Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มิถุนายน 2557 ThaiPBS ยื่นร้องช่อง3 !! ไม่เปลื่ยนเป็น ทีวีดิจิตอล ทำให้ไทยพีบีเอสได้รับความเสียหาย มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะตามแผนไทยพีบีเอสต้องการยกเลิกระบบอะนาล็อกโดยเร็ว ใน3 ปี หรือ ภายในปี 2559


ประเด็นหลัก


ขณะที่ ไทยพีบีเอส ได้ยื่นร้องสอดในคดี บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง แก่ กสทช. กรณี ยกเลิกคำสั่งเพิกถอนมติบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2557 เนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เห็นชอบช่อง 3 ให้สิ้นสุดการทำหน้าที่โทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไปตามประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ มัสต์ แครี่ ทำให้ช่อง 3 ไม่สามารถออกอากาศได้ในทุกแพลตฟอร์ม เนื่องจากทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลล่าช้า ทำให้ไทยพีบีเอสได้รับความเสียหาย มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะตามแผนไทยพีบีเอสต้องการยกเลิกระบบอะนาล็อกโดยเร็ว ใน3 ปี หรือ ภายในปี 2559 ซึ่งล่าสุดศาลปกครองได้เรียกไทยพีบีเอสไปไต่สวนแล้ว.

______________________________________

กสท.ขู่ลงดาบ 'อสมท-กรมประชาฯ' ติดตั้ง MUX ช้า

คณะกรรมการ กสท. เตรียมพิจารณาแผนการติดตั้งโครงข่ายของ อสมท และกรมประชาสัมพันธ์ เฟสแรก ครอบคลุมร้อยละ 50 ของประเทศไทยที่ล่าช้ากว่ากำหนด พร้อมย้ำให้ส่งแผนงานมาที่สำนักงาน กสทช. โดยเร็ว...

เมื่อวันที่  7 ก.ค.2557 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. มีมติให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และกรมประชาสัมพันธ์ ส่งรายงานแผนการติดตั้งโครงข่ายทีวีดิจิตอลมาที่สำนักงาน กสทช. โดยเร็ว เนื่องจากทั้ง 2 ราย ติดตั้งล่าช้ากว่ากำหนด ในส่วนที่ให้ครอบคลุมร้อยละ 50 ประเทศไทยในปีแรก ส่วนกองทัพบกและไทยพีเอสติดตั้งตามแผนครบแล้วแม้จะล่าช้าไป 1-3 สัปดาห์ ซึ่งการพิจารณาหากพบว่าไม่ตรงตามแผนการขยายโครงข่ายจะมีโทษตั้งแต่เตือน ปรับ พักใช้ และสูงสุดเพิกถอนใบอนุญาต และปรับสูงสุดวันละ 2 หมื่นบาท โดยเชื่อว่าไม่กระทบกับการแจกคูปองหากล่าช้าน้อย เพราะการแจกคูปองจะทำได้ก็ต่อเมื่อติดตั้งครบแล้ว

สำหรับผู้ที่ใช้โครงข่ายของ อสมท มี 5 ช่อง ได้แก่ ไทยรัฐทีวี วอยซ์ทีวี สปริงนิวส์ และ อสมท 2 ช่อง ส่วนกรมประชาสัมพันธ์ ยังไม่มีผู้ใดใช้บริการ

ทั้งนี้ ทาง อสมท ได้ชี้แจงก่อนหน้าว่า ได้เปลี่ยนจากการติดตั้งเองเป็นการเช่าแทน หลังจากถูกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรวมตัวประท้วงที่เอื้อให้กับบริษัทของกลุ่มนักการเมือง โดยการจัดซื้อจัดจ้างโครงการนี้ของช่อง 9 รวม 440 ล้านบาท แบ่งเป็นการติดตั้ง 396 ล้านบาท และการจัดซื้อส่ิงอำนวยความสะดวกด้านการกระจายเสียง ราคากลาง 44 ล้านบาท ด้าน กรมประชาสัมพันธ์ มีมูลค่าโครงการ 980 ล้านบาท และจะใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ จึงถูกคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม เรียกไปชี้แจงและขอให้ชะลอไปก่อนตั้งแต่เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา และจนถึงขณะนี้ โครงการดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากต้องรอ ครม.อนุมัติ

นอกจากนี้ ยังมีมติให้  17 ช่องรายการ ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (ทีวีดาวเทียม-เคเบิลทีวี) ต่ออายุใบอนุญาตเป็น 2 ปี ซึ่งมี 1 ช่องรายการ ได้รับการออกอากาศทันที เพราะได้รับการตรวจสอบเนื้อหาแล้วเป็นไปตามประกาศของ คสช. ฉบับที่ 27 ส่วนอีก 16 ช่องรายการ ยังต้องเข้าสู่กระบวนการยืนยันและตรวจสอบเนื้อหารายการตาม กสท.ก่อน

ขณะที่ ไทยพีบีเอส ได้ยื่นร้องสอดในคดี บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง แก่ กสทช. กรณี ยกเลิกคำสั่งเพิกถอนมติบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2557 เนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เห็นชอบช่อง 3 ให้สิ้นสุดการทำหน้าที่โทรทัศน์ที่ให้บริการทั่วไปตามประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือ มัสต์ แครี่ ทำให้ช่อง 3 ไม่สามารถออกอากาศได้ในทุกแพลตฟอร์ม เนื่องจากทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลล่าช้า ทำให้ไทยพีบีเอสได้รับความเสียหาย มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะตามแผนไทยพีบีเอสต้องการยกเลิกระบบอะนาล็อกโดยเร็ว ใน3 ปี หรือ ภายในปี 2559 ซึ่งล่าสุดศาลปกครองได้เรียกไทยพีบีเอสไปไต่สวนแล้ว.


http://thairath.co.th/content/434756

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.