Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กรกฎาคม 2557 เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ เตรียมเสนอของบประมาณปี 2558 ภายใน 15 วัน จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เบื้องต้น 7,000 ล้านบาท สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิทัล 7 ล้านครัวเรือน หรือ11,162 ล้านบาท 25 ล้านครัวเรือน


ประเด็นหลัก



   
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในตอนนี้เตรียมเสนอของบประมาณปี 2558 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวนวงเงิน 11,162 ล้านบาทเพื่อใช้ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิตอล ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวถือเป็นเงินงวดแรกที่ได้จากการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจที่ผ่านมา แต่หากไม่พอในการดำเนินการก็สามารถทำเรื่องเพื่อเสนองบประมาณเข้าไปใหม่ได้อีก โดยแผนที่กสทช.เคยวางไว้ในการแจกคูปองทีวีดิจิตอลทั้งหมด 25 ล้านครัวเรือนซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มแจกได้ภายในเดือน ก.ย. นี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. )เปิดเผยว่า เตรียมเสนอของบประมาณปี 2558 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เบื้องต้น 7,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิทัล 7 ล้านครัวเรือน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มแจกได้ในเดือน ก.ย. นี้





______________________________________

กสทช.เล็งของบคสช. 11,162 ล้านบาทแจกคูปองทีวีดิจิตอล



กสทช.เตรียม เสนอของบคสช.แจกคูปองทีวีดิจิตอลก้อนแรก 11,162 ล้านบาทจำนวน 11 ล้านครัวเรือนก่อนภายในเดือนก.ย.นี้ หลังคสช.มีคำสั่งนำเงินประมูลทีวีดิจิตอลเข้าแผ่นดินทั้งหมด
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในตอนนี้เตรียมเสนอของบประมาณปี 2558 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวนวงเงิน 11,162 ล้านบาทเพื่อใช้ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิตอล ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวถือเป็นเงินงวดแรกที่ได้จากการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องธุรกิจที่ผ่านมา แต่หากไม่พอในการดำเนินการก็สามารถทำเรื่องเพื่อเสนองบประมาณเข้าไปใหม่ได้อีก โดยแผนที่กสทช.เคยวางไว้ในการแจกคูปองทีวีดิจิตอลทั้งหมด 25 ล้านครัวเรือนซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มแจกได้ภายในเดือน ก.ย. นี้
     
       ทั้งนี้การเสนอของบประมาณดังกล่าวของกสทช. เป็นไปตามประกาศคสช. ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวกับการนำเงินประมูลในกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม เข้าเป็นรายได้แผ่นดินจากเดิมที่กฏหมายระบุให้นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จึงส่งผลให้กสทช.ต้องเปลี่ยนการใช้เงินจากกองทุนกทปส.เป็นการตั้งประมาณ เพื่อแจกคูปองทีวีดิจิตอลแทน
     
       “ในตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าราคาคูปองจะอยู่ที่1,000 บาท หรือ 690 บาทต่อครัวเรือน เช่นเดียวกับการนำคูปองไปแลกเป็นกล่องทีวีดิจิตอล ทีวีเครื่องใหม่ กล่องดาวเทียม หรือกล่องเคเบิลได้นั้นคงต้องรอการพิจารณาจากคสช.เท่านั้น”
       
       สำหรับวงเงินจากการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องรวม 50,862 ล้านบาทนั้น ในตอนนี้ได้รับเงินงวดแรกแล้ว 11,162 ล้านบาท ซึ่งกสทช. จะนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินภายใน 15 วัน ส่วนที่เหลืออีก 39,700 ล้านบาทจะนำส่งหลังจากที่ผู้ประกอบการนำมาจ่ายอีก 5 ปี แบ่งเป็นปีที่ 2 จำนวน 8,124 ล้านบาท ปีที่ 3 และปีที่ 4 ปีละ 8,653 ล้านบาท และ ปีที่ 5 และปีที่ 6 อีกปีละ 7,134 ล้านบาท
     
       ส่วนประกาศ คสช. ดังกล่าวที่ กสทช.จะต้องส่งรายได้เข้ากระทรวงการคลังนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการการทำงานของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เนื่องจาก กสทช. มีการแยกเงินบัญชีออกเป็น 5 บัญชีด้วยกัน ได้แก่ บัญชีที่ 1 เงินจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) เดิม จำนวน 3,000 ล้านบาท
       บัญชีที่ 2รายได้จากค่าปรับ, ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จำนวน 1,000 ล้านบาท บัญชีที่ 3 กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม (USO) จำนวน 8,400 ล้านบาท บัญชีที่ 4 กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ซึ่งยังไม่มีรายได้เข้ามา และบัญชีที่ 4 เงินจากการประมูลทีวีดิจิตอล ที่หัก 2.5 หมื่นล้านบาท เป็นการสนับสนุนการแจกคูปอง และยังไม่มีโครงการใดๆเพิ่มเติมอีก
     
       ขณะที่ประเด็นการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนกทปส.ใหม่ นั้น จะมีปลัดกระทรวงกลาโหมเข้ามานั่งเป็นกรรมการด้วย ซึ่งถือเป็นการปรับโครงสร้างกทปส.จำเป็นต้องมีการปรับนโยบายหรือแผนการดำเนินงานในระยะยาว ขณะเดียวกันโครงการวิจัยต่างๆ ของกองทุน กทปส.ในแต่ละปี จำนวน 500 ล้านบาท ในอนาคตที่จะต้องมีการสนับสนุน รวมทั้งทีวีชุมชน
       ก็ต้องมาหารือกันต่อไปว่าจะนำเงินส่วนไหนมาใช้เพื่อสนับสนุนสำหรับทีวีชุมชน
     
       นายฐากร กล่าวว่าขณะที่เวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยน ผ่านสู่การรับชมทีวีดิจิตอลทั่วประเทศทั้ง 4 ภูมิภาคนั้นซึ่งที่สุดท้ายเป็น ภาคกลางที่ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. มีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 700 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับราคาคูปอง 1,000 บาท แต่ไม่ต้องการให้สามารถนำไปแลกเป็นกล่องดาวเทียมได้
     
       สำหรับกระบวนการต่อไปภายหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะแล้วสำนักงานก สทช. จะรวบรวมความคิดทั้งหมดเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดกสท. และบอร์ดกสทช.ก่อนเสนอต่อ คสช. พิจารณา โดยเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถแจกคูปองได้ภายในเดือน ก.ย.นี้
     




http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000078106


_______________________________


กสทช.ตั้งงบ7,000ล้านแจกคูปอง7ล้านครัวเรือน


กสทช. เตรียมชงงบ คสช. นำร่อง 7,000 ล้านบาท แจกคูปองทีวีดิจิทัล 7 ล้านครัวเรือนเดือน ก.ย.

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. )เปิดเผยว่า เตรียมเสนอของบประมาณปี 2558 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เบื้องต้น 7,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิทัล 7 ล้านครัวเรือน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มแจกได้ในเดือน ก.ย. นี้

การเสนอของบประมาณดังกล่าว เป็นไปตามประกาศคสช. ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวกับการนำเงินประมูลในกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน จากเดิมที่นำส่งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ส่งผลให้กสทช. ต้องเปลี่ยนการใช้เงินจากกองทุนเป็นการตั้งประมาณเพื่อแจกคูปองทีวีดิจิทัลแทน

สำหรับเงินประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่อง รวม 50,862 ล้านบาทนั้น ได้รับงวดแรกแล้ว 11,162 ล้านบาท ซึ่งกสทช. จะนำส่งภายใน 15 วัน ส่วนที่เหลือจะนำส่งหลังจากที่ผู้ประกอบการนำมาจ่ายอีก 5 ปี แบ่งเป็น ปีที่ 2 จำนวน 8,124 ล้านบาท ปีที่ 3 และปีที่ 4 ปีละ  8,653 ล้านบาท และ ปีที่ 5 และปีที่ 6 อีกปีละ 7,134 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม  ยังมีเงินกองทุน กทปส. คงเหลืออีกประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ที่กระทรวงคลังสามารถยืมไปใช้ได้ตามความจำเป็น โดยที่มาของรายได้ส่วนนี้ แบ่งเป็น 1.รายได้ที่โอนมาจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เดิม3,000 ล้านบาท 2.เงินงบประมาณที่สำนักงานกสทช. จัดสรรให้ตามกฎหมายปีละไม่เกิน 50 ล้านบาท

3. เงินค่าปรับต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กสทช. กำหนด 396 ล้านบาท และ 4. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับไลเซนส์ เพื่อนำไปพัฒนาและกระจายบริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างทั่วถึง (ยูเอสโอ) ด้านโทรคมนาคม 8,400 ล้านบาท

ขณะที่เวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องคูปองทีวีดิจิทัล ภาคกลาง ที่ กรุงเทพ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับราคาคูปอง 1,000 บาท แต่ไม่ต้องการให้แลกกล่องดาวเทียม

อย่างไรก็ตาม กสทช. จะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด.วันที่ 23 ก.ค. ก่อนเสนอต่อ คสช. พิจารณา และคาดว่าจะแจกคูปองได้ในเดือน ก.ย.

http://www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/305887/กสทช-ตั้งงบ7-000ล้านแจกคูปอง7ล้านครัวเรือน


______________________________


กสทช. ชงของบ 7พันล้านแจกคูปองทีวีดิจิตอล 7 ล้านครัวเรือน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. )เปิดเผยว่า เตรียมเสนอของบประมาณปี 2558 จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เบื้องต้น 7,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิตอล  7 ล้านครัวเรือน  โดยจะนำเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดฯวันที่ 23 กรกฎาคมนี้ ก่อนส่งต่อให้คสช.พิจารณา โดยคาดว่าจะเริ่มแจกได้ในเดือน ก.ย. นี้
     

 การเสนอของบประมาณดังกล่าว เป็นไปตามประกาศคสช. ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวกับการนำเงินประมูลในกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน จากเดิมที่นำส่งกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ส่งผลให้กสทช. ต้องเปลี่ยนการใช้เงินจากกองทุนเป็นการตั้งประมาณเพื่อแจกคูปองทีวีดิจิตอลแทน
   

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=238427:---7-7-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.U759Q1ZAeuw


______________________________________

?กสทช.ขอ15วันเร่งส่งเงินทีวีดิจิตอลเข้าคลังตามประกาศคสช.?
กสทช.เร่งส่งเงินประมูลทีวีดิจิตอล งวดแรก 11,000 ลบ. นำเข้าแผ่นดินตามประกาศ คสช. เบื้องต้นตั้งงบประมาณรายปีแจกคูปองเงินสด 7 ล้านครัวเรือน งบ 7,000 ลบ. ก่อนชงคสช.กำหนดงบประมาณแจกทั่วประเทศต่อไป


วันนี้ (10ก.ค.) ที่โรงแรมสวิสโซเทล เลอคองคอร์ด นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การนำเงินรายได้จากการประมูลทีวีดิจิตอลเพื่อให้บริการธุรกิจ 24 ช่อง งวดแรกจำนวนประมาณ 11,000 ล้านบาทนั้น จะเร่งนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินภายใน 15 วัน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เกี่ยวกับการนำเงินประมูลในกิจการวิทยุ โทรทัศน์และโทรคมนาคม เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน จากเดิมที่ให้นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส.

ดังนั้น โครงการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีระบบดิจิตอล รูปแบบการแจกจ่ายคูปองเงินสดส่วนลดสำหรับแลกซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีดิจิตอล กสทช.ยืนยันในการแจกแต่เปลี่ยนจากเป็นการใช้เงินกทปส.มาเป็นการตั้งงบประมาณรายปีในการดำเนินการแทน โดยเบื้องต้นปีแรกจะแจกจ่ายไปยัง 7 ล้านครัวเรือนคาดว่าใช้งบประมาณจำนวน 7,000 ล้านบาท ตามการขยายของโครงข่ายการรับชมทีวีดิจิตอล ส่วนการแจกจ่ายในปีถัดไปเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศจะหารือกับ คสช.ในการกำหนดงบประมาณอีกครั้ง

นายฐากร กล่าวว่า สำหรับการรับฟังความคิดเห็นคูปองฯ ขณะนี้ครบทั้ง 4 ภาคแล้ว โดยจะนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ต่างๆ ไปรวมรวบเข้าที่ประชุมกสทช.ในวันที่ 23 ก.ค.นี้ แล้วทำสรุปส่งให้ คสช.ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อให้พิจารณารายละเอียดทั้งราคามูลค่าคูปอง การแจกจ่ายตามครัวเรือนเพื่อสรุปราคาคูปองฯ โดยคาดว่าจะสามารถแจกจ่ายคูปองได้ภายในเดือนก.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเงิน กทปส. มีอยู่ 5 บัญชี โดยบัญชีที่ 1 เป็นรายได้ที่โอนมาจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.) เดิม 3,000 ล้านบาท บัญชีที่ 2 รายได้ที่มาจาค่าปรับในกิจการวิทยุ โทรทัศน์และโทรคมนาคม 396 ล้านบาท บัญชีที่ 3 มาจากรายได้บริการสนับสนุนบริการพื้นฐานโดยทั่วถึง (USO) 8,400 ล้านบาท และบัญชีที่ 4 รายได้ด้านกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายได้เข้ามาในบัญชีดังกล่าว ซึ่งเงินทั้ง 4 บัญชีนี้ยังอยู่ในงบประมาณของกทปส. ซึ่งจะไม่กระทบต่อการสนับสนุนโครงการวิจัยต่างๆที่กสทช.ดำเนินการ และกระทรวงการคลังสามารถยืมได้แต่ต้องไม่กระทบต่อโครงการต่างๆของกสทช.

ส่วนเงินบัญชีที่ 5 เป็นรายได้จากการประมูลทีวีดิจิตอลมีทั้งหมด 50,862 ล้านบาท ที่จะยกให้เป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด โดยกำหนดให้แบ่งจ่ายเป็น 6 งวด โดยงวดแรกผู้ประกอบการได้จ่ายมาแล้วเป็นจำนวนเงิน 11,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 5 งวด จะดำเนินการทยอยส่งแต่ละปีตามเงื่อนไขประกาศการประมูลทีวีดิจิตอล


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/251366/กสทช.ขอ15วันเร่งส่งเงินทีวีดิจิตอลเข้าคลังตามประกาศคสช.



____________________________________

โฟกัสกรุ๊ปคูปองดิจิทัล กลุ่มผู้บริโภคชี้ 690 บาทเหมาะสมแล้ว



สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดย กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ และ กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ได้จัดประชุมระดมความเห็นกลุ่มย่อย (โฟกัส กรุ๊ป) เพื่อรับฟังความคิดเห็นเฉพาะประเด็นเรื่อง "แนวคิดการกำหนดมูลค่าคูปองที่คำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภคและประโยชน์สาธารณะ" ภายใต้โครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่าน ไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล ทั้งนี้มีทั้งภาคผู้บริโภค ภาคผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล และนักวิชาการร่วมพูดคุย

โดยนางสารี อ๋องสมหวัง ประธานองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า มูลค่าคูปองที่สูงขึ้นจะทำให้ราคาในตลาดเพิ่มมากขึ้นเช่นกันจากการสำรวจของทางคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 4 ครั้ง ตอนนี้อยากให้ กสทช. พิจสรณาว่าคูปองที่ราคาสูงขึ้นนั้นจะทำให้ราคากล่องสูงขึ้นด้วย

"คิดว่า 690 เป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว รวมทั้งควรสนับสนุนการเข้าถึงกลุ่มที่วีดิจิทัลเป็นหลัก ในช่วงแรกไม่อยากให้สนับสนุนทางด้านเคเบิ้ล และดาวเทียมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ทั้งนี้ยังยืนยันว่าราคา 690 บาทนั้นจะได้กล่องและเสาอากาศที่มีคุณภาพดีแน่นอน เราสำรวจมาแล้วกว่า 4 ครั้ง และมีการทดลองสั่งซื้อแล้วกว่า 5,000 กล่อง พบว่าราคา 690 บาทเหมาะสมแล้ว ทั้งนี้กล่องยังมีประกัน 5 ปี เสียเปลี่ยนได้เลยและคุณภาพดีอีกด้วย"

สอดคล้องกับความเห็นของตัวแทนกลุ่มองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ที่มองว่ามูลค่าคูปองที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 690 บาท พร้อมขอให้ กสทช.ให้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลในการเปลี่ยนผ่านจากอะแนล็อกเป็นดิจิทัลอย่างทั่วถึง รวมถึงช่วยแก้ปัญหาผู้ประกอบการบางรายหลอกลวงเรียกเก็บสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของประชาชนไปเพื่อเป็นล็อกสิทธิให้ประชาชนไปต้องนำคูปองไปแลกกล่องเฉพาะยี่ห้อ รวมถึงถ้าเป็นไปได้อาจจะมีการจัดประมูลการแจกกล่องทีวีดิจิทัลโดยตรงเลยอาจจะทำให้ราคากล่องลดลงอีก

นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ตัวแทนผู้บริโภค กล่าวว่าราคาคูปองทีวีดิจิทัลนั้นไม่ควรจะถกเถียงกันคิดว่า 690 เหมาะสมแล้ว และควรจะรีบแจกอย่างรวดเร็วทุกคนจะได้รับชมทีวีดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จะต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ด้วยเช่นกัน ฝาก กสทช.ตรวจสอบผู้ประกอบการที่มีคุณภาพด้วย เนื่องจากตอนนี้มีการสต็อกกล่องไว้แล้วกว่าแสนกล่องในแต่ละบริษัท

ด้านผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเสนอความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคืออยากให้กระบวนการแจกคูปองดิจิทัลเป็นไปอย่างรวดเร็วจะด้วยราคาเท่าไหร่ก็ได้ที่เป็นราคาที่เหมาะสม เพราะตอนนี้ผู้ประกอบการได้รับความเสียหายเป็นอย่างยิ่ง และไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขการใช้คูปองที่ครอบคลุมกล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีด้วย แต่การแจกคูปองทีวีดิจิทัลต้องไม่ให้เป็นภาระกับผู้บริโภคด้วย คือต้องครอบคลุมทั้งกล่องแปลงสัญญาณและเสาอากาศเพื่อให้ดูทีวีดิจิทัลได้ทันที





http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404962162

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.