Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กันยายน 2557 China Mobile เตรียมพัฒนา TRUE โดยเน้นความร่วมมือ 6 ด้าน เราเน้นข้อ 2 คือการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ ถัดมาเป็นเรื่องการพัฒนาบริการ 4G และบรอดแบนด์ของไทย

ประเด็นหลัก


- แผนธุรกิจหลังจากนี้

ศุภ ชัย : เมื่อปรับโครงสร้างด้านการเงินเสร็จ เราจะมีศักยภาพในการขยายธุรกิจมากขึ้น ด้านยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ยังเหมือนเดิม เช่นกันกับแผนขยายโครงข่ายเพิ่มอย่างต่อเนื่อง หวังว่าจะได้ความรู้และประสบการณ์จากไชน่าโมบายล์ รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดจากความร่วมมือใน ครั้งนี้

- การเป็นพันธมิตรกับทรูมีนัยสำคัญอย่างไรต่อไชน่าโมบายล์

หลี่ เย่ว : ที่ผ่านมาเราแสวงหาโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศมาตลอด เมื่อเจอกับกลุ่มทรูและได้โอกาสนี้จึงรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง ในแต่ละปีมีคนจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและทำธุรกิจในประเทศไทยเป็นจำนวน มาก ปัจจุบันกว่า 4 ล้านคน และน่าจะถึงสิบล้านคนในไม่ช้า เช่นกันกับการที่คนไทยเดินทางไปประเทศจีน



- สาระสำคัญของความร่วมมือครอบคลุมอะไรบ้าง

ศุภชัย : ทางไชน่าโมบายล์มีกรรมการ 2 คนเข้ามานั่งในบอร์ด และเสนอได้ 1 ซึ่งจะนั่งในบอร์ดบริษัทการเงิน ธรรมาภิบาล และผลตอบแทนฝ่ายบริหาร ทั้ง 3 ส่วนจะช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายของบอร์ดและบริษัท เชื่อว่าต่อไปจะเป็นมิติใหม่ของอุตสาหกรรม เนื่องจากไชน่าโมบายล์เป็นผู้นำที่มีความรู้ความสามารถด้านการสื่อสารระดับ โลก โดยเฉพาะ 4G

หลี่ เย่ว : เราถือหุ้น 18% ก็อยากปฏิบัติตามกฎระเบียบของไทยอยากให้ทรูทำหน้าที่บริหารเต็มที่ จึงไม่คิดที่จะส่งบุคลากรเข้ามานั่งในตำแหน่งบริหารแบบทำงานเต็มเวลา ความร่วมมือ 6 ด้าน เราเน้นข้อ 2 คือการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ ถัดมาเป็นเรื่องการพัฒนาบริการ 4G และบรอดแบนด์ของไทย ผมได้คุยกับคุณธนินท์ (เจียรวนนท์) ไปแล้วที่จะร่วมมือด้านอื่นด้วย เช่น การชำระเงินผ่านมือถือ ซึ่งจะมีการคุยรายละเอียดกันต่อไป























______________________________




"ทรู" ผนึก "ไชน่าโมบายล์" ปลดหนี้-เร่งสปีด 4G-โกอินเตอร์


การเข้ามาเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ของ "ไชน่าโมบายล์" นับเป็นจังหวะก้าวที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เฉพาะต่ออนาคตธุรกิจของกลุ่มทรูเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทแม่ในฐานะผู้สนับสนุนหลัก (ด้านการเงิน) อย่างเป็นทางการมาโดยตลอดด้วย เพราะการเข้ามาถือหุ้น 18% (มูลค่าประมาณ 36,400 ล้านบาท) รวมเข้ากับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วนเท่ากัน ทำให้กลุ่มทรูระดมทุนเพิ่มได้ถึง 65,000 ล้านบาท โดยมีความตั้งใจนำเงินส่วนใหญ่มาจ่ายหนี้เพื่อปลดพันธนาการจาก "ภาระหนี้" อันหนักอึ้ง นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมาเลยก็ว่าได้

การเซ็นสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจอย่างเป็นทางการกับ "ไชน่าโมบายล์และกลุ่มทรู" ในช่วงบ่ายของวันครบรอบ 13 ปี เหตุการณ์ 911 (1 ก.ย. 2557) จึงเป็น

วันที่มีความหมายสำหรับแม่ทัพกลุ่มทรู "ศุภชัย เจียรวนนท์" โดยเจ้าตัวถึงกับประกาศบนเวทีว่าในไตรมาส 4 ปีนี้จะเป็นครั้งแรกที่ผลประกอบการของทรูมี "กำไร" ซึ่งหมายความว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นได้ (สักที)

"ไชน่าโมบายล์" มีดีกรีเป็นถึงมือวางอันดับหนึ่งในตลาดมือถือโลก (ฐานลูกค้ากว่า 800 ล้านคน) ความร่วมมือของทั้งคู่จึงน่าจะส่งแรงกระเพื่อมมายังสมรภูมิธุรกิจโทรศัพท์ มือถือไทยด้วยอย่างมีนัยสำคัญ ความร่วมมือที่ว่าจะนำไปสู่อะไรบ้าง

"ศุภชัย เจียรวนนท์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทรู และ หลี่ เย่ว หัวหน้าคณะผู้บริหาร ไชน่าโมบายล์มีคำตอบ

- จะร่วมมือกันในด้านใดบ้าง

ศุภ ชัย : วันนี้ (11 ก.ย.) เป็นวันที่มีความสำคัญมาก ถือโอกาสต้อนรับไชน่าโมบายล์อย่างเป็นทางการสู่กลุ่มทรูและประเทศไทย นอกจากเป็นผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในจีนแล้ว ในระดับโลกยังมีฐานลูกค้ามากที่สุด และมีมาร์เก็ตแคปเป็นที่ 1 ในหมวดสื่อสารของโลก

2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ทรูมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการได้ไลเซนส์มือถือ การขยายโครงข่ายบรอดแบนด์จากกรุงเทพฯไปทั่วประเทศ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงสร้างด้านไอซีทีของประเทศ แม้ทรูจะเป็นผู้นำด้านคอนเวอร์เจนซ์ แต่เมื่อเทียบขนาดและประสบการณ์ โดยเฉพาะการก้าวไปสู่ระดับภูมิภาค เราต้องเรียนรู้จากไชน่าโมบายล์ นอกเหนือไปจากการมีศักยภาพทางการเงินและธุรกิจที่แข็งแรงขึ้น จะมีโอกาสโตในระดับภูมิภาคด้วย

เราตกลงกันว่าจะมีความร่วมมือใน 6 ด้าน คือ 1.บริการและบริการเสริม รวมถึง คอนเทนต์และแอปพลิเคชั่น 2.ธุรกิจระหว่างประเทศ 3.การพัฒนาโครงข่ายและเทคโนโลยี 4.การจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับผู้บริโภคเพื่อให้ได้ใช้อุปกรณ์ราคาที่เหมาะสม 5.การจัดซื้อทั่วไป รวมถึงโครงข่าย 6.การพัฒนาบุคลากร

- แผนธุรกิจหลังจากนี้

ศุภ ชัย : เมื่อปรับโครงสร้างด้านการเงินเสร็จ เราจะมีศักยภาพในการขยายธุรกิจมากขึ้น ด้านยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ยังเหมือนเดิม เช่นกันกับแผนขยายโครงข่ายเพิ่มอย่างต่อเนื่อง หวังว่าจะได้ความรู้และประสบการณ์จากไชน่าโมบายล์ รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดจากความร่วมมือใน ครั้งนี้

- การเป็นพันธมิตรกับทรูมีนัยสำคัญอย่างไรต่อไชน่าโมบายล์

หลี่ เย่ว : ที่ผ่านมาเราแสวงหาโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศมาตลอด เมื่อเจอกับกลุ่มทรูและได้โอกาสนี้จึงรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง ในแต่ละปีมีคนจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและทำธุรกิจในประเทศไทยเป็นจำนวน มาก ปัจจุบันกว่า 4 ล้านคน และน่าจะถึงสิบล้านคนในไม่ช้า เช่นกันกับการที่คนไทยเดินทางไปประเทศจีน

- ทรูจะพลิกกลับมามีกำไรได้เมื่อไร

หลี่ เย่ว : เราได้ลงทุนในสัดส่วน 18% ของหุ้นทั้งหมด เชื่อว่าจะเพิ่มศักยภาพทางการเงินของทรู ทำให้แก้ไขสภาพหนี้และเติบโตได้

ศุภชัย : การเพิ่มทุนครั้งนี้ ทำให้เราได้เงิน 6.5 หมื่นล้าน หรือ 2,000 ล้านเหรียญ เราจะนำเงินส่วนใหญ่ 5.5 หมื่นล้านบาทไปคืนหนี้ ทำให้ทรูปลอดหนี้ธนาคาร แต่ยังมีหนี้จากหุ้นกู้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ทำให้สถานะบริษัทดีขึ้นมาก มีหนี้สินต่อกำไรลดจาก 5 เท่า เหลือ 1 ต่อ 1.5 เท่า ลดดอกเบี้ยลงไปได้ปีละกว่า 4 พันล้านบาท และปรับฐานในแง่การลงทุนด้วย เพราะเมื่อเรตติ้งปรับมาอยู่ใน Investment Rate แล้วก็จะทำให้กองทุนทั่วโลกเข้ามาลงทุนในหุ้นทรูได้

บริษัทเองในไตรมาส 4 คาดว่าหลังจากนี้แล้วจะเริ่มมีกำไร การให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเป็นสิ่งที่เราตั้งเป้าไว้ และมีอีกหลายอย่างที่เราจะพัฒนาร่วมกันได้ อีกสาเหตุที่ทำให้มีกำไร เพราะสัมปทาน 2G ที่สิ้นสุดสัมปทานไปมีการหักขาดทุนทางบัญชีหมด ทำให้บริษัทมีกำไร ที่ผ่านมาขาดทุนเกินไป เพราะหักค่าเสื่อมของ 2G

- สาระสำคัญของความร่วมมือครอบคลุมอะไรบ้าง

ศุภชัย : ทางไชน่าโมบายล์มีกรรมการ 2 คนเข้ามานั่งในบอร์ด และเสนอได้ 1 ซึ่งจะนั่งในบอร์ดบริษัทการเงิน ธรรมาภิบาล และผลตอบแทนฝ่ายบริหาร ทั้ง 3 ส่วนจะช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายของบอร์ดและบริษัท เชื่อว่าต่อไปจะเป็นมิติใหม่ของอุตสาหกรรม เนื่องจากไชน่าโมบายล์เป็นผู้นำที่มีความรู้ความสามารถด้านการสื่อสารระดับ โลก โดยเฉพาะ 4G

หลี่ เย่ว : เราถือหุ้น 18% ก็อยากปฏิบัติตามกฎระเบียบของไทยอยากให้ทรูทำหน้าที่บริหารเต็มที่ จึงไม่คิดที่จะส่งบุคลากรเข้ามานั่งในตำแหน่งบริหารแบบทำงานเต็มเวลา ความร่วมมือ 6 ด้าน เราเน้นข้อ 2 คือการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ ถัดมาเป็นเรื่องการพัฒนาบริการ 4G และบรอดแบนด์ของไทย ผมได้คุยกับคุณธนินท์ (เจียรวนนท์) ไปแล้วที่จะร่วมมือด้านอื่นด้วย เช่น การชำระเงินผ่านมือถือ ซึ่งจะมีการคุยรายละเอียดกันต่อไป

จากประสบการณ์ในธุรกิจสื่อสาร จีนเริ่มพัฒนาด้านนี้ในปี 1987 ก่อนไทยเล็กน้อย แต่ไทยขยายเครือข่ายรวดเร็วมาก สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการให้บริการคือมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ตลอดเวลา ที่ผ่านมา รายได้ 60% ของไชน่าโมบายล์มาจากการใช้โทรศัพท์ ต่อมาน้อยลงมากถ้าไม่ปรับเปลี่ยนก็จะโดนกลืน บริการ SMS และ MMS ที่เคยมีรายได้ต่อปี 5 หมื่นล้านหยวนก็ลดลงมากเมื่อ มีบริการ Over The Top บนเครือข่าย (แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ) ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทัน

จากประสบการณ์ของเราและทรูจึงน่าจะพัฒนาอะไรร่วมกันได้อีกมาก เพราะถ้าไม่รู้จักปรับเปลี่ยน ยิ่งเดินก็ยิ่งแคบ



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410928822

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.