Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กรกฎาคม 2557 เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล รายงานว่า APPLE จับมือ IBM พัฒนาแอพฯเจาะลูกค้าบริษัท ( IBM ขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ไปให้กับเลอโนโวในปี 2548 และปรับยุทธศาสตร์มาเป็นบริษัทซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ )

ประเด็นหลัก



   เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล รายงานว่า ข้อตกลงระหว่างแอปเปิลและไอบีเอ็ม แสดงให้เห็นว่าแอปเปิลต้องการขยายการเข้าถึงของไอโฟนและไอแพดจากเพียงผู้บริโภคทั่วไปไปสู่กลุ่มลูกค้าที่เป็นภาคธุรกิจ ขณะเดียวกัน ไอบีเอ็มหวังว่าการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนของอุปกรณ์ประกอบกับความนิยมของแบรนด์แอปเปิลจะช่วยให้บริษัทกลับมาทำรายได้เพิ่มขึ้น หลังจากมีรายได้ลดลงติดต่อกันมาเป็นเวลา 8 ไตรมาส ในเวลาที่ไอบีเอ็มหันไปพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอปุกรณ์โมบายมากขึ้น
    ความร่วมมือระหว่างแอปเปิลและไอบีเอ็มนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดเมื่อ 30 ปีก่อน เมื่อทั้ง 2 บริษัทแข่งขันกันอย่างหนักในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี ปัจจุบันธุรกิจของแอปเปิลและไอบีเอ็มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก โดยผลิตภัณฑ์หลักของแอปเปิลกลายมาเป็นอุปกรณ์โมบาย ส่วนไอบีเอ็มขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ไปให้กับเลอโนโวในปี 2548 และปรับยุทธศาสตร์มาเป็นบริษัทซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์
    "ในปี 2527 เราเป็นคู่แข่ง แต่ในปี 2557 ผมไม่คิดว่าคุณจะหา 2 บริษัทที่เติมเต็มซึ่งกันและกันได้มากกว่านี้อีกแล้ว" ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอปเปิลกล่าว

______________________________




แอปเปิลควงแขนไอบีเอ็มพัฒนาแอพฯเจาะลูกค้าบริษัท



 สองยักษ์ใหญ่ในธุรกิจคอมพิวเตอร์ แอปเปิลและไอบีเอ็ม ประกาศจับมือรุกกลุ่มลูกค้าภาคธุรกิจ ด้วยการทำข้อตกลงพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับธุรกิจที่ใช้งานง่าย รวมถึงจำหน่ายไอโฟนและไอแพดให้กับบริษัทขนาดใหญ่
    เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล รายงานว่า ข้อตกลงระหว่างแอปเปิลและไอบีเอ็ม แสดงให้เห็นว่าแอปเปิลต้องการขยายการเข้าถึงของไอโฟนและไอแพดจากเพียงผู้บริโภคทั่วไปไปสู่กลุ่มลูกค้าที่เป็นภาคธุรกิจ ขณะเดียวกัน ไอบีเอ็มหวังว่าการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนของอุปกรณ์ประกอบกับความนิยมของแบรนด์แอปเปิลจะช่วยให้บริษัทกลับมาทำรายได้เพิ่มขึ้น หลังจากมีรายได้ลดลงติดต่อกันมาเป็นเวลา 8 ไตรมาส ในเวลาที่ไอบีเอ็มหันไปพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับอปุกรณ์โมบายมากขึ้น
    ความร่วมมือระหว่างแอปเปิลและไอบีเอ็มนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดเมื่อ 30 ปีก่อน เมื่อทั้ง 2 บริษัทแข่งขันกันอย่างหนักในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี ปัจจุบันธุรกิจของแอปเปิลและไอบีเอ็มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก โดยผลิตภัณฑ์หลักของแอปเปิลกลายมาเป็นอุปกรณ์โมบาย ส่วนไอบีเอ็มขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ไปให้กับเลอโนโวในปี 2548 และปรับยุทธศาสตร์มาเป็นบริษัทซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์
    "ในปี 2527 เราเป็นคู่แข่ง แต่ในปี 2557 ผมไม่คิดว่าคุณจะหา 2 บริษัทที่เติมเต็มซึ่งกันและกันได้มากกว่านี้อีกแล้ว" ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอปเปิลกล่าว
    ทั้ง 2 บริษัทหวังว่าจะใช้ความเชี่ยวชาญของบรรดาผู้ให้บริการปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และความสัมพันธ์ที่มีกับลูกค้าในกลุ่มบริษัทเพื่อนำมาพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับธุรกิจที่ใช้งานง่าย ซึ่งเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์แอปเปิล โดยจะเป็นแอพพลิเคชันที่ให้บริการของไอบีเอ็ม อาทิ การรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการอุปกรณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก เป็นต้น

    ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว พนักงานไอบีเอ็มจะคอยให้บริการและช่วยเหลือการใช้งานอุปกรณ์ของแอปเปิลภายในบริษัทต่างๆ คล้ายกับบริการ แอปเปิลแคร์ (AppleCare) ที่แอปเปิลขายให้กับผู้บริโภคทั่วไป ทั้งนี้ไอบีเอ็มกล่าวว่า มีแผนจะใช้พนักงานกว่า 100,000 คนเพื่อทำหน้าที่ร่วมกับแอปเปิล
    "นี่เป็นเพียงการเริ่มต้น" เวอร์จิเนีย โรเมตตี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอบีเอ็มกล่าว โดยอ้างสถิติว่าสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ภายในบริษัทถูกใช้งานเพียงเพื่อการส่งอี-เมล์และปฏิทินเท่านั้น โรเมตตีกล่าวว่า ทั้ง 2 บริษัทหวังว่าจะพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับธุรกิจที่ใหม่และจริงจัง ซึ่งวิศวกรของแอปเปิลและไอบีเอ็มกำลังร่วมกันพัฒนาแอพพลิเคชันขึ้นใหม่กว่า 100 แอพพลิเคชันสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ โดยแอพพลิเคชันชุดแรกคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่แอปเปิลจะนำระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่ คือไอโอเอส 8 ออกมาเปิดตัว
    ในอดีตที่ผ่านมา แอปเปิลให้ความสำคัญกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กับลูกค้าภาคธุรกิจไม่มากนัก อย่างไรก็ดี ภายใต้การนำของคุก แอปเปิลเริ่มประสบความสำเร็จในการเจาะกลุ่มลูกค้าดังกล่าว กระนั้นไอบีเอ็มยังคงเป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับลูกค้าในกลุ่มนี้มากกว่าแอปเปิล "มันเป็นความร่วมมือที่ดูเหมือนไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่เป็นความร่วมมือที่แข็งแกร่งมากถ้าทำได้สำเร็จ" แวน เบเกอร์ นักวิเคราะห์จากการ์ทเนอร์ ให้ความเห็น
    ความท้าทายประการหนึ่งของแอปเปิล คือ มีบริษัทเทคโนโลยีจำนวนไม่มากที่ประสบความสำเร็จทั้งกับลูกค้าในกลุ่มบริษัทและผู้บริโภค แต่มีพนักงานบริษัทจำนวนมากขึ้นที่คาดหวังความสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์ในสำนักงานเหมือนกับที่ใช้ที่บ้าน ข้อมูลจากบริษัทวิจัย ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช ระบุว่า ภาคธุรกิจและรัฐบาลทั่วโลกใช้เงินประมาณ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซื้อไอแพดในปี 2556 หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของยอดขายแท็บเลตของแอปเปิลทั้งหมด ฟอร์เรสเตอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2558 ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=239758:2014-07-22-08-11-21&catid=109:2009-02-08-11-36-01&Itemid=460#.U9XPxlZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.