Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤษภาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) Nokia Solutions and Networks ระบุ ประเทศไทย TRUE มีคลื่นความถี่เพียงพอให้บริการ 4G LTE อยู่แล้วจึงอาจไม่เข้าประมูลเพื่อเก็บเงินไว้พัฒนาโครงข่ายเดิม


ประเด็นหลัก


นายฮาราลด์ ไพรซ์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเน็ตเวิร์ก ประจำภูมิภาคเอเชียเหนือ โนเกีย เปิดเผยว่า การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดขึ้น ส.ค. นี้ อาจมีความเสี่ยงจากกฎการประมูล ที่ต้องมีผู้ร่วมประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต หรือ 3 รายขึ้นไป แต่โอเปอเรเตอร์ในไทยบางราย อาทิ ทรูมูฟ เอช มีคลื่นความถี่เพียงพอให้บริการ 4G LTE อยู่แล้วจึงอาจไม่เข้าประมูล เพื่อเก็บเงินไว้พัฒนาโครงข่ายเดิม จึงเป็นไปได้ที่จะมีแค่เอไอเอส และดีแทคเท่านั้นที่เข้าร่วมประมูล ทำให้ต้องเลื่อนการประมูลออกไป ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่น ๆ โดยรอบที่เริ่มเปิดบริการ 4G LTE แล้ว

แม้จะมีการนำคลื่น 2100 MHz ไปใช้ให้บริการ 4G แต่ความจุคลื่นที่แต่ละรายมีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มเป็นเท่าตัวทุกปีดังนั้นการนำคลื่นมาจัดสรรใหม่โดย กสทช. เป็นเรื่องที่ต้องทำเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้


______________________________________


โนเกียหนุนประมูลคลื่นใหม่ ลุ้นไม่ล่ม-จุดพลุ 4G ดันลงทุน



"โนเกีย" ห่วงประมูลคลื่น 1800 MHz ทำ4G คว่ำ ระบุค่ายมือถือมีโอกาสเข้าประมูลไม่ครบทุกราย ฉุดลงทุนโทรคมนาคมชะลอเติบโต-เสี่ยงล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน ย้ำข้อมูลในตลาดต่างประเทศ เปิด 4G LTE ดันรายได้เติบโต

นายฮาราลด์ ไพรซ์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเน็ตเวิร์ก ประจำภูมิภาคเอเชียเหนือ โนเกีย เปิดเผยว่า การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะจัดขึ้น ส.ค. นี้ อาจมีความเสี่ยงจากกฎการประมูล ที่ต้องมีผู้ร่วมประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต หรือ 3 รายขึ้นไป แต่โอเปอเรเตอร์ในไทยบางราย อาทิ ทรูมูฟ เอช มีคลื่นความถี่เพียงพอให้บริการ 4G LTE อยู่แล้วจึงอาจไม่เข้าประมูล เพื่อเก็บเงินไว้พัฒนาโครงข่ายเดิม จึงเป็นไปได้ที่จะมีแค่เอไอเอส และดีแทคเท่านั้นที่เข้าร่วมประมูล ทำให้ต้องเลื่อนการประมูลออกไป ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่น ๆ โดยรอบที่เริ่มเปิดบริการ 4G LTE แล้ว

แม้จะมีการนำคลื่น 2100 MHz ไปใช้ให้บริการ 4G แต่ความจุคลื่นที่แต่ละรายมีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของการใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มเป็นเท่าตัวทุกปีดังนั้นการนำคลื่นมาจัดสรรใหม่โดย กสทช. เป็นเรื่องที่ต้องทำเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

อย่างไรก็ตามแม้กฎการประมูลที่ กสทช.กำหนดขึ้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ยาก แต่บริษัทมองว่าการประมูลคลื่น 1800 MHz ลอตแรกควรนำคลื่นทั้งหมดมาแบ่งเป็นสลอต สลอตละ 5 MHz ซึ่งจะดึงดูดให้เข้าประมูลมากกว่า เพราะมีความยืดหยุ่นในการเลือกช่วงคลื่นที่เพียงพอต่อการให้บริการ

ขณะที่ราคาตั้งต้นประมูลยังเสี่ยงที่ทำให้ราคาใบอนุญาตแพงกว่าที่ควรเป็น จนส่งผลถึงการขยายโครงข่ายของโอเปอเรเตอร์ที่จะทำได้ช้าลง ดังนั้น กสทช.ควรเอาประสบการณ์ที่กำหนดราคาตั้งต้นของคลื่น 2100 MHz ที่จัดประมูลเมื่อ 2 ปีก่อนมาใช้น่าจะดีกว่า

"การประมูล 2100 MHz ถือว่าตั้งราคาค่อนข้างดี ไม่สูงเกินไปจนทำให้โอเปอเรเตอร์ทุกค่ายสามารถขยายโครงข่ายได้อย่างรวดเร็ว แต่ครั้งนี้ใบอนุญาตน้อยกว่า ทำให้ราคาน่าจะพุ่งสูง"

ที่ผ่านมาการเปิดให้บริการ 4G LTE จะส่งผลต่อรายได้จากข้อมูล (ดาต้า) ของโอเปอเรเตอร์ให้เติบโตจนทดแทนรายได้จากเสียง (วอยซ์) และข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ที่ลดลงทุกวันได้ เช่น การใช้ดาต้าในพื้นที่เอเชีย-แปซิฟิกที่เติบโต 35-50% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ในประเทศที่ให้บริการ 4G ด้วย การเติบโตของดาต้าจะสูงถึง 80% เพราะเทคโนโลยีใหม่ทำให้การใช้โมบายอินเทอร์เน็ตเร็วขึ้นถึง 3 เท่าตัว รวมถึงการทำตลาดของโอเปอเรเตอร์หลังจากนี้ก็ต้องพาร์ตเนอร์กับแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์กและแชตเมสเซจ เพื่อทำธุรกิจไปด้วยกัน

อีกปัจจัยที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนไปสู่บริการ 4G LTE คือโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากปัจจุบันราคาของเครื่องที่รับเทคโนโลยี 4G ได้ยังอยู่ที่ 300 เหรียญสหรัฐ แต่คาดว่าปีหน้าราคาจะลดลงมาครึ่งหนึ่ง หรือ 100-150 ดอลลาร์ ทำให้จากเดิมที่ผู้ใช้บริการ 4G ต้องเป็นกลุ่มไฮเอนด์ แต่อนาคตผู้ใช้จะกว้างมากขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงเครื่องลูกข่ายได้

นายฮาราลด์เปิดเผยต่อว่า รายได้จากประเทศไทยจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญภายใน 2-3 ปีจากนี้ หากการประมูลเกิดขึ้นทุกคลื่นความถี่ที่ กสทช.กำหนดไว้ เพราะบริษัทสามารถเข้าโปรเจ็กต์ขยายโครงข่ายกับโอเปอเรเตอร์ทุกราย ผ่านสินค้าที่มีคุณภาพสูง อ้างอิงจาก 140 ประเทศใช้งาน และมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งจากข้อมูลของบริษัทวิจัยต่าง ๆ พร้อมโซลูชั่นใหม่ "ลิควิด แอปพลิเคชั่น" ที่จำลองข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในไซต์สัญญาณเพื่อเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อ ดังนั้นถึงจะมีการแข่งขันเรื่องราคาจากคู่แข่ง แต่โนเกียก็มีความแตกต่าง

ปัจจุบันบริษัทได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อโนเกียอีกครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า "NSN" หลังการรวมธุรกิจโครงข่ายเข้าด้วยกันระหว่างโนเกียและซีเมนส์


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1400569400

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.