Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2557 เน็ตคาเฟ่กลายร่างแปลงสภาพจากอินเทอร์เน็ตคาเฟ่กลายเป็นร้านเกม(ออนไลน์) ช่องทางรายได้อื่นเสริม เช่น ขายอุปกรณ์เกมมิ่งเกียร์, บัตรเติมเงินในเกม (ดีสุดคืออาหาร)


ประเด็นหลัก


ร้านไหนที่ใช้อุปกรณ์ดีกว่าคนจะเยอะ นอกจากสเป็กเครื่องและอินเทอร์เน็ตแล้ว ร้านยังสร้างความต่างด้วยการตกแต่งบางแห่งติดกระจกใสเพื่อความโปร่ง ทาสีขาวภายใน บางร้านเน้นสีทึบ เพื่อไม่ให้มีแสงมารบกวนเกมเมอร์ ชอบแบบไหนเลือกได้

"เมื่อคิดราคา ชม.ละ 12 บาท บวกลบคูณหารแล้วกำไรน้อยมาก ทุกร้านจึงต้องมีช่องทางรายได้อื่นเสริม เช่น ขายอุปกรณ์เกมมิ่งเกียร์, บัตรเติมเงินในเกม เป็นต้น แต่ที่กำไรชัดเจน ได้แก่ อาหารตามสั่งที่พร้อมเสิร์ฟให้เกมเมอร์ตลอดทั้งวัน เริ่มต้นที่ 35 บาทขึ้นไป บางร้านให้ผู้ใช้บริการเดินมาสั่งที่เคาน์เตอร์เก็บเงิน หรือมีพนักงานเดินถาม แต่บางร้านมีซอฟต์แวร์เสริมรันบนหน้าจอเดสก์ทอปให้สั่งอาหารได้เลย" พนักงานประจำร้านกล่าวและบอกอีกว่า

เจ้าของร้านบางแห่งยัง ร่วมมือกับผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์นำโฆษณามาลงบนหน้าจอด้วย ถือเป็นวิธีหารายได้แบบใหม่ นอกเหนือไปจากที่บางแห่งร่วมกับค่ายเกมเพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น เล่นที่ร้านจะได้ค่าประสบการณ์สองเท่า, มีตัวละครให้เล่นครบ และโอกาสได้ไอเท็มในเกมง่ายกว่าเล่นที่บ้าน โดยเฉพาะเกมประเภท E-Sport ที่ต้องเล่นเป็นทีม เช่นกันกับเกมแนว MOBA ถ้าเล่นที่บ้านตัวละครจะมีไม่ครบ ทำให้ต้องซื้อตัวละครเพิ่ม และสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีมได้ไม่ดีเท่า


______________________________________


"เน็ตคาเฟ่" แปลงร่างเป็นร้านเกม เอาใจคอเกมหารายได้เสริมเลี่ยงตัดราคา


กลายร่างแปลงสภาพจากอินเทอร์เน็ตคาเฟ่กลายเป็นร้านเกม(ออนไลน์) ไปแล้วอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์พีซีมีราคาถูกลง ประกอบกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครอบคลุมกว้างขวางขึ้นพร้อม ๆ กับความเร็วในการใช้งานที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงร้านอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบการเล่นเกมที่ต้องการเครื่องสเป็กสูงปรี๊ดเพื่อความสะใจ

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงไปสำรวจตลาดอมรพันธ์ แถบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่ามีร้านอินเทอร์เน็ตที่เปลี่ยนจุดประสงค์การให้บริการจากบริการอินเทอร์เน็ต เป็นเน้น "เกมออนไลน์"

บริเวณนั้นมีร้านเปิดกว่า 20 แห่ง บางแห่งมี 2-3 สาขา แต่ละร้านจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 50-100 เครื่อง เช่น ร้าน Counter Net มี 3 สาขา, ร้าน Victory รวมถึงแฟรนไชส์ร้านเกม Neolution

E-Sport มีขนาดใหญ่ที่สุดกว่า 100 เครื่อง (ก่อนหน้านี้มีกว่า 200 เครื่อง แต่เพิ่งปิดโซนชั้น 2 เพราะหลังคาถล่ม) ทุกร้านมีบริการอาหารพร้อมเสิร์ฟ อัตราค่าบริการของบรรดาร้านต่าง ๆ บริเวณตลาดอมรพันธ์ไม่มีตัดราคาเพราะยึดนโยบายร่วมมือร่วมใจตั้งราคาร่วมกันเพื่อเลี่ยงการแข่งราคา

พนักงานประจำร้านค้าแห่งหนึ่งกล่าวว่า เน้นการสร้างความแตกต่างที่คุณภาพเครื่องและบรรยากาศภายในร้าน ขณะที่ราคาค่าบริการคิดเท่ากันที่ 12 บาท/ชม. แต่มีโปรโมชั่นเพิ่มเติม เช่น 55 บาท/5 ชม., 85 บาท/8 ชม. และ 100 บาท/10 ชม. ถ้าซื้อเหมาชั่วโมงยิ่งมากยิ่งถูกลง

"ร้านแถวนี้ไม่มีเวลาเปิด-ปิด จนมาช่วงเคอร์ฟิวที่ต้องปิดตามเวลา เรื่องราคาเมื่อก่อนแข่งกันหนัก บางเจ้าคิดชั่วโมงละ 10 บาท ซื้อเหมา 10 ชั่วโมง เหลือ 90 บาทก็มี แต่ตอนนี้ตั้งราคาร่วมกันแล้ว ปัญหานี้จึงหมดไป"

แม้จะเปิด 24 ชม. แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใช้บริการได้ ทุกร้านยึดกฎที่กระทรวงวัฒนธรรมอย่างเคร่งครัด ห้ามบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ใช้บริการก่อน 14.00 น. วันจันทร์ถึงศุกร์ และตั้งแต่ 22.00 น. ห้ามบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีใช้ทุกวัน

และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เล่นบางร้านใช้ระบบคูปองโดยให้ผู้ใช้ชำระเงินก่อน และเลือกได้ว่าจะเล่นกี่ชั่วโมง จากนั้นจะได้คูปองที่มีรหัสในการเข้าใช้มีอายุ 3 วัน เมื่อล็อกอินครั้งแรก ถ้าซื้อเหมา 10 ชม.จึงไม่ต้องเล่นครั้งเดียวให้หมดก็ได้

ร้านที่ใช้ระบบคูปองจะมีการสมัครสมาชิก เพียงแสดงบัตรประชาชนก็จะได้รหัสสมาชิก เวลาเข้าใช้บริการ ก็เพียงซื้อคูปองแล้วนำรหัสคูปองไปเติมเข้าระบบสมาชิกที่เครื่อง มีข้อดีคือชั่วโมงที่อยู่ในระบบสมาชิกจะมีอายุถึง 3 เดือน

พนักงานประจำร้านแห่งหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่ร้านอินเทอร์เน็ตซึ่งแปลงร่างมาเป็นร้านเกมต้องให้ความสำคัญคือ สเป็กคอมพิวเตอร์ที่ต้องแรงไว้ก่อน ยิ่งถ้าเป็นเกมออนไลน์ ต้องประกอบกันทั้งความเร็วของ "อินเทอร์เน็ต" ความเสถียรของสัญญาณและสเป็กเครื่อง ดังนั้น ทุกร้านจึงใช้เรื่องนี้ดึงลูกค้า เช่น จอใหญ่ 23 นิ้ว, ซีพียูตัวท็อป และอินเทอร์เน็ตลีสไลน์สำหรับเล่นเกมออนไลน์โดยเฉพาะ

ร้านไหนที่ใช้อุปกรณ์ดีกว่าคนจะเยอะ นอกจากสเป็กเครื่องและอินเทอร์เน็ตแล้ว ร้านยังสร้างความต่างด้วยการตกแต่งบางแห่งติดกระจกใสเพื่อความโปร่ง ทาสีขาวภายใน บางร้านเน้นสีทึบ เพื่อไม่ให้มีแสงมารบกวนเกมเมอร์ ชอบแบบไหนเลือกได้

"เมื่อคิดราคา ชม.ละ 12 บาท บวกลบคูณหารแล้วกำไรน้อยมาก ทุกร้านจึงต้องมีช่องทางรายได้อื่นเสริม เช่น ขายอุปกรณ์เกมมิ่งเกียร์, บัตรเติมเงินในเกม เป็นต้น แต่ที่กำไรชัดเจน ได้แก่ อาหารตามสั่งที่พร้อมเสิร์ฟให้เกมเมอร์ตลอดทั้งวัน เริ่มต้นที่ 35 บาทขึ้นไป บางร้านให้ผู้ใช้บริการเดินมาสั่งที่เคาน์เตอร์เก็บเงิน หรือมีพนักงานเดินถาม แต่บางร้านมีซอฟต์แวร์เสริมรันบนหน้าจอเดสก์ทอปให้สั่งอาหารได้เลย" พนักงานประจำร้านกล่าวและบอกอีกว่า

เจ้าของร้านบางแห่งยังร่วมมือกับผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์นำโฆษณามาลงบนหน้าจอด้วย ถือเป็นวิธีหารายได้แบบใหม่ นอกเหนือไปจากที่บางแห่งร่วมกับค่ายเกมเพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น เล่นที่ร้านจะได้ค่าประสบการณ์สองเท่า, มีตัวละครให้เล่นครบ และโอกาสได้ไอเท็มในเกมง่ายกว่าเล่นที่บ้าน โดยเฉพาะเกมประเภท E-Sport ที่ต้องเล่นเป็นทีม เช่นกันกับเกมแนว MOBA ถ้าเล่นที่บ้านตัวละครจะมีไม่ครบ ทำให้ต้องซื้อตัวละครเพิ่ม และสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีมได้ไม่ดีเท่า

เจ้าของร้านรายหนึ่งกล่าวว่า ร้านเกมที่นี่มีผู้เล่นเข้ามาตลอด ตั้งแต่เด็กนักเรียน, นักศึกษา และวัยทำงาน เพราะราคาไม่แพง และตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน

"การเล่นเกมถือเป็นสื่อบันเทิงราคาถูก ใคร ๆ ก็เข้ามาคลายเครียดได้ บางสุดสัปดาห์ยังมีการจัดแข่งขัน E-Sport สร้างความคึกคักให้ร้าน ส่วนใหญ่ที่เข้ามาใช้บริการจะเล่น 2 ชม./เครื่องขึ้นไป และซื้อแบบเหมาชั่วโมงต่อเนื่อง เพราะคุ้มกว่าซื้อเป็นรายชั่วโมง"

ฟากผู้เล่นเกมในร้านกล่าวว่า มาเล่นเพราะใกล้มหาวิทยาลัย ที่สำคัญราคาถูก และการมาเล่นที่ร้านยังสนุก และใกล้ชิดกับเพื่อนมากกว่าเล่นที่บ้าน ทั้งยอมรับว่าบางครั้งเล่นจนลืมเวลา แทบไม่ต้องลุกไปไหน เพราะที่ร้านมีโปรแกรมให้สั่งอาหารได้อีกด้วย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1403564159

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.