนหลังนับตั้งแต่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 ม.ค.2556 ที่ผ่านมา


นอกจากนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวบังคับใช้เฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตจาก กสท. คือ บริษัท อาร์เอส แต่ผู้ฟ้องคดี คือบริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นเนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ ผู้ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสท. โดยตรง ทั้งนี้ ก่อนที่ขั้นตอนจะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้อง กสท. ได้เคยขอดูสัญญาที่ทางอาร์เอสได้ทำไว้กับสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) เป็นจำนวน 4 ครั้ง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือใดๆ จากอาร์เอสเลย ดังนั้น กสท. ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้ เพื่อต้องการให้คนไทยได้รับชมฟุตบอลโลกฟรีเช่นที่เคยเป็นมาโดยตลอด

______________________________________


กสท. ยื่นอุทธรณ์ปกป้องสิทธิ์ประชาชน หลังศาลปกครองกลาง มีมติพิพากษาเพิกถอนประกาศ “มัสต์ แฮฟ” ย้ำคนไทยต้องได้ดูบอลโลกฟรีเหมือนกับที่ได้ดูฟรีมาตลอด 40 ปี โอด ขอดูสัญญาที่อาร์เอส ทำไว้กับ ฟีฟ่า ถึง 4 ครั้ง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น


วันนี้ (29 เม.ย.) ที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า วันนี้บอร์ด กสท. ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด หลังศาลปกครองกลางมีมติพิพากษาเพิกถอน ประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์ รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (มัสต์ แฮฟ) ที่กำหนดให้การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้ง 64 นัดต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวี โดยเพิกถอนเฉพาะข้อที่ 3 และให้มีผลย้อนหลังนับตั้งแต่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 ม.ค.2556 ที่ผ่านมา

พ.อ.นที กล่าวว่า ประเด็นที่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลนั้น คือการยืนยันสิทธิของประชาชนที่จะต้องได้รับชมฟุตบอลโลกโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนได้รับชมการแข่งขันฟุตบอลโลกฟรีมาตลอดกว่า 40 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 และประกาศฉบับนี้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประชาชน และคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถมีกำลังจ่ายค่าบริการรับเดือนเพื่อรับชมฟุตบอลโลก

นอกจากนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวบังคับใช้เฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตจาก กสท. คือ บริษัท อาร์เอส แต่ผู้ฟ้องคดี คือบริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นเนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ ผู้ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสท. โดยตรง ทั้งนี้ ก่อนที่ขั้นตอนจะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้อง กสท. ได้เคยขอดูสัญญาที่ทางอาร์เอสได้ทำไว้กับสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) เป็นจำนวน 4 ครั้ง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือใดๆ จากอาร์เอสเลย ดังนั้น กสท. ยืนยันว่าประกาศฉบับนี้ เพื่อต้องการให้คนไทยได้รับชมฟุตบอลโลกฟรีเช่นที่เคยเป็นมาโดยตลอด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองกลางได้มีมติพิพากษาเพิกถอนประกาศดังกล่าว เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2557 เฉพาะกรณีฟุตบอลโลกปี 2014 โดยศาลเห็นว่า การที่ กสท. อ้างอำนาจประกาศดังกล่าวเพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ของสาธารณชนที่ควรจะมีสิทธิ์เข้าถึงการชมฟุตบอลโลกโดยไม่มีภาระค่าใช้จ่าย แต่โดยหลักกฎหมายปกครองไม่ยอมรับการอ้างประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ เนื่องจากละเมิด พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 และทางอาร์เอสต้องเสียค่าใช้จ่ายให้แก่ฟีฟ่าเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ในการเผยแพร่ในประเทศไทยเช่นกัน

http://www.dailynews.co.th/Content/IT/233819/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97.%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94+%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5


_______________________________________________



กสท ยื่นอุทธรณ์บอลโลก ชี้ระหว่างรอตัดสินฟรีทีวีต้องดูได้
  กสท ยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองป้องสิทธิ์ประชาชน ควรได้ดูบอลโลกฟรี  ชี้ระหว่างอุทธรณ์ "อาร์เอส" จะต้องแพร่ภาพการแข่งขันผ่านฟรีทีวี อ้างคดียังไม่ยุติ
    พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังศาลปกครองกลางมีมติพิพากษาเพิกถอน เฉพาะข้อที่ 3 และให้มีผลย้อนหลังนับตั้งแต่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2556 ในประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์ รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (มัสต์ แฮฟ) ที่กำหนดให้การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้ง 64 นัดการแข่งขันต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวี
    สำหรับประเด็นที่ได้ยื่นอุทธรณ์คือ ยืนยันสิทธิของประชาชนที่จะต้องได้รับชมฟุตบอลโลกโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากที่ผ่านมาประชาชนได้รับชมการแข่งขันฟุตบอลโลกฟรีมาตลอดกว่า 40 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 และประกาศฉบับนี้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประชาชน และคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถมีกำลังจ่ายค่าบริการรายเดือนเพื่อรับชมฟุตบอลโลก
    ทั้งนี้ ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลใน 4 ประเด็น คือ 1.การฟ้องคดีของบริษัทอาร์เอส ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2 542 2.กสท มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและเป็นธรรม ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 3.ประกาศที่พิพาทไม่ได้ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมถึง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 และ 4.กระบวนการในการพิจารณาคดีของศาลปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะศาลอนุญาตให้ กสท คัดสำเนาสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ระหว่างอาร์เอส กับ FIFA เฉพาะภาษาอังกฤษ จำนวน 10 แผ่น ไม่ได้อนุญาตให้คัดสำเนาได้ทั้งหมด ซึ่งในส่วนที่ให้คัดสำเนาได้ เป็นส่วนหัวข้อทั่วไป ไม่ใช่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่จะทำให้เห็นว่าการบังคับตามประกาศพิพาทนี้จะไม่สามารถทำได้
     พ.อ.นทีกล่าวต่อว่า กสท ไม่เห็นด้วยที่จะคุ้มครองสิทธิคนใดคนหนึ่งโดยทำให้สิทธิของประชาชนเสียหาย จะไม่ให้ใครมาพรากสิทธิในการเข้าถึงการถ่ายทอดที่คนไทยได้ดูโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาตั้งแต่ปี 2513 และปัจจุบันมีประเทศในเอเชียแค่ฮ่องกง มาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น ที่ต้องเสียเงินดูถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก แต่ถ้าสุดท้ายศาลปกครองสูงสุดยังมีคำสั่งตามศาลปกครองกลาง กสท ก็ต้องยอมรับ เพราะถือว่าสู้มาจนสุดทางแล้ว อย่างน้อยสิทธิในการดูฟุตบอลโลกในอนาคตผ่านฟรีทีวีก็ได้ถูกคุ้มครองแล้ว มีปัญหาแค่เฉพาะครั้งนี้เท่านั้น
    ทั้งนี้ เมื่อ กสท ได้ยื่นอุทธรณ์แล้วถือว่าคดียังไม่สิ้นสุด ในระหว่างที่ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำสั่งใดๆ ลงมา ก็ถือว่าประกาศมัสต์แฮฟยังมีผลอยู่ ฉะนั้นทางอาร์เอสจะต้องถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกผ่านฟรีทีวีทั้ง 64 นัด และ กสท จะต้องบังคับให้เป็นไปตามประกาศนี้.

http://www.thaipost.net/news/300414/89729

___________________________



"กสท." ยื่นอุทธรณ์คดีบอลโลก ลั่นศาลยังไม่มีคำสั่ง "อาร์เอส" ต้องถ่ายทอดสด 64 นัดผ่านฟรีทีวี


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานจากสำนักงาน กสทช.ระบุว่า ในช่วงเช้าของวันนี้ (29 เม.ย.2557) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีบริษัทอาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมนเนจเมันท์ ผู้ถือลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 ได้ฟ้องสำนักงาน กสทช.

โดย พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า กสท.ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 726/2556 ซึ่งบริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้ถือลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2014 ฟ้องคดี สำนักงาน กสทช.กับพวกรวม 12 คน และศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อ 31 มี.ค.2557 ให้เพิกถอนประกาศ กสทช.เกี่ยวกับหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (ประกาศ must have) เฉพาะในส่วนที่มีผลกระทบต่อสิทธิการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World cup Final) ปี 2014 ที่บริษัทอาร์เอสฯ ได้รับผลกระทบ

โดย กสท.ยื่นอุทธรณ์ ใน 4 ประเด็น คือ 1.การฟ้องคดีของบริษัทอาร์เอส ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542  เนื่องจากประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้เฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ แต่อาร์เอสฯเป็นเพียงผู้ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง และแม้เป็นผู้ได้รับผลกระทบด้วย แต่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ได้กำหนดว่า หากนำคดีมาฟ้องศาลปกครองได้ ต้องมีการดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในประกาศที่พิพาทก่อน นั่นคือต้องยื่นขอให้ กสท. ยกเว้นการบังคับใช้ประกาศฯ ก่อนแต่อาร์เอสฯ ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว กระบวนการพิจารณาคดีชั้นศาลในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2.กสท.มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพแลเป็นธรรม ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ประกอบกับ พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 จึงมีฐานอำนาจในการออกประกาศที่พิพาท เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ

3.ประกาศที่พิพาทไม่ได้ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญรวมถึงพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ด้วย  เพราะการใช้สิทธิตามกฎหมายทั้ง 2 ฉบับต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ใช่ใช้ตามอำเภอใจ เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการจะนำมาเผยแพร่ในกิจการโทรทัศน์ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่อาจอ้างความเป็นผู้ทรงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวมายกเว้นกฎหมายอื่น

ส่วนการที่ศาลระบุว่าการปฏิบัติตามประกาศข้อพิพาทมีผลทำให้อาร์เอสฯ ต้องแบกรับค่าใช้จ่าย และความเสียหายเพื่อประโยชน์ประชาชนนั้น กสท.เห็นว่าการปฏิบัติตามประกาศฯ จำกัดสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์บางส่วน อาทิ การขายกล่องรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการรับชมการถ่ายทอดทั้ง 64 นัด แต่ไม่ได้ห้ามหรือจำกัดสิทธิในการหาประโยชน์จากการถ่ายทอดผ่านบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปอื่น ๆ

ซึ่งมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า อาร์เอสฯได้รับการสนับสนุนค่าโฆษณาจากผู้ประกอบกิจการอื่นในการถ่ายทอดสด รวมถึงได้ค่าตอบแทนจากการให้เอกชนรายอื่นถ่ายทอดสัญญาณผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับการการออกประกาศ must have จะมีมากกว่าผลประโยชน์ของอาร์เอสที่ต้องถูกจำกัดลง ไม่ได้เป็นก่อภาระเกินสมควรแต่อย่างใด

และ 4.กระบวนการในการพิจารณาคดีของศาลปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะศาลอนุญาตให้ กสท.คัดสำเนาสัญญาณการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ระหว่างอาร์เอสฯ กับ FIFA เฉพาะภาษาอังกฤษ จำนวน 10 แผ่น ไม่ได้อนุญาตให้คัดสำเนาได้ทั้งหมด ซึ่งในส่วนที่ให้คัดสำเนาได้ เป็นส่วนหัวข้อทั่วไปไม่ใช่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่จะทำให้เห็นว่าการบังคับตามประกาศพิพาทนี้เป็นจะไม่สามารถทำได้ ซึ่งการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีเช่นนี้กระทบต่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการดำเนินคดีและยังส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของประชาชนในการเข้าถึงรายการสำคัญ รวมถึงขัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ที่ระบุว่า กระบวนการที่ไม่เปิดเผยเช่นนี้ ศาลปกครองจะนำมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาไม่ได้

"กสท.ไม่เห็นด้วยที่จะคุ้มครองสิทธิคนใดคนหนึ่งโดยทำให้สิทธิของประชาชนเสียหาย จะไม่ให้ใครมาพรากสิทธิในการเข้าถึงการถ่ายทอดที่คนไทยได้ดูโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาตั้งแต่ปี 2513 ปัจจุบันมีประเทศในเอเชียแค่ ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์เท่านั้น ที่ต้องเสียเงินดูถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก ถ้าสุดท้ายศาลปกครองสูงสุดยังมีคำสั่งตามศาลปกครองกลาง กสท.ก็ต้องยอมรับ เพราะถือว่าสู้มาจนสุดทางแล้ว อย่างน้อยสิทธิในการดูฟุตบอลโลกในอนาคตผ่านฟรีทีวีก็ได้คุ้มครองแล้ว มีปัญหาแค่เฉพาะหนนี้เท่านั้น" พ.อ.นทีกล่าวและว่า

เมื่อ กสท.ยื่นอุทธรณ์แล้วถือว่าคดียังไม่สิ้นสุด ระหว่างที่ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำสั่งใด ๆ ลงมา ถือว่าประกาศ must have มีผลอยู่  ฉะนั้น อาร์เอสฯต้องถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกผ่านฟรีทีวีทั้ง 64 นัด และ กสท.ต้องบังคับให้เป็นไปตามประกาศนี้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1398752520

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.