Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2557 DTAC ยอมรับ ( ถ้ากรณี AIS เป็นคุกกี้รัน) กรณี DTAC โรมมิ่งที่ลูกค้าไม่ได้ใช้งานจริง!! ยอดทะลุ 14 ล้านบาท


ประเด็นหลัก

ด้าน นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด ดีแทค กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงกับลูกค้าเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งดีแทคจัดการเรียบร้อยแล้ว โดยลูกค้าได้เดินทางไปต่างประเทศ และเปิดใช้บริการโรมมิ่ง แต่เครื่องโทรศัพท์เกิดปัญหา ไม่สามารถปิดโรมมิ่งได้ ทำให้ค่าโทรศัพท์พุ่งสูงถึง 14 ล้านบาท ซึ่งดีแทคได้ดำเนินการโดยไม่ได้เก็บค่าบริการ เพราะไม่ใช่กรณีที่เกิดจากการใช้งาน.


______________________________________


'กสทช.' เล็งเรียก 'กูเกิล' หารือปมคุกกี้รัน 26มิ.ย.


กสทช. เตรียมเรียกกูเกิล ประเทศไทย หารือ ข้อตกลงร่วมกับค่ายมือถือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาบิลช็อก 26 มิถุนายนนี้ พร้อมกำหนดวงเงินซื้อบริการเสริม ไม่เกิน 1,000 บาท...

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2557 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ สำนักงาน กสทช. จะเชิญบริษัท กูเกิล ประเทศไทย ในฐานะเจ้าของกูเกิลสโตร์ ผู้ให้บริการเสริมแอพพลิเคชั่น และค่ายมือถือทุกราย เข้ามาหารือร่วมกัน เพื่อหามาตรการทางออกกรณีลูกค้าบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หรือ เอดับบลิวเอ็น ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ใช้งานเล่นเกมคุกกี้รัน และมีค่าบริการสูงผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอีก

ทั้งนี้ ยังได้ขอให้ค่ายมือถือ พัฒนาระบบการเรียกเก็บค่าบริการเสริมผ่านโทรศัพท์มือถือ วงเงินค่าใช้บริการการซื้อไอเท็มต่างๆ ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อรอบบิล แล้วให้บริการส่งเอสเอ็มเอสหลังทำธุรกรรมเสร็จ พร้อมทั้งให้ส่งเอสเอ็มเอสแจ้งเตือนรอบบิลค่าบริการในการซื้อบริการเสริม รวมถึงให้ส่งเอสเอ็มเอส แจ้งเตือนอีกครั้ง หากซื้อบริการเสริมเกินวงเงินจำกัด 1,000 บาท รวมทั้งให้ส่งเอสเอ็มเอสให้กับผู้ปกครอง กรณีที่เด็กมีการใช้บริการเสริมดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังได้รับร้องเรียนจากนักธุรกิจที่ใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติ หรือดาต้า โรมมิ่ง ที่โดนเรียกเก็บค่าบริการสูงถึง 14 ล้านบาท หลังจากนำโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนไปใช้ในต่างประเทศเป็นเวลา 1 เดือน โดยขอให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 2 ราย คือ บริษัท โทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และทรูมูฟเอช เข้าตรวจสอบรายละเอียดโดยด่วนว่าเกิดการผิดพลาดระหว่างการกดตัวเลข หรือระบบคีย์ข้อมูลหรือไม่ เนื่องจากอาจเป็นไปไม่ได้ จึงไม่ควรเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ

ด้าน นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด ดีแทค กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงกับลูกค้าเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งดีแทคจัดการเรียบร้อยแล้ว โดยลูกค้าได้เดินทางไปต่างประเทศ และเปิดใช้บริการโรมมิ่ง แต่เครื่องโทรศัพท์เกิดปัญหา ไม่สามารถปิดโรมมิ่งได้ ทำให้ค่าโทรศัพท์พุ่งสูงถึง 14 ล้านบาท ซึ่งดีแทคได้ดำเนินการโดยไม่ได้เก็บค่าบริการ เพราะไม่ใช่กรณีที่เกิดจากการใช้งาน.



http://www.thairath.co.th/content/431847

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.