Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) แหล่งข่าวฐานเศรษฐกิจ ระบุ การหยุดประมูล4GสามารถหยุดเกมAISเพิ่มความถี่ได้ ( แหล่งข่าว DTAC ระบุ AIS ต้นทุนแพงเพราะมีแค่ 2100 รองรับลูกค้าเป็นล้านๆ )


ประเด็นหลัก

++วงในชี้เปรี้ยงเข้าทาง "ดีแทค-ทรู"
    ยิ่งชะลอโครงการประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทอดเวลาออกไปนานเท่าไหร่ ย่อมส่งผลกระทบต่อค่ายมือถือเบอร์หนึ่ง  เอไอเอส เพราะเป็นผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่มีแค่ 2 ความถี่ (ดูตารางประกอบ) ขณะที่คู่แข่ง คือ ทรู และดีแทค มีคลื่นความถี่มากกว่า
    อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ เอไอเอส ยังไม่มีข้อมูลว่าโครงการประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะถูกชะลอนานเท่าใดจึงยังตอบไม่ได้ว่าจะเสียโอกาสมากน้อย ยังไม่น่าจะมี เพราะยุทธศาสตร์เป็นเรื่องระยะยาว ดูตัวอย่างจากการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี วันที่คู่แข่งเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ล่วงหน้าไปก่อนนั้น 3 จีทางเทคนิคพร้อมทั่วโลกแล้วทั้งระบบ และเครื่องมือถือ คู่แข่งยังทำอะไรที่จะสร้างความแตกต่างกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4 จี ทุกวันนี้ยังไม่มีความสมบูรณ์และพร้อมเลยทั้งระบบและเครื่องมือถือ ทำไมจึงจะมีผลกระทบเรื่องยุทธศาสตร์ของเอไอเอส
    "วันที่คู่แข่งเราทำ 3 จีทำก่อนเราตั้ง 2 ปี แต่วันนี้เราติดตั้งเครือข่ายแค่ปีเดียวเราตามทันและกำลังลงทุนเพิ่มเติมใน 3 จี  อย่างต่อเนื่องจะทำจนกว่าเรามีจำนวนสถานีมากกว่าคู่แข่งให้ได้"
    ขณะที่แหล่งข่าวจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค มีความถี่จำนวนมากพอต่อการให้บริการ ต้องยอมรับว่าทรู ค่อนข้างได้เปรียบเพราะมีคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ และ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำเนื่องจากจำนวนลูกค้าน้อยกว่าเอไอเอส และ ดีแทค ขณะที่เอไอเอส คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์มีจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ แต่มีจำนวนฐานลูกค้ามากที่สุด










______________________________________


 ติดเบรกประมูล 4 จี เข้าทาง 'ดีแทค-ทรูมูฟ'

 ประเด็นเรื่องการแจกคูปองโครงการสนับสนุนช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านทีวีจากระบบอะนาล็อกเป็นดิจิตอลด้วยการแจกคูปองแก่ประชาชน  เป็น 1 ใน 8 โครงการที่ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ดำเนินการตรวจสอบ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา     หลังจากนั้นเพียงข้ามวัน คสช. ได้ส่งหนังสือถึง กสทช.(สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ดำเนินการชะลอโครงการเพิ่มเติมทั้งหมด 4 โครงการ ไล่เลียงตั้งแต่โครงการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์,
alt     โครงการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์,   โครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และ บริการเพื่อสังคม (USO) และ  โครงการสนับสนุนช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านทีวีจากระบบอะนาล็อกเป็นดิจิตอลด้วยการแจกคูปองแก่ประชาชน
++ย้อนรอยการประมูลคลื่น 3 จี
    เรื่องราวการประมูลคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีประวัติศาสตร์เกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งในยุคของ  พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ กรรมการ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เตรียมเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์  เมื่อศาลปกครองสั่งให้ชะลอการประมูล ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการ กสทช. ถึงจะนำคลื่นความถี่มาประมูลได้
    หลังจากการเปลี่ยนผ่าน กทช. มาเป็น กสทช. ปรากฏว่าการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ได้บรรลุผลเมื่อปลายปี 2556 โดยผู้ประกอบการ 3 รายเดิมชนะการประกวดราคาในครั้งนั้น ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด ประมูลในราคา 14,625 ล้านบาท, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ประมูลในราคา 13,500 ล้านบาท
 ++จัดโครงสร้างคลื่นความถี่ใหม่
    สำหรับทั้ง 4 โครงการที่ คสช.สั่งชะลอในครั้งนี้ แบ่งเป็น 1. โครงการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาตที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ใบอนุญาตละ 11,600 ล้านบาท, 2.โครงการจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ใบอนุญาต ที่มีราคาตั้งต้นการประมูลที่ 11,260 ล้านบาท และ 8,445 ล้านบาท
    โครงการที่ 3 คือ สนับสนุนช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านทีวีจากระบบอะนาล็อกเป็นระบบดิจิตอลด้วยการแจกคูปองแก่ประชนมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และ 4.โครงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) ที่มีมูลค่าโครงการรวม 2.4 หมื่นล้านบาท
    ว่าด้วยการประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ในครั้งนี้เป้าหมาย กสทช.ต้องการจัดโครงสร้างคลื่นความถี่ใหม่ให้อยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน เนื่องจากสัญญาสัมปทานของ เอไอเอส หรือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดสัญญา 900 เมกะเฮิรตซ์ในปี 2558 ขณะที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ ดีพีซี สัญญาสัมปทาน 1800 เมกะเฮิรตซ์ สิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2556 โดย  กสทช. ออกมาตรการเยียวยาออกไปอีก 1 ปีซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2557  ขณะที่ดีแทค หรือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดสัญญาในปี 2561
++วงในชี้เปรี้ยงเข้าทาง "ดีแทค-ทรู"
    ยิ่งชะลอโครงการประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทอดเวลาออกไปนานเท่าไหร่ ย่อมส่งผลกระทบต่อค่ายมือถือเบอร์หนึ่ง  เอไอเอส เพราะเป็นผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่มีแค่ 2 ความถี่ (ดูตารางประกอบ) ขณะที่คู่แข่ง คือ ทรู และดีแทค มีคลื่นความถี่มากกว่า
    อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ เอไอเอส ยังไม่มีข้อมูลว่าโครงการประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะถูกชะลอนานเท่าใดจึงยังตอบไม่ได้ว่าจะเสียโอกาสมากน้อย ยังไม่น่าจะมี เพราะยุทธศาสตร์เป็นเรื่องระยะยาว ดูตัวอย่างจากการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี วันที่คู่แข่งเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ล่วงหน้าไปก่อนนั้น 3 จีทางเทคนิคพร้อมทั่วโลกแล้วทั้งระบบ และเครื่องมือถือ คู่แข่งยังทำอะไรที่จะสร้างความแตกต่างกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4 จี ทุกวันนี้ยังไม่มีความสมบูรณ์และพร้อมเลยทั้งระบบและเครื่องมือถือ ทำไมจึงจะมีผลกระทบเรื่องยุทธศาสตร์ของเอไอเอส
    "วันที่คู่แข่งเราทำ 3 จีทำก่อนเราตั้ง 2 ปี แต่วันนี้เราติดตั้งเครือข่ายแค่ปีเดียวเราตามทันและกำลังลงทุนเพิ่มเติมใน 3 จี  อย่างต่อเนื่องจะทำจนกว่าเรามีจำนวนสถานีมากกว่าคู่แข่งให้ได้"
    ขณะที่แหล่งข่าวจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค มีความถี่จำนวนมากพอต่อการให้บริการ ต้องยอมรับว่าทรู ค่อนข้างได้เปรียบเพราะมีคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ และ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำเนื่องจากจำนวนลูกค้าน้อยกว่าเอไอเอส และ ดีแทค ขณะที่เอไอเอส คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์มีจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ แต่มีจำนวนฐานลูกค้ามากที่สุด
    สอดคล้องกับแหล่งข่าวจาก คณะกรรมการ กสทช. แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า หากชะลอการประมูลคลื่นความถี่ออกไปผู้ประกอบการที่มีคลื่นความถี่น้อยจะเสียเปรียบ แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก เพราะเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วผู้ประกอบการก็หาทางออกได้เช่นเดียวกัน
    ด้านนายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอไอเอส กล่าวว่า ปัจจุบัน เอไอเอสได้ลงทุนติดตั้งเครือข่าย 2.1 กิกะเฮิรตซ์  ไปแล้วจำนวน 1.7 หมื่นสถานี และ จะลงทุนติดตั้งเพิ่มอีก 4- 5 พันสถานี จะลงทุนติดตั้งไปเรื่อย ๆ
    "ถ้าโครงข่ายและบริการไม่เป็นเบอร์หนึ่งไม่เลิกและไม่หยุดลงทุน แม้ได้ที่หนึ่งแล้ว ก็จะยังพัฒนาต่อไป"
    ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าหลังจากนี้ 3 ค่ายมือถือ เอไอเอส-ดีแทค และทรู จะเปิดเกมรุกอย่างไร โดยเฉพาะ "เอไอเอส" เจ้าตลาดมือถือเบอร์หนึ่ง จะบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างไร!!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=235776:-4----&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.U6mTq0AnBk4

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.