Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กรกฎาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) กสทช. สร้างเรื่องใหม่!! ลุกขึ้นสอบเรื่อง ผู้ถือหุ้นโทรคมนาคม สอบลึกถึง‘นอมินี’-ถือหุ้นไขว้ ก่อนประมูล 4G ต้องห้ามตามกฎหมายและประกาศ กสทช.

ประเด็นหลัก



อย่างไรก็ตาม กทค.ได้เรียกผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) ที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ 1.บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค 2.บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส 3.บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อประชุมและหารือเรื่องการตรวจสอบผู้ถือหุ้นของต่างชาติในสัดส่วน 49% ตามกฎหมายหรือไม่ และให้เป็นไปตามประกาศของ กสทช. เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำโดยคนต่างด้าว พ.ศ.2554 (นอมินี) โดย กทค.จะดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด และหากตรวจสอบพบว่าเอกชนรายใดมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและประกาศ กสทช. ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมประมูล 4G บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และคลื่น 900 MHz ได้

ทั้งนี้ โอเปอเรเตอร์ที่เข้าร่วมประชุมจะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงประกอบด้วย 1.ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท และนิติบุคคลที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม รวมถึงโครงสร้างการถือหุ้น และการถือครองธุรกิจของกลุ่มบริษัทในเครือ 2.ข้อกำหนดหรือสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้นของบริษัท และ 3.โครงสร้างการบริหารภายในบริษัท โดยแสดงให้เห็นถึงรายชื่อ และตำแหน่งของผู้บริหารที่มีความสำคัญ


______________________________




กคท.สอบเข้มสัญชาติผู้เข้าประมูล4G

เช็คสิทธิ์ออกเสียง-รูปแบบบริหาร

สอบลึกถึง‘นอมินี’-ถือหุ้นไขว้

พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ถึงแม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ระงับการประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 900 MHz ออกไป 1 ปี ซึ่งยังจะต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เพื่อรองรับการประมูลหลัง หลังประกาศ คสช. ที่ให้นำประกาศมาตรการเยียวยาคุ้มครองผู้บริโภคมาใช้คุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการ
สิ้นสุดลง

อย่างไรก็ตาม กทค.ได้เรียกผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) ที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ 1.บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค 2.บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส 3.บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อประชุมและหารือเรื่องการตรวจสอบผู้ถือหุ้นของต่างชาติในสัดส่วน 49% ตามกฎหมายหรือไม่ และให้เป็นไปตามประกาศของ กสทช. เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำโดยคนต่างด้าว พ.ศ.2554 (นอมินี) โดย กทค.จะดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด และหากตรวจสอบพบว่าเอกชนรายใดมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและประกาศ กสทช. ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมประมูล 4G บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และคลื่น 900 MHz ได้

ทั้งนี้ โอเปอเรเตอร์ที่เข้าร่วมประชุมจะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อชี้แจงประกอบด้วย 1.ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท และนิติบุคคลที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม รวมถึงโครงสร้างการถือหุ้น และการถือครองธุรกิจของกลุ่มบริษัทในเครือ 2.ข้อกำหนดหรือสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้นของบริษัท และ 3.โครงสร้างการบริหารภายในบริษัท โดยแสดงให้เห็นถึงรายชื่อ และตำแหน่งของผู้บริหารที่มีความสำคัญ

“การตรวจสอบการถือหุ้นของผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคม ถือเป็นการทำตามกฎกติกาที่มีอยู่แล้วอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ได้เลือกปฏิบัติรายใดรายหนึ่ง โดยจะตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบการถือหุ้นทั้งทางตรง ทางอ้อม การถือหุ้นไขว้ และการตั้งบริษัทนอมินีถือหุ้นแทนด้วย”

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบอย่างเข้มงวดสำหรับการถือหุ้นของต่างชาตินั้น นอกจากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการครอบงำและมีอำนาจในการบริหารจัดการของนักลงทุนต่างชาติแล้ว ยังเพื่อความมั่นคงในระบบโทรคมนาคมของประเทศด้วย ขณะเดียวกันการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมถือเป็นหัวใจของการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ หากยอมให้ต่างด้าวโดยเฉพาะทุนที่มีหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจต่างชาติสนับสนุนเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคมในประเทศ อาจมีผลกระทบและเกิดความเสี่ยงในการกำกับดูแลได้


http://www.naewna.com/business/113783

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.