Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2557 (บทความ) อนาคตทีวีดาวเทียม ในยุค กสทช. มือไม่พาย // เวลานี้ประเทศไทยมีระบบโทรทัศน์อยู่ 2 ระบบ 1.ระบบที่มีรายได้จากโฆษณา ที่เรียกว่าฟรีทีวี (Free TV) 2.ระบบที่มีรายได้จากผู้ชม ที่เรียกว่า เปย์ทีวี (Pay TV)


ประเด็นหลัก


กระนั้นก็ตาม ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ณ เวลานี้ประเทศไทยมีระบบโทรทัศน์อยู่ 2 ระบบ 1.ระบบที่มีรายได้จากโฆษณา ที่เรียกว่าฟรีทีวี (Free TV) 2.ระบบที่มีรายได้จากผู้ชม ที่เรียกว่า เปย์ทีวี (Pay TV)

______________________________________

อนาคตทีวีดาวเทียม ในยุค กสทช. มือไม่พาย



ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -หลังจากที่สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมหลายร้อยช่องได้ถูกระงับสัญญาณกลายเป็นจอดำ จากคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งผลให้ช่องทีวีดาวเทียมได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่มีรายได้จากโฆษณา อีกทั้งขณะนี้สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลก็คือการที่ คสช.ได้ส่งไม้ต่อให้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้ดูแล ทำให้ขณะนี้อนาคตโทรทัศน์ดาวเทียมตกอยู่ในภาวะมืดมนอนธการ
     
       ทั้งนี้ เนื่องเพราะมีความชัดเจนแล้วว่า กสทช.กำลังฉวยจังหวะนี้เข้ามาควบคุมโทรทัศน์ดาวเทียมแบบติดหนวดด้วยข้ออ้างนานัปการ ทั้งๆ ที่สถานีเหล่านี้จ่ายค่าธรรมเนียมให้ กสทช.อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
     
       กระนั้นก็ตาม ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ณ เวลานี้ประเทศไทยมีระบบโทรทัศน์อยู่ 2 ระบบ 1.ระบบที่มีรายได้จากโฆษณา ที่เรียกว่าฟรีทีวี (Free TV) 2.ระบบที่มีรายได้จากผู้ชม ที่เรียกว่า เปย์ทีวี (Pay TV)
     
       ประเด็นที่ กสทช.ถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็คือ กสทช.ได้ยัดเยียดเปลี่ยนทีวีดาวเทียมไปอยู่ในกลุ่ม เปย์ทีวี (Pay TV) ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันได้ว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบก็คือประชาชนจะต้องเสียค่าสมาชิก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งประเทศไทย ได้ขออนุญาตกสทช.ยกระดับทีวีดาวเทียมไปเป็นไม่มีการบอกรับสมาชิกที่ประชาชนไม่ต้องเสียค่าบริการเรียบร้อยแล้ว
     
       ดังนั้น จึงเกิดคำถามขึ้นว่า ทีวีดาวเทียมจะอยู่อย่างไรในอนาคต ในยุคที่ กสทช.จัดให้ธุรกิจทีวีเกิดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับฟรีทีวีทั้งที่ออกอากาศในระบบอะนาล็อกและระบบดิจิตอลยิ่งเห็นได้ชัด เพราะทีวีดาวเทียมได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการแค่ 1-2 ปีเท่านั้น ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เคยตกลงไว้ว่าถ้าช่องไหนไม่ได้ละเมิดกฎระเบียบกสทช. หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ก็สามารถต่อได้อีก 14 ปี ส่วนฟรีทีวีกลับได้ใบอนุญาตระยะยาวคือ 15 ปี
     
       นี่จึงเป็นความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น
     
       ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งประเทศไทย ได้สรุปความเคลื่อนไหวและการต่อสู้ที่สำคัญในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมาเอาไว้ 4 เหตุการณ์ด้วยกันคือ
     
       1.การยกฐานะจากทีวีเถื่อนเป็นทีวีดาวเทียม โดยสมาคมฯ นำสมาชิกไปขออนุญาต กสทช. เป็นโทรทัศน์ แบบไม่ใช้คลื่นความถี่ ที่ไม่มีการบอกรับสมาชิก หรือเรียกเก็บค่าบริการอื่น สมาชิกได้ใบอนุญาต 1 ปี และมีความหวังว่าถ้าไม่ผิดระเบียบจะได้ต่ออีก 14 ปี
     
       2.ทีวีภาคพื้นดินเปิดใหม่ 24 ช่อง ทุกช่องล้วนมีทุนช่องละหลายพันล้าน มีใบอนุญาต 15 ปี ต่างจากทีวีดาวเทียม ที่เป็น SME ส่วนใหญ่ได้ต่ออายุเพียง1 ปี ถึง 2 ปีเท่านั้น สมาคมฯ ได้ชี้แจง กสทช.ไปแล้ว และจะร้องเรียนต่อไปว่าโทรทัศน์ดาวเทียมต้องมีใบอนุญาตระยะยาว เพื่อเป็นหลักประกันในการกู้เงินลงทุนมาพัฒนาช่องรายการให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม
     
       3.ความเข้มงวดในการกำกับดูแลโฆษณา สมาคมได้เข้าร่วมกิจกรรมกับ อย. และ สคบ. เพื่อสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประกาศเตือนสมาชิกทั้งทางจดหมาย email Facebook และ line
     
       4. เมื่อมี คสช. สมาคมฯ ได้ออกแถลงการณ์ให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย ก่อนที่ คสช. ประกาศปิดทีวีทุกช่อง
     
       ทั้งนี้ หลังจากที่ทีวีดาวเทียมถูกปิดลง ทางด้านสมาคมฯ ได้จัดประชุมและรวบรวมคำร้องเร่งด่วนเพื่อยื่นต่อ คสช. ทันที ด้วยความหวังที่ว่าทีวีดาวเทียมจะเป็นทีวีเสรีให้กับสาธารณชน ทว่า กสทช.กลับอนุญาตให้แพร่ภาพเฉพาะโทรทัศน์แบบไม่ใช้คลื่นความถี่ ที่มีการบอกรับสมาชิก หรือเรียกเก็บค่าบริการอื่น
     
       “ขณะนี้เราโดนรุมทุกด้าน ด้านแรกเลย ด้านเทคโนโลยี ถามว่าทุกวันนี้ทีวีดาวเทียมมีเสรีภาพพอสมควรไหม ก็ต้องตอบว่ามีพอสมควรที่จะออกอากาศ แต่หลังจากที่ กสทช.จัดให้ 24 ช่องเข้ามา ถ้าต่างคนต่างอยู่ก็โอเค เพราะทุกฝ่ายต้องแข่งขันอย่างเสรี แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ ระเบียบ กสทช.ที่ออกมากลับไปหนุนดิจิตอลภาคพื้นดิน ไปฉวยโอกาส คสช.บล็อกพวกดาวเทียม เพราะเขาบอกว่า ทีวีดาวเทียมคุมลำบาก แต่ถ้า กสทช.ไปดูเรื่องราวเหล่านี้จริงๆ จะเห็นว่าทั่วโลกได้ต่อสู้กันมานาน อย่างยูเนสโกได้บอกว่า Many Voice one World คือเสรีภาพ แต่ถ้าตัดตรงนี้ออกไป คำว่า Many Voice จะหายไป มันจะเหลือ One Voice in Country หรือเปล่า เราอาจจะเห็นว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญ แต่โลกนี้เขาเห็นว่าสำคัญ”
     
       “อีกทั้งในวันนี้ไม่มีใครคิดจัดระเบียบโทรทัศน์จริงๆ กสทช.มีอำนาจที่จะทำ แต่เขาใจร้อน แล้วก็ตั้งระเบียบขึ้นมาหลายๆอย่างให้มันผิดเข้าไว้ อย่างเช่นให้โฆษณา 6 นาที ต่อหนึ่งชั่วโมง ทีวีดาวเทียมก็โอเคโฆษณา 6 นาที แต่เวลาเทคนิคดีเลย์มันมีนะ เราไม่ได้มีเครื่องมือมาก หรือว่าฉาก 2-3 ฉากมาเตรียมพร้อมรับ ของเราพอดีเลย์เราก็อัดโปรโมชั่นเข้าไป แล้วถ้าโปรโมชั่นมันเกิน 5นาที 6 นาทีไปเรื่อยๆ แบบนี้ ถ้าวันหนึ่งเราไปทำอะไรให้เขาไม่พอใจสักเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นโฆษณา เขาจะลงโทษตรงนั้นลำบากมาก แต่เขาหยิบกฎมาบอกว่า 6 นาทีเกินไป 2 นาที โคตรง่ายเลย
     
       “พอไม่ได้ออกอากาศดาวเทียมที่ได้รับผลกระทบ ก็ออกเดินขบวน ทุกคนเขียนบันทึกขอออกอากาศ แล้วสมาคมดาวเทียมฯก็รวบรวมเอาไปยื่นให้ คสช. พอรุ่งขึ้น คสช.ก็บอกให้บางส่วนได้ออกอากาศ แต่คสช.ก็ไม่ได้ทำเอง ไปให้ กสทช.ทำ แล้วก็ กสทช.ก็เขียนข้อบังคับขึ้นมาใหม่ ว่าประเภทนี้ห้ามออก ประเภทนี้ให้ออก แล้วประเภทที่ให้ออกได้คือกลุ่มที่ประมูลให้ เหตุผลอะไรครับคนที่ประมูลได้คือโทรทัศน์ภาคพื้นดิน แต่โทรทัศน์ดาวเทียมไม่ให้ออก เหตุผลอย่างเดียว กสทช.ได้ตังค์ใช่หรือไม่? ดาวเทียมมันได้ 2 เปอร์เซ็นต์มันน้อยเกินไปใช่มั้ย? จะเก็บกี่เปอร์เซ็นต์ไม่เท่าไหร่หรอก แต่การเก็บมันต้องดูว่าทำงานได้สตางค์หรือเปล่า”
     
       นี่ก็คือเสียงสะท้อนนายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมคนปัจจุบันที่อยากให้ กสทช.ได้ตระหนักรู้ พร้อมทั้งฝากให้นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมคนใหม่ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 14 กรกฎาคมที่จะถึงนี้สะสางปัญหาและสานต่อภารกิจที่ดำเนินการต่อไป
     

http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9570000078610&Keyword=%A1%CA%B7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.