Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มิถุนายน 2557 TOT เตรียมความพร้อมรับมือกับการสิ้นสุดลงของสัมปทาน โดย AIS จะหมดในปี 2558 // โทรพื้นฐาน TRUE จะหมดในปี 2560 // โทรพื้นฐาน TT&T จะหมดในปี 2561


ประเด็นหลัก

ขณะเดียวกัน ทีโอทียังได้เตรียมความพร้อมรับมือกับการสิ้นสุดลงของสัมปทาน ที่จะเริ่มจากสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะหมดในปี 2558, บริการโทรศัพท์ประจำที่กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ปี 2560 และ บมจ.ทีทีแอนด์ที ในปี 2561 โดยมีการตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ทั้งการจัดการทรัพย์สิน การรับช่วงการให้บริการลูกค้า


______________________________________

"ทีโอที"รุกตลาดเมืองกรุง กู้ยอดลูกค้าเพิ่มรายได้ตั้งทีมรับมือหมดสัมปทาน



ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"ทีโอที" ไฟลนก้น รายได้จากบริการโทรศัพท์บ้านร่วงกราว-ยอดยกเลิกใช้งานพุ่ง ลุยตลาดงัดแคมเปญ "เซอร์ไพรส์" โฟกัสย่านชุนชนหวังฟื้นรายได้ ชูแพ็กเกจบรอดแบนด์ FFTX ความเร็ว 20 Mbps 990 บาท/เดือน ตั้งเป้าโกยรายได้นครหลวงสิ้นปี 10,109 ล้านบาท พร้อมเตรียมแผนรับมือสัมปทาน "เอไอเอส-ทรู-ทีทีแอนด์ที" สิ้นสุด หวัง คสช.ให้สิทธิ์บริหารคลื่น 900 MHz ต่อ

นายจุมพล ธนะโสภณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานขายและบริการลูกค้านครหลวง บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ในครึ่งปีหลังนี้จะเร่งโหมทำกิจกรรมทางการตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะในเขตนครหลวงครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ภายใต้แคมเปญ "เซอร์ไพรส์" โปรโมตบริการตามพื้นที่ชุมชนและย่านการค้า โดยเฉพาะบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี FTTX ที่มีโปรโมชั่นพิเศษ ความเร็ว 20 Mbps ค่าบริการ 990 บาท/เดือน (ฟรีค่าติดตั้ง ไม่ผูกสัญญาบริการ) มีค่าโมเด็ม 1,500 บาท ถ้าจ่ายค่าบริการล่วงหน้า 12 รอบบิล ได้ใช้ฟรี 2 รอบบิล

"ต้องเร่งเพิ่มลูกค้า หลังจากรายได้ 5 เดือนแรกปีนี้ นครหลวงทำได้แค่ 3,599 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 224 ล้านบาท และต่ำกว่าเป้า 600 กว่าล้านบาท จากผลกระทบการชุมนุมการเมืองเฉพาะพื้นที่บริการแถบแจ้งวัฒนะก็สูญเสียรายได้ ราว 30 ล้านบาท/เดือนแล้วไม่รวมพื้นที่อื่น"

ขณะที่ยอดลูกค้าที่มายกเลิกบริการยังน้อยกว่ายอดลูกค้าใหม่ 3 หมื่นราย รวมถึงงบฯลงทุนสำคัญอย่างโครงการติดตั้งบรอดแบนด์ 2 ล้านพอร์ตต้องชะงักเพราะไม่มีคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการ"โครงข่าย FTTX ที่พร้อมจะนำไปให้บริการถึงบ้านลูกค้าได้มีกระจายอยู่ราว 40% ในทุกพื้นที่บริการเขตนครหลวง ซึ่งจะลากสายต่อไปให้ทันทีหากมีลูกค้า 3-4 ราย โดยจะใช้งบฯลงทุนประจำปีของนครหลวงราว 400 ล้านบาทแทนไปก่อน

นายจุมพลกล่าวต่อว่า หากกิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายเขตนครหลวงจะมีรายได้ปีนี้ 10,109 ล้านบาท มาจากบริการโทรศัพท์ประจำที่ 4,800 ล้านบาท (47%) บริการบรอดแบนด์ และมัลติมีเดีย (ADSL, FTTX, IPTV, ทีโอทีออนไลน์) 2,700 พันล้านบาท (27%) และบริการดาต้า (DNN, ATM/FR/CES/VPN,RAN) 990 ล้านบาท (10%) บริการ 3G 564 ล้านบาท (6%)

สำหรับรายได้ 5 เดือนแรกของส่วนงานนครหลวงมาจากบริการโทรศัพท์ประจำที่ 50% บริการอินเทอร์เน็ต ADSL 25% มีลูกค้าโทรศัพท์ประจำที่ 2.3 ล้านเลขหมาย จากทั่วประเทศ 3 ล้านราย ส่วนพอร์ต ADSL มี 3.5 แสนราย จาก 1.6 ล้านพอร์ตทั่วประเทศ

"ปีนี้บริษัทปรับการกำหนดเป้าหมายรายได้บริษัทใหม่ จากเดิมใช้จำนวนลูกค้าเป็นตัวตั้ง มาใช้จำนวนรายได้ที่ต้องการเป็นตัวตั้งเพื่อให้พนักงานเร่งขายทุกบริการ เพื่อหารายได้ตามเป้าให้ได้ ซึ่งในส่วนของรายได้เขตนครหลวงจะน้อยกว่ารายได้จากเขตภูมิภาคประมาณ 1.5 เท่า ตามพื้นที่ให้บริการที่น้อยกว่า"

ขณะเดียวกัน ทีโอทียังได้เตรียมความพร้อมรับมือกับการสิ้นสุดลงของสัมปทาน ที่จะเริ่มจากสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะหมดในปี 2558, บริการโทรศัพท์ประจำที่กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ปี 2560 และ บมจ.ทีทีแอนด์ที ในปี 2561 โดยมีการตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ทั้งการจัดการทรัพย์สิน การรับช่วงการให้บริการลูกค้า

ซึ่งในส่วนลูกค้าเอไอเอสหากทีโอทีได้รับสิทธิ์ในการใช้คลื่น 900 MHz ต่อไปตามที่ได้เสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา ก็จะรับช่วงการให้บริการลูกค้าได้ทันที แต่ถ้าไม่ได้ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มบนโครงข่ายที่ได้รับโอนมาเพื่อให้นำ คลื่น 2.1 GHz ในส่วนของทีโอทีไปใช้ให้บริการลูกค้าแทน แต่ต้องใช้งบฯลงทุนอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งคณะทำงานกำลังพิจารณาอยู่

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404733607

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.