Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 กรกฎาคม 2557 sipa.มนต์ชัย ระบุ โดยเฉพาะในกลุ่มของแอนิเมชั่นและเกม จากแรงผลักของ 3G และทีวีดิจิทัล ทำตลาดแอนิเมชั่นมีมูลค่ารวมกว่า 9,000 ล้านบาท และเกมมีมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท


ประเด็นหลัก

มนต์ชัย ศรีเจริญศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า ภาพรวมตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ไทยมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของแอนิเมชั่นและเกม จากแรงผลักของ 3G และทีวีดิจิทัลทำให้ผู้ประกอบการมีพื้นที่นำเสนอมากขึ้น ทำให้กลุ่มของแอนิเมชั่นและเกมมีความโดดเด่นมาก โดยจากการสำรวจเมื่อปี 2555 ตลาดแอนิเมชั่นมีมูลค่ารวมกว่า 9,000 ล้านบาท และเกมมีมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท แม้ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลอัพเดต แต่คาดว่ามูลค่าตลาดจะสูงเกิน 10,000 ล้านบาทไปแล้ว

แอนิเมชั่นแบ่งออกเป็นสายแอนิเมชั่นล้วน และสายองค์ประกอบของแอนิเมชั่นที่สามารถพบได้ตามโฆษณาต่าง ๆ ขณะที่สัดส่วนงานคนไทย 80% เป็นการทำเอาต์ซอร์ซให้ต่างชาติ 20% ผลิตซีรีส์แอนิเมชั่นของตัวเอง ซึ่งสามารถนำแคแร็กเตอร์ไปต่อยอดสร้างสินค้า (Licensing) ได้ อย่างกรณี บลัดดี้ บันนี่ หรือเดอะ สลัดด้านผู้ประกอบการอย่าง นิธิพัฒน์ สมสมาน นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) มองว่า แอนิเมชั่นและกราฟิกไทยเติบโตได้มาก ต่างประเทศเชื่อมั่น ซึ่งไทยได้เปรียบด้านความคิดสร้างสรรค์ ราคาและการให้บริการที่เป็นมิตร



______________________________________

แอนิเมชั่น-คอนเทนต์ไทย โอกาสหรือวิกฤตยุคทีวีดิจิทัล


การเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลที่เริ่มออกอากาศแล้ว 27 ช่อง และจะมีครบเต็มรูปแบบ 48 ช่องในอีก 2-3 ปีนี้ หลายฝ่ายคาดว่าจะเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้วงการดิจิทัลคอนเทนต์และแอนิเมชั่นไทย อาทิ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าจำนวนช่องที่มากขึ้น จะทำให้ความต้องการ Visual Effect ที่จะมาประกอบเป็นรายการทีวีหรือโฆษณามีสูงขึ้น และมีช่องรายการเด็กถึง 3 ช่อง ที่กระตุ้นให้ธุรกิจแอนิเมชั่นคึกคักขึ้น

ตลาดเกม-แอนิเมชั่นคึกคัก

มนต์ชัย ศรีเจริญศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า ภาพรวมตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ไทยมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของแอนิเมชั่นและเกม จากแรงผลักของ 3G และทีวีดิจิทัลทำให้ผู้ประกอบการมีพื้นที่นำเสนอมากขึ้น ทำให้กลุ่มของแอนิเมชั่นและเกมมีความโดดเด่นมาก โดยจากการสำรวจเมื่อปี 2555 ตลาดแอนิเมชั่นมีมูลค่ารวมกว่า 9,000 ล้านบาท และเกมมีมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท แม้ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลอัพเดต แต่คาดว่ามูลค่าตลาดจะสูงเกิน 10,000 ล้านบาทไปแล้ว

แอนิเมชั่นแบ่งออกเป็นสายแอนิเมชั่นล้วน และสายองค์ประกอบของแอนิเมชั่นที่สามารถพบได้ตามโฆษณาต่าง ๆ ขณะที่สัดส่วนงานคนไทย 80% เป็นการทำเอาต์ซอร์ซให้ต่างชาติ 20% ผลิตซีรีส์แอนิเมชั่นของตัวเอง ซึ่งสามารถนำแคแร็กเตอร์ไปต่อยอดสร้างสินค้า (Licensing) ได้ อย่างกรณี บลัดดี้ บันนี่ หรือเดอะ สลัดด้านผู้ประกอบการอย่าง นิธิพัฒน์ สมสมาน นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) มองว่า แอนิเมชั่นและกราฟิกไทยเติบโตได้มาก ต่างประเทศเชื่อมั่น ซึ่งไทยได้เปรียบด้านความคิดสร้างสรรค์ ราคาและการให้บริการที่เป็นมิตร

โอกาสจากทีวีดิจิทัล

กฤษณ์ ณ ลำเลียง นายกสมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย กล่าวว่า ทีวีดิจิทัลเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ในการนำเสนอผลงาน อาทิ ในช่องรายการเด็ก ซึ่งเริ่มมีการจ้างผลิตคอนเทนต์ป้อนช่องทีวีดิจิทัลแล้ว คาดว่าตลาดน่าจะเติบโตปีละ 10% ขณะที่เทรนด์แอนิเมชั่นเริ่มกลับมาอีกครั้ง แต่ละวันทั่วโลกมีการจ้างผลิต 10 เรื่อง ซึ่งคนไทยจะได้งานเอาต์ซอร์ซจากญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป

"ทีวีดิจิทัลทำให้เกิดการแย่งตัวไปทำงาน เช่นเดียวกับนายนิธิพัฒน์ที่กล่าวเสริมว่า การเกิด 24 ช่องดิจิทัล ทำให้เกิดความต้องการตัวบุคคลากรที่ทำกราฟิกมาก เรียกได้ว่าต้องแย่งตัวกันทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของวิชวลเอฟเฟ็กต์, อินโฟกราฟิก และแอนิเมชั่น เด็กที่จบใหม่ถูกกว้านตัวเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ"

นายกสมาคม TACGA กล่าวว่า กลุ่มสร้างงานภาพเคลื่อนไหวคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG) และเทคนิคพิเศษ (VFX) จะได้รับอานิสงส์จากทีวีดิจิทัลมากที่สุด เพราะเป็นที่ต้องการของตลาด คาดว่าในส่วนงานสื่อโทรทัศน์เติบโตราว 2% หรือราว 70,800 ล้านบาท

วิกฤตฉุดโอกาส

นิธิพัฒน์ กล่าวต่อว่า โดยภาพรวมเหมือนอุตสาหกรรมจะเติบโตไปได้ดี แต่จริง ๆ มีปัญหาสะสมอยู่ทั้งความไม่เข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลแบบความคมชัดสูง (HD) ของทั้งเจ้าของรายการหรือแบรนด์สินค้า/บริการที่ทำคอนเทนต์ป้อนช่องดิจิทัล HD ทั้งการรุกเข้ามาของบริษัทต่างชาติที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานแรงงาน

"เจ้าของเงินที่ว่าจ้างเข้าใจว่า นักพัฒนา CG-VFX หรือแอนิเมชั่นก็ทำงานเหมือนเดิม เพียงแค่ทำให้ภาพชัดขึ้น ทั้งที่คุณภาพของคอนเทนต์ HD ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าเดิม 3-4 เท่า ทั้งอุปกรณ์ จำนวนคน ความประณีต และเวลาในการผลิต ซึ่งคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่กลับต้องการจ่ายในราคาเดิม ทีวีดิจิทัลทำให้ตลาดในประเทศบูม มีงานมากขึ้นจริง แต่ในฐานะคนทำงานยิ่งทำยิ่งเข้าเนื้อ รายได้สู้ไปรับงานจากต่างประเทศที่เข้าใจการทำงานป้อนดิจิทัลแบบ HD มานานแล้วไม่ได้ ขณะที่งานแอนิเมชั่นก็นิยมซื้อลิขสิทธิ์ของต่างชาติมาฉาย เพราะถูกกว่าจ้างผลิตที่ต้องใช้เวลาสร้างราว ๆ 2 ปี"

ขณะที่ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจนี้ ทำให้ขาดแคลนเงินทุนในการจะขยายหรือต่อยอดธุรกิจ อาทิ ต้นทุนที่สำคัญอย่างค่าไลเซนส์ซอฟต์แวร์ที่แต่ละบริษัทเฉลี่ยต้องใช้เงินราว 1.5 แสนบาทต่อพนักงานต่อปี แต่ในอีกด้านหนึ่งรัฐบาลกลับเสนอสิทธิพิเศษด้านภาษีและการลงทุนให้กับผู้ ประกอบการต่างชาติ โดยหวังว่าจะช่วยดึงดูดการลงทุน แต่กลายเป็นการสร้างแต้มต่อให้ทุนต่างชาติเข้ามาตั้งบริษัทเพื่อจ้างคนไทย เป็นฐานการผลิตราคาถูก แล้วนำรายได้กลับประเทศไปโดยที่ประเทศไทยแทบไม่ได้อะไร แถมยังเป็นการทำร้ายผู้ประกอบการไทยด้วย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เริ่มเห็นได้ชัดในช่วง 2-3 ปีนี้

สิ่งที่สมาคมพยายามผลักดัน คือ หารือกับกระทรวงวัฒนธรรมให้สนับสนุนการตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ แอนิเมชั่นไทยให้เป็นสินค้าที่พร้อมส่งออก เช่นเดียวกับในหลายประเทศที่ภาครัฐให้เงินทุนสินค้าที่เกิดจากอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ โดยกองทุนนี้ใน 2 รูปแบบ คือ การให้เงินสนับสนุนตามโครงการต่าง ๆ ที่ทางผู้ประกอบการเสนอเข้าไป หรือเป็นรูปแบบที่ให้ผู้ประกอบการสามารถลดหย่อนภาษีได้ 30% และขั้นตอนต่อไปอาจเข้าพูดคุยกับตลาดหลักทรัพย์ฯและกระทรวงการคลัง

ขณะเดียวกันภาครัฐโดยเฉพาะสถาบันการศึกษา ควรปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาด้านนี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลักสูตรระดับปริญญาตรีกว่า 30 หลักสูตร แต่มีเด็กที่จบมาพร้อมทำงานได้จริงไม่ถึง 10% ทำให้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเป็นปัญหาเรื้อรังของอุตสาหกรรมนี้

อย่างไรก็ตาม สมาชิกสมาคม TACGA ที่มีผู้ประกอบการกว่า 60 บริษัท ก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือกันเองก่อน โดยจะเริ่มจากการวางกรอบราคากลางในการรับงานแต่ละประเภท เพื่อไม่ให้ถูกกดราคา

ซิป้ายังหนุนต่อเนื่อง

ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการตลาดฯ ซิป้า ระบุว่า พยายามผลักดันให้ไทยเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาค โดยเร่งพัฒนาบุคลากร พร้อมอบรมทักษะด้านธุรกิจ และจัดกิจกรรมให้ผู้ประกอบการไทยได้เจรจาธุรกิจกับแหล่งทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในการทำตลาดต่างประเทศ อาทิ โครงการ Angel in the City ที่จัดให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลมาแนะวิธีพัฒนาความสามารถในการหา เงินทุน หรือ Tycoon Chic ที่เป็นการนำผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนต์มาเข้าค่ายแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การทำธุรกิจ และงาน BICF 2014 เพื่อเปิดเจรจากับคู่ค้าต่างประเทศ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404993919

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.