Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 สิงหาคม 2557 Telenor (พ่อ DTAC) พบ ร้อยละ 81 ของคนไทยและมาเลเซียใช้แอพพลิเคชั่นแชต แต่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์กลับมีการดาวน์โหลดและใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียเป็นอย่างมาก

ประเด็นหลัก


      ร้อยละ 81 ของคนไทยและมาเลเซียใช้แอพพลิเคชั่นแชต (chat app) เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในขณะที่คนสวีเดนและนอร์เวย์ใช้เพียงร้อยละ 44 และร้อยละ 57 เท่านั้น
·       ความนิยมในแอพพลิเคชั่นที่โด่งดัง เช่น Whatsapp, Line หรือ WeChat แตกต่างกันไปในสี่ประเทศนี้ โดยมีเพียง Facebook Chat  เท่านั้นที่ได้รับความนิยมเท่ากันในทุกประเทศ
Whatsapp และ WeChat เป็นแอพพลิเคชั่นแชตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่ม 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ มาเลเซีย ในขณะที่ชาวไทยนิยมแอพพลิเคชั่น Line และ Facebook Messenger มากกว่า โดยประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกที่มีการใช้งาน Line
·       บริการส่งข้อความสั้น (SMS) ยังคงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในประเทศมาเลเซีย สวีเดน และนอร์เวย์ โดยร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการนี้เป็นประจำทุกวัน ตรงกันข้ามกับประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 31 ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการส่งข้อความสั้นเพียงแค่วันละครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความนิยมในการใช้บริการ Line หรือ Whatsapp มีมากกว่า
·       การใช้แอพพลิเคชั่นส่งข้อความเติบโตรวดเร็วที่สุดในประเทศสวีเดน รวมไปถึงการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตอื่นๆ ได้แก่ การโทรศัพท์ วิดีโอคอลล์ การแชต และการโพสต์ข้อมูลผ่านโซเชี่ยลมีเดีย ก็เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาด้วย



การศึกษาสรุปได้ว่า ผู้นำเทรนด์ดิจิทัลในประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการการสื่อสารบนมือถือมากกว่าผู้นำเทรนด์ดิจิตอลในประเทศแถบสแกนดิเนเวียไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด เพราะพวกเขาเลือกที่จะสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มการให้บริการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอพลิเคชั่น โซเชี่ยลมีเดีย และการโทรศัพท์ อย่างไรก็ตาม การศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ถึงแม้ประเทศไทยและมาเลเซียจะใช้บริการออนไลน์และแอพพลิเคชั่นหลากหลายมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ แต่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์กลับมีการดาวน์โหลดและใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียเป็นอย่างมาก





______________________________




เทเลนอร์กรุ๊ปเผยไทยและมาเลย์ มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือสูงที่สุดในโลก




ผลการศึกษาโดยเทเลนอร์ รีเสิร์ช ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยภายใต้เทเลนอร์กรุ๊ปพบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นคนหนุ่มสาวในประเทศไทยและมาเลเซียจะพึ่งพาโทรศัพท์มือถือของตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการในการเชื่อมต่อที่หลากหลาย โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเปิดรับและใช้บริการใหม่ๆ บนโทรศัพท์มือถือเร็วกว่ากลุ่มคนรุ่นเดียวกันในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย แบบแผนเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เทเลนอร์กรุ๊ปร่วมกับทีเอ็นเอส ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 16– 35 ปีกว่า 2,600 คนในประเทศไทย มาเลเซีย สวีเดน และนอร์เวย์ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ โดยเทเลนอร์ให้คำจำกัดความกลุ่มคนเหล่านี้ว่า 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ซึ่งเป็นเสมือนผู้นำเทรนด์และการเคลื่อนไหวต่างๆ ในเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งนี้ เทรนด์และเทคโนโลยีที่พวกเขาเลือก มักจะถูกนำไปใช้ในการคาดคะเนถึงสิ่งที่จะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นของประเทศนั้นๆ ในอนาคต
ในขณะที่ตลาดมือถือของสแกนดิเนเวียมีความก้าวหน้าอย่างมากในทุกกลุ่มผู้ใช้งาน และมีการดาวน์โหลดข้อมูลในปริมาณที่มากกว่า กลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้มือถือในไทยและมาเลเซียกลับมีแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างในประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ โดยผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารที่มีความหลากหลายมากกว่า

“เราพบว่าการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นและบริการล่าสุดบนมือถือของวัยรุ่นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ของเราบางส่วนในประเทศไทยและมาเลเซียกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีและโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในโลกไปแล้ว” นายซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานบริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป และเจ้าหน้าบริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชีย กล่าว “สิ่งนี้บ่งชี้ว่าโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจเทคโนโลยีบนมือถือในตลาดเหล่านี้อาจจะมากกว่าที่เราเคยคาดการณ์ไว้”
อินเทอร์เน็ตบนมือถือเป็นสิ่งสำคัญของ 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ทั้งในไทยและมาเลเซีย ส่วนชาวสแกนดิเนเวียกำลังอุ่นเครื่องพร้อมรับการส่งข้อความและแชตผ่านอินเทอร์เน็ต
แม้จะเป็นความจริงที่ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยและมาเลเซียไม่ได้เจริญก้าวหน้าไปกว่าประเทศนอร์เวย์หรือสวีเดน แต่ประเทศไทยและมาเลเซียก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะเปิดรับกับเทคโนโลยีและบริการทางอินเทอร์เน็ตใหม่ๆ มากกว่าประเทศนอร์เวย์และสวีเดน การค้นพบที่โดดเด่นจากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
·       ร้อยละ 81 ของคนไทยและมาเลเซียใช้แอพพลิเคชั่นแชต (chat app) เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในขณะที่คนสวีเดนและนอร์เวย์ใช้เพียงร้อยละ 44 และร้อยละ 57 เท่านั้น
·       ความนิยมในแอพพลิเคชั่นที่โด่งดัง เช่น Whatsapp, Line หรือ WeChat แตกต่างกันไปในสี่ประเทศนี้ โดยมีเพียง Facebook Chat  เท่านั้นที่ได้รับความนิยมเท่ากันในทุกประเทศ
Whatsapp และ WeChat เป็นแอพพลิเคชั่นแชตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่ม 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ มาเลเซีย ในขณะที่ชาวไทยนิยมแอพพลิเคชั่น Line และ Facebook Messenger มากกว่า โดยประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกที่มีการใช้งาน Line
·       บริการส่งข้อความสั้น (SMS) ยังคงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในประเทศมาเลเซีย สวีเดน และนอร์เวย์ โดยร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการนี้เป็นประจำทุกวัน ตรงกันข้ามกับประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 31 ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการส่งข้อความสั้นเพียงแค่วันละครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความนิยมในการใช้บริการ Line หรือ Whatsapp มีมากกว่า
·       การใช้แอพพลิเคชั่นส่งข้อความเติบโตรวดเร็วที่สุดในประเทศสวีเดน รวมไปถึงการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตอื่นๆ ได้แก่ การโทรศัพท์ วิดีโอคอลล์ การแชต และการโพสต์ข้อมูลผ่านโซเชี่ยลมีเดีย ก็เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาด้วย
นายซิคเว่กล่าวเพิ่มเติมว่า "ความยืดหยุ่นที่คนไทยและมาเลเซียแสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์และการใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือเป็นสิ่งที่น่าประทับใจมาก และมีความโดดเด่นกว่ากลุ่มคนในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการใช้อิน​​เทอร์เน็ตผ่านมือถือในชีวิตประจำวัน ขณะที่เรากำลังมุ่งมั่นทำให้คนหลายล้านคนที่มีรายได้ต่ำในพื้นที่ชนบทของภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ราคาไม่แพงตามกลยุทธ์ Internet for All นั้น เราได้ตั้งความหวังไว้กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนที่เข้าใจและมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีในตลาดเอเชียด้วย เพราะพวกเขาสามารถแสดงให้เราเห็นว่า ผลิตภัณฑ์และบริการใดจะเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลายในระยะสั้นและระยะกลาง การทำความเข้าใจนิสัยและพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ยังช่วยให้เราสามารถระบุว่า ระบบนิเวศใหม่ๆ สำหรับธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศในตลาดของเราจะเป็นไปในทิศทางใดได้ด้วย”
ความแตกต่างของรูปแบบโซเชี่ยลมีเดียในตลาดสแกนดิเนเวียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รูปแบบการใช้งานโซเชี่ยลมีเดียบนอุปกรณ์พกพามีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากในกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ ทั้งในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดสแกนดิเนเวีย
ประเทศที่มีการใช้งานโซเชี่ยลมีเดียมากที่สุดคือประเทศไทย โดยร้อยละ 72 ของกลุ่มตัวอย่างโพสต์ข้อมูลบนโซเชี่ยลมีเดียผ่านอุปกรณ์พกพาเป็นประจำทุกวัน  ตามมาด้วยประเทศมาเลเซียร้อยละ 58 ประเทศสวีเดนร้อยละ 30 และประเทศนอร์เวย์เพียงร้อยละ 11
ความแตกต่างทางพฤติกรรมในการโทรศัพท์ ส่งอีเมล์ และการโทรคุยแบบเห็นหน้า (video call)
การโทรศัพท์ยังคงเป็นที่นิยมในทั้งสองภูมิภาค โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84 ของประเทศไทย ร้อยละ 73 ของประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 63 ของประเทศสวีเดน และร้อยละ 67 ของประเทศนอร์เวย์ จะทำการโทรออกอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง
ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียส่งอีเมล์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ส่งอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือร้อยละ 31 และร้อยละ 21 ตามลำดับ
ในส่วนของการโทรคุยแบบเห็นหน้า ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการดังกล่าว ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ใช้บริการนี้เพียงร้อยละ 14 และร้อยละ 4 เท่านั้น
ผลลัพธ์การใช้งานที่มากกว่าและสิ่งที่มีร่วมกัน
การศึกษาสรุปได้ว่า ผู้นำเทรนด์ดิจิทัลในประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการการสื่อสารบนมือถือมากกว่าผู้นำเทรนด์ดิจิตอลในประเทศแถบสแกนดิเนเวียไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด เพราะพวกเขาเลือกที่จะสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มการให้บริการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอพลิเคชั่น โซเชี่ยลมีเดีย และการโทรศัพท์ อย่างไรก็ตาม การศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ถึงแม้ประเทศไทยและมาเลเซียจะใช้บริการออนไลน์และแอพพลิเคชั่นหลากหลายมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ แต่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์กลับมีการดาวน์โหลดและใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียเป็นอย่างมาก
นายโอเล่ คริสเตียน วาเซนเดน หัวหน้าวิจัย แผนกการแข่งขัน เทเลนอร์กรุ๊ป กล่าวว่า “สิ่งที่ทั้งสี่ประเทศมีร่วมกันก็คือความต้องการเข้าถึงข้อมูลประเภทวิดีโอและสื่อรูปแบบอื่นๆ ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทัศนคติส่วนบุคคลที่มีต่อการเข้าสังคมและความสนุกสนานบนโลกออนไลน์เป็นตัวผลักดันให้เกิดการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือที่เรียกกันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสารว่า‘mobile Voice-over-IP (mVoIP – การสื่อสารด้วยเสียงผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย) ในส่วนของแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ส่งข้อความนั้น  ฟีเจอร์การสื่อสารเป็นกลุ่มและประสิทธิภาพในการทำงานของแอพลิเคชั่นเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความนิยมในการเลือกใช้บริการ”


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=243418:2014-08-20-12-23-46&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.U_W1xUtAeuw


____________________________________

?เผยไทย-มาเลย์ต้องการใช้เน็ตบนมือถือสูงสุดในโลก?


ผลการศึกษาโดยเทเลนอร์ กรุ๊ป พบว่า ประเทศไทยและมาเลเซียอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือสูงที่สุดในโลก




เทเลนอร์กรุ๊ปร่วมกับทีเอ็นเอสทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 16 – 35 ปีกว่า 2,600 คนในประเทศไทย มาเลเซีย สวีเดน และนอร์เวย์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ โดยเทเลนอร์ให้คำจำกัดความกลุ่มคนเหล่านี้ว่า 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ซึ่งเป็นเสมือนผู้นำเทรนด์และการเคลื่อนไหวต่างๆในเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งนี้ เทรนด์และเทคโนโลยีที่พวกเขาเลือกมักจะถูกนำไปใช้ในการคาดคะเนถึงสิ่งที่จะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นของประเทศนั้นๆในอนาคต

ในขณะที่ตลาดมือถือของสแกนดิเนเวียมีความก้าวหน้าอย่างมากในทุกกลุ่มผู้ใช้งานและมีการดาวน์โหลดข้อมูลในปริมาณที่มากกว่ากลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้มือถือในไทยและมาเลเซียกลับมีแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างในประเทศสวีเดนและนอร์เวย์โดยผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารที่มีความหลากหลายมากกว่า

นายซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานบริหารเทเลนอร์ กรุ๊ป และเจ้าหน้าบริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชีย ระบุว่า การเลือกใช้แอพพลิเคชั่นและบริการล่าสุดบนมือถือของวัยรุ่นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ของเราบางส่วนในประเทศไทยและมาเลเซียกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีและโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในโลกไปแล้ว สิ่งนี้บ่งชี้ว่า โอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจเทคโนโลยีบนมือถือในตลาดเหล่านี้อาจจะมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ81 ของคนไทยและมาเลเซียใช้แอพพลิเคชั่นแชต (chatapp) เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันในขณะที่คนสวีเดนและนอร์เวย์ใช้เพียงร้อยละ 44และร้อยละ 57 เท่านั้น

ความนิยมในแอพพลิเคชั่นที่โด่งดัง เช่น Whatsapp, Line หรือ WeChat แตกต่างกันไปในสี่ประเทศนี้โดยมีเพียง Facebook Chat เท่านั้นที่ได้รับความนิยมเท่ากันในทุกประเทศ โดย Whatsapp และWeChat เป็นแอพพลิเคชั่นแชตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่ม'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ มาเลเซีย

ในขณะที่ชาวไทยนิยมแอพพลิเคชั่น Lineและ Facebook Messenger มากกว่าโดยประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกที่มีการใช้งาน Line

ส่วน บริการส่งข้อความสั้น(SMS) ยังคงได้รับความนิยมในประเทศมาเลเซีย สวีเดนและนอร์เวย์ โดยร้อยละ 70ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการนี้เป็นประจำทุกวันส่วน ประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 31ของกลุ่มตัวอย่างใช้บริการส่งข้อความสั้นเพียงแค่วันละครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความนิยมในการใช้บริการ Lineหรือ Whatsapp มีมากกว่า

ประเทศที่มีการใช้งานโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือประเทศไทย โดยร้อยละ 72ของกลุ่มตัวอย่างโพสต์ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียผ่านอุปกรณ์พกพาเป็นประจำทุกวัน ตามมาด้วยประเทศมาเลเซียร้อยละ 58 ประเทศสวีเดนร้อยละ 30 และประเทศนอร์เวย์เพียงร้อยละ 11

การโทรศัพท์ยังคงเป็นที่นิยมในทั้งสองภูมิภาคโดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84 ของประเทศไทย ร้อยละ 73 ของประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 63 ของประเทศสวีเดน และร้อยละ 67ของประเทศนอร์เวย์ จะโทรออกอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง

ร้อยละ 50ของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียส่งอีเมล์ผ่านโทรศัพท์มือถือในขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ส่งอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือร้อยละ31 และร้อยละ 21ตามลำดับ

ในส่วนของการโทรคุยแบบเห็นหน้า ร้อยละ 30ของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการดังกล่าวในขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ใช้บริการนี้เพียงร้อยละ 14และร้อยละ 4 เท่านั้น

การศึกษาสรุปได้ว่า ผู้นำเทรนด์ดิจิทัลในประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการการสื่อสารบนมือถือมากกว่าผู้นำเทรนด์ดิจิตอลในประเทศแถบสแกนดิเนเวียไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดเพราะพวกเขาเลือกที่จะสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มการให้บริการที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นแอพลิเคชั่น โซเชียลมีเดีย และการโทรศัพท์

อย่างไรก็ตาม การศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่าถึงแม้ประเทศไทยและมาเลเซียจะใช้บริการออนไลน์และแอพพลิเคชั่นหลากหลายมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์แต่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์กลับมีการดาวน์โหลดและใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียเป็นอย่างมาก


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/261011/เผยไทย-มาเลย์ต้องการใช้เน็ตบนมือถือสูงสุดในโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.