Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2557 AIS.วิลาสินี ระบุ ทั้งนี้ในฐานของลูกค้าเอไอเอสทั้ง 42 ล้านราย ลูกค้าเอไอเอส เซเรเนด 4 ล้านราย และเอไอเอส เซเรเนด แพทตินั่ม 1 แสนราย


ประเด็นหลัก

นอกเหนือจากนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เอไอเอสยังให้ความสำคัญกับบริการเสริม และสิทธิพิเศษ (พริวิเลจ) อื่นๆ มาให้ลูกค้า ทั้งนี้ในฐานของลูกค้าเอไอเอสทั้ง 42 ล้านราย แต่ละคนจะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไป คิดเป็นลูกค้าเอไอเอส เซเรเนด 4 ล้านราย และเอไอเอส เซเรเนด แพทตินั่ม 1 แสนราย ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบการใช้บริการในสถานที่ หรือบริการต่างๆ ที่เอไอเอสเป็นพันธมิตร


______________________________________

ค่ายมือถือทุ่มกว่า'พันล.'ยกเครื่อง


"ค่ายมือถือ" ยกเครื่องงานบริการใหม่ หนุนความต้องการลูกค้าเพิ่ม "เอไอเอส" ทุ่ม 1,400 ล้านบาท ขยายช็อปทั่วประเทศ



นางวิลาสินี พุทธิการันต์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านงานบริการและบริหารลูกค้า บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า สิ่งที่เอไอเอสดำเนินการควบคู่กับการขยายโครงข่ายบริการ 3จี ให้มีคุณภาพและครอบคลุมไปยังลูกค้าในระบบ คือ งานด้านบริการ (คอนซูเมอร์ เซอร์วิส)โดยปีนี้บริษัทเน้นยกระดับช่องทางงานบริการสู่เอ็กซ์พีเรียนซ์ เซ็นเตอร์มากกว่า 2 แสนจุดทั่วประเทศ สร้างมิติใหม่งานบริการที่พัฒนาขึ้นทุกด้านสอดรับกระแสความนิยมสมาร์ทโฟนจากการเปิด 3จี 2100 มุ่งตอบสนองความต้องการลูกค้า และออกแบบให้ฟังก์ชันบริการต่างๆ ตอบสนองได้ในลักษณะของจุดให้บริการครบวงจรด้วยทีมงานบุคลากรมืออาชีพ

เอไอเอสเชื่อว่า ปีนี้การขยายตัวของสมาร์ทโฟนในภาพรวมของอุตสาหกรรมจะโตขึ้นกว่า 60% โดยไตรมาส 1 ที่ผ่านมา เอไอเอสมียอดลูกค้า 3จีแล้ว 26.3 ล้านราย ลูกค้าระบบ 2จี 16.1 ล้านราย ส่วนยอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนในฐานลูกค้าของเอไอเอสมีมากกว่า 29% ดังนั้นการรองรับเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าจึงเป็นหัวใจสำคัญ โดยได้เตรียมงบประมาณไว้กว่า 1,400 ล้านบาท เพื่อพัฒนางานบริการให้ครบถ้วนแบ่งเป็น 2ส่วน คือ งบประมาณ 700 ล้านบาทแรก ใช้ขยายเอไอเอส ช็อปเป็น 89 แห่งภายในสิ้นปีจากปัจจุบันที่มีอยู่ 46 แห่ง ล่าสุดเปิด เอไอเอส ช็อป ที่ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ มีเป้าหมายให้เป็นเอ็กซ์พีเรียนซ์ ช็อปอย่างสมบูรณ์แบบ

เพิ่มผู้ชำนาญการ

ในส่วนคู่ค้าร้านเทเลวิซ 450 แห่งก็จะปรับปรุงใหม่ ให้ส่งมอบงานบริการเทียบเท่ากับเอไอเอส ช็อปโดยปีนี้นอกเหนือจากการตกแต่งด้วยโฉมใหม่แล้ว ยังพัฒนากลุ่มพนักงานเทเลวิซ กูรู หรือผู้ชำนาญด้านสมาร์ทโฟนอีก 129 คน อำนวยความสะดวกลูกค้า อีกทั้งยังมีร้าน 3จี เซอร์วิสพอยท์ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอีกกว่า 1,300 แห่งที่สามารถให้บริการเบื้องต้น เช่น จดทะเบียน เปิดเบอร์ใหม่ อัพเกรดจากระบบ 2จี เป็น 3จี ให้ลูกค้าได้ทั่วถึงทุกอำเภอ ส่วนหน่วยเติมเงินวัน-ทู-คอลที่ปัจจุบันมีกว่า 200,000 จุด ที่ยกระดับจากการเติมเงินสู่การส่งมอบประสบการณ์ความพิเศษจากแพ็คเกจดาต้าให้ลูกค้าแบบเติมเงินซึ่งเป็นฐานใหญ่และกระจายอยู่ทั่วประเทศ

ส่วนงบประมาณอีก 700 ล้านบาทที่เหลือ เอไอเอสได้นำนวัตกรรมเข้ามายกระดับการบริการ เช่นล่าสุดบริการเรื่องเทคโนโลยี ที่สามารถปรับบริการอย่างสอดคล้องกับลูกค้าแต่ละคน พร้อมขยาย คอลล์เซ็นเตอร์สำหรับผู้พิการไปอีก 5 จังหวัดภายในสิ้นปีนี้ เช่น เชียงใหม่ หนองคายขอนแก่น โคราช และอุบลราชธานี รวมทั้งเอานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามายกระดับบริการและอำนวยความสะดวก ให้แก่ลูกค้ามากขึ้น เช่น เปิดตัวตู้คีออสอัจฉริยะที่ลูกค้าสามารถออกซิมใหม่ เลือกเบอร์สวย เบอร์มงคล หรือเปลี่ยนขนาดของซิมได้ด้วยตัวเอง เลือกแพ็คเกจ ดูรายละเอียดการใช้งานส่วนตัว

"ครึ่งปีหลังนี้ แนวโน้มการทำสิทธิพิเศษมอบให้ลูกค้าจะรุนแรงมากขึ้น มีการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น คู่ไปกับการขยายโครงข่าย และการทำการตลาด คิดโปรโมชั่นใหม่นำเสนอต่อลูกค้า

นอกเหนือจากนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เอไอเอสยังให้ความสำคัญกับบริการเสริม และสิทธิพิเศษ (พริวิเลจ) อื่นๆ มาให้ลูกค้า ทั้งนี้ในฐานของลูกค้าเอไอเอสทั้ง 42 ล้านราย แต่ละคนจะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไป คิดเป็นลูกค้าเอไอเอส เซเรเนด 4 ล้านราย และเอไอเอส เซเรเนด แพทตินั่ม 1 แสนราย ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบการใช้บริการในสถานที่ หรือบริการต่างๆ ที่เอไอเอสเป็นพันธมิตร

ดีแทคหารือ"ไลน์"เพิ่มบริการ

ด้านนายชัยยศ จิรบวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค กล่าวว่า ครึ่งปีหลังจะเห็นกิจกรรมทางการตลาดของดีแทคมากขึ้น การนำเสนอเครื่องรุ่นใหม่ๆ การออกแพ็คเกจบริการที่เข้าถึงลูกค้า มีเครื่องหลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่เครื่องไฮเอ็นด์ ถึงราคาต่ำ โดยจะเป็นเครื่องสมาร์ทโฟนเป็นหลักตามความต้องการใช้งานของลูกค้ายุคปัจจุบัน

พร้อมกันนี้ จะเปิดศูนย์บริการให้มากขึ้น ทั้งที่เป็นเซอร์วิส ฮอลล์ และศูนย์บริการแฟรนไชส์ ที่ผ่านมาได้พัฒนาพนักงานภายในศูนย์บริการให้เป็นสมาร์ทโฟน เอ็กซ์เปิร์ต (Smartphone Expert) โดยเอ็กซ์เปิร์ตได้รับการอบรมกับเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง อย่างระบบปฏิบัติการไอโอเอส แอนดรอยด์ วินโดว์สโฟน

ปัจจุบัน มีสมาร์ทโฟน เอ็กซ์เปิร์ต กว่า 300 คน และจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความเชี่ยวชาญหลายระดับ เพราะต้องยอมรับว่า ลูกค้ามีรีเควสต์มากขึ้น ดีแทคก็ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นตามไปด้วย

บริษัทพยายามให้บริการผ่านทุกช่องทาง ช่องทางโซเชียล เน็ตเวิร์ค เป็นอีกช่องทางที่ดีแทคให้ความสำคัญ ตอนนี้อยู่ระหว่างคุยกับ "ไลน์"แอพพลิเคชั่นสนทนา เพื่อพัฒนาแอพต่อยอด เชื่อมข้อมูลกับส่วนกลาง ให้พนักงานคุยโต้ตอบบริการกับลูกค้าได้ทันที จากปัจจุบันมักใช้เป็นเอสเอ็มเอส แต่ต้องยอมรับว่าเอสเอ็มเอส กระแสคนใช้น้อยลง

ขณะเดียวกัน ดีแทคยังมุ่งพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ให้ลูกค้าเช็คบริการต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง รีเควสต์เรื่องต่างๆ ผ่านโมบายแอพได้เลยโดยปลายปีนี้เตรียมเปิดตัวแอพ "สมาร์ทคิว" เป็นวิธีการให้บริการแบบใหม่เชื่อม physical world กับ mobile channel เพื่อพัฒนาการให้บริการ

ดีแทคจะมีโปรแกรมที่เรียกว่า Fast Program ประกอบไปด้วย Friend, Action, Smart, Teamwork โดยจะดูแลลูกค้าภายใต้องค์ประกอบเหล่านี้

"จากนี้ไปต้องทำให้ลูกค้า "รัก" เราด้วย จากแต่ก่อนแค่ให้ชอบ หรือไม่เกลียดก็ถือว่ายากแล้ว แต่ต่อไปต้องทำให้รักด้วย ถือว่ายากสุด" นายชัยยศ กล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140711/592670/ค่ายมือถือทุ่มกว่าพันล.ยกเครื่อง.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.