Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2557 AIS.กิตติ ระบุ ต้นทุนของแต่สถานีแตกต่างกันไป อยู่ที่รูปแบบ เฉลี่ย 1-2 ล้านบาทต่อไซต์ ไม่รวมค่าเช่าที่ และค่าติดตั้ง โดยส่วนใหญ่เป็นสัญญาเช่า 3 ปี เสาต้นหนึ่งมีคาพาซิตี้ 1,000 เลขหมาย

ประเด็นหลัก


ก่อนการติดตั้งสถานีฐานแต่ละแห่งจะต้องตรวจสอบสภาพพื้นที่ เพื่อเลือกประเภทเสา เช่น แบบสลิงต้องใช้สลิงขึงมีพื้นที่กว้างจึงติดตั้งได้ หรือเสาแบบเซลฟ์ซัพพอร์ตใช้พื้นที่น้อยกว่า ส่วนเรื่องความสูงจะพิจารณาจากข้อตกลงตามท้องถิ่น บางพื้นที่ตั้งเสาสูงไม่ได้ ซึ่งต้นทุนของแต่สถานีแตกต่างกันไป อยู่ที่รูปแบบ เฉลี่ย 1-2 ล้านบาทต่อไซต์ ไม่รวมค่าเช่าที่ และค่าติดตั้ง

"เราจะตกลงกันในแต่ละพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นสัญญาเช่า 3 ปี เสาต้นหนึ่งมีคาพาซิตี้ 1,000 เลขหมาย กรณีที่มีการใช้พร้อมกัน เรามีเจ้าหน้าที่ดูแลตรวจเช็กทุก 3 เดือน รองรับการติดตั้งคลื่น 1800 ได้ทันที หากประมูลได้ เพราะเสาต้นหนึ่งมีความสามารถในการรองรับสายอากาศสำหรับส่งสัญญาณได้หลายสาย"



______________________________




เอไอเอสลง "สมอลเซลล์" เพิ่มช่องสัญญาณ 3G รับโหลดดาต้า


"เอไอเอส" เสริมทัพ "สมอลเซลล์" กว่า 3,000 แห่งเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย 3G เสริมการใช้งานดาต้าย่านชุมชนทั่วประเทศ พร้อมเร่งติดตั้งสถานีฐานปูพรมพรึ่บกว่า 20,000 แห่งในสิ้นปีนี้

นายกิตติ งามเจตนรมย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค ภาคกลาง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า บริษัทเร่งขยายสถานีฐานเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานลูกค้า 3G ที่ปัจจุบันมีกว่า 34 ล้านราย โดยในปี 2557 นี้ใช้เงินลงทุนมากกว่า 40,000 ล้านบาท สำหรับขยายสถานีฐาน ซึ่งครึ่งปีแรกติดตั้งได้ 17,000 แห่ง เป็นระบบ 2G เดิม 14,000 แห่ง อีก 3,000 แห่ง สร้างใหม่

สำหรับ 3G แบ่งเป็นภาคเหนือ 3,300 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,400 แห่ง ภาคตะวันออก 2,500 แห่ง ภาคใต้ 2,700 แห่ง และภาคกลางไม่รวมกรุงเทพฯ ปริมณฑล 3,300 สถานีฐาน และใน 2 เดือนนี้จะสร้างสถานีฐานเพิ่มเป็น 19,000 แห่ง ทำให้สถานีฐาน 3G เพิ่มเป็น 5,000 แห่ง คาดว่าในสิ้นปีจะมีรวมกันมากกว่า 20,000 แห่ง ซึ่งปัจจุบัน

ก่อนการติดตั้งสถานีฐานแต่ละแห่งจะต้องตรวจสอบสภาพพื้นที่ เพื่อเลือกประเภทเสา เช่น แบบสลิงต้องใช้สลิงขึงมีพื้นที่กว้างจึงติดตั้งได้ หรือเสาแบบเซลฟ์ซัพพอร์ตใช้พื้นที่น้อยกว่า ส่วนเรื่องความสูงจะพิจารณาจากข้อตกลงตามท้องถิ่น บางพื้นที่ตั้งเสาสูงไม่ได้ ซึ่งต้นทุนของแต่สถานีแตกต่างกันไป อยู่ที่รูปแบบ เฉลี่ย 1-2 ล้านบาทต่อไซต์ ไม่รวมค่าเช่าที่ และค่าติดตั้ง

"เราจะตกลงกันในแต่ละพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นสัญญาเช่า 3 ปี เสาต้นหนึ่งมีคาพาซิตี้ 1,000 เลขหมาย กรณีที่มีการใช้พร้อมกัน เรามีเจ้าหน้าที่ดูแลตรวจเช็กทุก 3 เดือน รองรับการติดตั้งคลื่น 1800 ได้ทันที หากประมูลได้ เพราะเสาต้นหนึ่งมีความสามารถในการรองรับสายอากาศสำหรับส่งสัญญาณได้หลายสาย"

นายกิตติกล่าวว่า บริษัทยังเตรียมติดตั้งสถานีฐานขนาดเล็ก หรือสมอลเซลล์ (Small Cell) เสริมในจุดที่มีความต้องการในการใช้งานดาต้าเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นไปในพื้นที่แออัดในชุมชนและตัวเมืองเป็นหลัก มีเป้าหมายนำร่องติดตั้งจำนวน 3,000 จุดภายในสิ้นปีนี้

"ตัวอย่างพื้นที่ภาคกลางที่ตนรับผิดชอบ ครอบคลุม 13 จังหวัด ปัจจุบันมีสมอลลเซลล์ 100 กว่าจุด เช่น ที่อัมพวาก็จะติดตั้งเพิ่มอีกเป็น 300 จุด ส่วนปริมาณลูกค้า 3G มีทั้งสิ้น 3.5 ล้านราย จากทั้งหมด 4.5 ล้านราย และจะติดตั้งเพิ่มอีกหลายแห่ง เช่น ที่เพชรบุรี 152 แห่ง, ประจวบคีรีขันธ์ 200 แห่ง เป็นต้น เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานของลูกค้าให้ได้มากที่สุด"

สำหรับคุณภาพในการตั้งเสา ตนมั่นใจว่าแข็งแรงคงทนตามมาตรฐานสากล

ส่วนผลกระทบต่อสุขภาพได้ดูแลให้เป็นไปตามที่ กทสช.กำหนดไว้ มีการปล่อยคลื่นสัญญาณต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด 1,000 เท่า และก่อนติดตั้งสถานีฐานทุกครั้งจะต้องเข้าไปพูดคุย สร้างความเข้าใจร่วมกับเจ้าของที่และชาวบ้านใกล้เคียง ถือเป็นกฎที่ กสทช.ระบุไว้อยู่แล้ว โดยบริษัทมีหน่วยสร้างความเข้าใจทั้งเรื่องโครงสร้าง ความแข็งแรง และอันตรายต่อสุขภาพต่าง ๆ โดยปัญหาที่พบ 99% เป็นเรื่องการแย่งหาพื้นที่เช่า

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410162591

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.