Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) กสทช. ระบุ การจัดสรรคลื่นความถี่ ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ในมาตรา 45 ต้องแก้ไขต้องประมูลอย่างเดียว!! ไม่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย

ประเด็นหลัก



       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้กล่าวถึงเรื่องคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 94/2557 เรื่องการระงับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้ กสทช. ชะลอการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ออกไปเป็นระยะเวลา 1ปีนับจากวันที่มีคำสั่ง และให้ กสทช. ดำเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ออกกฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง หรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกกฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเจตนารมณ์ของคำสั่งฉบับนี้ เนื่องจากพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีจุดอ่อนและอุปสรรค รวมทั้งไม่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย และทำให้ผู้ปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้มีความยุ่งยาก และเกิดอุปสรรค
   
       โดยเฉพาะการจัดสรรคลื่นความถี่ ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ในมาตรา 45 ที่ระบุว่า 'ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่.....'
   
       ทำให้เกิดข้อจำกัดในการจัดสรรคลื่นความถี่ที่จะสามารถใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการประมูลคลื่นความถี่นั้นอาจไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมและเป็นวิธีที่ดีที่สุดเสมอไปในบางกรณี อีกทั้งยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นบางประการส่งผลให้กิจการในอุตสาหกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ต้องเข้าประมูลไปด้วยอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และพบว่าเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มอุตสาหกรรมโลก

______________________________




ประธานกทค.ระบุคำสั่งคสช.ชะลอประมูลความถี่ 1 ปีเดินมาถูกทาง




       'พ.อ.เศรษฐพงค์' ประธานกทค.ยืนยันคำสั่งคสช.ชะลอประมูลความถี่โทรคมนาคม 1 ปีถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว เพราะจำเป็นต้องปรับปรุงมาตรา 45 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และคำสั่งคสช.ยังทำให้ลูกค้าในย่านความถี่ 1800 MHz มั่นใจได้ว่าไม่เกิดเหตุการณ์ซิมดับแน่นอน
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช.ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้กล่าวถึงเรื่องคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 94/2557 เรื่องการระงับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้ กสทช. ชะลอการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ออกไปเป็นระยะเวลา 1ปีนับจากวันที่มีคำสั่ง และให้ กสทช. ดำเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ออกกฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง หรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกกฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเจตนารมณ์ของคำสั่งฉบับนี้ เนื่องจากพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีจุดอ่อนและอุปสรรค รวมทั้งไม่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย และทำให้ผู้ปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้มีความยุ่งยาก และเกิดอุปสรรค
     
       โดยเฉพาะการจัดสรรคลื่นความถี่ ตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ในมาตรา 45 ที่ระบุว่า 'ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่.....'
     
       ทำให้เกิดข้อจำกัดในการจัดสรรคลื่นความถี่ที่จะสามารถใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งการจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยวิธีการประมูลคลื่นความถี่นั้นอาจไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมและเป็นวิธีที่ดีที่สุดเสมอไปในบางกรณี อีกทั้งยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นบางประการส่งผลให้กิจการในอุตสาหกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ต้องเข้าประมูลไปด้วยอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และพบว่าเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มอุตสาหกรรมโลก
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวว่า คสช. มาถูกทางที่ให้มีการปฏิรูปกฎหมายโทรคมนาคมก่อน โดยเฉพาะในส่วนของการจัดสรรคลื่นความถี่ ก่อนที่จะขับเคลื่อนในส่วนอื่นๆต่อไป อีกทั้งในคำสั่ง คสช. ยังมีการนำประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พ.ศ. 2556 หรือประกาศห้ามซิมดับ มาใช้คุ้มครองผู้บริโภค จึงชัดเจนแล้วว่าประกาศห้ามซิม ดับของ กสทช. มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อประชาชนและสาธารณะอย่างแท้จริง เนื่องจากทำให้ประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าการดำเนินการของ กทค. เป็นไปด้วยความถูกต้อง และถูกทางแล้ว และยังได้ปฏิเสธกระแสข่าวลือที่ว่า กสทช. จะคืนคลื่นความถี่ให้แก่บริษัท กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที เป็นเวลา 15 ปี ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
     
       ประธานกทค.ยังได้กล่าวถึงผลการดำเนินการของ กสทช. ในส่วนของ กทค. ในช่วงปีที่ผ่านมาว่าผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz และการดำเนินโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม หรือ USO ซึ่งได้ทำโครงการขยายโครงข่ายบริการโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึง ใน 2 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก และหนองคาย และจะดำเนินการในจังหวัดที่เหลือต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดให้มีโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ภายในระยะเวลา 5 ปี ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโทรคมนาคมและสารสนเทศอย่างทั่วถึง ซึ่งผลงานเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นตามไปด้วย
     
       ภายหลังจากการให้บริการเครือข่าย 3G บนความถี่ย่าน 2.1 GHz เพียงไม่นานพบว่าผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตได้มีการขยายโครงข่ายออกไปในหลายพื้นที่มากขึ้น จำนวนผู้ใช้บริการบนเครือข่าย 2.1 GHz มีจำนวนทั้งสิ้น 43.7 ล้านเลขหมาย เป็นผู้ใช้บริการรายใหม่ถึง 25.6 ล้านเลขหมาย จากจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งสิ้นประมาณ 94 ล้านเลขหมาย (ข้อมูล เดือนมีนาคม 2557) และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
     
       ***ผลสำเร็จครั้งประมูลความถี่ 2.1 GHz
     
       จากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจไทยพาณิชย์, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), ธนาคารแห่งประเทศไทย และ Frost & Sullivan ได้วิเคราะห์ถึงมูลค่าเพิ่มของธุรกิจโทรคมนาคมและเศรษฐกิจไทย จากการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่บนความถี่ย่าน 2.1 GHz ในช่วงปีที่ผ่านมา ดังต่อไปนี้ ผลทางตรง 1.มีเงินเข้ารัฐ 4.1 หมื่นล้านบาท เป็นรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz นำส่งเป็นค่าทรัพยากรสาธารณะให้แก่กระทรวงการคลัง และถือเป็นรายได้เข้าประเทศ 2. มีเงิน 3 พันล้านบาทต่อปี เป็นค่าธรรมเนียมในการกำกับดูแล (regulatory fees) ของผู้ประกอบการบนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz
     
       ส่วนผลประโยชน์ทางอ้อมนั้น 1.การลงทุนรวมในอุปกรณ์โครงข่าย เช่น core network และสายเคเบิลในช่วง 3-5 ปีแรก ภายหลังการประมูลประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาทต่อปี 2.มูลค่าตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2557 ซึ่งเติบโตปีละ 30% จากช่วงก่อนการประมูล 3G ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท 3.มูลค่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2557 ซึ่งเติบโต 26% จากปีก่อนหน้า ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท 4.มูลค่าการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile Banking เช่น การโอนเงิน และการชำระค่าบริการต่างๆ ประมาณ 7 แสนล้านบาท
     
       5.มูลค่าตลาดของ Internet Data Center ในปี 2557 ซึ่งเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% เมื่อเทียบจากปี 2012 ด้วยดีมานด์จากลูกค้าองค์กรเมื่อการดึงข้อมูลทำได้เร็วขึ้นจาก 3G ประมาณ 2 พันล้านบาท 6.เม็ดเงินโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ซึ่งดึงดูดให้เกิดการสร้างแอปพลิเคชัน และคอนเทนต์บนมือถือในรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประมาณ 1 พันล้านบาท 7.ในปี 2557 กลุ่มธุรกิจต่างๆ จะมีการใช้สื่อดิจิตอลในการโฆษณามากขึ้น โดยมีมูลค่าประมาณเพิ่มจากปี 2556 ประมาณ 38% หรือ 5.8 พันล้านบาท
     
       นอกจากการเติบโตทางภาคธุรกิจดังกล่าวข้างต้น ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจกระทบต่อเนื่องกันไป ดังนั้น การใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่แสดงจากอัตราการเข้าถึงบริการของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ถือเป็นตัวแปรสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในอนาคต
     
       ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากิจการโทรคมนาคมสามารถผลักดัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ในหลายทิศทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือ ที่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคน ยุคใหม่ ยิ่งเป็นข้อสนับสนุน และกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริการโทรคมนาคมกลายเป็นบริการที่ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างมหาศาล
     
       นอกจากนี้ การเติบโตดังกล่าวยังช่วยส่งเสริม และพัฒนาแนวทางการศึกษาพื้นฐานของประเทศ ช่วยลดช่องว่างทางสังคม โดยโครงการ USO ที่แล้วเสร็จใน 2 จังหวัดนำร่องดังกล่าว จะช่วยเพิ่มอัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์ในพื้นที่ห่างไกล และผู้ด้อยโอกาสในสังคม เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารจะช่วยผลักดันมิติแห่งการเรียนรู้ให้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลาในสังคม อันจะส่งผลถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาของประเทศไทยด้วย
     
       ***ไม่เกิดเหตุการณ์ซิมดับแน่
     
       ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. กล่าวว่า กสทช.พร้อมที่จะทำตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 94/2557 เรื่องการระงับการดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 18 ก.ค.2557 โดยมีผลทำให้การประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม และเดือนพฤศจิกายน ปี 2557 ตามลำดับ ต้องชะลอออกไปก่อนเป็นระยะเวลา 1 ปีและคาดว่าจะสามารถดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลความถี่ได้ประมาณเดือนกรกฏาคม ปี 2558 โดยจะทำให้ลูกค้าของทรูและดีพีซี ที่ยังคงใช้ซิมในคลื่นความถี่ 1800 MHz ยังสามารถใช้งานได้ไปอีก 1 ปี ดังนั้นซิมจะไม่ดับลง

ประธานกทค.ระบุคำสั่งคสช.ชะลอประมูลความถี่ 1 ปีเดินมาถูกทาง
คำสั่งคสช.ชะลอประมูลความถี่ 1 ปีจะทำให้ลูกค้าของทรูและดีพีซี ที่ยังคงใช้ซิมในคลื่นความถี่ 1800 MHz ยังสามารถใช้งานได้ไปอีก 1 ปี ดังนั้นซิมจะไม่ดับลงแน่นอน

       'การชะลอการประมูลดังกล่าวไม่ใช่การขยายสัญญาสัมปทานใดๆ ซึ่งลูกค้าที่ใช้งานซิมดังกล่าวจะย้ายไปสู่คลื่นความถี่อื่นก็ได้ หรือไม่ย้ายก็ได้ตามแต่ความต้องการของประชาชน ส่วนคลื่น 900 MHzซึ่งสัญญาสัมปทานสิ้นสุดเดือนกันยายนปี 2558 หากมีการออกกฏเกณฑ์การประมูลไม่ได้ในเดือนกรกฎาคม 2558 ก็จะต้องมีการเยียวยาเช่นกัน โดยปัจจุบันมีลูกค้าในคลื่นความถี่ 1800 MHz อยู่กว่า 7 ล้านเลขหมาย ส่วน 900 MHz 16 ล้านเลขหมาย'
     
       นายฐากร กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลาที่มีอยู่ 1 ปี กสทช.จะสามารถทำการแก้ไข ปรับปรุงกฎระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม ซึ่งกสทช.จะรีบดำเนินการแก้ไขปรับปรุง พรบ.คลื่นความถี่ ที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรคอย่างเช่น พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่มาตรา 45 ให้สำเร็จก่อนค่อยให้ประมูลต่อไปโดยจะเร่งนำส่งให้คสช.พิจารณา โดยด่วน เพื่อให้การประมูลในครั้งนี้เกิดความเป็นธรรม
     
       สำหรับ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มาตรา 45 จะมีการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องจากเดิมที่ให้ประมูลได้อย่างเดียวเป็นสามารถดำเนินการได้หลายแนวทาง เพื่อให้มีทางเลือกอื่นๆ อย่างเช่นคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของหน่วยงานรัฐอาจจะใช้วิธีอื่นแทน โดยจะทำข้อเสนอเข้าไปว่าคลื่นความถี่ใดบ้างที่จะทำการประมูลและคลื่นใดบ้างที่สามารถจัดสรรได้ รวมไปถึงกฏเกณฑ์ต่างๆ เช่นมาตรฐานการให้บริการ ที่จะต้องปรับปรุงตามประกาศใหม่ของคสช. ซึ่งการแก้ไขจะคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐและประโยชน์ของสาธารณชน
     
       'จากการประกาศดังกล่าวนี้ในด้านผลกระทบเศรษฐกิจจะไม่ได้เสียอะไรมากมาย ในขณะที่ประชาชนจะสามารถใช้งานซิมต่อไปได้ ส่วนการแก้ไขข้อกฏหมายก็จะก่อให้เกิดความชัดเจนในทุกด้าน ซึ่งกสทช.ได้นำเสนอแนวทางต่างๆให้คสช.ไปแล้วหลายแนวทาง และคาดว่าข้อเสนอที่เราส่งไปให้คสช. นั้นเมื่อแล้วเสร็จ คสช.ก็จะส่งไปยัง สนช.ที่จะจัดตั้งขึ้นในเร็วๆ นี้ทำหน้าที่พิจารณา โดยต้องรอกฏหมายให้เสร็จก่อนถึงจะรู้ได้ว่าจะทำอย่างไรกับคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ใน 1 ปีนับจากนี้'
     
       ***ค่ายมือถือยังรอความหวัง
     
       ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า 'จากกรณีที่คสช.ประกาศ เลื่อนการประมูล 4G ไป ก่อนนั้น บริษัท เอไอเอสเห็นว่าเป็นเรื่องดีเพราะมีความชัดเจนว่าจะมีการประมูลเกิดขึ้นแน่ และการเลื่อนก็ไม่ได้รับผลกระทบ แต่อย่างไร เพราะเอไอเอสได้มีแผนรองรับอยู่แล้ว โดยบริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวการประมูลไว้แล้วในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นงบประมาณในการลงทุนและทีมงาน เป็นต้น
     
       อย่างไรก็ตามหากคสช. ประกาศให้มีการประมูลเมื่อไร บริษัทเองก็มีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลทันทีเช่นกัน นอกจากนี้บริษัทมองว่า การประกาศ เลื่อนประมูล 4 G ของ คสช.ในครั้งนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะถือเป็นโอกาสดีที่จะได้พัฒนาระบบ และอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆที่จะนำมาใช้ในการให้บริการ 4G ในอนาคตด้วยเป็นที่ทราบกันว่า เทคโนโลยี มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว'
     
       ด้านนายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ถ้าการประมูลคลื่นความถี่ถูกชะลอไป 1ปี ตามประกาศคสช. จะยังไม่มีผลกระทบในทันทีกับดีแทค เพราะคลื่นความถี่ที่มีอยู่พอเพียงที่ให้บริการกับลูกค้า ซึ่งปัจจุบัน ดีแทคมีคลื่นความถี่ให้บริการ 3G จำนวนมากถึง 25MHz อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจำเป็นต้องการการประมูลเพื่อวางแผนลงทุนระยะยาว และการสร้างความมั่นใจให้บริการด้วยคุณภาพกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยล่าสุดเพื่อลูกค้าทั้งระบบ




http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000081325





ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.