Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มิถุนายน 2557 MCOT มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่เช่าโครงข่ายจำนวน 3 ช่องรายการคือ ช่องรายการไทยรัฐทีวี ,สปริงนิวส์ และสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (VOICE TV)


ประเด็นหลัก



  โดยที่ปัจจุบัน อสมท มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่เช่าโครงข่ายจำนวน 3 ช่องรายการคือ ช่องรายการไทยรัฐทีวี ,สปริงนิวส์ และสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (VOICE TV) รวมไปถึงยังมีช่องของตัวเองอีก 2 ช่องคือช่องประเภทความละเอียดสูง(HD) และช่องเด็ก ส่วนกรมประชาสัมพันธ์ยังไม่มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลเช่าใช้แต่อย่างใด



______________________________________

?โครงข่ายทีวีดิจิตอลติดตั้งล่าช้าจี้ 2 รายแจ้งผลดำเนินงานด่วน?


กสท. รับติดตั้งโครงข่ายทีวีดิจิตอล ล่าช้า จี้ อสมท – กรมประชาสัมพันธ์ ส่งรายงานด่วน ด้านไทยพีบีเอส ร้องสอด ชี้ช่อง 3 ทำให้การเปลี่ยนผ่านทีวีไปดิจิตอล ยาวนานขึ้น


วันนี้(7ก.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสท.ได้รับรายงานผลการดำเนินงานการติดตั้งการให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล โดยโครงข่ายกองทัพบกจำนวน 2 โครงข่าย แจ้งว่า การติดตั้งมีความล่าช้าประมาณ 1-3 สัปดาห์ ส่วนโครงข่ายไทยพีบีเอสการติดตั้งมีความล่าช้าประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ทั้ง 2 ราย ได้ดำเนินการติดตั้งครอบคลุม 50 % ของจำนวนครัวเรือนตามที่กำหนดไว้ ซึ่งได้ครอบคลุมแล้วจำนวน 11 สถานีหลัก ส่วนโครงข่ายอีก 2 ราย ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์และบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) ยังไม่ได้รายงานผลการดำเนินงาน โดยคาดว่าทั้ง 2 รายจะส่งรายงานมาให้ กสทช.ทราบโดยเร็วที่สุด

สำหรับการติดตั้งโครงข่ายในระยะแรกพบว่ามีความล่าช้า ดังนั้นระยะที่ 2 จึงอยากกำชับให้การติดตั้งเป็นไปตามแผนการดำเนินงานมีความชัดเจน ไม่เกิดความล่าช้ามากจนเกินไป ทั้งนี้หากการติดตั้งโครงข่ายยังไม่มีความเรียบร้อย กสทช.อาจต้องกำหนดมาตรการบังคับใช้ทางปกครองโดยเริ่ม ตักเตือน ปรับ พักใช้ ตลอดจนเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป

พ.อ.ดร.นที กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มีผู้ประกอบฟรีทีวีรายเดิมอย่างไทยพีบีเอส ได้ร้องสอดในคดี ที่บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (ช่อง 3 ) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ให้ยกเลิกมติของ กสท. ที่ให้ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ตามบทเฉพาะกาล ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551สิ้นสุดการเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป(มัสต์แครี่) นั้น ไทยพีบีเอสมองว่าอาจจะส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านจากระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอลมีระยะยาวนานขึ้นประกอบกับทำให้เกิดความเสียหาย มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการออกอากาศคู่ขนานจากเดิมที่ไทยพีบีเอสได้กำหนดยุติการออกอากาศระบบอะนาล็อกภายใน 3 ปี หรือประมาณปี 2559 เท่านั้น


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/250577/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%89+2+%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99

__________________________________



กสท.จ่อลงโทษ อสมท /กรมประชาสัมพันธ์ ไม่ส่งแผนขยายโครงข่ายทีวีดิจิตอล



       กสท.เตือน อสมท , กรมประชาสัมพันธ์ ส่งแผนการขยายโครงข่ายทีวีดิจิตอลระยะแรกโดยด่วนหลังยังเงียบ พร้อมรับทราบกรณีไทยพีบีเอสยื่นฟ้องสอดกรณีช่อง3 ฟ้องกสทช. ด้าน 'พ.อ.นที'ยันไม่ส่งผลต่อการแจกคูปอง พร้อมอนุมัติ 17 ช่องรายการต่อใบอนุญาตอีก 2 ปี
     
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่าที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 7 ก.ค.มีมติให้สำนักงานกสทช.ส่งหนังสือไปยังผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายทีวีดิจิตอล (MUX) จำนวน 2 รายคือ บริษัท อสมท
       จำกัด (มหาชน) และกรมประชาสัมพันธ์ หลังจากทั้ง 2 รายไม่ส่งแผนรายงานการติดตั้งซึ่งในปีแรกต้องขยายโครงข่ายให้ได้ 50% หรือครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัดตามข้อกำหนดใบอนุญาต หากอสมท และกรมประชาสัมพันธ์ไม่สามารถขยายโครงข่ายได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนดก็ถือว่าเข้าข่ายผิดเงื่อนไขซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการต่อไปคือการแจ้งเตือน การสั่งปรับซึ่งจะปรับวันละ
       20,000 บาท ,การพักใช้ใบอนุญาต และการเพิกถอนใบอนุญาตโครงข่ายทีวีดิจิตอลในที่สุด
     
       'อสมท และกรมประชาสัมพันธ์จะต้องรีบดำเนินการส่งแผนงานการติดตั้งสถานีในเฟสแรกมา ยังกสทช.โดยเร็วที่สุดเนื่องจากหากเกิดการเสียหายจากการติดตั้งล่าช้าขึ้น ทั้ง 2 รายจะต้องมีความผิดฐานไม่สามารถติดตั้งได้ตามกำหนดใบอนุญาต แต่เชื่อว่าการติดตั้งล่าช้าดังกล่าวไม่ส่งผลต่อการแจกคูปองสนับสนุนเนื่องจากกสทช.จะแจกคูปองตามแผนงานการขยายโครงข่ายทีวีดิจิตอล'
     
       โดยที่ปัจจุบัน อสมท มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่เช่าโครงข่ายจำนวน 3 ช่องรายการคือ ช่องรายการไทยรัฐทีวี ,สปริงนิวส์ และสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (VOICE TV) รวมไปถึงยังมีช่องของตัวเองอีก 2 ช่องคือช่องประเภทความละเอียดสูง(HD) และช่องเด็ก ส่วนกรมประชาสัมพันธ์ยังไม่มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลเช่าใช้แต่อย่างใด
     
       ขณะที่ผู้ประกอบการโครงข่ายอีก 2 รายคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก(ช่อง5) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ได้มีการส่งแผนงานมายังกสทช.เรียบร้อยถึงแม้จะจะล่าช้าไป1-3 สัปดาห์ก็ตามแต่สามารถดำเนินการติดตั้งได้ตามระยะเวลาที่กสทช.กำหนดคือในเฟสแรกครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด หรือคิดเป็น 50% ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศ
       ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เชียงใหม่ สงขลา อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี ระยอง สิงห์บุรี สุโขทัย ขอนแก่น และอุดรธานี
     
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบกรณี ไทยพีบีเอส ยื่นฟ้องสอดต่อศาลปกครองกลางในประเด็นที่ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (ช่อง3) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางกรณี กสทช. โดยให้ยกเลิกคำสั่งของ กสท. ที่ให้ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ตามบทเฉพาะกาล ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
       สิ้นสุดการเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป(Must Carry) เนื่องจากผลการพิจารณาในคดีดังกล่าว อาจจะส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการต่อไปในอนาคตเพราะหากช่อง3 ชนะคดีจะทำให้ต้องขยายเวลาการออกอากาศในระบบอนาล็อกออกไปอีก ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลก็จะทำได้อย่างล่าช้าไปด้วย และยังทำให้ไทยพีบีเอสต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบอนาล็อกด้วย
     
       พ.อ.นที กล่าวว่าที่ประชุมบอร์ด ยังมีมติต่อใบอนุญาตช่องทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี หรือกิจการโทรทัศน์ประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่ ในการยื่นคำขออนุญาตใหม่กรณีที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นสุดลง 1 ปีจำนวน 17 ช่องรายการ โดยจะต่ออายุใบอนุญาตออกไปอีก 2 ปี ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีเพียง 1 ช่องรายการที่ผ่านการปฏิบัติ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 27
       คือการระบุว่าเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ส่วนอีก 16 ช่องรายการจะต้องเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนของกสทช.ก่อนสามารถออกอากาศได้ ตามปกติ และยังมีอีก 27 ช่องรายการ 14 บริษัทใหม่ที่เข้ามายื่นขอเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกเช่นเดียวกัน
     
       นอกจากนี้บอร์ดยังมีมติให้ผู้ประกอบการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์สำหรับกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ จำนวน 3 ราย คือ บริษัท เอเชีย บรอดคาสติ้ง เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท บิ๊กโฟร์ แซทเทลไลท์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัท ลีโอ เทคโนโลยี แอนด์ มาร์เกตติ้ง จำกัด เข้าเป็นผู้ประกอบการโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิกเพื่อให้เป็นไปตามประกาศคสช.
     


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000076512

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.