Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กรกฎาคม 2557 (เกาะติดการประมูล4G) สุธรรม อยู่ในธรรม ระบุ หาก กสทช. ไม่เปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ภายในปี 2557 นี้ จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาส เนื่องจากมีทรัพยากรอยู่แต่ไม่ได้ถูกใช้


ประเด็นหลัก


ด้านนายสุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะอดีตคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า หาก กสทช. ไม่เปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ภายในปี 2557 นี้ จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาส เนื่องจากมีทรัพยากรอยู่แต่ไม่ได้ถูกใช้งาน ส่วนมูลค่าความเสียหายอาจต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐศาตร์ เป็นผู้ประเมินออกมา ซึ่งต้องการความขัดเจนมากที่สุด



______________________________________

กสทช.เสนออนุฯ เร่งแก้ ก.ม.จัดสรรคลื่น-รายได้ใหม่


กสทช.เตรียมเสนอคณะอนุกรรมการฯ แก้กฎหมายเร่งด่วน ทั้งเรื่องการนำเงินรายได้จากการประมูลทุกรูปแบบให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน และแก้วิธีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ยืนยันต้องมีการประมูลคลื่นใหม่เกิดขึ้นแน่นอน...

เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 57 นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า คณะกรรมการ กสทช. เตรียมเสนอคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเรื่องเร่งด่วน 2 เรื่อง คือ การแก้ไข พ.ร.บ. กสทช. 2 มาตรา คือ ให้เงินรายได้ที่ได้รับจากการเปิดประมูลคลื่นความถี่ ทั้งฝั่งกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เข้าสู่กระทรวงการคลังเพื่อให้ตกเป็นรายได้ของแผ่นดิน เช่น การประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ เนื่องจากที่ผ่านมา กฎหมายระบุแค่ว่า ให้นำเงินรายได้จากฝั่งโทรคมนาคมเข้าเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ยังมีมาตรา 45 ที่กำหนดให้การคลื่นความถี่ต้องจัดสรรด้วยวิธีการประมูลเท่านั้น

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การแก้กฎหมายที่ในประเด็นมาตรา 45 ไม่เกี่ยวข้องกับโรดแม็ปคลื่นความถี่ที่ กสทช. ได้เสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าจะต้องเปิดประมูลคลื่น 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ สิ้นสุดสัมปทานแลัว และต้องมีผู้ให้บริการต่อเนื่องเพื่อป้องกันลูกค้า 4 ล้านรายซิมดับ

ด้านนายสุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะอดีตคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า หาก กสทช. ไม่เปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ภายในปี 2557 นี้ จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาส เนื่องจากมีทรัพยากรอยู่แต่ไม่ได้ถูกใช้งาน ส่วนมูลค่าความเสียหายอาจต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐศาตร์ เป็นผู้ประเมินออกมา ซึ่งต้องการความขัดเจนมากที่สุด

ขณะที่ กสทช. ได้เสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาแผนคลื่นความถี่ ซึ่งความเห็นของ กสทช. ต้องการให้ประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ซิมดับ ส่วนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส สิ้นสุดในปี 2558 ซึ่งเห็นต่างกับ ทีโอที ที่ไม่ต้องการให้ประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ หลังหมดสัมปทานกับ เอไอเอส และ กสท โทรคมนาคม ที่ต้องการถือครองคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ปัจจุบันไม่ได้มีการใช้งาน เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้.


http://www.thairath.co.th/content/435243

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.