Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2557 (บทความ) ยกแรก ยกเครื่อง กสทช. คุมเงินกองทุน-ปลดล็อกวิทยุชุมชน // กรณีคูปอง!! ประชุมบอร์ด กทปส.ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ให้มาทำหน้าที่ต่อไป

ประเด็นหลัก


แต่กรณีการแจกคูปองทีวีดิจิทัล แต่ยังต้องรอให้ "คสช." อนุมัติ หลังจากสรุปความเห็นจากเวทีประชาพิจารณ์ 4 ครั้ง เสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณาก่อนส่งต่อไปยัง คสช.ให้ความเห็นชอบก่อน คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้ และใช้เวลาเตรียมการพิมพ์-วางระบบคูปองอีก 1 เดือน น่าจะแจกได้ราวเดือน ก.ย.นี้

นอกจากนี้ ประกาศ คสช.ยังเพิ่มวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน กทปส. โดยเปิดให้กระทรวงการคลังยืมเงินกองทุนเพื่อนำไปใช้ในกิจการของรัฐอันเป็นประโยชน์สาธารณะได้ รวมถึงแก้ไของค์ประกอบของบอร์ดบริหารกองทุน โดยตัดตำแหน่งกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 5 สาขาออก เหลือเพียงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ไม่จำกัดสาขา) 2 คน

และกรรมการโดยตำแหน่งได้เพิ่มปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเข้ามาอีก 2 ตำแหน่ง จากเดิมมีประธาน กสทช.เป็นประธานบอร์ด และมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการสภาพัฒน์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการเนคเทค (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ) เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้เลขาธิการ กสทช.เป็นกรรมการและเลขานุการบอร์ด รวมแล้วบอร์ด กทปส.ชุดใหม่จะมี 10 คน น้อยกว่าเดิมที่มี 11 คน

อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้กระทรวงคลังยืมเงินกองทุน กทปส.ไปใช้ได้ จะทำได้ในกรณีที่ยังไม่มีการอนุมัติแผนการใช้เงิน หากอนุมัติไปแล้วก็จะไม่สามารถยืมได้ เพราะกระทบกับแผนการใช้เงินของกองทุน กทปส.

"ประกาศ คสช.มีผลให้กรรมการผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พ้นจากตำแหน่งทันที ในสัปดาห์หน้าจะมีการเรียกประชุมบอร์ด กทปส.ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ให้มาทำหน้าที่ต่อไป เลขาธิการ กสทช.ไม่มีสิทธิโหวต จึงมีแค่กรรมการโดยตำแหน่ง 7 คน ที่ลงคะแนนเลือกได้ อาจคัดเลือกจากคนนอก หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมก็ได้"

"หลังจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลง อื่น ๆ ใน กสทช.อีกหรือไม่ รวมถึงจะมีการประมูลคลื่น 4G หรือเปล่า คงต้องรอ คสช.ซึ่งในขณะนี้คงยังบอกอะไรไม่ได้" เลขาธิการ กสทช.ย้ำ


______________________________




ยกแรก ยกเครื่อง กสทช. คุมเงินกองทุน-ปลดล็อกวิทยุชุมชน



เป็นที่จับตามาตลอดสำหรับ "กสทช." หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าจะอยู่หรือไป หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (รึเปล่า) หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาแตะเบรกขอทบทวนหลายโปรเจ็กต์สำคัญ ทั้งการแจกคูปองทีวีดิจิทัล, การประมูลคลื่น 4G ทั้งย่าน 1800 MHz และ 900 MHz รวมถึงบริการทีวีดาวเทียม, เคเบิลทีวี และวิทยุชุมชน ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหามากมาย

ฟากกิจการกระจายเสียง (วิทยุ) และกิจการโทรทัศน์ "คสช." กดปุ่มหยุดโดยระงับการออกอากาศไว้ก่อนใครเพื่อน เพื่อไม่ให้เผยแพร่ข้อมูลที่กระทบความสงบและความมั่นคงของประเทศชาติ จากนั้นจึงเริ่มส่งไม้ต่อให้ "กสทช." กำกับดูแลต่อ โดยทยอยอนุมัติให้กลับมาออกอากาศได้โดยลำดับ กรณี "ทีวีดาวเทียม" ต้องแลกกับการเข้าสู่เงื่อนไข "เพย์ทีวี" ที่จำกัดเวลาโฆษณา (6 นาที/ชั่วโมง)

ปัจจุบันมีช่องรายการทั้งเคเบิลและทีวีดาวเทียมกลับมาออกอากาศได้แล้ว 469 ช่อง จาก 753 ช่องที่ได้ใบอนุญาต แต่ฝั่ง "วิทยุชุมชน" ตั้งแต่หยุดการออกอากาศไป ก็ยังไม่มีรายใดได้กลับมาอากาศอีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้รวมตัวกันไปยื่นหนังสือทั้งกับ กสทช.และ คสช. เพื่อเร่งรัดให้กลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง

"กสทช." ต้องการใช้จังหวะนี้จัดระเบียบใหม่ แต่ไม่ทันใจผู้ประกอบการ ล่าสุด "คสช." จัดให้ออกประกาศ ฉบับที่ 79 ให้ "กสทช." คืนสิทธิในการออกอากาศแก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุจาก กสทช. โดยอุปกรณ์ส่งสัญญาณออกอากาศทั้งหมดจะต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจาก กสทช. เพื่อแก้ปัญหาคลื่นรบกวนด้วย รวมถึงต้องไม่ออกอากาศเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมตามประกาศ คสช.ก่อนหน้านี้ (ดูรายละเอียดตามกราฟิก)

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ระบุว่า หากผู้ประกอบการรายใดผ่านคุณสมบัติข้างต้น ให้ไปรายงานตัวที่สำนักงาน กสทช.เขตทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ส่งรายชื่อขึ้นประกาศคืนสิทธิบนเว็บไซต์ กสทช.ได้ทันที ใครยังมีไม่ครบก็ให้รีบดำเนินการ พร้อมจะเร่งพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการที่ยื่นไปก่อนหน้านี้ให้เร็วที่สุด คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนจะคืนสิทธิให้วิทยุชุมชนทั้ง 6,300 แห่งได้ อีก 3,000 สถานีที่ไม่เคยยื่นขอรับใบอนุญาตจะหมดสิทธิออกอากาศ

ประกาศฉบับที่ 79 ของ "คสช." จึงน่าจะทำให้บรรดาวิทยุชุมชนทั้งหลายโล่งอก

ไม่ใช่แค่นั้น ยังมีประกาศ ฉบับที่ 80/2557 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. กสทช. เพื่อให้การกำกับดูแลการกิจการ และการบริหารเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นให้มีประสิทธิภาพเป็นประโยชน์ต่อ รัฐอย่างสูงสุด

เลขาธิการ กสทช. ยอมรับเองว่า ที่ผ่านมาหลายฝ่ายมีข้อกังขาเกี่ยวกับธรรมาภิบาลในเรื่องการใช้เงินของ กสทช.เมื่อกองทุนของ กสทช. อย่างกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ได้เงินจากการประมูลช่อง "ทีวีดิจิทัล" เป็นเงินกว่า 5 หมื่นล้านบาท ยิ่งทำให้โดนจับตา แต่ต้องเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.กสทช.

นั่นทำให้ต้องมีประกาศ คสช.ฉบับที่ 80 สาระสำคัญที่มีการแก้ไข คือให้นำ "เงิน" ที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ด้านบรอดแคสต์ทั้งหมดเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน จากเดิม พ.ร.บ.กสทช. ให้นำส่งเฉพาะเงินประมูลด้านโทรคมนาคม ส่วนด้านบรอดแคสต์ให้นำเข้า กทปส. พร้อมให้นำส่งเงินประมูลทีวีดิจิทัลที่ี่ยังไม่ได้ส่งเข้ากองทุน กทปส. เข้าคลังด้วย

ฐากร อธิบายเพิ่มเติมว่า คสช.ยืนยันแล้วว่า เงินค่าประมูลทีวีดิจิทัลงวดแรกที่ กสทช.ได้มาแล้ว 11,000 ล้านบาท เมื่อมีการนำส่งเข้าบัญชีกองทุน กทปส.ไปแล้ว ก็ไม่ต้องส่งเข้าคลัง แต่งวดหลังจากนี้ต้องส่งคลังทั้งหมด รวมถึงการประมูลอื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

"การแก้ไขเรื่องเงินนำส่งไม่มีผลกระทบกับโครงการแจกคูปองทีวีดิจิทัลเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์ให้ประชาชนแต่อย่างใด เช่นเดียวกับกำหนดงวดชำระเงินค่าประมูลช่องดิจิทัลยังคงเดิม เพียงแต่เมื่อ กสทช.ได้รับมาแล้วต้องนำส่งคลัง ทำให้รู้สึกโล่ง เพราะการถือเงินไว้เป็นทุกขลาภมาก"

แต่กรณีการแจกคูปองทีวีดิจิทัล แต่ยังต้องรอให้ "คสช." อนุมัติ หลังจากสรุปความเห็นจากเวทีประชาพิจารณ์ 4 ครั้ง เสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณาก่อนส่งต่อไปยัง คสช.ให้ความเห็นชอบก่อน คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้ และใช้เวลาเตรียมการพิมพ์-วางระบบคูปองอีก 1 เดือน น่าจะแจกได้ราวเดือน ก.ย.นี้

นอกจากนี้ ประกาศ คสช.ยังเพิ่มวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน กทปส. โดยเปิดให้กระทรวงการคลังยืมเงินกองทุนเพื่อนำไปใช้ในกิจการของรัฐอันเป็นประโยชน์สาธารณะได้ รวมถึงแก้ไของค์ประกอบของบอร์ดบริหารกองทุน โดยตัดตำแหน่งกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 5 สาขาออก เหลือเพียงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ไม่จำกัดสาขา) 2 คน

และกรรมการโดยตำแหน่งได้เพิ่มปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเข้ามาอีก 2 ตำแหน่ง จากเดิมมีประธาน กสทช.เป็นประธานบอร์ด และมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการสภาพัฒน์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการเนคเทค (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ) เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้เลขาธิการ กสทช.เป็นกรรมการและเลขานุการบอร์ด รวมแล้วบอร์ด กทปส.ชุดใหม่จะมี 10 คน น้อยกว่าเดิมที่มี 11 คน

อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้กระทรวงคลังยืมเงินกองทุน กทปส.ไปใช้ได้ จะทำได้ในกรณีที่ยังไม่มีการอนุมัติแผนการใช้เงิน หากอนุมัติไปแล้วก็จะไม่สามารถยืมได้ เพราะกระทบกับแผนการใช้เงินของกองทุน กทปส.

"ประกาศ คสช.มีผลให้กรรมการผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พ้นจากตำแหน่งทันที ในสัปดาห์หน้าจะมีการเรียกประชุมบอร์ด กทปส.ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ให้มาทำหน้าที่ต่อไป เลขาธิการ กสทช.ไม่มีสิทธิโหวต จึงมีแค่กรรมการโดยตำแหน่ง 7 คน ที่ลงคะแนนเลือกได้ อาจคัดเลือกจากคนนอก หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมก็ได้"

"หลังจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลง อื่น ๆ ใน กสทช.อีกหรือไม่ รวมถึงจะมีการประมูลคลื่น 4G หรือเปล่า คงต้องรอ คสช.ซึ่งในขณะนี้คงยังบอกอะไรไม่ได้" เลขาธิการ กสทช.ย้ำ

สำหรับชอตต่อไป โปรดติดตามด้วยความระทึกในดวงหทัยพลัน ซึ่งก็คงไม่ต้องรอกันนานนัก


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1405511948

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.